ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราอาจจะรู้สึกพ่ายแพ้หรือสิ้นหวังราวกับไม่มีอะไรดีๆ เกิดขึ้นในชีวิตอีกแล้ว บางทีความสัมพันธ์อันดีจบสิ้นลง แล้วเราก็ทุกข์เพราะความสูญเสียนั้น หรือรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย เราอาจคิดว่าจะต้องอยู่ในสภาพนี้ตลอดไป แต่ความเป็นจริงแล้วความรู้สึกเจ็บปวดจะไม่อยู่กับเรานาน จงอดทนไว้ ฝ่าฟันไปให้ได้ และเราจะพบแสงสว่าง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

คาดหวังว่าจะมีอนาคตที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พบปะผู้คนที่เรานับถือและมีความสุขที่ได้อยู่ใกล้ อยู่กับคนที่มีความสุข เพราะคนเหล่านี้มักจะคิดอะไรในแง่ดีเสมอ [1] โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังพยายามอยู่ห่างจากคนที่มองโลกในแง่ร้าย หรือชอบวิพากษ์วิจารณ์ ให้อยู่กับคนที่หัวเราะง่าย ยิ้มบ่อย และทำให้เรารู้สึกดี
    • ใช้เวลาอยู่กับผู้คนอย่างคุ้มค่าและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้คงอยู่ยืนนาน [2] แทนที่จะดูทีวีตอนดึก เล่นเกมตอนกลางคืน ให้ไปดูหนัง และเดินทางไกลด้วยกัน เลือกกิจกรรมที่สร้างความทรงจำที่ดีแก่กันและสนุกที่ได้มาทำร่วมกัน
    • ติดต่อพบปะกับคนที่เรารักเสมอ
  2. ความเครียดและปัญหามากมายในชีวิตบ่อยครั้งก็หนักหนาเกินกว่าที่คนคนเดียวจะรับมือไหว นักบำบัดช่วยเราให้เห็นมุมมองที่ต่างออกไป รับมือกับปัญหาในช่วงเวลาวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยเราเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น [3]
    • การเข้ารับการบำบัดช่วยให้เราได้สำรวจตนเองและเติบโตขึ้น
    • อ่านวิธีการเลือกนักบำบัด ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
  3. เราอาจไม่สามารถ “แก้”ปัญหาทุกๆ อย่างได้ราวกับมีเวทมนตร์ แต่เราก็สามารถลงมือบรรเทาปัญหาที่เราประสบอยู่ให้เบาบางลงไปได้บ้าง ถ้าเรารู้สึกว่าตนเองมีภาระหนักหนาเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องเรียน และเรื่องครอบครัว ลองหยุดพักสักวันเพื่อจะได้คิดไตร่ตรองชีวิตตนเอง ถ้ารู้สึกจิตใจอ่อนล้า ลองหาเวลาคิดไตร่ตรองชีวิตดู การแก้ปัญหาหมายถึงการลดระยะห่างระหว่างเป้าหมายและสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน [4] เราไม่สามารถทำให้ปัญหาหายไปได้ แต่ทำให้มันเบาบางลงได้
    • ถ้าสิ่งของที่ควรทิ้งเต็มบ้านไปหมด แต่เราเหนื่อยหรือยุ่งจนจัดการไม่ไหว ให้จ้างคนมาช่วยเถอะ
    • การทำงานแต่ละชิ้นควรมี “กำหนดเวลา” และทำงานไปตามลำดับ
    • ถ้าอยากรู้รายละเอียดวิธีแก้ปัญหาเพิ่มเติม ให้ลองอ่านวิธีการแก้ปัญหา
  4. มองเห็นความหวังด้วยการสร้างความหวังนั้นขึ้นมา ลองนึกภาพตัวเราในอีกหลายปีข้างหน้าจากนี้ เมื่อตัวเราในปัจจุบันกลายเป็นความทรงจำที่ห่างไกลออกไป ตามปกติแล้วชีวิตวันอังคารของเราดูเป็นอย่างไร เรากำลังทำอะไรอยู่ และเห็นใครในชีวิตเรา เราอาศัยอยู่ที่ไหน เราทำงานอะไร เราทำกิจกรรมสนุกๆ อะไรอยู่ เมื่อเรานึกภาพอนาคตของตนเองแล้ว ลองลงมือทำเพื่อให้ภาพที่เห็นนั้นกลายมาเป็นความจริง [5]
    • ถ้ามองเห็นว่าตนเองทำอาชีพที่ต่างออกไป ก็เริ่มลงมือทำให้ภาพที่เห็นนั้นเกิดขึ้นจริง กลับไปเรียน หรือเริ่มฝึกทักษะใหม่ๆ ไม่มีอะไรเกินความสามารถเรา และไม่สายเกินไปที่จะเริ่มอะไรใหม่ๆ ถ้าสิ่งนั้นหมายถึงความสุขของเราแล้วล่ะก็
  5. เราไม่ต้องการเงินหรือสิ่งดีๆ มากมายเพื่อจะได้เป็นคนร่ำรวย ความสุขมักจะหาได้จากสิ่งเล็กๆ เป็นส่วนใหญ่ หรือพบในช่วงที่เรา “ได้ผ่อนคลายและเห็นสิ่งสวยงามรอบกาย” [6] เมื่อเรารู้สึกเหมือนจิตใจอ่อนล้า ก็ถึงเวลาหาความสุขเล็กๆ เช่น ไปซื้อขอลดราคาที่ร้านสะดวกซื้อ กินคุกกี้อร่อยๆ หรือไปเดินเล่นท่ามกลางบรรยากาศที่สว่างสดใส ปล่อยตัวเองให้ยิ้มกับอะไรดีๆ ที่เราเห็นบ้าง
    • คิดถึงสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข (เล่นกับลูก เป็นอาสาสมัคร เล่นแบดมินตัน) และตั้งใจทำสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เล่นกับสุนัข เต้นไปรอบห้อง ร้องเพลงดังๆ ในรถ
    • การเพิ่มเติมความสุขให้ชีวิตหมายถึงการเอาอะไรที่ทำให้ชีวิตไม่มีความสุขออกไปด้วย วิธีการเพิ่มเติมความสุขแบบนี้ได้แก่อยู่ห่างจากคนที่ทำให้เราทุกข์ใจ ทำลายบัตรเครดิตทิ้ง เรียนทำอาหารเพื่อจะได้ลดการการกินอาหารจังก์ฟู้ด ไม่ดูทีวี หรืออ่านข่าวร้ายๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
  6. การคิดเชิงบวกช่วยให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และไม่รู้สึกเครียด [7] การมองโลกในแง่ดีหมายถึงมองหาสิ่งดีๆ ที่อยู่ในสิ่งที่เลวร้าย และดีใจที่มีสิ่งดีๆ นั้นเกิดขึ้นในชีวิตเรา เราอาจไม่ถูกใจร้านอาหารร้านนี้ กิริยาท่าทางแบบนั้น หรือภาพยนตร์เรื่องนั้น แต่อย่าให้ตนเองเอาความไม่ถูกใจนั้นมากระทบสิ่งดีๆ อื่นๆ ในชีวิต
    • อย่าปล่อยให้ตนเองคิดไปทางด้านใดด้านหนึ่งอย่างสุดโต่ง เมื่อเห็นว่าชีวิตนั้น “เจอแต่เรื่อดีๆ” หรือ “เจอแต่เรื่องแย่ๆ” [8] จงจำไว้ว่าทุกเรื่องมีทั้งด้านดีและด้านแย่ผสมปนเปกัน ยากนักที่จะพบเจอเรื่องราวที่เป็นไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าเราโทษตนเองที่ตกงาน หรือประสบปัญหาทางการเงิน จงจำไว้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ และเราก็ไม่ได้ล้มเหลวไปเสียทุกเรื่อง
    • ถ้าเราเกิดเห็นว่าไม่มีความหวังหรือคิดด่าว่าตนเอง ให้หยุดคิดเรื่องที่ไม่ดีแบบนั้นไว้ก่อน และตัดสินใจว่าอยากสร้างความหวังใหม่หรือหาความหวังอื่นมาแทนที่ไหม ตัวอย่างเช่น เมื่อมีวันหนึ่งฝนไม่ตก ทั้งที่เราอยากให้ฝนตก ให้เราคิดเสียว่าเราต้องรดน้ำต้นไม้เองและฝนไม่ได้ตกทุกวัน แทนที่จะบ่นว่าฟ้าฝนไม่เป็นใจ
  7. ถ้าเรารู้สึกเหมือนกำลังประสบปัญหาเกินกำลังจะแก้ได้ และยังไม่มองเห็นทางออก ให้พักเสียก่อน เราอาจหลบไปพักผ่อนช่วงสุดสัปดาห์ หรือเดินทางไกลตอนกลางวันเข้าไปในภูเขา ถ้ามีเวลาน้อย ให้หันเหจิตใจออกจากปัญหาไปสักพักด้วยการอ่านหนังสือสักเล่ม [9]
    • การพักหรือหาวิธีหันแหความสนใจของตนเองไปไม่ได้หมายถึงการหนีปัญหา ลองคิดหากิจกรรมที่เราทำแล้วมีความสุข และลงมือทำเสีย! กิจกรรมพวกนี้อาจได้แก่ การอาบน้ำ การจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ หรือการเล่นดนตรี
  8. “แสร้งทำจนทำได้”สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้มากมาย แม้แต่ยามที่เรารู้สึกสิ้นหวังก็ตาม ถ้าจิตใจเราคิดได้แต่เรื่องที่เลวร้าย อย่าไปตกใจ ถ้าเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น อย่าปล่อยให้ตนเองเอาแต่คาดเดาชีวิตไปในทางที่เลวร้ายจนทำลายสิ่งดีๆ ฝึกใจให้คิดถึงความสำเร็จและความสุขราวกับเรากำลังมีชีวิตแบบนั้นอยู่ตอนนี้ ยิ่งเราเชื่อว่าเราทำได้ เราก็จะยิ่งทำได้ [10]
    • จงคาดหวังว่าทุกอย่างจะออกมาดี
    • ให้คาดเดาชีวิตไปในทางที่ดี ตัวอย่างเช่น เราไม่มีทางทำเสียเรื่องได้ หรือสถานการณ์จะออกมาดีตามที่เราหวัง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ยอมรับสภาพปัจจุบันของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแม้เราอาจไม่ชอบสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็สามารถยอมรับว่าเราไม่อาจควบคุมอะไรได้ ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถส่งเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือให้คนรักกลับเข้ามาในชีวิตเราราวกับมีเวทมนตร์ได้ แต่เราสามารถยอมรับว่านี้คือความจริง ถึงแม้การการยอมรับความจริงจะไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ แต่วิธีนี้ก็ทำให้เราคลายความเครียดและดำรงชีวิตได้อย่างสงบสุขมากขึ้น [11]
    • เมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นอย่างดังใจ ให้หายใจเข้าสองสามครั้งและบอกตนเองว่าเรายอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น แม้จะไม่ชอบมันเลยก็ตาม
    • เราสามารถฝึกยอมรับความจริงได้ตลอดชีวิต ไม่ใช่เพียงแค่ตอนที่เราพบความยากลำบากเท่านั้น ฝึกยอมรับความจริงเมื่อนั่งอยู่บนรถในการจราจรที่ติดขัด รับรู้ว่าตนเองจะไปตามนัดสาย ฝึกยอมรับความจริงเมื่อลูกป่วยและกำลังร้องไห้ หรือเมื่อเราผิดหวังที่เรียนได้เกรดไม่ดี
  2. ถึงแม้เหตุการณ์ส่วนใหญ่นั้นอยู่เหนือการควบคุมของเรา แต่เราก็สามารถควบคุมสิ่งที่“อยู่”ในอำนาจของเราได้ ถ้าเรารู้สึกเหมือนทุกสิ่งในชีวิตนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุม และเราดูเหมือนไม่สามารถตั้งหลักได้ ให้หยุดคิดก่อน แล้วหาสิ่งที่เราทำได้และตัดสินใจทำเสีย ถึงแม้เราไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เราก็สามารถควบคุมปฏิกิริยาโต้ตอบของตนเองได้
    • เขียนทุกสิ่งที่ทำให้เราเครียดเขียนลงไป จากนั้นหาว่าปัญหาไหนมีทางแก้ ถ้าร้านสะดวกซื้อไม่มีของที่เราต้องการ ก็อาจแก้ไขปัญหาด้วยการไปตลาดแทน (หรือฝากเพื่อนซื้อของให้)
    • อย่าให้คนอื่นมาตัดสินใจแทนเรา และคิดว่าคนคนนั้นรู้จักตัวเราดีกว่าตัวเราเอง [12] นี้เป็นชีวิตของเราและเราต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินของตนเอง
  3. ถึงแม้คนเราไม่อาจหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดได้ และทุกคนต้องประสบความเจ็บปวดกันบ้างในชีวิต แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องทุกข์ ความทุกข์เป็นกรอบความคิดที่มาจากการเอาแต่ครุ่นคิด (อยู่แต่ในอดีต) โทษผู้คน หรือบอกตนเองว่าเราทุกข์ใจมากแค่ไหน และสถานการณ์นั้นยากลำบากเพียงใด เราไม่อาจหลีกเลี่ยงประสบการณ์อันเจ็บปวดที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ แต่เราสามารถเรียนรู้ที่จะคลายความทุกข์ของตนเองลงไปได้ [13]
    • นี้ไม่ได้หมายถึงเราไม่สนใจความรู้สึกของตนเอง หรือแกล้งทำเป็นว่าไม่มีเรื่องราวเลวร้ายเกิดขึ้น แต่หมายถึงให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีคิดต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา แทนที่จะคิดว่าเราโชคร้าย ให้บอกว่าเราไม่มีความสุขที่เกิดเรื่องไม่ดีขึ้น แต่เราสามารถควบคุมและยอมรับมันได้ รวมทั้งไม่รู้สึกว่าตนเองน่าสงสารด้วย
    • ถึงแม้เราอาจเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสที่มิตรภาพที่ดีจบลง หรือเห็นผู้คนได้รับความทุกข์ทรมานจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมาย เรื่องพวกนี้เราไม่สามารถควบคุมได้ จงระลึกอยู่เสมอว่าโศกนาฏกรรมเกิดขึ้น (เบาไปจนถึงร้ายแรง) กับทุกคนได้ทุกเมื่อ เรื่องแบบนี้ก็อาจเกิดขึ้นกับเราได้เช่นกัน
  4. เวลาที่เรามีความสุขไม่ได้ทำให้เรารู้จักตัวตนที่แท้จริงของตัวเองข้างในลึกๆ ว่าเป็นอย่างไร แต่เวลาที่ประสบความลำบากในชีวิตนั้นแหละเราถึงจะได้เห็น เราชอบตัวตนที่แท้จริงของตัวเองไหม ถ้าไม่ แสดงว่าถึงเวลาสร้างลักษณะนิสัยที่ดีแล้ว กำหนดลักษณะนิสัยที่อยากให้ตนเองมี และปรับปรุงนิสัยบางอย่างให้ดีขึ้น
    • ถอยกลับมาสังเกตดูว่าเราตอบสนองต่อผู้คนและสถานการณ์อย่างไร ตอนเราอยู่ในช่วงที่ยากลำบาก เราฉุนเฉียวใส่คนอื่นมากขึ้นไหม หรือใช้ความเจ็บปวดของตนเองเป็นข้ออ้างไม่ยอมทำงานให้เสร็จหรือเปล่า หรือเห็นว่าตนเองพยายามแก้ปัญหา และทำอะไรที่ตนเองทำได้เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคไปให้ได้หรือเปล่า อย่าเพิ่งตัดสินการกระทำว่าดีหรือไม่ดี แต่มองการกระทำอย่างที่มันเป็น และมองว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นวิธีการที่เราใช้รับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก
    • สังเกตว่ามีแง่มุมใหม่อะไรบ้างที่เกิดจากการเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบาก ทั้งแง่มุมที่ดีและแง่มุมทีแย่
  5. เมื่อกำลังพยายามดิ้นรนฟันฝ่าความยากลำบาก เราอาจพบว่าส่วนใหญ่เราจะคิดถึงแต่ตนเองและความต้องการของตนเอง ถ้าเรารู้จักเห็นใจคนอื่น เราจะมีความสุขมากขึ้น รู้สึกโดดเดี่ยวและเครียดน้อยลง [14] ถึงแม้จะรู้สึกท้อแท้ แต่ก็จงเลือกที่จะปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความมีน้ำใจและเคารพรวมทั้งให้ความช่วยเหลือ แม้จะรู้สึกว่าพวกเขาไม่สมควรได้รับก็ตาม
    • จงระลึกเสมอว่าเราไม่ใช่คนเดียวที่เจ็บปวดและต้องการความช่วยเหลือ
    • ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อสามารถช่วยเขาได้ ช่วยถือของหนัก ทำอาหารเย็นให้สามีหรือภรรยาที่เหนื่อยล้ากิน อดทนสอนการบ้านที่แสนยากให้ลูก
    • ถ้ามีเด็กร้องบนเครื่องบิน ให้สูดลมหายใจและบอกตนเองว่าเรื่องแบบนี้นั้นน่าหงุดหงิด พ่อแม่ของเด็กเองก็คงไม่พอใจหรืออาย แทนที่จะแสดงความหงุดหงิด ให้ถามว่ามีอะไรให้ช่วยไหม
  6. ถึงแม้เรากำลังมองหาความหวัง แต่ก็สามารถให้เวลาตนเองได้สนุกระหว่างเดินทางสู่ความหวัง ถึงแม้เรามักจะเอาแต่คิดถึงสิ่งที่เราไม่มีหรือสิ่งที่เราอยากได้ แต่ให้นึกเสมอว่าเราสามารถมีความสุขกับสิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้ได้ การเห็นค่าในสิ่งที่มีทำให้มองข้ามประสบการณ์ที่เลวร้ายไปได้ [15]
    • แสดงการขอบคุณทุกวัน ขอบคุณสิ่งเล็กๆ ตัวอย่างเช่น การต่อแถวสั้นๆ ที่ร้านสะดวกซื้อ การพาสุนัขไปเดินเล่น หรือการที่สัญญาณตรวจจับควันไม่ดัง มีบางสิ่งให้เราขอบคุณทุกวันเสมอ
  7. หาทางทำให้ตนเองหัวเราะ หรืออย่างน้อยที่สุดยิ้ม วิธีนี้การนี้ได้แก่การดูคลิปสัตว์ พบปะผู้คนที่คิดบวกและมีความสุข ไปดูการแสดงตลก การหัวเราะทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีขึ้นและมีประโยชน์ต่อสภาพจิตด้วย [16]
    • เราไม่ต้องออกไปหาเรื่องตลกข้างนอกก็ได้ จะดูรายการตลก หรือคลิปวิดีโอ เล่นกับสัตว์เลี้ยง และอาสาเลี้ยงหลาน เป็นเจ้าภาพจัดให้มีการเล่นเกมตอนดึกก็ได้
    โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.helpguide.org/articles/emotional-health/cultivating-happiness.htm
  2. ถ้าคุณรู้สึกเหนื่อยล้าและรู้สึกปลีกตัวแยกจากเพื่อนฝูง การวางกำหนดเวลาหมายถึงคุณจะยังได้ติดต่อกับคนที่คุณแคร์
  3. http://www.helpguide.org/articles/emotional-health/finding-a-therapist-who-can-help-you-heal.htm
  4. https://www.psychologytoday.com/blog/good-thinking/201309/how-solve-problems-expert
  5. https://www.psychologytoday.com/blog/confessions-techie/201404/meet-your-ideal-future-self
  6. If you’re struggling due to a move and you feel disconnected from your friends, schedule phone calls or video chats regularly to stay in touch with those you care about.
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-in-world/201110/taking-break

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,253 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา