ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มารยาทเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ การมีมารยาทดีคือการแสดงมารยาทตามที่สังคมยอมรับและนับถือ การมีมารยาทเป็นเลิศสามารถช่วยให้คุณมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับคนที่คุณรู้จักและคนที่คุณจะได้พบเจอ บางขั้นตอนต้องอาศัยความพยายามในการพัฒนามารยาทของคุณให้ดีขึ้น เพื่อให้คุณคุ้นชินกับมารยาทพื้นฐาน เช่น มารยาทการรับประทานอาหารและการโทรศัพท์ การเป็นคนสุภาพกับผู้อื่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเสมอ คุณสามารถเข้าสู่เส้นทางของการเป็นผู้มีมารยาทดีได้ด้วยการเปิดประตูค้างไว้ให้คนอื่นถ้าทำได้ มารยาทที่ดีสื่อถึงการให้เกียรติคนที่คุณมีปฏิสัมพันธ์ด้วย และก็เป็นการเรียกร้องให้อีกฝ่ายให้เกียรติคุณด้วยเช่นกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

มารยาทพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูด "ค่ะ/ครับ" และ "ขอบคุณ" เมื่อจำเป็น แม้จะเป็นการพูดกับคนที่อยู่หลังเคาน์เตอร์ที่ร้านแม็คโดนัลด์ก็ตาม คนอื่นจะสังเกตได้ว่าคุณมีมารยาทและให้เกียรติพวกเขา และนั่นก็มีความหมายมาก
    • นอกจากนี้ให้พูดว่า "ขอโทษค่ะ/ครับ" เวลาที่คุณบังเอิญเดินชนใครเข้าหรือจำเป็นต้องขอตัวออกมาจากวงสังคมชั่วคราว
  2. ถึงไม่ใช่ผู้ชายก็เปิดประตูค้างไว้ให้คนอื่นได้ ถ้ามีคนเดินเข้าประตูตามหลังคุณมา ให้หยุดสักนิดแล้วเปิดประตูค้างไว้ พูดว่า "เชิญเลยค่ะ/ครับ" ถ้าเป็นคนแปลกหน้า หรือจะเพิ่มชื่อเข้าไปด้วยก็ได้ถ้าเป็นคนรู้จัก
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าเขาอยากให้คุณเปิดประตูค้างไว้ให้หรือเปล่า ให้ถามอย่างสุภาพว่า "จะเข้าไปข้างในหรือเปล่าคะ/ครับ" ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายตอบรับหรือปฏิเสธก็ได้
  3. พยายามพูดเสียงให้เบาที่สุดแต่คนอื่นก็ยังได้ยินคุณด้วย และอย่าใช้คำสแลงหรือคำที่ไม่มีความหมาย (เช่น "แบบว่า" "เอ่อ" "แล้ว..." เป็นต้น) จำไว้ว่าคนรอบข้างคุณไม่ได้หูหนวก เพราะฉะนั้นไม่ต้องตะโกนให้สุดปอดก็ได้ เพราะคนอื่นอาจจะคิดว่าคุณหยาบคาย
    • ถ้าเป็นไปได้ อย่าย่อคำ เช่น แทนที่จะพูดว่า "ช่ะ" พยายามพูดว่า "ใช่มั้ย"
    • อย่าพูดเรื่องหยาบคายในที่สาธารณะ เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับกลไกร่างกาย เรื่องซุบซิบนินทา มุกลามก คำหยาบ หรืออะไรก็ตามที่คุณไม่อยากให้แม่ (หรือคนที่คุณแอบชอบ) ได้ยินคุณพูด
    • อย่าพูดแทรกหรือพูดทับคนที่กำลังพูดอยู่ ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีและพูดเมื่อถึงตาตัวเองเท่านั้น
  4. ถ้าคุณอยู่ในรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ที่คนแน่นแล้วเห็นคนที่ยืนลำบาก (เช่น คนแก่ คนท้อง หรือคนที่ถือของพะรุงพะรัง) ให้เสนอที่นั่งให้เขาหรือเธอ การพูดประมาณว่า "ขอโทษนะคะ มานั่งตรงนี้ดีกว่าค่ะ/ครับ" ทำให้สถานการณ์กระอักกระอ่วนน้อยลงได้ ถ้าเขาหรือเธอปฏิเสธ ก็ให้มีมารยาทเข้าไว้ พูดว่า "ถ้าเปลี่ยนใจอยากมานั่งก็บอกได้เลยนะคะ/ครับ"
  5. แสดงความยินดีกับผู้ที่เพิ่งประสบความสำเร็จใหญ่ๆ (เช่น เรียนจบหรือได้เลื่อนตำแหน่ง) มีคนเข้ามาเพิ่มในครอบครัว (เช่น แต่งงานหรือมีลูก) หรือทำอะไรบางอย่างที่ควรค่าแก่การชื่นชม คนที่คุณชมเขาจะมีแรงใจและประทับใจเพราะคุณ และพวกเขาก็จะแสดงความยินดีกับคุณด้วยเช่นกันเวลาที่คุณประสบความสำเร็จ
    • มีน้ำใจนักกีฬา แสดงความยินดีกับคนที่ชนะคุณในการแข่งขัน การแข่งกีฬา การเลือกตั้ง หรือการแข่งขันอื่นๆ
  6. การขับรถอย่างมีมารยาทอาจฟังดูเชย แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของความปลอดภัยมากกว่า พยายามทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้ :
    • พอมาถึงสี่แยก ให้หยุด เพื่อที่ว่าถ้าคนที่ขับรถอีกคันเข้าดูเหมือนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็ส่งสัญญาณให้เขาหรือเธอแซงหน้าไปก่อน
    • หยุดให้คนเดินเท้า และพยายามเว้นที่ให้คนขี่จักรยานเยอะๆ จำไว้ว่ารถหนัก 2 ตันของคุณนั้นเป็นอันตรายกับคนขี่จักรยานมากกว่าที่เขาจะอันตรายกับคุณ เพราะฉะนั้นการพยายามทำให้ทุกคนปลอดภัยถือเป็นความรับผิดชอบของคุณ
    • อย่าขับรถจี้คันอื่นหรือไม่ให้ทางคันอื่นเข้ามาอยู่ในเลนเดียวกับคุณ
    • เปิดไฟเลี้ยวเสมอแม้จะคิดว่าไม่มีรถคันอื่นอยู่แถวนั้น เพราะคุณไม่รู้ว่ามีคนเดินเท้าหรือคนขี่จักรยานที่คุณไม่เห็นหรือเปล่า
  7. ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ตาม การแสดงว่าคุณรับรู้ถึงการมาของผู้อื่นถือเป็นพื้นฐานของการมีมารยาทที่ดี (การไม่ทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการดูถูกในหลายสถานการณ์) สิ่งที่คุณต้องทำคือ :
    • เวลาทักทายคนรู้จักที่เป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท แค่ทักทายแบบไม่เป็นทางการก็พอ อาจจะทักทายง่ายๆ อย่าง "ว่าไง เป็นไงบ้าง"
    • ถ้าคุณทักทายคนที่อายุมากกว่า หุ้นส่วนทางธุรกิจ ผู้นำทางศาสนา หรือคนรู้จักที่เป็นทางการอื่นๆ ให้ทักทายแบบทางการนอกจากว่าเขาจะบอกให้คุณทักทายอย่างเป็นกันเอง ทักทายอีกฝ่ายด้วยตำแหน่งของเขาหรือเธอ (เช่น "คุณจันทร" หรือ "หลวงพ่อแสน") หรือใช้คำว่า "คุณ" อย่าใช้สแลงเช่น "ว่าไง" หรือ "หวัดดี" และพยายามพูดให้เต็มประโยค อย่างเช่น "สวัสดีค่ะคุณจันทร สบายดีมั้ยคะ" ถือว่าเหมาะสม
    • คุณต้องแสดงท่าทางประกอบการทักทายที่จำเป็น สำหรับการทักทายแบบไม่เป็นทางการนั้น คุณจะมีปฏิสัมพันธ์ทางกายอย่างไรก็ได้ จะไม่ทำเลยก็ได้ หรือจะกอด ไหว้ หรือทักทายตามความสัมพันธ์ของคุณกับคนๆ นั้นก็ได้ แต่ถ้าเป็นการทักทายแบบเป็นทางการ คุณก็ควรยกมือไหว้ (ถ้าอีกฝ่ายอายุมากกว่า) หรือผงกศีรษะให้เล็กน้อย ถ้าคนที่คุณทักทายอย่างเป็นทางการเขาเข้ามากอด ก็ให้แสดงท่าทีที่ดีต่อการทักทายนั้น
  8. ถ้าคุณอยู่กับคนสองคนที่ไม่รู้จักกัน แต่คุณรู้จักทั้งสองฝ่าย ก็ถือเป็นหน้าที่ที่คุณจะต้องแนะนำสองคนนี้ให้รู้จักกันตามแบบมารยาทที่ดี ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ :
    • คุณควรแนะนำคนที่มีสถานะทางสังคมต่ำกว่าให้คนที่มีสถานะทางสังคมสูงกว่ารู้จัก ก็คือคุณจะต้องบอกคนที่มีสถานะสูงกว่าว่าคนที่มีสถานะต่ำกว่าเป็นใคร (เช่น "คุณจันทรคะ นี่จินตนา ภักดี เพื่อนสนิทของดิฉันค่ะ" จินตนาคือคนที่มีสถานะต่ำกว่าในการแนะนำตัวครั้งนี้) บางสถานการณ์ก็อาจจะตัดสินได้ค่อนข้างง่าย แต่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยชัดเจน คุณควรแนะนำคนที่อายุน้อยกว่าให้คนที่อายุมากกว่ารู้จัก แนะนำผู้ชายให้ผู้หญิงรู้จัก และคนทั่วไปให้พระ ข้าราชการ ข้าราชการทหาร หรือคนที่มีสถานะสูงกว่ารู้จัก ถ้ายังสับสน ก็ควรใช้วิจารญาณตามความเหมาะสม
    • เริ่มการแนะนำโดยกล่าวชื่อคนที่มีสถานะสูงกว่าก่อน จากนั้นพูดว่า "ดิฉันอยากจะแนะนำ…" หรือ "นี่..." แล้วตามด้วยชื่อของคนที่มีสถานะต่ำกว่า
    • หลังจากที่ทั้งสองคนทักทายกันแล้ว ให้พูดถึงแต่ละฝ่าย เช่น คุณอาจจะพูดว่า "ดิฉันรู้จักจินตนามาตั้งแต่สมัยเรียนประถมแล้วค่ะ" หรือ "คุณจันทรเป็นเพื่อนรักของแม่ฉันเอง" ไม่ว่าคุณจะพูดอะไร สิ่งที่คุณพูดต้องเป็นการเริ่มต้นหรือรักษาบทสนทนาสั้นๆ ให้ดำเนินต่อไป ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของคุณ
    • เวลาที่มีใครแนะนำคุณให้อีกคนรู้จัก ให้สบตาคนๆ นั้นและจำชื่อเขาหรือเธอไว้ หลังจากแนะนำกันแล้ว ให้ทักทายอีกฝ่ายและพูดว่า "สวัสดีค่ะ/ครับ" หรือ "ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ/ครับ" และผงกศีรษะให้เล็กน้อย
  9. ไม่ว่าคุณจะไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือแค่ไปซื้อของเข้าบ้าน ก็อาจจะไม่มีใครสังเกตเห็นมารยาทตามแบบผู้ดีแท้ของคุณถ้าคุณแลดูไม่เรียบร้อย อาบน้ำทุกวัน และดูแลผมเผ้า ผิวพรรณ เล็บ และเสื้อผ้าให้สะอาดมากที่สุด ใส่เสื้อผ้าที่ผ่านการซักรีดมาใหม่ๆ ที่เหมาะกับสถานที่ๆ คุณจะไปในวันนั้น (ไม่ว่าจะเป็นชุดนักเรียนหรือลุคทำงานกึ่งสบายๆ ก็ตาม)
  10. เวลาที่มีใครให้ของขวัญคุณหรือทำอะไรดีๆ ให้คุณเป็นพิเศษ ให้ส่งจดหมายแสดงความขอบคุณให้เขาหรือเธอภายใน 2 – 3 วัน (หรือ 2 – 3 สัปดาห์ถ้าเป็นงานใหญ่ๆ อย่างปาร์ตี้วันเกิด) เขียนว่าคุณซาบซึ้งกับของขวัญหรือการกระทำที่พิเศษนี้แค่ไหน และคุณดีใจแค่ไหนที่ได้สร้างมิตรภาพร่วมกัน
    • จำไว้ว่าการส่งอีเมลขอบคุณก็เหมาะสมในบางสถานการณ์ เช่น ในที่ทำงานหรือสำหรับคนที่อยู่ไกลกัน การส่งอีเมลอาจจะสะดวกกว่า แต่ถ้าเป็นไปได้ควรส่งจดหมายขอบคุณที่เขียนด้วยลายมือจะดีกว่า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

มารยาทในการโทรศัพท์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช่น การใช้โทรศัพท์ในห้องน้ำ ในระหว่างการประชุม เมื่อผู้ให้บริการต่างๆ กำลังช่วยเหลือคุณ ในโบสถ์วิหาร หรือ (บางครั้ง) ในรถสาธารณะนั้นถือว่าไม่สุภาพ ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดใจที่จะใช้โทรศัพท์หรือคนอื่นส่งสายตาไม่พอใจมา คุณก็ควรวางสาย
    • เวลาที่คุยโทรศัพท์ในพื้นที่สาธารณะ ให้จำไว้ว่าทุกสิ่งที่คุณพูดจะไม่ใช่แค่เรื่องของคุณอีกต่อไป รักษาระดับเสียงให้เท่ากับ "น้ำเสียงที่ใช้พูดในที่ร่ม" หรือเบากว่า โดยทั่วไปแล้วคนที่มีมารยาทดีย่อมไม่พูดเรื่องส่วนตัวน่าอายในที่สาธารณะ
    • เวลาที่คุยโทรศัพท์ อย่าคุยกับคนอื่นในห้อง สิ่งที่แย่กว่าการคุยโทรศัพท์ทั้งที่อีกคนกำลังพูดก็อาจจะเป็นการที่ไม่ได้ฟังว่าคุณพูดว่าอะไร และคุณก็ไม่รู้ว่าเขาพูดกับคุณหรือพูดกับอีกคน ถ้ามีใครพยายามจะคุยกับคุณ ก็แค่ชี้ไปที่โทรศัพท์แล้วพวกเขาจะเข้าใจเอง
    • อย่าใช้คอมพิวเตอร์ขณะคุยโทรศัพท์นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการลูกค้า เพราะการที่มีคนมาให้คุณฟังเสียงพิมพ์คีย์บอร์ดก๊อกแก๊กนั้นถือว่าหยาบคายและไม่น่าพอใจมากๆ
    • เวลาที่อยู่ในสถานการณ์ทางสังคมร่วมกับผู้อื่น พยายามอย่าใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะมันบ่งบอกว่าคุณอยากอยู่ที่อื่นกับคนอื่นๆ มากกว่า และคนที่กำลังอยู่กับคุณนั้นก็สำคัญน้อยกว่า
    • อย่าโทรไปหาใครก่อน 8 โมงเช้าและหลัง 2 ทุ่มนอกจากจะเป็นเรื่องฉุกเฉินหรือเป็นการโทรทางไกลจากต่างประเทศที่สำคัญจริงๆ และก็อย่าโทรหาใครช่วงกินข้าว ทำงาน และช่วงเรียน เพราะคนอื่นเขาไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าคุณจะมาหาและมาเยี่ยมในช่วงเวลาเหล่านี้ยกเว้นจะนัดไว้ล่วงหน้า ซึ่งรวมถึงการไม่ส่งข้อความด้วย แม้จะรู้กันดีอยู่แล้วว่าข้อความที่คุณส่งมานั้นไม่ได้ฉุกเฉินก็ตาม
  2. ถ้าคุณโทรไปรบกวนใครแล้วผิดเบอร์ ก็ ‘กรุณา’ มีมารยาทที่จะพูดว่า “ขอโทษค่ะ/ครับ! โทรผิดค่ะ/ครับ!” อย่าวางสายไปเฉยๆ คนๆ นั้นเขาอาจจะป่วย นั่งรถเข็น หรือแก่แล้ว และอื่นๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้นคุณก็ควรแสดงการให้เกียรติและ ขอโทษ ที่ทำให้เขาต้องลำบาก เช่นเดียวกัน ถ้ามีเบอร์คนโทรหาคุณผิดเบอร์ ก็ให้บอกอย่างสุภาพว่าเขาโทรผิด
  3. เพราะน้ำเสียงบ่งบอกอะไรมากกว่าน้ำเสียง และสะท้อนลักษณะและบุคลิกของคุณได้ผ่านทางโทรศัพท์! จำไว้ว่าคนที่ฟังคุณนั้นเขาไม่เห็นคุณ เพราะฉะนั้นน้ำเสียงในโทรศัพท์จะกลายเป็นสีหน้า ท่าทาง บุคลิก และลักษณะของคุณ เช็กน้ำเสียงของคุณเสมอขณะพูด พูดด้วยน้ำเสียงที่น่าฟังและชัดเจนมากๆ ยิ้มผ่านเสียงด้วย! สิ่งที่พวกเขาได้ยินจะสร้างความประทับใจหรือทำให้พวกเขารู้สึกไม่ดีก็ได้
  4. เวลาที่ใครรับโทรศัพท์คุณ อย่าพูดแข็งๆ และขัดจังหวะด้วยการบอกว่าคุณต้องการอะไรก่อน เพราะจะทำให้เขาสับสนและสงสัยว่าคุณเป็นใคร นอกจากนี้คุณก็จะดูหยาบคายมากด้วย ซึ่งไม่ดีกับตัวคุณเลยถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือจากเขา มันทำให้เขาไม่ประทับใจตั้งแต่ก่อนจะเริ่มคุยด้วยซ้ำ! และอย่าพูดว่า “นี่ใครเนี่ย” คุณเป็นคนโทรไปหาเขา เพราะฉะนั้นคุณต้อง แนะนำตัวเอง และบอกว่าคุณเป็นใคร ต้องการอะไรอย่างสุภาพ! เช่น พูดว่า “สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อปุณณภานะคะ ขอสายคุณศิริพร อำไพบรรจงค่ะ ไม่ทราบว่าคุณศิริพรสะดวกรับสายมั้ยคะ” ถ้าคนๆ นั้นไม่อยู่ ให้บอกคนที่รับสายว่าคุณจะโทรมาใหม่ทีหลังหรืออยากให้คนๆ นั้นโทรกลับ หรือถ้าคุณโทรไปเพื่อถามคำถาม ให้บอกว่า “สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อปุณณภานะคะ ดิฉันเห็นประกาศรับสมัครผู้ช่วยร้านค้าในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นน่ะค่ะ ไม่ทราบว่ายังเปิดรับสมัครอยู่หรือเปล่าคะ” เมื่อคุยเสร็จแล้วให้พูดว่า “ขอบคุณมากนะคะ สวัสดีค่ะ” และจริงใจด้วย! ถึงตอนนี้คุณ ต้อง เว้นช่วงให้เขาพูดกลับมาว่า ‘สวัสดีค่ะ/ครับ’ ด้วย!
  5. พวกเขาอาจจะอยู่นอกบ้านในสวน ถักไหมพรม อบขนม ล้างรถ หรืออยู่อีกฟากหนึ่งของบ้าน อย่ารอสายไปแค่สามตื๊ดแล้ววางเลย! เพราะมันน่ารำคาญเวลาที่เราหยุดทำอะไรสักอย่าง แต่พอโทรศัพท์ถึงหูปุ๊บอีกคนก็วางสายปั๊บ! ในทางตรงกันข้าม อย่ารอสายนานเกินไป เพราะคนที่คุณโทรหาเขาอาจจะยุ่งอยู่หรือไม่อยากรับโทรศัพท์ตอนนั้นและคุณก็อาจจะรบกวนเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่โทรเข้ามือถือ และคนรับเขากำลังประชุมหรือดูหนังอยู่ เป็นต้น
  6. อย่าคุยโทรศัพท์เป็นชั่วโมง (หรือหลายชั่วโมง). อย่าทำให้คนอื่นต้องมาเสียเวลาหรือรบกวนคนในบ้าน! การคุยเล่นเป็นอะไรที่น่าเบื่อที่สุดเลยก็ว่าได้ พวกเขาจะไม่อยากคุยกับคุณอีก
  7. แค่พูดด้วยน้ำเสียงน่าฟังและสุภาพว่า "สวัสดีค่ะ/ครับ" อย่าพูดว่า "สวัสดีครับทรัพย์บุญชัยอพาร์ตเมนต์ครับ" หรือ "จิระศักดิ์ แสงชัยทิพย์พูดครับ" เพราะทุกวันนี้อันตรายมาก ถ้าคุณอยู่คนเดียวและไม่รู้ว่าคนที่โทรมาเป็นใคร อย่าบอกว่าไม่มีใครอยู่บ้านหรือว่าสามีไปทำงาน เป็นต้น ทำเป็นว่ามีคนอื่นอยู่ด้วยเสมอ ใช้ปัญญาและความระมัดระวังแบบสมัยก่อนด้วย! ปลอดภัยไว้ก่อน!
    • ถ้าเขาโทรมาหาคนอื่น ให้พูดว่า “รอสักครู่นะคะ จะไปตามให้ค่ะ” แล้ววางโทรศัพท์ค้างไว้เบาๆ ถ้าคนที่เขาโทรหาไม่ว่าง ให้บอกว่า “ขอโทษนะคะ พอดีตอนนี้ทรายไม่สะดวกรับสายน่ะค่ะ จะฝากข้อความไว้แล้วบอกให้ทรายโทรกลับทันทีที่สะดวกมั้ยคะ”
  8. ถ้าคุณต้องคุยกับคนสองคนในเวลาเดียวกัน คุณควรขอให้อีกฝ่ายถือสายรอสักครู่แล้วจะกลับมาคุยด้วยใหม่ พูดว่า "ขอโทษนะคะ คุณช่วยถือสายรอสักเดี๋ยวนะคะ พอดีหัวหน้าเข้ามาคุยกับดิฉันน่ะค่ะ" และรอให้อีกฝ่ายตอบกลับมาก่อน ถ้าบทสนทนาส่วนตัวน่าจะนานกว่า 1 นาที ก็ควรถามอีกฝ่ายว่า "เดี๋ยวโทรกลับได้มั้ยคะ พอดีแม่มีเรื่องจะคุยด้วย อาจจะนานหน่อย" จะดีกว่า
    • ในกรณีที่ต้องการเข้าห้องน้ำ ให้ขอตัวสักครู่โดยไม่ต้องบอกว่าจะไปทำอะไร ที่คุณต้องบอกก็คือ "ช่วยถือสายรอสักครู่นะคะ เดี๋ยวกลับมาค่ะ"
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

มารยาทการรับประทานอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นกฎที่รู้กันดีอยู่แล้ว แต่เราก็มักจะลืมได้ง่ายๆ เวลาที่เรากำลังเพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารแสนอร่อย
  2. พูดว่า "ขอตัวสักครู่นะคะ" เวลาที่ต้องลุกจากโต๊ะ. ถ้าคุณเป็นเด็กหรือเป็นวัยรุ่น ให้ถามผู้ใหญ่ว่า "หนูขอตัวไป (ใส่เหตุผลที่นี่)"
  3. อย่าเอื้อมมือข้ามจานอาหารหรือจานอาหารของคนอื่นเพื่อไปหยิบอะไรสักอย่าง แต่ให้วานคนที่นั่งข้างๆ อย่างสุภาพว่า "รบกวนหยิบซอสให้หน่อยค่ะ"
  4. อย่าวางศอกไว้บนโต๊ะขณะรับประทานอาหาร (ในวัฒนธรรมแบบอังกฤษและอเมริกัน). ในวัฒนธรรมอังกฤษและอเมริกันนั้น เป็นที่รู้กันดีมาแต่ไหนแต่ไรว่าคุณไม่ควรวางศอกไว้บนโต๊ะขณะรับประทานอาหาร แต่ถ้ายังไม่เริ่มรับประทานอาหารหรือรับประทานเสร็จแล้ว สามารถวางศอกไว้บนโต๊ะได้
    • แต่ถ้าเป็นวัฒนธรรมฝรั่งเศสการเอาศอกวางไว้บนโต๊ะนั้นส่วนมากจะไม่เป็นไร ในบ้านเราผู้หลักผู้ใหญ่ก็สอนไม่ให้ยกศอกขึ้นมาวางไว้บนโต๊ะอาหารเช่นกัน แต่ไม่เคร่งครัดนัก
  5. หนึ่งในส่วนที่น่ากลัวที่สุดของการรับประทานอาหารก็คือ การไม่รู้ว่าจะใช้ช้อนส้อมหรือจานไหน ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารฉบับย่อก็คือ :
    • ถ้าคุณลืมว่าอันไหนใช้อย่างไร ให้จำไว้ว่า "จากด้านนอกเข้าหาด้านใน" คร่าวๆ ก็คือถ้าคุณมีอุปกรณ์สำหรับรับประทานอาหารอยู่ทั้งทางด้านซ้ายและด้านขวา ให้เริ่มจากชิ้นที่อยู่ไกลที่สุดทั้งด้านซ้ายและด้านขวาก่อน แล้วค่อยๆ เขยิบมาหาอันที่อยู่ใกล้จาน
    • ถ้าไม่รู้จริงๆ ให้ดูว่าคนอื่นเขาทำอย่างไรกัน
    • ถ้าเป็นการจัดโต๊ะแบบไม่เป็นทางการ จานอาหารจะอยู่ตรงกลาง
      • ด้านซ้ายติดกับจานอาหารจะเป็นส้อม 2 คัน คันที่อยู่ใกล้จานอาหารที่สุดจะเป็น "ส้อมสำหรับอาหาร" ที่ใช้กับอาหารจานหลัก ส่วนอันที่อยู่ไกลจานอาหารที่สุดจะไว้สำหรับรับประทานสลัดหรืออาหารเรียกน้ำย่อย
      • มีดสำหรับอาหารจะอยู่ด้านขวาของจานโดยตรง โดยปลายมีดจะหันเข้าหาจาน ถัดจากมีดจะเป็นช้อน 2 คัน ช้อนซุปจะอยู่ขวาสุด ส่วนช้อนของหวาน (หรือช้อนชา) จะอยู่ระหว่างช้อนซุปกับมีดสำหรับอาหาร
      • แก้วของคุณควรวางอยู่เหนือมีดสำหรับอาหารโดยตรง และแก้วอื่นๆ ก็จะวางอยู่ทางด้านขวา
      • คุณอาจจะมีจานสลัดเล็กๆ วางอยู่ทางด้านซ้ายของส้อม
      • คุณอาจจะมีจานขนมปังเล็กๆ วางอยู่ด้านซ้ายบนของจานอาหารและมีมีดทาเนยเล็กๆ วางอยู่ด้วย ใช้มีดทาเนยปาดเนยออกมาแล้ววางไว้ในจานของคุณ จากนั้นใช้มีดทาเนย "ของคุณ" ลงบนขนมปัง
      • ช้อนหรือส้อมของหวานอาจจะวางอยู่เหนือจานอาหารในแนวนอน
      • ถ้วยและจานรองถ้วย (ถ้าคุณดื่มกาแฟหรือชา) จะวางอยู่เหนือมีดกับช้อนทางด้านขวา
    • รู้วิธีรับประทานอาหารแบบเป็นทางการ การจัดโต๊ะอาหารแบบเป็นทางการนั้นส่วนใหญ่จะคล้ายกับการจัดโต๊ะอาหารแบบไม่เป็นทางการ แต่จะมีข้อยกเว้นเล็กน้อยคือ :
      • คุณอาจจะมีส้อมสำหรับรับประทานปลาเล็กๆ วางอยู่ระหว่างส้อมสำหรับอาหารกับจาน ถ้ามีการเสิร์ฟอาหารจานปลาด้วย
      • คุณอาจจะมีมีดสำหรับรับประทานปลาเล็กๆ อยู่ระหว่างมีดสำหรับอาหารและช้อนซุป ถ้าคุณต้องใช้มีดในการรับประทานอาหารจานปลา
      • คุณอาจจะมีส้อมสำหรับรับประทานหอยนางรมเล็กๆ วางอยู่ทางด้านขวาสุดของอุปกรณ์สำหรับรับประทานอาหารที่อยู่ด้านขวาของจาน ถ้าคุณจะได้รับประทานหอยนางรมด้วย
      • การวางแก้วจะจัดตามประเภทของการจัดโต๊ะอาหารแบบทางการ แก้วที่อยู่เหนือมีดสำหรับอาหารโดยตรงคือแก้วน้ำ ด้านขวาของแก้วน้ำจะเป็นแก้วไวน์แดงหรือไวน์ขาว และแก้วเชอร์รี่จะอยู่ขวาสุด
  6. คุณจับอุปกรณ์สำหรับรับประทานอาหารแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณถูกฝึกมาอย่างไร แต่โดยทั่วการรับประทานอาหารแบบตะวันตกนั้นจะมี 2 แบบ ด้วยกัน ซึ่งถือว่าเหมาะสมทั้งคู่ :
    • แบบอเมริกัน : ถ้าคุณหั่นอาหาร คุณจะเปลี่ยนไปใช้มือข้างที่ไม่ถนัดถือส้อม และใช้มือข้างที่ถนัดถือมีด พอหั่นอาหารแล้ว คุณก็จะวางปลายมีดไว้ที่ขอบจาน และเปลี่ยนกลับมาใช้มือข้างที่ถนัดถือส้อมเพื่อตักอาหารเข้าปาก
    • แบบยุโรป : มือซ้ายถือส้อม มือขวาถือมีด แล้วลงมือหั่น พอหั่นเสร็จแล้ว คุณจะวางปลายมีดไว้ที่ขอบจานหรือถือมีดไว้ในมือเหมือนเดิมก็ได้
  7. วิธีที่คุณวางอุปกรณ์รับประทานอาหารไว้บนจานเป็นการสื่อสารกับพนักงานเสิร์ฟว่า คุณรับประทานเสร็จแล้วหรือว่าจะรับประทานต่อ ในการเรียนรู้วิธีวางอุปกรณ์รับประทานอาหาร ให้คุณนึกภาพจานเป็นเหมือนหน้าปัดนาฬิกา
    • ถ้าคุณรับประทานเสร็จแล้ว ให้วางส้อมกับมีดไว้คู่กัน ให้ปลายส้อมและปลายมีดอยู่เหนือกึ่งกลางของชามเล็กน้อย และให้ด้ามจับชี้ไปที่ระหว่าง 3 และ 4 นาฬิกา
    • ถ้าคุณจะรับประทานต่อ ให้วางส้อมกับมีดโดยให้ปลายส้อมกับปลายมีดอยู่ใกล้กึ่งกลางของจานอาหาร ด้ามจับของอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งชี้ไปทาง 8 นาฬิกาและด้ามจับของอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งชี้ไปทาง 4 นาฬิกา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้คุณเป็นคนมีมารยาทดีและมีสาระก็คือ เงียบและพูดเฉพาะเวลามีเรื่องสำคัญที่ต้องพูดเท่านั้น วิธีนี้จะทำให้คำพูดของคุณมีน้ำหนักมากขึ้น
  • อย่าพูดขณะที่คนอื่นกำลังพูด
  • บางคนรู้สึกว่าการ "มีมารยาท" นั้นเป็นเรื่อง " เสแสร้ง" หรือไม่จริงใจ แต่จริงๆ แล้วมารยาทเป็นวิถีทางสังคมที่ดีเป็นปกติที่ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์เป็นเรื่องง่ายขึ้นและน่าพึงพอใจมากขึ้น ไม่ใช่ว่าทุกปฏิสัมพันธ์จะใช้เป็นโอกาสในการว่ากล่าวคนอื่นเสมอไป ในระดับพื้นฐานที่สุด มารยาทที่ดีคือการปฏิบัติตาม "กฎทองคำ" (ปฏิบัติต่อผู้อื่นแบบเดียวกับที่คุณอยากให้เขาปฏิบัติต่อคุณ)
  • เวลาที่คนอื่นหัวเราะเยาะใครก็อย่าหัวเราะด้วย! สุภาพไว้! ถ้าคุณหัวเราะ มันจะทำร้ายความรู้สึกเขามาก
  • มารยาทที่ดีไม่มีวันตกยุค มีแต่จะช่วยคุณ
  • อย่าสั่งน้ำมูกต่อหน้าคนอื่นขณะรับประทานอาหาร
  • เวลาที่ถามเรื่องละเอียดอ่อนกับใคร รักษาน้ำเสียงให้เหมือนเวลาที่คุณถามเรื่องดินฟ้าอากาศ วิธีนี้จะทำให้เขาเห็นว่า คุณให้ความสำคัญกับเขาจริงๆ และทำให้เขาสบายใจที่จะตอบ
  • อย่าปล่อยให้ลูกๆ วิ่งเล่นบริเวณบ้านคนอื่น เพราะพวกเขาอาจจะทำอะไรแตกหรือขโมยของ
  • อย่าหงอหรืออายถ้าเพื่อนๆ ล้อที่คุณเปิดประตูค้างไว้ให้ผู้หญิงหรือช่วยคนแก่ทำอะไรสักอย่างที่ทำเองไม่ได้ แต่ให้ถามเพื่อนๆ อย่างสุภาพว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ช่วย
  • รับของอย่างมีมารยาท สบตา ใช้มือทั้งสองข้างรับของ และกล่าวขอบคุณ!
  • มารยาทดีไม่ได้หมายความว่าคุณจะเล่นมุกไม่ได้ ทำตัวติ๊งต๊องไม่ได้ และมีอารมณ์ขันไม่ได้ พูดง่ายๆ คืออย่าสับสนระหว่างการเป็นคนมีมารยาทดีกับคนหยิ่งยโสและถือตัวมากเกินไป เพราะพวกนั้นน่ะน่าเบื่อ
  • ขอโทษในเรื่องที่เป็นกลไกทางร่างกาย พูดว่า "ขอโทษนะคะ" ถ้าคุณ เรอ หรือ ไอ (หรือถ้าร่างกายส่งเสียงอื่นๆ ออกมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) การหัวเราะที่คนอื่นเรอเป็นมารยาทที่ไม่ดีและทำให้คนๆ นั้นดูเป็นคนดิบ มันอาจจะตลกในหมู่เพื่อน แต่คนรอบข้างจะมองว่าคุณนิสัยไม่ดี แต่ก็จำไว้ด้วยว่าการพูด "ขอโทษนะคะ" ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเรอออกมาตอนไหนก็ได้ อย่าทำแบบนี้ต่อหน้าใครก็ตาม


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. "Emily Post's Etiquette, 17th Edition," Peggy Post, ISBN978-0-06-620957-9

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 46,416 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา