ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณกำลังมองหาอาหารเสริมสมุนไพรที่จะช่วยให้คุณลดความอยากอาหารและช่วยลดน้ำหนักอยู่หรือไม่? ส้มแขก (Garcinia cambogia) นั้นเป็นยาอายุรเวชของอินเดียที่ช่วยในการย่อยอาหาร ไม่ว่าคุณจะมีน้ำหนักเกินจนกังวลและกำลังมองหาบางสิ่งบางอย่างที่มาจากธรรมชาติเพื่อช่วยลดน้ำหนัก หรือคุณอาจจะแค่อยากลดน้ำหนักเพียงไม่กี่กิโลกรัม คุณสามารถเข้าใจต้นกำเนิดและการใช้สารสกัดส้มแขกเพื่อดูว่ามันเหมาะสมสำหรับคุณหรือไม่ [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ลดน้ำหนักโดยใช้อาหารเสริมส้มแขก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายให้ร่างกายกระฉับกระเฉง. การทานอาหารเสริมชนิดนี้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้คุณลดน้ำหนักได้ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลงการทานอาหารและออกกำลังกายเพิ่มขึ้น จริงๆ แล้วคุณไม่จำเป็นต้องใช้อาหารเสริมก็ได้ การทานของว่างและอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารในแต่ละวันก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี คุณควรงดทานของหวาน อาหารที่ผ่านการแปรรูป และน้ำอัดลมหวานๆ เพื่อลดน้ำหนัก
    • คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการวิ่งมาราธอนเพื่อทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉง ให้เริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ ก่อนแล้วค่อยเพิ่มระดับขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณเคลื่อนไหวได้เยอะขึ้นและทำให้คุณมีสุขภาพดี ให้เริ่มจากการเดินเล่น ทำสวน ปีนเขา ว่ายน้ำ เล่นกอล์ฟ หรือเล่นเทนนิส จากนั้นให้เพิ่มระดับของการออกกำลังกายให้หนักขึ้น
  2. ยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบันที่รับรองว่าส้มแขกนั้นสามารถช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ แต่งานวิจัยจำนวนมากระบุว่าถ้าคุณใช้ส้มแขกขณะที่หลีกเลี่ยงไม่ทานอาหารบางประเภท คุณก็อาจจะมีน้ำหนักที่ลดลงด้วย โดยเฉพาะบริเวณรอบเอวของคุณ คุณควรจำกัดการทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง โดยเฉพาะเวลาที่คุณใช้สารสกัดส้มแขก
    • ซึ่งนี่หมายความว่าคุณไม่ควรทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงในทุกมื้อเพราะคุณต้องทานอาหารเสริมส้มแขกก่อนอาหาร 30-60 นาที เพื่อที่จะได้รับไฟเบอร์ในแต่ละวัน ให้ทานขนมหรือของว่างที่มีไฟเบอร์สูงแต่น้อย
    • ของว่างที่แนะนำได้แก่ ถั่วเปลือกแข็ง แท่งกราโนล่า ผักเคลอบกรอบ (Kale chips) ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้มีเปลือกที่ทานได้ แอปเปิ้ล เชอร์รี่ ลูกพลัม และผัดสดอย่างบร็อคโคลี่ แครอท และขึ้นฉ่าย
  3. คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงการทานไขมันและน้ำตาลมากเกินไปซึ่งได้แก่ อาหารฟาส์ตฟู้ด ชิพแอนด์ดิป เค้ก พาย เบคอน มายองเนส ลูกกวาด และช็อกโกแลต อาหารเหล่านี้มีไขมันหรือน้ำตาลสูง หรืออาหารบางอย่างก็มีทั้งสองอย่างสูงทั้งคู่
    • คุณควรจำกัดการทานขนมปัง มันฝรั่ง และซอสที่ใส่แป้งจนเหนียว
    • เน้นที่การทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ไก่งวง ไก่ และเนื้อวัวที่ไม่ติดมัน และผักใบเขียว เช่น ผักโขม และผัก Arugula
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

เข้าใจความเสี่ยงของการใช้อาหารเสริมส้มแขก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้สารสกัดส้มแขก ซึ่งได้แก่ อาการมึนงง ปากแห้ง ปวดหัว ปวดท้อง และท้องเสีย ถ้าคุณพบว่ามีอาการเหล่านี้หลังจากที่ทานอาหารเสริมเข้าไป ให้หยุดใช้จนกว่าคุณจะไปพบแพทย์
    • ยังไม่มีการทดสอบส้มแขกในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่ให้นมบุตรอยู่ ดังนั้น การใช้อาหารเสริมส้มแขกในผู้หญิงกลุ่มนี้นั้น ไม่ แนะนำ
  2. มีรายงานที่ระบุว่าส้มแขกนั้นทำงานได้ไม่ดีเมื่อใช้ร่วมกับการใช้ยาบางชนิด ซึ่งได้แก่ยาโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ และโรคเบาหวาน จากรายงานดังกล่าว ส้มแขกจะทำให้ยาเหล่านี้ใช้ได้ผลน้อยลง
    • ส้มแขกอาจจะขัดขวางยาเจือจางเลือด ยารักษาอาการจิตเวช ยาแก้ป่วย อาหารเสริมเหล็ก และยาสแตติน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดคลอเรสเตอรอล [2]
    • ปรึกษากับแพทย์ถ้าคุณใช้ยาเหล่านี้อยู่ ก่อน เริ่มใช้สารสกัดส้มแขก
    • ถ้าคุณพบว่ามีอาการข้างเคียง ใดๆ ก็ตาม ให้หยุดใช้อาหารเสริมส้มแขกทันทีและติดต่อกับแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ [3]
  3. เชื่อว่าส้มแขกนั้นจะเพิ่มระดับของเซโรโทนินและเมื่อทานร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้าหรือที่เรียกว่า SSRI ซึ่งสามารถทำให้มีอาการใน กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome) หากมีอาการในกลุ่มเซโรโทนิน ระดับของเซโรโทนินจะสูงกว่าปกติมาก ซึ่งนี่จะทำให้มีอาการทางระบบประสาทเช่น พูดติดอ่าง กระสับกระสาย กระวนกระวาย ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน และเห็นภาพหลอน มันสามารถทำให้ระดับการเต้นของหัวใจและความดันสูงขึ้น เป็นไข้ และท้องเสีย
    • มีรายงานกรณีหนึ่งของหญิงที่ใช้สารสกัดส้มแขกควบคู่กับการใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าที่มีชื่อว่า SSRI หญิงผู้นั้นเริ่มมีอาการทางประสาทที่มีอาการเกี่ยวกับระบบเซโรโทนิน ถ้าคุณพบว่าคุณมีอาการเช่นนี้ ให้หยุดใช้อาหารเสริมและติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทันที [4] [5]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

มีความเข้าใจในอาหารเสริมส้มแขก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส้มแขกเป็นพืชเขตร้อนและเป็นพืชท้องถิ่นในอินโดนีเซีย ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Brindleberry, Malabar tamarind และ Kudam puli มันมีลักษณะคล้ายฟักทองสีเขียวเล็กๆ ขนาดเบา มีการนำส้มแขกมาใช้ทำอาหารในอินโดนีเซีย และมันมีรสชาติเปรี้ยว [6] [7]
  2. ส้มแขกนั้นมีกรดซิตริกอย่างกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric acid (HCA)) ซึ่งจะช่วยให้น้ำหนักลดโดยการควบคุมการปล่อยสารเซโรโทนินและการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือด มันยังช่วยลดการออกซิเดชั่นของไขมันที่มีอยู่และลดการสังเคราะห์ไขมันใหม่ ขณะที่ข้อมูลนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก แต่นี่อาจจะหมายความว่าส้มแขกอาจจะเพิ่มการใช้ประโยชน์ทางชีวเคมีของไขมันให้เป็นพลังงานและลดจำนวนไขมันใหม่ที่สร้างขึ้น [8]
    • เซโรโทนินนั้นเป็นสารสื่อประสาทประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวขนส่งทางเคมี (Chemical messenger) ระหว่างเซลล์ประสาทและเซลล์ประเภทอื่นๆ ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับความรู้สึกต่างๆ เช่น ความสุข อารมณ์ และสุขภาวะ [9] [10]
    • มีงานวิจัยที่ได้ทดลองเพื่อดูว่าอาหารเสริมส้มแขกนั้นสามารถช่วยให้ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมีน้ำหนักลดลงได้หรือไม่และผลที่ออกมานั้นก็ไม่แน่ชัดนัก ผลของการทดลองก็คือการใช้สารสกัดส้มแขกอย่างเข้มข้นอาจจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้โดยเฉพาะเมื่อร่วมกับการทานอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกาย แต่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่ามันได้ผลจริงๆ แน่นอน [11]
  3. แม้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว แต่ขั้นตอนในการขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยานั้นแตกต่างจากการขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งอาหารเสริมจะไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาเรื่องประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ประจักษ์เหมือนผลิตภัณฑ์ยา และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะรับรองเฉพาะสรรพคุณตามที่ขออนุญาตเท่านั้น ซึ่งนี่หมายความว่าสำนักคณะกรรมการอาหารและยาไม่รับรองสรรพคุณที่ระบุนอกเหนือจากที่ขออนุญาต
    • ระมัดระวังเสมอเมื่อทานอาหารเสริมและขอให้แน่ใจว่าได้ตรวจสอบกับแพทย์ก่อนที่จะใช้
    • เมื่อใดก็ตามที่ซื้ออาหารเสริม ขอให้แน่ใจว่าบริษัทได้ทำตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) และก่อตั้งบริษัทมานานแล้ว
    • ดูที่เว็บไซต์ของบริษัท. ในเว็บไซต์ควรระบุว่าบริษัทได้ทำตามหลักเกณฑ์ GMP และควรมีข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ปรัชญาและพันธกิจของบริษัท
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ใช้สารสกัดส้มแขก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จากการศึกษาก่อนๆ ปริมาณการใช้ส้มแขกที่ปลอดภัยนั้นควรใช้มากสุดแค่ 2800 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณทานส้มแขกในปริมาณเท่านี้ ดังนั้นคุณควรที่จะทานน้อยกว่านี้เพื่อความปลอดภัย [12] เมื่อคุณหาร้านดีๆ ที่จะซื้ออาหารเสริมได้ คุณจะต้องเข้าใจว่าคุณควรได้รับกรดไฮดรอกซีซิตริกเท่าไหร่ ปริมาณของกรดไฮดรอกซีซิตริกที่ควรได้รับนั้นคือประมาณ 1500 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ก็แตกต่างกันไปตามอาหารเสริมแต่ละแบบ
    • ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ทำตามวิธีการใช้ของผู้ผลิตและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ก่อนที่จะเริ่มใช้
  2. ส้มแขกนั้นมี 2 แบบ แบบแรกนั้นเป็นชนิดเม็ดทั้งที่เป็นยาเม็ดและแคปซูล ถ้าคุณซื้ออาหารเสริมที่เป็นเม็ด ให้ใช้ยาเม็ดหรือแคปซูลส้มแขกในปริมาณที่แนะนำ ทานอาหารเสริมประมาณ 30-60 นาทีก่อนทานอาหารแต่ละมื้อ
    • โดยทั่วไปแล้ว ควรทานส้มแขก 3 ครั้งต่อวัน ซึ่งนี่หมายความว่าแต่ละเม็ดควรมีปริมาณ 500 กรัม ด้วยวิธีนี้ คุณจะทานส้มแขกในแต่ละวันไม่เกินปริมาณที่กำหนด
  3. การทานส้มแขกแบบที่สองคือการทานส้มแขกแบบยาน้ำ การทานส้มแขกแบบยาน้ำปกติแล้วแนะนำให้ทาน 1-2 หยดก่อนการทานอาหารทุกมื้อ แต่ปริมาณนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับดรอปเปอร์หรือความเข้มข้น ทานยาที่หยดไว้แล้วหรือหยดยาที่ใต้ลิ้นและอมไว้สักหนึ่งนาทีหรือมากกว่านั้น จากนั้นให้ทานอาหารตามปกติหลังจากที่ผ่านไปแล้ว 30-60 นาที
    • หลังจากที่ทานส้มแขกแบบยาน้ำ ให้ถามเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญว่ามีส้มแขกอยู่เท่าไหร่ในแต่ละหยดของอาหารเสริมส้มแขกที่คุณมีอยู่ คุณอาจจะถามว่าส้มแขกกี่หยดถึงจะเท่ากับส้มแขกปริมาณ 1500 มิลลิกรัม เมื่อคุณรู้จำนวนหยดทั้งหมดของอาหารเสริมส้มแขก ให้แบ่งมันเป็นสามส่วนและกินในปริมาณนั้นก่อนอาหาร
    โฆษณา

คำเตือน

  • การลดน้ำหนักอาจจะทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญได้ถ้าน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วหรือถ้าคุณมีปัญหาเรื่องน้ำหนักอย่างร้ายแรง คุณควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มแผนลดน้ำหนักใดๆ
  • อย่าทานส้มแขกมากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันหรือใช้ส้มแขกนานกว่า 12 อาทิตย์ การทำเช่นนี้จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียง ซึ่งได้แก่ อาการปวดหัว คลื่นเหียน และเจ็บภายในลำไส้ [13]
  • เมื่อกำลังมองหาอาหารเสริมส้มแขก ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ตรวจดูรายชื่อส่วนผสม อย่าซื้ออาหารเสริมถ้าไม่มีรายชื่อส่วนผสม
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Khare, C. P. Indian Medicinal Plants: An Illustrated Dictionary, Springer, Berlin, Germany, 2007.
  2. http://www.medicalnewstoday.com/articles/232248.php
  3. http://www.medicalnewstoday.com/articles/232248.php
  4. http://www.livescience.com/45146-garcinia-cambogia-serotonin-toxicity.html
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007272.htm
  6. Lim, T. K. Edible Medicinal and Non-Medicinal Plants, vol. 2 of Fruits, Springer, Heidelberg, Germany, 2012.
  7. Khare, C. P. Indian Medicinal Plants: An Illustrated Dictionary, Springer, Berlin, Germany, 2007.
  8. Li Oon, C., Wan Yong, H., Boon Kee, B., & Swee Keong, Y. (2013). Updates on Antiobesity Effect of Garcinia Origin (-)-HCA. Evidence-Based Complementary & Alternative Medicine (Ecam), 1-17.
  9. http://www.medicalnewstoday.com/articles/232248.php
  1. Li Oon, C., Wan Yong, H., Boon Kee, B., & Swee Keong, Y. (2013). Updates on Antiobesity Effect of Garcinia Origin (-)-HCA. Evidence-Based Complementary & Alternative Medicine (Ecam), 1-17.
  2. http://www.medicalnewstoday.com/articles/232248.php
  3. http://www.medicalnewstoday.com/articles/232248.php
  4. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-818-GARCINIA.aspx?activeIngredientId=818&activeIngredientName=GARCINIA

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,018 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา