ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการท้องเสีย คือภาวะที่ถ่ายอุจจาระเหลวผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยและสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาการรุนแรงอย่างมากจนส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับ อาการท้องเสียสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต หรือไวรัส ความผิดปกติหรือโรคทางระบบทางเดินอาหาร และผลข้างเคียงจากการทานอาหารหรือยาบางชนิด โดยส่วนใหญ่แล้วอาการท้องเสียจะสามารถหายดีเองได้ภายในไม่กี่วัน และในระหว่างที่คุณรอให้อาการทุเลาลง คุณสามารถลองทำตามวิธีการต่างๆ ต่อไปนี้เพื่อให้คุณรู้สึกสบายตัวและนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น [1] [2]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทำให้นอนหลับได้สบายขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชาคาโมไมล์มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบที่เกิดจากอาการท้องเสีย ทั้งยังมีสรรพคุณเป็นเหมือนยานอนหลับจากธรรมชาติ ดังนั้นลองดื่มชาคาโมไมล์สักแก้วประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอนเพื่อให้หลับสบายยิ่งขึ้น
    • สำหรับวิธีการชงชาคาโมไมล์ เริ่มจากแช่ถุงชาหรือใบชาอบแห้ง 1 ช้อนชาในน้ำร้อน 1 แก้ว จากนั้นนำถุงชาออกหรือกรองใบชาทิ้งไปแล้วรอสักพักให้น้ำชาเย็นลงเล็กน้อยก่อนเริ่มดื่ม
  2. การผ่อนคลายตัวเองเป็นประจำทุกวันเป็นวิธีที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหารเรื้อรังอย่างโรคลำไส้แปรปรวน เนื่องจากความเครียดจะส่งผลให้ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่างๆ เช่น อาการท้องเสีย มีอาการแย่ลงกว่าเดิมได้ ดังนั้นเพื่อบรรเทาอาการท้องเสียของคุณ ให้คุณลองผ่อนคลายตัวเองครั้งละ 10-15 นาทีก่อนเข้านอนด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้: [3]
  3. ยาแก้ท้องเสียที่หาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น แอตตาพัลไจต์ โลเพอราไมด์ และบิสมัท ซับซาลิไซเลต สามารถบรรเทาอาการท้องเสียของคุณสักพักหนึ่ง ดังนั้นให้คุณทานยาแก้ท้องเสียก่อนเข้านอนเพื่อช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายและสบายยิ่งขึ้น
    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่หาซื้อได้ทั่วไปกับเด็กหากไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์
    • หากอาการท้องเสียของคุณเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต การยับยั้งการขับถ่ายอุจจาระอาจยิ่งทำให้อาการป่วยของคุณแย่ลงกว่าเดิมได้ ซึ่งในกรณีนี้คุณจะต้องเลือกทานยาปฏิชีวนะแทน อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจเกี่ยวกับการเลือกทานยาแก้ท้องเสียที่หาซื้อได้ทั่วไป ให้คุณปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยา [4] [5]
  4. หากอาการท้องเสียส่งผลให้คุณรู้สึกปวดท้องจนทำให้นอนไม่หลับ คุณอาจทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์เพื่อช่วยให้คุณนอนหลับได้สบายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การทานยาแก้ปวดมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปวดเท่านั้น แต่ไม่สามารถช่วยในการรักษาอาการท้องเสียให้หายดีได้ [6]
    • เลือกทานยาอะเซตามีโนเฟนหรือไอบูโพรเฟน โดยอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม จำไว้ว่ายาที่หาซื้อได้ทั่วไปอาจมีปฏิกิริยาต่อยาตามใบสั่งแพทย์ ยาสมุนไพร และอาหารเสริมต่างๆ ได้ ดังนั้นคุณจึงควรปรึกษาแพทย์หากไม่แน่ใจว่ายาที่เลือกใช้ปลอดภัยต่อคุณหรือไม่
    • งดใช้ยาแอสไพรินกับเด็กเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye's syndrome) ที่อาจเป็นอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้
  5. เมื่อคุณมีอาการท้องเสีย แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะไม่ตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำในช่วงกลางดึก ดังนั้นคุณจึงอาจเลือกนอนในบริเวณที่ใกล้กับห้องน้ำมากขึ้นเพื่อลดความรีบเร่งในการไปเข้าห้องน้ำ ทั้งยังช่วยสร้างความสบายใจในการนอนหลับของคุณเมื่อคุณรู้ว่าห้องน้ำอยู่ไม่ไกลออกไปมากนัก
    • ยกตัวอย่างเช่น หากห้องน้ำตั้งอยู่ที่อีกด้านหนึ่งของบ้านหรือห้องของคุณ คุณอาจเลือกนอนบนโซฟาหรือในห้องนอนอื่นที่ใกล้กับห้องน้ำมากขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณมีอาการท้องเสีย ร่างกายของคุณจะสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในปริมาณมาก ซึ่งเพียงอาการต่างๆ ที่เกิดจากภาวะขาดน้ำ เช่น กระหายน้ำ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้ ก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวจนนอนไม่หลับได้ ดังนั้นคุณจึงควรป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำด้วยการดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงดื่มเครื่องดื่มอิเล็กโทรไลต์ต่างๆ ทั้งแบบผสมน้ำตาลและเกลือแร่ดังนี้: [7] [8]
    • น้ำผลไม้ อย่างไรก็ตาม น้ำผลไม้อาจทำให้อาการท้องเสียในเด็กแย่ลงได้ ดังนั้นหากเด็กต้องการที่จะดื่มน้ำผลไม้ คุณอาจเจือจางน้ำผลไม้ด้วยน้ำเปล่าก่อน
    • เครื่องดื่มเกลือแร่
    • น้ำอัดลมสูตรปราศจากคาเฟอีน แต่จำไว้ว่าเครื่องดื่มชนิดมีฟองอาจทำให้อาการท้องเสียในเด็กรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
    • น้ำซุป
    • สารละลายเกลือแร่ยี่ห้อต่างๆ เช่น Pedialyte Naturalyte Infalyte และ CeraLyte ที่เด็กสามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก รวมถึงอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ หากเด็กทารกมีอาการท้องเสียในช่วงที่ทานนมแม่ คุณสามารถให้นมต่อได้ตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องหยุด
  2. คาเฟอีนไม่เพียงทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวในช่วงกลางคืนเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้จนส่งผลให้อาการท้องเสียของคุณแย่ลงกว่าเดิมได้ เครื่องดื่มและอาหารที่ประกอบด้วยคาเฟอีน ได้แก่: [9]
    • กาแฟ
    • ชาเขียวหรือชาดำ
    • น้ำอัดลมโดยส่วนใหญ่
    • เครื่องดื่มเกลือแร่โดยส่วนใหญ่
    • ช็อกโกแลต
  3. อาหารที่ย่อยยากเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้นกว่าเดิมจนอาจส่งผลให้คุณต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำในช่วงกลางดึกอยู่บ่อยๆ ดังนั้นคุณจึงควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารบางประเภทเหล่านี้: [10] [11]
    • อาหารที่มีไขมันสูงหรือน้ำมันเยิ้ม ได้แก่ อาหารจานด่วนต่างๆ อย่างมันฝรั่งทอด โดนัท พิซซ่ามันๆ และเนื้อสัตว์หรือผักชุบเกล็ดขนมปังทอด
    • อาหารรสเผ็ด หลายคนพบว่าอาหารรสเผ็ดหรือที่ปรุงรสจัดสามารถส่งผลให้อาการท้องเสียแย่ลงกว่าเดิมได้ ดังนั้นแม้ว่าคุณจะชื่นชอบการปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศในปริมาณมาก คุณอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไปก่อนจนกว่าอาการท้องเสียของคุณจะดีขึ้น
    • อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ ขนมปังโฮลเกรน ขนมปังโฮลวีท พาสต้า รำข้าว และซีเรียลโฮลเกรน
    • ลดปริมาณการทานผลิตภัณฑ์นม เนื่องจากนมเป็นอาหารที่ย่อยได้ยากทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในระหว่างและหลังการมีอาการท้องเสีย ซึ่งสำหรับเด็กบางคนอาจใช้เวลากว่าเดือนร่างกายจึงจะสามารถกลับมาย่อยนมได้อีกครั้ง
  4. การทานอาหารอ่อนในระหว่างที่มีอาการท้องเสียจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารของคุณทำงานได้ง่ายขึ้นและป้องกันไม่ให้อาการท้องเสียแย่ลงกว่าเดิม พยายามเลือกทานอาหารต่างๆ เหล่านี้: [12]
    • กล้วย
    • ข้าวขาวที่ไม่เติมซอสหรือเครื่องปรุงใดๆ
    • มันฝรั่งต้ม
    • แครอทต้ม
    • ไก่อบที่นำหนังและมันออกเรียบร้อยแล้ว
    • แครกเกอร์
    • ขนมปังเปล่า
    • ไข่
  5. แบคทีเรียในทางเดินอาหารที่ดีมีบทบาทสำคัญในระบบย่อยอาหารของคุณและสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสียให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการท้องเสียของคุณมีสาเหตุมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ คุณสามารถปรับสมดุลของแบคทีเรียในทางเดินอาหารได้ด้วย 2 วิธีหลักๆ ได้แก่: [13] [14] [15]
    • ทานโยเกิร์ตสดซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหาร
    • ทานโพรไบโอติกส์ในรูปแบบอาหารเสริม โพรไบโอติกส์เป็นแบคทีเรียที่คล้ายคลึงกับแบคทีเรียที่พบได้ในระบบย่อยอาหารและมีส่วนช่วยในการย่อยอาหารให้ดีขึ้น คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมโพรไบโอติกส์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถทานได้อย่างปลอดภัย
  6. 6
    ทานยาถ่านกัมมันต์. ยาถ่านกัมมันต์มีคุณสมบัติในการดูดซึมสารพิษในระบบทางเดินอาหาร จึงช่วยยับยั้งไม่ให้สารพิษเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของคุณ ด้วยเหตุนี้ยาถ่านกัมมันต์จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับรักษาอาการท้องเสีย นอกจากนี้การใช้ยาถ่านกัมมันต์ยังแทบไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ต่อร่างกายอีกด้วย เมื่อใช้ยาถ่านกัมมันต์ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ยาในปริมาณหรือจำนวนครั้งที่มากกว่าที่ระบุไว้ [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เข้ารับการรักษาทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปรึกษาแพทย์หากอาการท้องเสียรบกวนการนอนหลับของคุณ. การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมและฟื้นฟู ดังนั้นหากอาการท้องเสียส่งผลให้คุณนอนหลับได้ไม่สนิทนัก คุณอาจลองปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์สั่งจ่ายยาที่ช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น และหากคุณมีอาการท้องเสียเรื้อรัง (นานกว่า 4 สัปดาห์) คุณอาจจำเป็นต้องทานยาหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อควบคุมอาการไม่ให้แย่ลงกว่าเดิม [17]
    • คุณอาจจำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารหากคุณมีอาการท้องเสียเรื้อรังและมักรบกวนการนอนหลับของคุณอยู่บ่อยครั้ง
  2. ไปพบแพทย์หากอาการท้องเสียไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น. แม้จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวอยู่บ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วอาการท้องเสียมักมีอาการไม่รุนแรงมากนักและสามารถหายเองได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้: [18]
    • อาการท้องเสียยังคงไม่หายดีหลังผ่านไปแล้วกว่า 2 วัน
    • มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ปัสสาวะมีสีเข้มหรือขุ่น ผิวแห้ง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และวิงเวียน
    • มีอาการเจ็บอย่างรุนแรงที่ท้องหรือทวารหนัก
    • มีไข้สูงเกิน 38 องศา
    • ขับถ่ายมีเลือดหรือหนองปน
    • อุจจาระมีสีดำและเหนียว
  3. พาเด็กไปพบแพทย์เมื่อมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง. เด็กที่มีอาการท้องเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กทารกเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำมากที่สุด ดังนั้นคุณจึงควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการดังต่อไปนี้: [19]
    • อาการท้องเสียยังคงไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง
    • มีสัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ไม่มีน้ำตาในขณะร้องไห้ ไม่ปัสสาวะนานกว่า 3 ชั่วโมง มีไข้สูง กระสับกระส่าย ฉุนเฉียวง่าย ตาโหล แก้มตอบ หรือกระหม่อมบุ๋ม
    • มีไข้สูงเกิน 38 องศา
    • อุจจาระมีเลือดหรือหนองปน หรือมีสีดำและเหนียว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,051 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา