ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาปวดแปลบรุนแรงบริเวณคอหรือส่วนอื่นของกระดูกสันหลัง เราชอบเรียกว่ามีอาการเส้นประสาทถูกกดทับ หรือ "pinched nerve" ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีอะไรไป pinch หรือ "หยิก " เส้นประสาทไขสันหลัง แต่เป็นอาการระคายเคืองจากสารเคมีในร่างกาย เส้นประสาทตึงหรือถูกกดทับ ทำให้รู้สึกแสบร้อน แปล๊บๆ จี๊ดๆ เหมือนไฟช็อต [1] แต่จริงๆ แล้วอาการที่ว่า เกิดจากข้อต่อฟาเซ็ตของกระดูกสันหลังนั้นขัด ระคายเคือง หรืออักเสบขึ้นมา ทำให้เจ็บปวดรุนแรง และขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก แต่จะไม่อันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด คุณรักษาอาการเส้นประสาทคอถูกกดทับนี้ได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งมีทั้งวิธีดูแลตัวเองที่บ้าน และตรวจรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการเส้นประสาทกระดูกสันหลังคอถูกกดทับ (บางทีเรียก kinked neck) มักเกิดกะทันหัน จากการหันหรือหมุนคอผิดท่า หรือจากแรงกระแทก เช่น กล้ามเนื้อต้นคอบาดเจ็บจากแรงบิด (whiplash) [2] ถ้าอาการเกิดจากการเคลื่อนไหวผิดท่า จะหายปวดคอเองในไม่นาน ไม่ต้องหาหมอหรือดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด เพราะงั้นให้ใจเย็น อดทนรอสัก 2 - 3 ชั่วโมง ไปจนถึง 2 - 3 วัน
    • จะยิ่งเสี่ยงบาดเจ็บที่คอ ถ้ากล้ามเนื้อเย็นและตึงเกร็ง เพราะงั้นอย่าหันคอกะทันหันหรือแรงเกินไปโดยไม่วอร์มกล้ามเนื้อซะก่อน เช่น รอให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงตามปกติ หรือหาผ้าพันคอ/เสื้อคอเต่ามาใส่ ถ้าใครไปเที่ยวเมืองหนาวหรืออยู่ในห้องแอร์เย็นจัดทั้งวัน
    • ถึงเจ็บก็ให้ทำตัวตามปกติ อย่าไปเกร็งคอว่าห้ามหัน เดี๋ยวก็จะอาการดีขึ้นเอง
  2. ถ้าปวดคอเพราะงานที่ทำ ให้ลองปรึกษาหัวหน้า เพื่อปรับเปลี่ยนหรือสลับหน้าที่ชั่วคราว ไม่ก็ปรับเปลี่ยนโต๊ะหรือสถานที่ทำงานซะใหม่ ไม่ให้คออยู่ในตำแหน่งที่จะปวดไปกว่าเดิม งานที่ต้องใช้แรง เช่น ยกของ แบกของ ก้มๆ เงยๆ อย่างช่างเชื่อมหรือก่อสร้าง จะมีโอกาสปวดคอสูงกว่าอาชีพอื่น อีกทีคือพนักงานบริษัทที่ต้องก้มพิมพ์งานตลอดวัน ถ้าปวดคอเพราะออกกำลังกาย แสดงว่าออกผิดท่าหรือกระโชกโฮกฮากเกินไป ลองปรึกษาเทรนเนอร์ดู
    • ถึงปวดคอก็ไม่แนะนำให้นั่งๆ นอนๆ เฉยๆ บนเตียง ควรขยับบ้างให้กล้ามเนื้อและข้อได้มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยง จะได้ฟื้นตัวเร็ว [3]
    • ทำงานหรืออยู่บ้านก็ต้องจัดท่าทางให้ถูกต้อง ถ้าจะใช้คอม หน้าจอต้องอยู่ระดับสายตา คอจะได้ไม่เคล็ดหรือเกร็ง
    • นอนให้ถูกท่า ถ้าหมอนหนา/สูงเกินไป ก็ทำให้ปวดคอได้ อย่าพยายามนอนคว่ำ เพราะทำให้หัวกับคอบิดผิดท่า
  3. ยากลุ่ม NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatories) เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน หรือแอสไพริน พวกนี้ใช้แก้ปวดแก้อักเสบชั่วคราวได้ [4] แต่ไม่ค่อยดีต่อกระเพาะ ตับ และไต เพราะงั้นอย่าใช้ติดต่อกันเกิน 2 อาทิตย์ และห้ามกินยาเกินขนาดเด็ดขาด
    • ปริมาณยาที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ คือ 200 - 400 มก. ทุก 4 - 6 ชั่วโมง
    • อีกทีคือใช้ยาแก้ปวด (analgesics) อย่าง acetaminophen (Tylenol) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ (เช่น cyclobenzaprine) เวลาปวดคอ แต่ห้ามกินคู่กับยา NSAIDs เด็ดขาด
    • อย่ากินยาตอนท้องว่าง เพราะจะไประคายเคืองผนังกระเพาะ ทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้
  4. ประคบเย็นช่วยได้หมด ถ้าบาดเจ็บในกระดูกและกล้ามเนื้อแค่เล็กน้อย ปวดคอแบบนี้ก็ด้วย [5] ให้ประคบเย็นตรงคอบริเวณที่กดเจ็บที่สุด จะช่วยลดปวดบวมได้ โดยประคบ 20 นาที ทุก 2 - 3 ชั่วโมง ติดต่อกัน 1 - 2 วัน แล้วลดความถี่ลงหลังอาการดีขึ้น
    • เวลาประคบเย็นที่คอ ให้พันทับด้วยยางยืดช่วย support จะได้ลดอาการอักเสบ
    • ต้องห่อน้ำแข็งหรือเจลแพ็คด้วยผ้าบางๆ ก่อนเสมอ ความเย็นจะได้ไม่กัดผิว
  5. ถ้าแช่หลังส่วนบนและคอในน้ำอุ่นผสมดีเกลือฝรั่ง (Epsom salt) จะช่วยลดอาการปวดบวมได้ดีมาก โดยเฉพาะถ้าปวดเพราะกล้ามเนื้อฉีก [6] แมกนีเซียมในเกลือนี่แหละที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แต่น้ำที่แช่ต้องอย่าร้อนจัดเกินไป (จะได้ไม่ลวก) และอย่าแช่นานเกิน 30 นาที เพราะน้ำเกลือจะดึงน้ำในร่างกายไป ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้
    • ถ้าปัญหาหลักๆ คือคอบวม พอแช่น้ำอุ่นผสมดีเกลือแล้ว ให้ต่อด้วยประคบเย็นจนคอชา (ประมาณ 15 นาทีขึ้นไป)
  6. เพราะอาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ (เพราะลดแรงกดทับที่เส้นประสาท หรือทำให้ข้อฟาเซ็ตของคอหายขัด) โดยเฉพาะถ้ารีบแก้ตั้งแต่มีอาการใหม่ๆ [7] ให้เคลื่อนไหวช้าๆ อย่างมั่นคง หายใจเข้า-ออกลึกๆ ไปด้วยตอนยืดเหยียด โดยยืดเหยียดค้างไว้ประมาณ 30 วินาที จากนั้นทำซ้ำ 3 - 5 ครั้งต่อวัน
    • ตอนยืนและมองตรงไปข้างหน้า ให้ค่อยๆ เอียงคอ ให้หูมาใกล้ไหล่ที่สุด พัก 2 - 3 วินาที แล้วทำซ้ำกับอีกข้าง
    • ให้ยืดเหยียดทันทีหลังอาบน้ำอุ่นหรือประคบด้วยอะไรร้อนๆ ชื้นๆ เพราะกล้ามเนื้อคอจะคลาย ยืดหยุ่นได้ดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์เฉพาะทาง เช่น ศัลยแพทย์กระดูก แพทย์ระบบประสาท หรือแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม จะตรวจวินิจฉัยได้ว่าอาการปวดคอของคุณมาจากสาเหตุอันตรายร้ายแรงหรือเปล่า เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท กระดูกอักเสบติดเชื้อ โรคกระดูกพรุน กระดูกสันหลังหัก โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือมะเร็ง [8] ปกติปวดคอแล้วไม่ค่อยเกิดจากโรคพวกนี้ แต่ถ้าดูแลตัวเองและบำบัดรักษาตามปกติแล้วไม่ได้ผล ก็ถึงเวลาตรวจหาสาเหตุที่อาจอันตรายร้ายแรงกว่า
    • เอกซเรย์ สแกนกระดูก MRI CT scan และการตรวจโดยการกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า คือการตรวจวินิจฉัยที่แพทย์เฉพาะทางนิยมใช้หาสาเหตุของอาการปวดคอ [9]
    • คุณหมออาจตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเปล่า
  2. ปรึกษาคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัดเรื่องด้วยการดึงคอ. traction เป็นเทคนิคใช้ยืดหรือเพิ่มช่องว่างระหว่างข้อกระดูกสันหลัง ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่นักกายภาพบำบัดใช้มือดึงคอให้เอง ไปจนถึงใช้เตียงดึงคอและสะโพก (traction table) อุปกรณ์สำหรับดึงคอเองที่บ้านก็มี แต่ต้องทำช้าๆ อย่างระมัดระวังที่สุด ถ้าทำแล้วเจ็บหรือชาลงแขน ให้หยุดแล้วไปหาหมอทันที แต่ทางที่ดีให้ปรึกษาคุณหมอ นักจัดกระดูก หรือนักกายภาพบำบัดก่อนดีกว่า จะได้เลือกวิธีให้ถูกกับอาการ
  3. บางทีที่ปวดคออาจเพราะข้ออักเสบเรื้อรัง ขั้นตอนของการฉีดยาเข้าข้อฟาเซ็ต คือจะใช้ fluoroscopic (เอกซเรย์) นำทางเพื่อสอดเข็มผ่านกล้ามเนื้อคอ ไปยังข้อกระดูกสันหลังที่อักเสบหรือระคายเคือง แล้วฉีดยาชาผสมสเตียรอยด์เข้าไป จะช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้อย่างรวดเร็ว ขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 20 – 30 นาที และผลการรักษาจะคงอยู่ประมาณ 2 - 3 อาทิตย์ ไปจนถึง 2 - 3 เดือน [10]
    • คุณฉีดยาเข้าข้อฟาเซ็ตได้ไม่เกิน 3 ครั้งใน 6 เดือน
    • ฉีดยาเข้าข้อฟาเซ็ตแล้ว จะเริ่มหายปวดก็ตอนเข้าวันที่ 2 - 3 ระหว่างนั้นอาจมีปวดคอกว่าเดิมนิดหน่อยด้วยซ้ำ
    • ผลข้างเคียงที่พบได้หลังฉีดยา ก็คือติดเชื้อ เลือดไหล กล้ามเนื้อบางส่วนลีบฝ่อ และเส้นประสาทเสียหายหรือเกิดการระคายเคือง
  4. ถือเป็นวิธีรักษาอาการปวดคอที่ควรเก็บไว้ท้ายสุด หลังจากใช้วิธีอื่นๆ ตามปกติแล้วไม่ (ค่อย) ได้ผล หรือถ้าคุณหมอพิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดเหมาะกับสภาพอาการมากกว่า สาเหตุที่ต้องผ่าตัดรักษาคอก็เช่น แก้ไขหรือประคองกระดูกที่หัก (จากแรงกระแทกหรือโรคกระดูกพรุน) ผ่าตัดเนื้องอก หรือแก้ไขภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท [11] ถ้าเส้นประสาทที่คอเป็นสาเหตุของอาการปวด จะรู้สึกเจ็บแปลบ ชา และ/หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อแขนและ/หรือมือลีบ
    • ผ่าตัดกระดูกสันหลังแล้วอาจมีการดามด้วยแท่งเหล็ก น็อต หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อพยุงโครงสร้างไว้ด้วย
    • ถ้าแก้ไขโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมกระดูก 2 ท่อนขึ้นไป (ข้อกระดูกสันหลัง) เข้าด้วยกัน ทำให้ระยะการเคลื่อนไหวแคบลง
    • ผลข้างเคียงที่มักพบหลังผ่าตัดหลังก็เช่น ติดเชื้อบริเวณที่ผ่า แพ้ยาสลบ เส้นประสาทเสียหาย เป็นอัมพาต และปวด/บวมเรื้อรัง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

วิธีทางเลือก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กล้ามเนื้อฉีกคือการที่เส้นใยกล้ามเนื้อบางส่วนถูกยืดหรือดึงเกินระยะจนฉีกขาด ทำให้ปวด อักเสบ และกล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นอาการที่เราเรียกว่า "เส้นประสาทถูกกดทับ" อาจเกิดจากกล้ามเนื้อคอฉีกก็ได้ การนวดเนื้อเยื่อระดับลึก (deep tissue massage) จะเห็นผลถ้ากล้ามเนื้อฉีกเล็กน้อยถึงปานกลาง เพราะช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ต้านอักเสบ และช่วยให้ผ่อนคลาย [12] เริ่มจากนวด 30 นาที โดยเน้นคอและหลังส่วนบน พยายามให้หมอนวดกดลึกๆ เท่าที่คุณทนได้ ไม่ทรมานเกินไป
    • หลังนวดเสร็จให้รีบดื่มน้ำเยอะๆ จะได้ขับพิษ กรดแลคติก และสารตกค้างจากการอักเสบออกไปจากร่างกาย ไม่งั้นจะปวดหัวหรือคลื่นไส้นิดหน่อยได้
    • ถ้าไม่ชอบให้คนแปลกหน้ามานวด ก็นวดกล้ามเนื้อคอเองได้ โดยใช้ลูกเทนนิสหรือเครื่องนวดแบบสั่น หรือดีกว่านั้นคือให้เพื่อนช่วยนวดซะเลย ให้กลิ้งลูกเทนนิสช้าๆ ตรงคอบริเวณที่กดเจ็บ ประมาณ 10 - 15 นาที 2 - 3 ครั้งต่อวัน จนอาการดีขึ้น
  2. ถ้าปวดคอบ่อยๆ จนเข้าค่ายเรื้อรัง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท่าทางการนั่ง ยืน เดินเปลี่ยนไป หรือมีการเสื่อมสภาพ เช่น ข้อเสื่อม ก็ต้องฟื้นฟูด้วยกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะจัดท่ายืดเหยียดและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตามอาการปวดคอของคุณให้เอง [13] ต้องทำกายภาพประมาณ 2 - 3 ครั้งต่ออาทิตย์ ติดต่อกัน 4 - 6 อาทิตย์ อาการผิดปกติที่สันหลังแบบเรื้อรังถึงจะดีขึ้นอย่างเห็นผล
  3. chiropractors หรือ osteopaths เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เน้นจัดกระดูกให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้ตามปกติ กระดูกสันหลังข้อเล็ก (ข้อฟาเซ็ต) กลับมาใช้งานได้ตามเดิม นอกจากนี้ยังจัดกระดูกเพื่อแก้ข้อฟาเซ็ตขัด จัดเรียงข้อฟาเซ็ตของกระดูกสันหลังที่บิดเบี้ยวซะใหม่ เพราะอาจเป็นสาเหตุของการอักเสบและอาการปวดแปลบ โดยเฉพาะตอนที่เคลื่อนไหว การดึงคอ (traction) ก็ช่วยบรรเทาปวดได้เช่นกัน
    • บางคนจัดกระดูกครั้งเดียวก็หายปวดจากอาการเส้นประสาทคอถูกกดทับเลย แต่ส่วนใหญ่ต้องจัดกระดูกซ้ำ 3 - 5 ครั้งถึงจะเห็นผลชัดเจน
    • นักจัดกระดูกอาจรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อเน้นรักษากล้ามเนื้อฉีก ซึ่งก็ต้องดูตามอาการปวดคอของคุณ
    • ถ้าจำเป็น นักกายภาพจะรักษากล้ามเนื้อคอที่ปวดโดยใช้กระแสไฟฟ้า เช่น บำบัดด้วยอัลตราซาวด์ หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า
    • วิธีออกกำลังกายคอที่น่าสนใจก็เช่น ว่ายน้ำ โยคะบางท่า และเล่นเวท แต่ต้องให้หายใจอาการเก่าซะก่อน
  4. acupuncture ก็คือการฝังเข็มตามจุดพลังงานใต้ผิวหนัง/กล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ ฝังเข็มก็ช่วยบรรเทาอาการปวดคอได้ดี โดยเฉพาะถ้ารักษาแต่เนิ่นๆ [14] ถ้าตามหลักของแพทย์แผนจีน การฝังเข็มช่วยให้ร่างกายหลั่งสารต่างๆ เช่น เอนดอร์ฟินส์และเซโรโทนิน ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้
    • นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า การฝังเข็มช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของพลังงาน (chi)
    • คนที่จะฝังเข็มให้คุณได้ก็เช่น คุณหมอ หมอจีน นักกายภาพบำบัด นักจัดกระดูก นักธรรมชาติบำบัด ไปจนถึงหมอนวดที่ผ่านการอบรมและมีใบอนุญาต
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่านอนอ่านหนังสือบนเตียงแบบหนุนหมอนสูงให้หัวตั้งบ่า เพราะคอจะฝืนเกินไป
  • อย่าสะพายกระเป๋าที่ถ่ายน้ำหนักไปที่ไหล่แค่ข้างใดข้างหนึ่ง เช่น กระเป๋าสะพายเฉียง หรือกระเป๋าสะพายของผู้หญิง เพราะคอจะเคล็ดได้ ถ้ากระเป๋าหนักมาก ให้เลือกแบบมีล้อ หรือใช้เป้ที่สะพายด้วยไหล่ทั้ง 2 ข้างเท่ากัน โดยเฉพาะเป้ที่มีแผ่นนุ่มๆ รองบ่า
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ออกซิเจนกับสารอาหารที่จำเป็นเลยไปไม่ถึงกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่ออื่นๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • ก่อนรักษาตัวเองด้วยวิธีไหนในบทความนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหรือนักจัดกระดูกเรื่องอาการปวดหรือบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังของคุณก่อน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,960 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา