ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) หรือที่มักเรียกกันว่า “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ” เกิดขึ้นเมื่อปริมาณกลูโคสในเลือดต่ำกว่าระดับปกติ กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป เซลล์สมองและกล้ามเนื้อจะไม่ได้รับพลังงานเพื่อนำไปใช้ทำงานได้อย่างเหมาะสม ไฮโปไกลซีเมียสามารถนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานหรือนำไปสู่การตอบสนองต่ออาหารบางอย่างที่กินเข้าไป (หรือเมื่อไม่ได้รับอาหารเพียงพอ) มักทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดตกฉับพลัน โดยปกติภาวะนี้มักรักษาได้อย่างรวดเร็วโดยการกินอาหารที่มีกลูโคสปริมาณเล็กน้อยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากปล่อยให้เกิดไฮโปไกลซีเมียโดยไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดหัว เป็นลมและอาการรุนแรงกว่านั้นมากมาย ทั้งอาการชัก โคม่าหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องแน่ใจว่าคุณทำตามที่แพทย์สั่งมาโดยตลอดในเรื่องของการกินยา ทั้งอินซูลินและยากินสำหรับเบาหวานอื่นๆ ว่าควรกินอย่างไรและเมื่อไหร่บ้าง นอกจากนั้น ถ้าแพทย์สั่งให้เข้มงวดเรื่องการกินอาหาร หรือคุณได้ปรึกษากับนักโภชนาการ หรือพบกับแพทย์ผู้มีความรู้พิเศษในเรื่องโภชนาการ คุณต้องพยายามทำตามแผนการกินอาหารอย่างเคร่งครัด ซึ่งได้รับการออกแบบมาอย่างละเอียดเพื่อหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนจากโรคที่คุณเป็นและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน [1]
    • บางทียาป้องกันที่ดีที่สุดคือการทำตามกฎและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพประจำของคุณ
  2. คนที่เป็นโรคเบาหวานควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยวันละครั้ง ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงตื่นนอนตอนเช้าและก่อนกินอาหาร คุณต้องแน่ใจว่าจดตัวเลข ได้แก่ วันที่ เวลาและผลการทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดลงในใบเก็บข้อมูลหรือในสมุดบันทึกด้วย คนที่เป็นโรคเบาหวานบางคน โดยเฉพาะพวกที่เป็นเบาหวานแบบควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก ซึ่งมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดเดี๋ยวสูงเดี๋ยวต่ำ ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยกว่าปกติ อาจจะถึง 4 ครั้งต่อวัน (ในช่วงเวลาก่อนกินอาหารเช้า ก่อนอาหารกลางวัน ก่อนอาหารเย็นและก่อนเข้านอน) การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนั้นใช้เครื่องมือกลูโคมิเตอร์หรือเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ซื้อเครื่องตรวจ เข็มเจาะเลือดบริเวณนิ้ว แถบตรวจวัดที่ใช้กับเครื่องตรวจและสำลีชุบแอลกอฮอล์สำหรับเช็ดทำความสะอาดนิ้วก่อนเจาะเลือด วิธีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทำได้ดังนี้: [2]
    • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเปล่า
    • ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ทำความสะอาดนิ้วชี้และนิ้วกลาง
    • ถือเข็มเจาะเลือดทำมุม 90 องศากับนิ้วและปล่อยที่เจาะลงไปที่นิ้วนั้น
    • กดเลือด 1 หยดลงบนแถบตรวจวัด
    • นำแผ่นตรวจวัดเข้าไปในช่องกลูโคมิเตอร์และรออ่านค่าที่ได้
    • บันทึกค่าที่ได้ลงไปในใบเก็บข้อมูลของคุณ ระดับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือต่ำกว่านั้นบอกว่าคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและมักจะเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  3. คุณควรกินอาหารครบ 3 มื้อและกินของว่าง 3 อย่างตลอดวัน เพื่อให้คุณกินอาหารเป็นปกติและสม่ำเสมอ อย่าลืมแบ่งเวลาการกินอาหารและของว่าง เพื่อให้มีระยะเวลาห่างเท่าๆ กับสำหรับอาหารแต่ละอย่าง ถ้าคุณเผลอกินอาหารหรือของว่างช้ากว่าปกติ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงได้ [3] [4]
    • วางแผนการกินอาหารให้ห่างกันไม่เกิน 4-5 ชั่วโมง
    • ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน ห้ามงดอาหาร และยิ่งถ้าคุณกินยาสำหรับโรคเบาหวานอยู่ การกินอาหารให้ครบทุกมื้อยิ่งสำคัญเลย
    • ต้องแน่ใจว่าคุณกินอาหารมากกว่าปกติเพื่อทดแทนในวันที่คุณเสียแคลอรี่มากกว่าธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณไปวิ่งมาราธอนมาวันเสาร์ อย่าลืมว่าวันนั้นคุณต้องกินมากกว่าวันปกติ
  4. มื้ออาหารควรประกอบไปด้วยแหล่งโปรตีน เช่น ไก่ ปลา เนื้อ ซึ่งควรมีขนาดประมาณไพ่ 1 สำรับ (ประมาณ 3-4 ออนซ์) ถ้าคุณเป็นมังสวิรัติ คุณต้องกินโปรตีนจากแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น ไก่ เต้าหู้ ถั่วเหลือง โยเกิร์ตกรีก เป็นต้น นอกจากแหล่งโปรตีน ก็อย่าลืมกินอาหารที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและผักผลไม้สดเยอะๆ ด้วย [5]
    • คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนควรมีอยู่ 40-60% ของมื้ออาหารในแต่ละวัน แหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ดี ได้แก่ ข้าวกล้อง ถั่ว ขนมปังธัญพืช รวมถึงผักเช่น กะหล่ำ กะหล่ำปลี บรอคโคลี ควรจำกัดการกินคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น ขนมปังขัดขาว เส้นสปาเกตตี น้ำเชื่อม ลูกอม [6]
    • ส่วนผลไม้ที่เป็นตัวเลือกที่ดี ได้แก่ ส้ม พีช องุ่น บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ แตงโม นอกจากผลไม้เหล่านี้จะทำให้คุณอิ่มท้องแล้วยังมีสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย ผลไม้สดเป็นแหล่งน้ำตาลธรรมชาติที่ดีมาก ซึ่งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    • วิธีการกินที่ดีและทำได้ง่ายที่สุดคือการกำหนดให้มีผักและผลไม้ประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของจานอาหาร
  5. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนมากๆ เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลมบางชนิด คาเฟอีนจะทำให้เกิดอาการเหมือนกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจจะทำให้อาการคุณแย่กว่าเดิม [7]
  6. ถ้าคุณเสี่ยงที่จะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คุณควรพกขนมที่พกพาสะดวกกินง่ายไปที่ทำงาน มีติดไว้ในรถหรือที่ไหนก็ตามที่คุณต้องใช้เวลาอยู่นานๆ ของว่างที่กินสะดวกและดีต่อสุขภาพได้แก่ ชีสแท่ง ถั่ว โยเกิร์ต ผลไม้ น้ำปั่น [8]
  7. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเวลาที่ท้องว่างอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้สำหรับบางคน ในบางกรณี ปฏิกิริยาอาจเกิดช้าประมาณ 1-2 วัน ซึ่งอาจยากที่จะรู้ว่าเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าคุณดื่มแอลกอฮอล์ จึงต้องดื่มพร้อมกับอาหารหรือขนมเสมอ [9] [10]
  8. การออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะจะช่วยให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดต่ำลง ด้วยเหตุผลนี้เอง กิจกรรมที่ใช้ร่างกายสามารถลดระดับน้ำตาลลดต่ำลงได้นาน อาจจะนานถึง 24 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย ถ้าคุณออกกำลังกาย ต้องแน่ใจว่าคุณออกกำลังหลังจากกินอาหารไปแล้วครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ต้องคอยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเสมอทั้งก่อนและหลังออกกำลัง [11] [12]
    • พกของว่างติดตัวถ้าคุณออกกำลังที่ใช้พลังมาก เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน ของว่างจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    • ถ้าคุณเผาผลาญแคลอรี่ไปมาก คุณอาจต้องปรับการกินยาหรือการกินของว่าง การปรับนี้ขึ้นกับผลของระดับน้ำตาลในเลือดที่คุณตรวจวัดแล้ว ระยะเวลาและแรงที่ใช้ในการออกกำลังนั้นๆ หากคุณเป็นโรคเบาหวานและต้องการออกกำลังตามแบบแผนของคุณไปพร้อมๆ กับการจัดการสภาพร่างกายที่เป็นอยู่ คุณควรปรึกษาแพทย์
  9. สัญญาณแรกของอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือการกินของว่างฉับพลัน คุณจะจัดการกับอะไรก็ตามที่คุณมีหรืออยู่ในมืออย่างเร็วที่สุด อาการเหล่านี้อาจหายไปภายใน 10-15 นาทีหลังกินอาหาร คุณต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดใหม่หลังการกิน 15 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาอยู่ที่ระดับ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือสูงกว่านั้น ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังต่ำมากอยู่ ให้กินขนมอีก ถ้าคุณมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากเพียงครั้งเดียว คุณไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลหรือพบแพทย์ ถ้าทำได้ คุณต้องนั่ง ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะเป็นลมได้ อาหารทางเลือกที่กินสะดวกและดีต่อร่างกายได้แก่: [13]
    • น้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม แอปเปิ้ล องุ่น ฯลฯ 1/2 ถ้วย (4 ออนซ์)
    • น้ำอัดลมปกติ (ไม่ใช่แบบไดเอท) 1/2 ถ้วย (4 ออนซ์)
    • นม 1 ถ้วย (8 ออนซ์)
    • ลูกกวาด เช่นยี่ห้อ Jolly ranchers หรือ Lifesavers 5-6 เม็ด
    • น้ำตาลหรือน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
    • กลูโคสแบบเม็ด 3-4 เม็ด หรือกลูโคสแบบเจล 1 หลอด (15 กรัม) ต้องอย่าลืมว่าปริมาณที่เหมาะสมของอาหารเหล่านี้อาจลดลงเมื่อใช้กับเด็กเล็ก ควรอ่านคำแนะนำการใช้ก่อนให้กลูโคสแบบสำเร็จรูปแก่เด็ก เพื่อให้ได้รับกลูโคสในปริมาณที่เหมาะสม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การเข้าใจภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไฮโปไกลซีเมียหรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิดขึ้น เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำกว่าระดับปกติ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกถึงอาการของไฮโปไกลซีเมีย เมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน เวลาตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้อินซูลินร่วมกับการกินอาหารที่มีแคลอรี่ไม่เพียงพอ การได้รับอินซูลินมากเกินไปหรือการใช้พลังโดยไม่ได้รับอาหารที่มีแคลอรี่เพียงพอ (เช่น ถ้าคุณจะไปวิ่งระยะทาง 10 กิโลเมตร แต่เลือกกินไปเพียงของว่าง) [14]
    • แต่ภาวะนี้อาจเกิดจากสาเหตุที่พบได้ยากอื่นๆ เช่น เนื้องอกในตับอ่อน (insulinoma) ซึ่งทำให้ผลิตอินซูลินมากเกินไป ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เกิดเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หลังการกินอาหารแต่มื้อนั้นๆ หรือหลังการกินอาหารบางชนิด [15]
    • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเป็นผลข้างเคียงของการกินยารักษาโรคเบาหวาน เช่น อินซูลิน ยาเม็ด เช่น ยาไกลบูไรด์ ยาไกลพิไซด์ ซึ่งกินเพื่อเพิ่มการผลิตอินซูลิน การกินยาหลายตัวผสมกัน เช่น ยาไกลพิไซด์พร้อมกับยาเมทฟอร์มิน หรือยาไกลบูไรด์พร้อมกับยาเมทฟอร์มิน ก็สามารถทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ [16] นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่คุณต้องเปิดเผยการกินยา วิตามินและอาหารเสริมต่างๆ รวมถึงการใช้สมุนไพรรักษาทั้งหมดแก่แพทย์
  2. มีอาการทางร่างกายและจิตใจมากมายที่เป็นสัญญาณบอกคุณว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำ ได้แก่: [17]
    • อาการสั่น
    • วิงเวียน
    • อ่อนล้า
    • จิตใจสับสน เช่น ไม่แน่ใจในเรื่องของวันที่ เดือน ปี ฯลฯ
    • ระดับการรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง สมาธิลดลง หรือง่วงเซื่องซึม
    • เหงื่อออกท่วมตัวหรือภาวะตื่นตกใจ
    • โคม่า (ข้อควรระวัง: ภาวะสับสนรุนแรงและโคม่าจะไม่เกิดขึ้น จนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ที่ประมาณ 45 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)
  3. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยวันละครั้ง (เมื่อคุณตื่นนอนและก่อนกินอาหาร) ทำตามคำแนะนำข้างต้น ได้แก่ การออกกำลังกายเป็นประจำและการกินอาหารและของว่างตลอดวัน อย่าลืมพกของว่างติดตัวเมื่ออกไปข้างนอกก็เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ [18] [19]
    • นอกจากนี้ ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานหรือมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำฉับพลัน คุณต้องบอกอาการแก่เพื่อน ครอบครัวและเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้ของคุณ เพื่อให้เขาช่วยเหลือคุณได้ หากเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำฉับพลันหรือรุนแรง ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนควรรู้จักโรคและวิธีการรักษาเด็กที่มีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ [20]
    • ควรถือเอกสารที่ระบุว่าเป็นโรคเบาหวาน เช่น สร้อยคอหรือสร้อยข้อมือที่ระบุโรคหรือบัตรเอกสารทางการแพทย์ไว้ในกระเป๋าเงิน เพื่อให้คนอื่นทราบว่าคุณเป็นโรคเบาหวานในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
    • ระวังเวลาขับรถ เพราะอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้การขับรถนั้นอันตรายมาก เวลาขับรถทางไกล ให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนขับ และควรเตรียมของว่างไว้ยามจำเป็นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่ำ 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร [21]
  4. แจ้งผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ หากคุณมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย (มากกว่า2-3 ครั้งต่อสัปดาห์) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญปรับปริมาณยาให้เหมาะสมกับอาการ [22] [23]
    • สิ่งที่สำคัญมากคือคุณต้องนำบันทึกระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปให้แพทย์ด้วย เพื่อให้แพทย์ทราบว่าเมื่อไหร่ที่อินซูลินในร่างกายคุณสูงขึ้น และระดับกลูโคสลดลง แพทย์จะได้สามารถวางแผนการใช้อินซูลินชนิดที่เหมาะสม (ระดับปกติ ระดับกลาง หรือแบบที่มีฤทธิ์นาน) ปริมาณยาที่เหมาะสมแต่ละช่วงเวลาของวันตามที่คุณบันทึกไว้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณจะไม่มีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในภายหลัง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเรียนรู้ที่จะปรับระดับน้ำตาลในเลือดและการหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจจะใช้เวลา อาศัยแรงจูงใจและความเต็มใจเพื่อทำให้สุขภาพร่างกายและความเป็นอยู่โดยรวมของคุณดี
โฆษณา

คำเตือน

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเกิดขึ้นค่อนข้างฉับพลัน โดยปกติมักจะรักษาได้ง่ายโดยการกินอะไรหวานๆ อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทรุดหนักและทำให้เกิดภาวะสับสน งุ่มง่าม หรือเป็นลมได้ ในกรณีที่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการชัก โคม่าหรือถึงขั้นเสียชีวิต [24]
โฆษณา
  1. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-hypoglycemia/basics/prevention/con-20034680
  3. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx
  4. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx
  5. Philip Cryer,The Barrier of Hypoglycemia, Diabetes, 2008 Dec 57 12 3169-3176
  6. Kevin Stuart, Annmarie, Field, Jessie Raju, :Postprandial Reactive Hypoglycemia, varying presentation patterns in extended glucose tolerance tests and possible therapeutic approaches, Hindawi, Case Reports in Medicine, 2013 article ID 273957
  7. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx
  8. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-hypoglycemia/basics/prevention/con-20034680
  10. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx
  11. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx
  12. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-hypoglycemia/basics/prevention/con-20034680
  14. http://www.drugs.com/cg/non-diabetic-hypoglycemia.html
  15. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/Diabetes/hypoglycemia/Pages/index.aspx

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,076 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา