ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในชีวิตเราต้องตัดสินใจอะไรมากมาย เรื่องที่ต้องตัดสินใจมีตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องสำคัญ อะไรที่เราตัดสินใจทำลงไปนั้นจะกำหนดชีวิตเราในภายหลัง การตัดสินใจครั้งสำคัญอาจแม้แต่มีผลกระทบต่ออนาคตก็เป็นได้ ถ้าเคยทำอะไรสักอย่างลงไปและต้องเสียใจ เราก็ได้บทเรียนที่จะสามารถนำมาใช้ตัดสินใจได้ดีขึ้นในครั้งต่อไปแล้ว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ตั้งกรอบการตัดสินใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่จะสามารถตัดสินใจได้ดี ต้องสรุปประเด็นปัญหาให้ชัดเจนก่อน วิธีนี้จะช่วยให้มุ่งเฉพาะแต่เรื่องที่กำลังตัดสินใจ และป้องกันไม่ให้สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมาทำให้ไขว้เขว [1] การเขียนประโยคง่ายๆ ลงไปหนึ่งหรือสองประโยคว่า “เรื่องที่ฉันต้องตัดสินใจคือ...” ก็ช่วยได้แล้ว
    • ควรถามตนเองว่าทำไมรู้สึกว่าต้องตัดสินใจทำอะไรสักอย่างกับเรื่องนี้ แรงจูงใจคืออะไร วิธีนี้จะทำให้เข้าใจสิ่งที่จะทำ อาจตัดสินใจซื้อรถใหม่ ซื้อรถใหม่เพราะต้องมีรถใหม่ไหม ต้องการมีรถใหม่เพราะเพื่อนเราก็มีรถใหม่หรือเปล่า การเข้าใจแรงจูงใจของตนเองช่วยหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ไม่ดี [2]
  2. ความรู้สึกมีผลต่อการตัดสินใจ [3] นี้ไม่ใช่เรื่องแย่ สิ่งที่สำคัญคือหาให้พบว่าตนเองรู้สึกอย่างไรและควบคุมความรู้สึกนั้น การตัดสินใจที่ดีเกิดจากการใช้อารมณ์ความรู้สึกประกอบกับเหตุผล ควรใช้อารมณ์ความรู้สึกตอนที่ต้องตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรงเท่านั้น [4]
    • ถ้าได้รับข่าวร้ายตอนก่อนไปทำงานหรือไปโรงเรียนพอดี ความรู้สึกด้านลบพวกนี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบางเรื่อง ถ้ารู้ตัว ก็สามารถสงบใจในเวลาแค่แวบเดียว และเตือนตัวเองว่าต้องทำงานสำคัญที่อยู่ตรงหน้าก่อน
  3. เราอาจได้ยินผู้คนพูดถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของเรา การมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญ แต่การได้ข้อมูลมาเยอะเกินไปก็อาจไม่ดีนัก [5] เรามักจะตัดสินใจจากข้อมูลล่าสุดที่เราได้รับมา
    • ควรจัดลำดับว่าข้อมูลใดสำคัญและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องตัดสินใจมากที่สุด อาจจัดลำดับความสำคัญข้อมูลที่ต้องการไว้ในใจ หรือเขียนใส่กระดาษไว้
    • ถ้าคิดเรื่องที่กำลังตัดสินใจอยู่มานาน พักเพื่อทำให้จิตใจปลอดโปร่ง อาจเดินเล่น หรืออ่านหนังสือสัก 15 นาที [6]
  4. เขียนทางเลือกที่มีทั้งหมด ไม่ว่าจะรู้สึกว่าทางเลือกที่มีนั้นจะน่าขำแค่ไหน จิตไร้สำนึกมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ นักวิทยาศาสตร์พบว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่อาศัยจิตไร้สำนึก การตัดสินใจเหล่านี้กลายเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะตัดสินใจตามข้อมูลที่มีอยู่ [7]
    • ฝึกใช้สติในการตัดสินใจ [8] ควรทิ้งสิ่งที่ทำให้ไขว้เขว และใช้เวลาตั้งสมาธิกับเรื่องที่ต้องตัดสินใจตรงหน้า หายใจเข้าลึกๆ และคิดเรื่องที่ต้องตัดสินใจ หาหนทางต่างๆ ในการแก้ปัญหา ข้อดีและข้อเสียของทางเลือกแต่ละทาง แค่ทำสมาธิ 15 นาทีก็สามารถทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น [9]
    • ควรตั้งสมาธิกับเรื่องที่อยู่ในปัจจุบัน ถ้าจิตใจเริ่มออกนอกลู่นอกทาง ให้พาความคิดกลับมาอยู่กับเรื่องที่ต้องตัดสินใจอีกครั้ง
    • การหมั่นยับยั้งความรู้สึกและการเตรียมข้อมูลที่จำเป็นจะช่วยให้การคิดแบบไร้จิตสำนึกทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น [10]
  5. การตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเองนั้นยากลำบาก ให้แสร้งทำเป็นว่ากำลังตัดสินใจเรื่องของเพื่อน และเราเป็นผู้ให้คำปรึกษา เราจะให้คำแนะนำแก่เพื่อนต่างออกไปจากที่เราให้คำแนะนำตนเอง [11] [12] วิธีนี้จะทำให้ได้มุมมองในการตัดสินใจหลายมุมมอง
    • ถ้ากำลังตัดสินใจว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์เดิมดีไหม ลองแสร้งทำเป็นว่าเพื่อนเราอยู่ในความสัมพันธ์นั้น ไม่ใช่เรา จากนั้นเราจะพิจารณาความสัมพันธ์จากมุมมองของคนสองคนที่เกี่ยวข้องในความสัมพันธ์นั้น อาจคิดวิธีการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ของเพื่อนคนนั้น และคิดผลลัพธ์ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
    • การใช้มุมมองจากคนภายนอกยังช่วยยับยั้งความรู้สึกอีกด้วย
  6. ควรเขียนสิ่งที่เป็นผลดีและสิ่งที่เป็นผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ ยังควรคิดอีกด้วยว่าใครอาจได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของเรา [13] จำไว้ว่ามีข้อดีและข้อเสียไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไรลงไป ควรตัดสินใจโดยชั่งน้ำหนักผลดีและผลเสีย เพราะไม่มีการตัดสินใจใดที่จะสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง
    • ถ้าวางแผนที่จะซื้อรถคันใหม่ ข้อดีคือ รถอยู่ในช่วงรับประกันสินค้า รถเป็นแบบรุ่นใหม่ล่าสุด ใช้น้ำมันต่อระยะทางน้อยกว่า ข้อเสียอาจจะเป็นมีค่าใช้จ่ายดูแลรถยนต์เพิ่มเข้ามา และต้องจ่ายค่าประกันรถยนต์ คำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ควบคู่กับสถานการณ์ทางการเงินและสถานการณ์การคมนาคมในปัจจุบัน
    • ควรคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดและสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของเรา ควรคำนึงถึงด้วยว่าถ้าไม่ตัดสินใจทำเลย อะไรจะเกิดขึ้น (ซึ่งนี้ก็เป็นการตัดสินใจเช่นกัน)
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ตัดสินใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งที่ชอบและรูปแบบการคิดที่เคยชินอาจทำให้การตัดสินใจเราล้มเหลวในหลายครั้ง ทั้งที่ตั้งกรอบการตัดสินใจ ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ดี การรู้ตัวว่าสิ่งที่ชอบและอคติสามารถมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญ [14]
    • มองปัญหาจากมุมมองต่างๆ แทนที่จะยึดติดกับวิธีแก้ปัญหาวิธีแรก อาจรับคำแนะนำจากคนอื่นที่คิดต่างจากเราก็ได้เพื่อจะได้มุมมองมากขึ้น [15]
    • อย่าตัดสินใจทำเพียงเพราะทำสะดวกที่สุด การเปลี่ยนแปลงนั้นยาก แต่บางครั้งการพยายามทำอะไรที่แตกต่างออกไปจากเดิม หรือไม่เหมือนสิ่งที่ทำตามปกติก็เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
    • ถ้าตัดสินใจไปแล้ว ไม่เพียงแค่หาข้อมูลที่สนับสนุนสิ่งที่ต้องการทำเท่านั้น ลองไม่มีอคติ และพิจารณาประเด็นปัญหาทุกด้าน
    • เน้นตัดสินใจเรื่องที่อยู่ตรงหน้าและสถานการณ์ปัจจุบัน เตือนตนเองว่าอดีตก็คืออดีต และไม่ตัดสินใจโดยดูจากความผิดพลาดหรือความสำเร็จก่อนหน้านี้ [16]
  2. พอตัดสินใจว่าจะทำอะไร ควรเขียนออกมาเป็นขั้นตอนเพื่อจะได้ทำตามสิ่งที่ตัดสินใจไว้ให้สำเร็จ [17] แผนการที่นำไปปฏิบัติได้ควรเป็นขั้นเป็นตอน มีระยะเวลาที่จะทำตามสิ่งที่ตัดสินใจไว้ให้สำเร็จ รวมทั้งระบุคนที่อาจได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของเรา
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าตัดสินใจไปพักร้อน ก็ต้องมีขั้นตอนเพื่อทำให้ได้ไปพักร้อน ขั้นตอนต่างๆ อาจมีการตั้งงบประมาณ การเก็บเงินเพื่อไปพักร้อน การพูดคุยตกลงกับคนที่จะไปพักร้อนกับเรา กำหนดวันพักร้อน จะเดินทางอย่างไร พักโรงแรมไหน กำหนดระยะเวลาขั้นตอนแต่ละขั้นตอนเพื่อทำสิ่งเหล่านี้ให้สำเร็จ
  3. อย่าชักช้า รีรอ หรือสงสัย เพราะทางที่เลือกนั้นกลายเป็นสิ่งที่ตัดสินใจจะทำไปแล้ว และต้องทำตามสิ่งที่ตัดสินใจจะทำให้บรรลุผล ใช้เวลา แรงกาย ตนเอง และความตั้งใจทำสิ่งที่ตนได้ตัดสินใจ ถ้าทำไม่ได้และยังคงคิดว่ามีทางเลือกอยู่ แสดงว่าสิ่งที่ตัดสินใจจะทำนั้นไม่ดีพอ เพราะเราไม่สามารถตัดทางเลือกอื่นออกไปได้ การทำตามสิ่งที่ตัดสินใจไปแล้วสำคัญมาก
    • การลองตัดสินใจนั้นยากที่สุด เราอาจเอาแต่จดจ่อหาทางเลือกที่ถูกต้องจนไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ถ้าไม่สามารถทำตามที่ตัดสินใจได้ อาจพลาดผลตอบแทนและผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับก็ได้ [18] ถ้ากำลังคิดเรื่องสมัครงานใหม่ แต่ไม่เคยเข้าไปกรอกใบสมัครงานเลย ก็อาจมีคนอื่นได้งานไปแทน เราจึงพลาดโอกาสที่จะได้รับแม้แต่การพิจารณาใบสมัครจากฝ่ายบุคคล
  4. ส่วนหนึ่งของการตัดสินใจที่ดีคือประเมินการตัดสินใจ ผู้คนมากมายลืมไตร่ตรองสิ่งที่ตัดสินใจ การประเมินจะช่วยให้เห็นสิ่งต่างๆ ว่าเป็นไปด้วยดีหรือไม่ วิธีนี้จะช่วยให้ข้อมูลสิ่งที่จะต้องตัดสินใจในอนาคตได้ [19]
    • ถามตนเองว่า มีความสุขกับผลลัพธ์ที่ได้ไหม ทำอะไรได้ดีกว่านี้ไหม มีอะไรที่ทำต่างออกไปไหม เรียนรู้อะไรจากการตัดสินใจนี้
  5. ไม่มีใครตัดสินใจได้ถูกต้องตลอดเวลา อย่าเคร่งครัดกับตนเองมากเกินไป บางครั้งเราก็ถูกบีบให้ตัดสินใจโดยไม่มีเวลาหรือข้อมูลเพียงพอ ถึงแม้ผลของการตัดสินจะไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ก็สามารถใช้ประสบการณ์นี้สร้างทางเลือกที่แตกต่างออกไปได้ [20]
    • เราอาจพิจารณาทางเลือกหลายทางเมื่อต้องตัดสินใจ สามารถกลับไปและลองทางเลือกอื่น แล้วลองเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้ง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คิดก่อนพูดหรือทำเสมอ
  • สิ่งที่ทำอยู่ต้องเป็นการช่วยคนอื่น หรืออย่างน้อยที่สุดไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
  • เหนือสิ่งอื่นใด เสนอการตัดสินใจอย่างมั่นใจโดยคิดว่า “ลองทำดูเถอะ” แต่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจใดๆ เพื่อลดความเสียหาย สิ่งที่ตัดสินใจส่วนใหญ่ เราไม่สามารถรู้ข้อเท็จจริงทุกอย่าง ฉะนั้นเชื่อสัญชาตญาณ สัญชาตญาณเป็นผลของการเข้าถึงแหล่งความรู้และประสบการณ์ที่เก็บไว้ในจิตใต้สำนึก
  • ถึงแม้ฝึกการตัดสินใจมาอย่างดีแล้ว ก็ไม่อาจรับรองความถูกต้องได้ แต่ถ้าทำจนชำนาญ ก็สามารถสร้างการตัดสินใจที่ดีได้
  • อย่าเชื่อสัญชาตญาณอย่างเดียวเมื่อต้องตัดสินใจเรื่องใหญ่ที่ต้องพึ่งความรู้และความเชี่ยวชาญ ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญอย่างนักบัญชีหรือนักกฎหมายช่วยเราได้ การโทรไปปรึกษาพวกเขาจะช่วยลดความเสี่ยง
  • กระบวนการนี้อาจใช้เวลาและกำลังมาก โดยเฉพาะเมื่อนำมาใช้กับปัญหาที่ซับซ้อน ต้องใช้เทคนิคการคิดและทักษะที่ครอบคลุม แต่นี้ก็เป็นแค่กระบวนการเท่านั้น และการทำตามกระบวนการนี้จะช่วยให้สามารถคิดถึงอนาคตได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น
  • อย่าทำอะไรที่ช่วยตนเองแต่ทำร้ายคนอื่น
  • การตัดสินใจที่ดีที่สุดอาจเกิดขึ้นได้เพียงตอนที่รู้ว่าตนเองรู้สึกอย่างไร เราจะรู้สึกว่ากระบวนการเข้าสู่การตัดสินใจจริงๆ นั้นสมบูรณ์ น่าพอใจ และสร้างสรรค์ การใช้กระบวนการนี้จนประสบความสำเร็จคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะกลายเป็นนักตัดสินใจที่ประสบความสำเร็จ และถ้าลองมองย้อนกลับไป จะพบว่าเราได้ทะลายอุปสรรคที่ทำให้เราลำบากในอดีตโดยไม่รู้ตัว
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,401 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา