ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการหายใจ อย่าง ปอดบวม (pneumonia), หอบหืด (asthma), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disorder) หรือโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ (respiratory infection) คุณอาจจำเป็นต้องใช้ nebulizer [1] Nebulizer เป็นเครื่องที่ต้องเสียบปลั๊กหรือใช้ถ่าน เครื่องนี้ใช้เปลี่ยนยาน้ำให้กลายเป็นละอองน้ำละเอียดที่คุณสามารถสูดเข้าไปในปอดได้ โดยใช้หน้ากากครอบปากเหมือนหน้ากากออกซิเจน เมื่อสูดละอองยาเข้าไปคุณก็จะหายใจได้คล่องขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เตรียมตัวก่อนพ่นยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มจากล้างมือด้วยสบู่ในน้ำที่ไหลจากก๊อกประมาณ 20 วินาที จากนั้นล้างให้สะอาดแล้วใช้กระดาษเช็ดให้แห้ง เวลาปิดก๊อกก็ต้องใช้ทิชชู่ปิดด้วยนะ [2]
  2. เปิดฝาถ้วย nebulizer ออกแล้วเทยาในปริมาณที่แนะนำลงไป ยาแก้โรคทางเดินหายใจหลายตัวที่ใช้กับ nebulizer จะมาในปริมาณที่ตวงวัดไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้ายาของคุณไม่ได้ตวงมา ให้คุณเทลงไปในปริมาณที่แนะนำสำหรับการพ่นยา 1 ครั้ง จากนั้นปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้ยาหก อย่าลืมเสียบปลั๊กก่อนใช้ด้วยถ้าไม่ได้เป็นเครื่องแบบใส่ถ่าน
    • ยาที่ใช้กับ nebulizer ได้ก็เช่น beta agonist แบบสูดพ่น กับ anticholinergics หรือ glucocorticoids แบบสูดพ่น และยาปฏิชีวนะแบบสูดพ่น เป็นต้น ยาแบบสูดพ่นตัวอื่นๆ สำหรับรักษาโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคทางเดินหายใจก็มี แต่ไม่ใช่ยาทุกตัวที่จะพ่นเป็นละอองลอย (aerosol) ได้
    • เครื่องแบบ jet nebulizer หรือ pneumatic nebulizer นั้นเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด เครื่อง nebulizer แบบใหม่ๆ นั้นจะถูกออกแบบให้สูดยาได้ทั้งหมดในทีเดียว การทำงานของ nebulizer นั้นจะเป็นผลมาจากการฉีดพ่นละออง กลไกการก่อตัวของละอองลอยและตัวยา ถ้าคุณอยากศึกษาวิธีพ่นยาด้วย nebulizer ให้ละเอียดกว่านี้ ให้คุณปรึกษาคุณหมอหรือนักบำบัดโรคทางเดินหายใจดู
  3. ประกอบท่อหรือช่องพ่นยาเข้ากับถ้วย nebulizer ถึง jet nebulizer ของแต่ละผู้ผลิตจะแตกต่างกันไปไม่มากก็น้อย แต่ส่วนใหญ่ช่องพ่นยาก็จะติดที่ด้านบนของถ้วย nebulizer ทั้งนั้น เครื่อง nebulizer ส่วนใหญ่จะมีท่อหรือช่องพ่นยาไว้ใช้อมแทนหน้ากากครอบหน้า เพราะเดี๋ยวยาจะไปสะสมที่หน้าแทน
  4. ต่อสายออกซิเจนด้านหนึ่งเข้ากับถ้วย nebulizer [3] เครื่อง nebulizer ส่วนใหญ่จะมีสายต่อเข้าที่ก้นถ้วย จากนั้นให้คุณต่อปลายอีกด้านกับเครื่องอัดลมของ nebulizer [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

พ่นยาด้วย Nebulizer

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิดเครื่องอัดลมหรือ air compressor แล้วพ่นยาด้วย nebulizer ได้เลย. อมท่อพ่นยาเข้าไปให้อยู่เหนือลิ้น จากนั้นปิดปากให้สนิท สูดยาเข้าไปช้าๆ ลึกๆ จะได้ต่อไปถึงปอด คุณจะหายใจออกทางปากหรือจมูกก็ได้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้บีบจมูกไว้ จะได้แน่ใจว่ายาถูกสูดเข้าไปทางปาก
    • ถ้าเป็นเด็กหรือคนป่วยหนักเกินจะใช้ท่อแบบอม จะใช้หน้ากากแบบหน้ากากออกซิเจนแทนก็ได้ หน้ากากครอบปากแบบนี้ก็ต่อที่ด้านบนของถ้วย nebulizer เช่นกัน มีทั้งของเด็กและผู้ใหญ่เลย
  2. นั่งหลังตรงและหายใจเอายาเข้าไปเรื่อยๆ จนหมดละออง ปกติจะใช้เวลาประมาณ 10 - 15 นาที พอยาหมดแล้วละอองก็จะหยุดพ่น ดูให้แน่ว่าถ้วย nebulizer ว่างเปล่าแล้ว ระหว่างนั้นให้ดูทีวีหรือฟังเพลงฆ่าเวลาไปพลางๆ
    • ถ้าเป็นเด็กต้องหากิจกรรมให้เขาทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ จะเล่นเกมปริศนา อ่านหนังสือ หรือระบายสีก็ได้ทั้งนั้น ขอแค่ทำให้เด็กนั่งเฉยๆ ได้นานจนยาหมด แต่จะดีที่สุดถ้าคุณให้เด็กนั่งตัก เพราะเด็กจะได้นั่งหลังตรงแล้วสูดยาเข้าไปได้มากที่สุด [5]
  3. อย่าลืมถอดปลั๊กแล้วถอดสายต่อและแยกถ้วยยากับท่อพ่น ล้างถ้วยยากับท่อพ่นด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ จากนั้นล้างน้ำให้สะอาด เอาอุปกรณ์ไปผึ่งลมให้แห้งบนผ้าขนหนู เป็นขั้นตอนที่ต้องทำทุกครั้งหลังพ่นยาเสร็จ
    • ไม่ต้องล้างสายต่อ เพราะถ้าสายเปียกต้องเปลี่ยนใหม่ และอย่าเอาส่วนไหนของเครื่อง nebulizer ไปล้างในเครื่องล้างจานเด็ดขาด เพราะความร้อนในเครื่องล้างจานจะทำให้พลาสติกบิดเบี้ยวได้
  4. เวลาจะฆ่าเชื้อให้ทำตามคู่มือที่ให้มาอย่างเคร่งครัด แช่น้ำยาได้ทุกส่วนยกเว้นสายต่อ ให้แช่ในส่วนผสมของน้ำส้มสายชูกลั่นขาว 1 ส่วน กับน้ำร้อน 3 ส่วน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วก็เททิ้งไปซะ ล้างแต่ละชิ้นส่วนในน้ำเย็นให้สะอาด (อย่าลืมว่ายกเว้นสายต่อ) แล้วผึ่งให้แห้งบนผ้าขนหนู พอแต่ละส่วนแห้งแล้วก็ให้เอาไปเก็บในกล่องให้สะอาด [6]
    • เพื่อสุขอนามัยที่ดี ห้ามใช้ nebulizer ร่วมกันเด็ดขาดไม่ว่าส่วนไหนและถึงจะล้างแล้วก็เถอะ แต่ละคนควรจะมีเครื่อง nebulizer ส่วนตัวแยกไปเลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบถ้าใช้หน้ากากคับๆ หน่อยจะดีกว่า คุณหมอมักจะมีลูกเล่นที่หน้ากากเป็นพวกไดโนเสาร์หรืออะไรก็ว่าไป เด็กจะได้สนใจ ไม่คิดว่าน่ากลัว
  • ถ้าจำเป็น ถังออกซิเจนก็ใช้แทนเครื่องอัดลมได้เหมือนกัน ให้ปรับระดับการไหล (flow rate) ไปที่ 6-8 ลิตรต่อนาทีสำหรับการใช้สร้างละอองลอย เป็นอีกวิธีที่ทำได้แต่ก็ไม่ค่อยแนะนำเพราะเดี๋ยวออกซิเจนจะหมดกลางคันขึ้นมา
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าใช้แล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาขึ้นมา อย่างหายใจหอบกว่าเดิม หายใจลำบากตอนกำลังสูดยา หรือปากบวม ให้หยุดรักษาด้วย nebulizer แล้วปรึกษาคุณหมอ รวมถึงในกรณีที่อาการของคุณทรุดหนักด้วย แต่ตามปกติคุณหมอจะเตือนเรื่องผลข้างเคียงไว้ก่อนแล้ว ว่าหัวใจอาจเต้นเร็วขึ้นหรือเวียนหัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนที่ใช้ nebulizer พ่นยาบางตัว [7]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เครื่อง nebulizer
  • เครื่องอัดลม (air compressor) สำหรับต่อกับ nebulizer
  • ยาที่คุณหมอสั่ง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 36,907 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา