ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณกำลังไม่มีความสุขกับความรู้สึกว่าชีวิตไม่เป็นระบบระเบียบอยู่หรือเปล่า บางทีคุณอาจจะมีแผนใหญ่ๆ สำหรับชีวิตแต่ไม่รู้ว่าจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร แม้ว่าการเขียนเป้าหมายของคุณนั้นสำคัญ แต่สิ่งที่จำเป็นก็คือการหาวิธีที่จะเข้าใจและบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น (การวางแผนการพัฒนาส่วนบุคคล) คุณอาจจะพบว่าคุณสามารถปรับปรุงสวัสดิภาพและความสุขโดยรวมของคุณได้โดยการพัฒนาส่วนบุคคลและการบรรลุเป้าหมายของคุณ [1] เมื่อคุณเขียนเป้าหมายของคุณแล้ว ให้สร้างเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถวัดได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายรายวันของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การเขียนเป้าหมายของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รวบรวมเป้าหมายรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี หรือเป้าหมายชีวิตทั้งหมดของคุณ นี่จะช่วยให้คุณจัดอันดับตามความสำคัญสำหรับคุณ ใช้เวลาคิดเกี่ยวกับระยะเวลาที่จะใช้ในแต่ละเป้าหมายและว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ [2] [3]
    • ตอนที่ระดมความคิดเกี่ยวกับเป้าหมายของคุณ ให้พยายามชี้เฉพาะเจาะจงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อยู่เสมอ วิธีนี้จะทำให้คุณเข้าใจขั้นตอนที่คุณจำเป็นต้องทำเพื่อให้บรรลุแผนในชีวิตหรือเป้าหมายระยะสั้นได้อย่างชัดเจน
  2. เมื่อคุณพบความฝันในอนาคตและอุดมคติแล้ว ให้เลือกเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงที่จะช่วยให้คุณบรรลุไปได้ ถ้าเป้าหมายของคุณใหญ่และระยะยาว ให้แบ่งให้เป็นเป้าหมายที่เล็กลงหรือเป็นขั้นตอน ให้แน่ใจว่าให้เวลาตัวเองเพียงพอที่จะทำโครงการหรือเป้าหมายใหญ่ๆ ได้สำเร็จ วิธีนี้คุณสามารถทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ทุกวัน [4] [5]
    • การแบ่งเป้าหมายให้เป็นเป้าหมายรายวันหรือขั้นตอนรายวันจะสามารถช่วยลดความเครียดของคุณ และทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นในระยะยาว [6]
  3. อย่ามุ่งเน้นที่การตั้งเป้าหมายรายวันหรือเป้าหมายเล็กๆ มากจนคุณไม่เห็นเป้าหมายหรือแผนทั้งหมดของคุณ การกำหนดเส้นตายและการบรรลุผลจะทำให้คุณรู้สึกถึงความสำเร็จ เพิ่มแรงจูงใจของคุณ และให้ผลสะท้อนกลับว่าอะไรใช้ได้ผลและอะไรที่ใช้ไม่ได้ผล
    • ลองใช้ปฏิทินเป็นสิ่งเตือนความจำที่คุณมองเห็นได้เพื่อให้คุณจดจำเป้าหมายของคุณและระยะเวลาที่คุณตั้งไว้สำหรับตัวเอง และยังเป็นเรื่องที่น่าพอใจอย่างยิ่งเวลาที่คุณได้ขีดฆ่าเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เสร็จสมบูรณ์แล้วออกไป
  4. ดูแต่ละเป้าหมายของคุณและเขียนว่าเป้าหมายนั้นๆ เฉพาะเจาะจง (S = Specific) สามารถวัดได้ (M = Measurable) บรรลุผลได้ (A = Attainable) ตรงประเด็นหรือสมเหตุสมผล (R = Relevant หรือ Realistic) และมีการกำหนดเวลาหรือเส้นตาย (T = Time-bound) แค่ไหน [7] ยกตัวอย่าง นี่เป็นวิธีที่คุณอาจจะทำเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่น "ฉันอยากเป็นคนที่มีสุขภาพดีขึ้น" ให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นโดยการใช้หลัก S.M.A.R.T: [8]
    • เฉพาะเจาะจง: "ฉันอยากทำให้สุขภาพของฉันดีขึ้นโดยการลดน้ำหนัก"
    • สามารถวัดได้: "ฉันอยากทำให้สุขภาพของฉันดีขึ้นโดยการลดน้ำหนัก 20 ปอนด์"
    • บรรลุผลได้: แม้ว่าคุณอาจจะลดน้ำหนัก 100 ปอนด์ไม่ได้ แต่ 20 ปอนด์เป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้
    • ตรงประเด็น/ สมเหตุสมผล: คุณอาจจะเตือนตัวเองว่าการลดน้ำหนัก 20 ปอนด์จะให้พลังงานกับคุณมากขึ้นและทำให้คุณรู้สึกมีความสุขมากขึ้น ให้จำไว้ว่าคุณไม่ได้กำลังทำสิ่งนี้เพื่อคนอื่น
    • กำหนดเวลาหรือเส้นตาย: “ฉันอยากทำให้สุขภาพของฉันดีขึ้นโดยการลดน้ำหนัก 20 ปอนด์ให้ได้ภายในปีหน้า เฉลี่ยเดือนละ 1.6 ปอนด์”
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การทำเป้าหมายที่บรรลุได้รายวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับเป้าหมายระยะสั้นให้ถามตัวเองว่าโครงการนั้นควรจะใช้เวลานานแค่ไหนและกำหนดเส้นตาย ถ้าเป็นเป้าหมายที่นานกว่านั้นให้พิจารณาว่าแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลานานแค่ไหนและเพิ่มเวลาของแต่ละขั้นตอนด้วยกัน เป็นความคิดที่ดีที่จะเพิ่มเวลาอีกเล็กน้อย (อีกสองสามวันหรือไม่ก็สองสามสัปดาห์) เผื่อไว้ในกรณีที่มีเรื่องที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายประเภทไหนก็ให้แน่ใจว่าบรรลุผลได้
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณทำงานประจำ ทำอาสาสมัคร 10 ชั่วโมง และออกกำลังกาย 5 ชั่วโมง การเพิ่มเวลาให้เป้าหมายละ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั้นอาจจะไม่สมเหตุสมผล นี่จะทำให้คุณต้องรับผิดชอบและทำเป้าหมายให้สำเร็จยากขึ้น
  2. ถ้าไลฟ์สไตล์และเป้าหมายของคุณเป็นใจแล้วล่ะก็ ให้สร้างเป็นกิจวัตรประจำวัน แม้ว่ากิจวัตรนั้นอาจจะฟังดูไม่ยืดหยุ่นหรือน่าเบื่อ แต่ก็สามารถลดความเครียดของคุณได้โดยการที่ให้คุณทำอย่างต่อเนื่อง กิจวัตรนั้นจำเป็นสำหรับเป้าหมายระยะยาวเนื่องจากจะนำคุณไปสู่เป้าหมายของคุณ และยังจะช่วยสร้างนิสัยที่ดีและสร้างวินัยให้ตัวคุณเอง [9]
    • คุณไม่จำเป็นต้องหาเวลาทุกชั่วโมงของวัน คุณอาจจะแค่ตั้งเป้าหมายสำหรับวันนั้น ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะวางแผนทำงาน 3 ชั่วโมง ออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง และทำงานบ้านอีก 2 ชั่วโมง
  3. ในทุกๆ วันให้พิจารณาว่าคุณทำเป้าหมายของคุณไปได้ถึงไหนแล้ว ถ้าเป้าหมายยังอยู่อีกไกล ซึ่งบางทีอาจจะเป็นเป้าหมายตลอดชีวิตอย่างเช่นการมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ก็เป็นความคิดที่ดีที่จะตั้งเกณฑ์มาตรฐาน เกณฑ์มาตรฐานจะช่วยให้คุณสามารถติดตามความก้าวหน้าทีละน้อยได้ซึ่งจะสามารถเป็นแรงกระตุ้นให้คุณยังปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของคุณ การติดตามผลสำเร็จของคุณจะช่วยให้คุณย้อนมองกลับไปดูว่าคุณมาได้ไกลแค่ไหนแล้วและคุณได้ทำอะไรสำเร็จไปแล้วบ้าง [10]
    • ใช้เวลานี้วัดผลการปฏิบัติและการบรรลุผลสำเร็จต่อรายการของเป้าหมายและปฏิทินของคุณ คุณอาจจะต้องปรับตารางเวลาใหม่ถ้าคุณพบว่าตัวเองก้าวหน้าไปได้เร็วหรือช้ากว่าที่คุณคาดหวังไว้
  4. คุณอาจจะกระตือรือร้นอย่างมากที่จะเริ่มโครงการหรือเป้าหมายใหญ่ แม้ว่านี่จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ให้พิจารณาว่าคุณสามารถทำได้จริงมากแค่ไหน ถ้าคุณตั้งเป้าหมายที่ไม่สมเหตุสมผลหรือต้องรับผิดชอบงานที่มากเกินไปแรงจูงใจและความสนใจในโครงการนั้นอาจจะกลายเป็นความหนักใจ พยายามทำทีละขั้นตอนและเตือนตัวเองว่าคุณกำลังปฏิบัติเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายของคุณ [11]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังสนใจการทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้นโดยการเปลี่ยนอาหารของคุณ กิจวัตรการออกกำลังกาย ตารางเวลาการนอน และนิสัยการใช้เวลาอยู่หน้าจอ คุณอาจรู้สึกว่าเยอะเกินไป ให้มุ่งเน้นทีละเรื่องหรือใช้เวลากับไม่กี่เรื่อง แต่ตั้งเป้าหมายเล็กๆ สำหรับแต่ละเรื่อง นี่อาจทำให้คุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาว
    โฆษณา


ข้อมูลอ้างอิง

  1. McGregor, I., & Little, B. R. (1998). Personal projects, happiness, and meaning: on doing well and being yourself. Journal of personality and social psychology, 74(2), 494.
  2. Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84, 191–215.
  3. Schunk, D. H. (1991). Self-efficacy and academic motivation. Educational Psychologist, 26, 207–231.
  4. Austin, J. T., & Vancouver, J. B. (1996). Goal constructs in psychology: Structure, process, and content. Psychological Bulletin, 120, 338 –375.
  5. Locke, E. A., & Latham, G. P. (2006). New directions in goal-setting theory. Current Directions in Psychological Science, 15, 265–268.
  6. http://www.kent.ac.uk/careers/sk/time.htm
  7. http://www.hr.virginia.edu/uploads/documents/media/Writing_SMART_Goals.pdf
  8. Lawlor, B. & Hornyak, M. (2012). SMART Goals: How the Application of Smart Goals can Contribute to Achievement of Student Learning Outcomes. Journal of Development of Business Simulation and Experimental Learning, 39, 259-267. https://journals.tdl.org/absel/index.php/absel/article/viewFile/90/86
  9. http://examinedexistence.com/why-having-a-daily-routine-is-important/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,424 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา