ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณกำลังคิดจะซื้อรถมือสอง คุณย่อมรู้ดีว่ามันวุ่นวายแค่ไหน มีหลายอย่างให้ต้องพิจารณาดูซึ่งอาจทำให้เซ็งไปเลยก็ได้ นี่จะยิ่งหนักขึ้นไปอีกถ้าคุณกำลังคิดซื้อรถเป็นครั้งแรก มีหลายอย่างที่ต้องตรวจดูก่อนซื้อรถมือสอง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการไปตรวจดูรถด้วยตาตนเองก่อนทำการตัดสินใจซื้อ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ตรวจสภาพภายนอกของรถ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้แน่ใจว่ารถจอดบนพื้นที่ราบเสมอกันก่อนทำการตรวจ. เพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถตรวจล้อได้ชัดเจนและดูว่ามีตัวรถมีอะไรหย่อนลงมาหรือไม่
  2. ตรวจสอบสภาพสีรถอย่างละเอียดถี่ถ้วน.สังเกตดูรอยสนิม รอยบุบ หรือรอยขีดข่วน. รถสมควรจะอยู่ในสภาพสะอาดเพื่อจะเห็นสภาพสีได้ชัด ดูด้านข้างรถจากทางหลังรถมาว่ามีสภาพรอยคลื่นที่แสดงว่ามีการซ่อมสีหรือไม่ ใช้นิ้วไล่ไปตามขอบของรอยต่อระหว่างแผ่น ร่องรอยขรุขระแสดงถึงเศษหลงเหลือจากการใช้เทปบังสี
  3. ตรวจฝากระโปรงหลังของรถเพื่อความแน่ใจว่ามันยังอยู่ในสภาพดี. มันไม่ควรมีร่องรอยของสนิมหรือคราบน้ำรั่วเข้ามาซึ่งแสดงว่ามีรูหรือรอยแตก ร่องรอยการใช้งานภายในกระโปรงหลังแสดงถึงการใช้งานของรถเป็นอย่างดี
  4. ยางควรสึกเท่าๆ กันและควรจะตรงกันทั้งสี่ล้อ มองดูหน้ายางว่ามีรอยสึกจากการตั้งศูนย์ถ่วงล้อไม่ดีหรือไม่ ศูนย์ถ่วงล้อไม่ดีอาจเกิดจากอุปกรณ์ในระบบการขับขี่และระบบกันสะเทือนเสื่อมสภาพใช้งาน ขับรถตกหลุมหรือโครงรถเสียหายก็ได้
  5. อย่าซื้อรถที่โครงรถเคยเกิดความเสียหายมาแล้ว. ตรวจอานรถ (เชื่อมบังโคลนหน้ารถและยึดด้านบนของหม้อน้ำรถยนต์) มันอาจเชื่อมหรือใช้สลักเกลียว ให้ตรวจดูหัวเกลียวตรงด้านบนของบังโคลนภายในกระโปรงรถ หากมีรอยขีดข่วนแสดงว่าบังโคลนถูกเปลี่ยนหรือขยับติดใหม่ (หลังถูกชน)
  6. พยายามตรวจใต้ท้องรถเมื่อรถได้ถูกยกขึ้นอย่างปลอดภัยแล้วตรวจระบบไอเสียหรือร่องรอยสนิมใต้ท้องรถ. มองหาจุดที่เป็นรอยดำบนระบบไอเสีย เพราะมันแสดงว่ามีการรั่ว และนี่ยังเป็นโอกาสดีสำหรับตรวจความเสียหายของโครงรถหรือโครงสร้างรถแบบขึ้นรูปทั้งคัน
    • ใช้นิ้วตรวจท่อไอเสีย หากมีของเสียเหนียวเหนอะแสดงว่ามีปัญหาหนัก ลองสตาร์ทเครื่อง ควันสีขาว (ถ้าอากาศไม่ได้หนาว) แสดงว่ามีปัญหาเช่นกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ตรวจใต้ฝากระโปรงรถ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจใต้ฝากระโปรงรถดูว่ามีร่องรอยการบุบ เสียหาย หรือขึ้นสนิมหรือไม่. ทั้งหมดล้วนเป็นสัญญาณว่ารถคันนี้ได้รับการดูแลรักษาไม่ดีหรืออีกทีก็เคยเสียหายมาก่อน บังโคลนรถตรงภายในที่ฝากระโปรงรถจะลงมาปิดนั้นจะมีการตอกหมายเลขตัวถังรถ (Vehicle Identification Number - VIN) ถ้ามันไม่ได้อยู่ที่นั่น ก็ไม่ได้แสดงว่าบังโคลนถูกเปลี่ยนแต่อย่างใด ตัวเลข VIN จะอยู่ตรงไหนนั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละราย
  2. พวกมันไม่ควรมีรอยแตก ท่อของหม้อน้ำรถยนต์ควรจะนิ่ม
  3. ตรวจดูเครื่องยนต์ว่ามีรอยรั่วหรือถูกกัดกร่อนหรือไม่. ตรงส่วนวางเครื่องยนต์ ให้มองหาคราบน้ำมันสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งแสดงว่ามีมีรอยรั่วในปะเก็น และอาจนำไปสู่การซ่อมใหญ่ที่แพงใช่เล่นในอนาคต ตรวจดูน้ำมันเบรกและกระปุกเก็บน้ำว่ามันไม่ได้รั่ว สายพานควรดูใหม่ (เช่น ไม่มีรอยแตกหรือสัญญาณว่าแห้งแข็ง) สายพานเก่าสามารถฉีกได้ และถ้าคุณเปลี่ยนไม่เป็นต้องเสียค่าซ่อมเป็นหลักพันขึ้นไป ขึ้นอยู่กับว่าสายพานเส้นไหนที่เสีย
  4. หากมีคราบฟองอยู่ภายในแสดงว่าหัวปะเก็นมีการรั่ว ลืมรถคันนั้นได้เลย
  5. น้ำมันเครื่องควรมีสีชมพูหรือแดง รถเก่าอาจมีสีคล้ำแต่ไม่ควรดูหรือมีกลิ่นไหม้ มันควรจะเต็ม (ตรวจสอบโดยให้เครื่องยนต์ทำงาน)
  6. นี่เป็นสายพานที่สำคัญที่สุดในเครื่องยนต์ และค่าเปลี่ยนแพงที่สุดด้วย หากรถมีสายพานราวลิ้นโลหะมา ไม่ต้องเป็นห่วงเลย อายุการใช้งานปกติของสายพานราวลิ้นจะอยู่ที่ตั้งแต่หนึ่งแสนถึงสองแสนกิโลเมตรเลยเชียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละราย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ตรวจภายในรถ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจเบาะที่นั่งว่ามีรอยฉีก รอยถลอก คราบ หรือความเสียหายใดๆ
  2. ซื้อรถที่ใช้สารหล่อเย็น R134 รถยนต์ส่วนใหญ่ที่เหมาะกับ R134 จะเป็นรุ่นตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมาและจะติดสติกเกอร์บนเครื่องควบแน่นของแอร์
  3. ตรงนี้ก็สำคัญเพราะเป็นตัวชี้อายุของรถได้ โดยเฉลี่ยคนทั่วไปจะขับรถประมาณ 15,000 ถึง 25,000 กิโลเมตรต่อปี อย่างไรก็ตามนั่นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง จำไว้ว่าอายุของรถนั้นอยู่ที่เวลากับระยะทางใช้งาน การซื้อรถอายุ 10 ปีที่มีเลขไมล์ต่ำอาจไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องดีเสมอไป
  4. หาคอมพิวเตอร์มาตรวจหาความผิดพลาด ตามร้านซ่อมรถจะมีอุปกรณ์ราคาไม่แพงประมาณสามร้อยบาท อย่างไรก็ดี เครื่องอ่านโค้ดราคาถูกทั่วไปมักมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลส่วนใหญ่
  5. ตรวจแสงไฟและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆตอนไม่ได้ขับ. นั่นรวมถึง ตัวเซนเซอร์จอดรถ กล้องหลังรถตอนถอยจอด วิทยุเครื่องเสียงในรถ เป็นต้น
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

ตรวจสอบรถขณะขับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางทีนี่อาจเป็นวิธีจะรู้สภาพรถได้ดีที่สุด ดังนั้นคนซื้อควรจะพยายามหาทางให้ได้ลองขับก่อนตัดสินใจ
  2. ให้แน่ใจว่าได้ตรวจสภาพเบรกโดยการเหยียบแรงๆ ที่เบรกเพื่อลดความเร็วลงโดยเร็ว แต่อย่าให้รถเกิดปัดไถล. พยายามทำตอนใช้ความเร็วประมา 50 กม./ชม. ในจุดที่ไม่มีรถคันอื่น คุณควรไม่รู้สึกว่าแป้นเบรกมีอาการสั่น หรือได้ยินเสียงเอี๊ยดหรือเสียงแปลกๆ เบรกที่กระตุกเป็นจังหวะแสดงว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนดิสก์เบรกหรือติดตั้งแป้นเบรกใหม่ เบรกแล้วก็ไม่ควรไถล นั่นอาจเกิดจากก้ามปูเบรกเสียหรืออุปกรณ์ในระบบพวงมาลัยเสื่อมสภาพ
  3. /ชม.. อาการสั่นเล็กน้อยตอนใช้ความเร็วต่ำอาจหมายถึงอาการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนที่ต้องเสียค่าซ่อมประมาณหลักพันถึงหลักหมื่น จำพวกข้อต่อหรือข้อเหวี่ยงเป็นต้น และอาจเกิดจากการที่ล้อคู่หน้าสึกไม่เท่ากันก็ได้
  4. ตรวจฟังเสียง อาการสั่น หรือเสียงเครื่องหลวมเวลาทำการหักเลี้ยว 90 องศา. ทำตอนใช้ความเร็วต่ำ นี่หมายถึงการเสื่อมของเพลาหน้าเช่นกัน และต้องเปลี่ยนข้อต่อ
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ทำการตัดสินใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจดูประวัติการเข้ารับซ่อมของรถซึ่งจะให้ข้อมูลทั้งเรื่องสมรรถนะ การซ่อมและปัญหาของรถ. เจ้าของรถคนปัจจุบันควรมีบันทึกระยะเวลาที่รถต้องรับการซ่อมและควรเต็มใจมอบข้อมูลนั้นให้คุณดู รถบางคันไม่มีประวัติการดูแลรักษาเพราะเจ้าของซ่อมเอง ซึ่งก็ไม่เป็นไรถ้าเขาพิสูจน์ได้ว่าดูแลรถอย่างถูกต้อง แต่รถใช้แล้วไม่น้อยถูกขายเพราะเกิดอุบัติเหตุหรือขับขี่แล้วมีปัญหา
  2. เป็นความคิดที่ดีถ้าจะพาเพื่อนที่เชื่อใจได้และมีความรู้เรื่องรถเป็นอย่างดีไปเช็คในจุดที่คุณยังไม่แน่ใจ ถ้าไม่มีเพื่อนเช่นนี้ ก็สามารถจ้างช่างซ่อมรถยนต์ไปตรวจดูให้ในราคาไม่แพงนัก ให้แน่ใจว่าเขาเชื่อถือได้ ไม่หลอกเอาเงินคุณซะงั้น
  3. รถใช้แล้วนั้นเป็นสิ่งที่ต่อรองกันได้ อย่ารู้สึกว่าต้องจ่ายตามราคานั้นเสมอ เตนท์รถมักรับซื้อรถในราคาถูก แล้วนำมาปล่อยทำกำไรโดยคิดแต่แรกแล้วว่าอาจต้องขายต่ำกว่าราคาที่ตั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพรถ โดยคุณอาจยื่นเสนอราคาเองให้แน่ใจว่ามันเป็นราคาที่สมเหตุสมผล ถ้าผู้ขายต้องการที่ราคา 500,000 บาท ก็ไม่ใช่ว่าจะไปต่อรองให้เหลือ 300,000 บาท ทำแบบนี้ออกจะเป็นการดูถูกเสียด้วยซ้ำ ขอส่วนลดสัก 50,000 บาท ลองเช็คสถานะคนเองกับทางสถาบันการเงินที่จะให้กู้ก่อน เพื่อดูว่าคุณสามารถซื้อรถได้ในระดับใด พยายามซื้อรถที่ต่ำกว่าที่พวกเขาบอกคุณ คนส่วนใหญ่วื้อรถในราคาสูงเกินกว่าที่จะจ่ายได้ จำไว้ว่า ไม่ว่ารถคันนั้นจะสภาพดีแค่ไหนในวันนี้ มันก็ยังต้องซ่อมในวันข้างหน้าอยู่ดี
    • ใช้ส่วนของรถที่ไม่ถูกใจคุณมาเป็นข้อได้เปรียบ ถ้ารถคันนั้นไม่ใช่สีที่คุณตามหาอยู่ บอกผู้ขายไปว่า "ผมชอบรถคันนี้นะ เสียดายที่มันมีสีแดง เป็นอย่างเดียวเลยที่ทำให้ผมไม่ค่อยอยากซื้อมันเท่าไหร่" คนขายจะเห็นว่าคุณต้องการอะไร และหาทางให้คุณซื้อรถคันนั้นให้ได้
  4. เตรียมปากกา กระดาษ และโทรศัพท์มือถือไปด้วยถ้าคุณจะไปซื้อรถตามบ้าน. พอตรวจสภาพรถไป ให้แน่ใจว่าได้เขียนทุกอย่างที่ต้องซ่อมหรือเปลี่ยน บอกกับคนขายก็ได้ว่าคุณจะนำรถไปให้อู่เจ้าประจำทำเพื่อเขาจะได้ไม่คิดว่าลิสต์ที่ต้องซ่อมเป็นภาระของเขา หลังจากรวบรวมรายชื่อของต้องซ่อมทั้งหมดแล้วลองโทรหาร้านอะไหล่หรือศูนย์เพื่อตรวจสอบราคาอะไหล่และดูว่ามีของหรือไม่ พอรู้ราคาค่าซ่อมคร่าวๆ แล้ว คุณจะมีข้อมูลเพิ่มเติมในราคาที่จะจ่าย และเป็นไปได้ว่าผู้ขายจะลดราคาที่ตั้งไว้ลงมา
    • ระวังเวลาทำเช่นนี้ด้วยเพราะผู้ขายบางคนอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องไม่มีมารยาท เขาอาจตัดสินใจไม่ขายให้คุณ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใช้คู่มือรายงานการใช้ของผู้บริโภคเพื่อดูชื่อเสียงของรถยี่ห้อนั้น อย่าจ่ายแพงขึ้นเพียงเพื่อชื่อเสียงออกมาดี สภาพรถยังคงเป็นส่วนที่สำคัญกว่าชื่อยี่ห้ออยู่ดี
  • ใช้แหล่งข้อมูลอิสระในการตรวจสอบราคาทั้งราคาซื้อสดหรือผ่อนจ่ายของรถรุ่นเป้าหมาย ราคาที่ตั้งไว้เหมาะสมแล้วหรือไม่ หรือมีความแตกต่างที่อธิบายไม่ได้ในราคานั้น
  • รถที่มีใบรับรองมักมีราคาแพงกว่าหน่อยแต่ก็มีประกันภัยกับการรับประกันรถมาพร้อม
  • ระวังกลิ่นแปลกที่ระบุไม่ได้หรือ UFOs ( U nidentified F unky O dors) อาจเป็นเรื่องยากและต้องจ่ายแพงกว่าจะกำจัดกลิ่นที่ว่าออกไปได้
  • การซื้อรถจากศูนย์บริการใกล้บ้านเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความมั่นใจในระยะยาว หากซื้อรถที่ไม่มีศูนย์ซ่อมบริการ ก็ให้หาช่างที่ไว้ใจไปช่วยดู!
  • ถ้ารถจำเป็นต้องซ่อม ใช้มันเป็นจุดในการขอต่อราคา
  • รายงานประวัติรถมีข้อมูลที่มีค่า แต่อย่าลงในรายละเอียดจนเกินไป! สิ่งที่สำคัญก็มีอย่าง อุบีติเหตุกับความผิดปกติของมาตรวัดระยะทาง ถ้าต้องซื้อกับเตนท์รถ ให้คนขายเครียมสมุดคู่มือรถกับรายงานประวัติการใช้รถให้คุณด้วย
  • อย่าตรวจดูรถตอนฝนตก ฝนจะกลบร่องรอยสภาพสีและรอยที่เกิดจากอุบัติเหตุ แถมยังกลบเสียงสะเทือนของช่วงล่างด้วย
  • เปรียบเทียบสภาพภายในของรถกับค่าที่ได้บนมาตรวัดระยะทาง รถยนต์ที่มาตรวัดบอกว่าเพิ่งผ่านการใช้งานมาเพียง 50,000 กม. ไม่น่าจะมีสภาพเบาะคนขับที่น่วมเหมือนถูกค้อนทุบ บริเวณที่นั่งโดยสารที่มีร่องรอยสึกหรอจากการใช้งานบวกกับมาตรวัดระยะทางที่ต่ำก็บอกได้เลยว่ารถผ่านการกรอเข็มไมล์มา
  • ค้นหารถรุ่นเดียวกันกับที่จะซื้อที่มีระยะทางใช้งานพอๆ กัน ถ้าราคาใกล้เคียงกับรถคันที่เล็งไว้ ก็ใช้มันเป็นจุดอ้างอิงในการต่อรองราคาได้
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณอาศัยอยู่ในที่ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดสอบการลดปล่อยไอเสียในรถทุกคัน (เช่นในรัฐแคลิฟอร์เนีย) ให้แน่ใจว่ารถเข้ารับการทดสอบนี่แล้วก่อนซื้อ การซ่อมระบบไอเสียนั้นมีราคาแพงมากและยังไงก็ต้องซ่อมก่อนถึงจะไปจดทะเบียนได้ อีกอย่างคือรถที่สภาพเครื่องเคราภายในเสื่อมอย่างเช่นวงแหวนลูกปืนหรือขัดบ่าวาล์วนั้นอาจไม่ผ่านการทดสอบการทดสอบไอเสียยังเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความมั่นใจว่ารถคันดังกล่าวทั้งอยู่ในสภาพใช้งานได้ดีและไม่มีปัญหาบกพร่องทางเครื่องยนต์ที่ร้ายแรงจนจะก่อปัญหาให้คุณในอนาคต การทดสอบนี้ทำได้พร้อมตอนนำรถเข้าอู่ สำหรับในที่ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจไอเสีย ให้แน่ใจว่าช่างได้ตรวจแรงอัดของเครื่องยนต์ที่จะช่วยชี้ว่าเครื่องยนต์ภายในมีปัญหาสึกหรอหรือไม่ (โดยเฉพาะรถที่ผ่านการใช้งานมาเกิน 80,000 กม.)
  • หากหลังการตรวจเบื้องต้นนี้แล้ว คุณคิดว่าอยากจะทดสอบเพิ่มเติมก่อนซื้อ ให้มองหาความเห็นมืออาชีพจากช่างยนต์ที่มีประสบการณ์ มันเป็นความคิดที่ดีถ้าเป็นการซื้อรถคันแรกและคุณไม่รู้เรื่องรถเลย เจ้าของรถน่าจะไม่มีปัญหากับการให้ช่างมาช่วยดู ถ้าเขาไม่ยอม เป็นไปได้ว่าเขาอาจมีอะไรต้องปิดบังคุณ คุณก็ไปซื้อกับผู้ขายรายอื่นดีกว่า
  • ถ้ามันดูราคาถูกเกินจะเป็นจริงได้ บางทีมันก็ไม่มีทางจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. แหล่งข้อมูลบางส่วนมาจากหนังสือ "Used car Buying Made Simple" จาก http://www.UsedCarBuying.ca

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,992 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา