ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์เป็นอาการทั่วๆ ไปที่ถูกพบได้ในผู้หญิง ยีสต์เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในช่องคลอด และมีปริมาณน้อย การเป็นเชื้อราที่เกิดจากยีสต์ในช่องคลอด หรือที่เรียกว่า “โรคเชื้อราในช่องคลอด” สามารถพัฒนาเมื่อมีเซลล์ยีสต์เติบโตขึ้นเป็นจำนวนมากในช่องคลอด [1] ถึงแม้ว่าอาการของโรคจะมีความหลากหลาย เริ่มตั้งแต่มีอาการรำคาญจนทนไม่ได้ ซึ่งการติดเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ส่วนมากสามารถถูกรักษาได้อย่างง่ายๆ สิ่งที่คุณต้องทำคือ สังเกตอาการของโรค ได้แก่ เจ็บปวด มีแผลช้ำระบม คัน เป็นผื่น และแสบร้อน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

วินิจฉัยการติดเชื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลากหลายสัญญาณทางร่างกาย ที่อาจบ่งบอกถึงการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ อาการโดยทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ ได้แก่: [2]
    • การคัน เป็นแผลช้ำระบม และรู้สึกไม่สบายในบริเวณช่องคลอด
    • เจ็บปวด หรือแสบร้อนในระหว่างการปัสสาวะ หรือมีเพศสัมพันธ์
    • มีตกขาว สีขาวข้น (เหมือนกับคอทเทจชีส) ในช่องคลอด ซึ่งจำไว้ว่าไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนจะมีอาการนี้
  2. หากคุณไม่แน่ใจว่าคุณเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์หรือไม่ ให้คุณพิจารณาสาเหตุหลักๆ ที่ก่อให้เกิดการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์:
    • ยาปฏิชีวนะ – ผู้หญิงส่วนมากพัฒนาการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ หลังจากรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน [3] ยาปฏิชีวนะทำลายแบคทีเรียชนิดดีในร่างกายของคุณ รวมไปถึงชนิดที่ป้องกันการเจริญเติบโตที่มากเกินไปของยีสต์ ซึ่งนำไปสู่การเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ [4] หากคุณได้รับประทานยาปฏิชีวนะเมื่อเร็วๆ นี้ และเกิดอาการแสบร้อน และคันที่ช่องคลอด คุณอาจเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์
    • มีประจำเดือน – ผู้หญิงส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ในช่วงที่เธอกำลังจะมีประจำเดือน ดังนั้นหากคุณมีอาการดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ และใกล้ๆ ช่วงที่คุณจะมีประจำเดือน คุณอาจเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ [5]
    • ยาคุมกำเนิด – ยาเม็ดคุมกำเนิด และยาคุมฉุกเฉิน เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมน ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ [6]
    • สภาวะทางการแพทย์ที่มีอยู่ – โรค หรือสภาวะบางอย่าง เช่น HIV หรือเบาหวาน สามารถเป็นสาเหตุให้เป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ [7]
    • การตั้งครรภ์ – เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ ทำให้การเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ [8]
    • สุขภาพโดยทั่วไป – ความเจ็บป่วย ความอ้วน นิสัยไม่ชอบนอน และความเครียดสามารถเพิ่มความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ [9]
  3. ซื้อตัวทดสอบค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มาใช้ที่บ้าน. ในกรณีตั้งครรภ์ มีเครื่องมือตรวจสอบที่คุณสามารถหาซื้อมาตรวจได้ว่าตั้งครรภ์จริงหรือไม่ ทั้งนี้ค่าความเป็นกรดด่างของช่องคลอดโดยปกติจะอยู่ที่ 4 ซึ่งค่อนข้างมีความเป็นกรดเล็กน้อย ให้คุณทำตามคำแนะนำที่มากับเครื่องมือดังกล่าว [10]
    • ในการทดสอบค่าความเป็นกรดด่าง ให้คุณถือกระดาษทดสอบติดกับผนังช่องคลอดของคุณประมาณ 2 – 3 วินาที จากนั้นให้นำมาเปรียบเทียบสีของกระดาษกับแผนภูมิที่ให้มากับเครื่องมือ ตัวเลขบนแผนภูมิสีที่ใกล้เคียงกับสีของกระดาษที่สุดเป็นตัวเลขค่าความเป็นกรดด่างของช่องคลอดของคุณ [11]
    • หากผลจากการทดสอบมีค่ามากกว่า 4 คุณควรไปพบแพทย์ นี่ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ของการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ แต่สามารถเป็นสัญญาณของการติดเชื้ออย่างอื่น [12]
    • หากผลจากการทดสอบมีค่าต่ำกว่า 4 มันมีความเป็นไปได้ (แต่ไม่เสมอไป) ที่คุณจะเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์
  4. หากคุณไม่เคยเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์มาก่อน หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลการทดสอบ คุณควรพบแพทย์ หรือพยาบาลที่คลินิกนรีแพทย์ แพทย์ หรือพยาบาลของคุณจะทำการตรวจสอบสภาพช่องคลอด และใช้สำลีซับตัวอย่างของตกขาวเพื่อไปนับปริมาณของยีสต์ วิธีนี้เรียกว่า การเตรียมสไลด์สด (wet mount) แพทย์ของคุณอาจร้องขอให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อตัดสาเหตุอื่นๆ ของอาการออกไป [13]
    • ถึงแม้ว่าการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง แต่มันก็เป็นเรื่องยากในการวินิจฉัยด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้องแม่นยำ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเพียงแค่ 35 เปอร์เซ็นต์ ของผู้หญิงที่มีประวัติของการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ สามารถวินิจฉัยการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ จากอาการของพวกเขาได้เองโดยลำพัง [14] [15] การเป็นเริม และอาการแพ้ต่อน้ำยาซักผ้าบ่อยครั้งทำให้เกิดความสับสนกับการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์
    • จำไว้ว่ามีความเป็นไปได้อื่นๆ ที่ทำไมคุณอาจมีตกขาว และรู้สึกไม่สบายในช่องคลอด รวมไปถึงการติดเชื้ออื่นๆ เช่น ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อทริโคโมนาส ยกตัวอย่าง เช่น อาการหลายๆ อย่างของการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์มีความคล้ายคลึงกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กามโรค หรือ STD [16] หากคุณมีเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์อยู่บ่อยๆ แพทย์ของคุณอาจจำเป็นต้องทำการทดสอบการเพาะเชื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นเชื้อ Candida Species ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ไม่ใช่เชื้อ C. albicans
    • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรักษาเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ ก่อนที่จะปรึกษาแพทย์ [17]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำไว้ว่าคุณควรรักษาเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ด้วยตัวเอง หากคุณมั่นใจในการวินิจฉัยด้วยตัวเองเท่านั้น แต่จงพึงระวังไว้ว่า ผู้หญิงหลายคนที่เคยเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์มาก่อน ยังอาจวินิจฉัยได้ผิดพลาด หากคุณมีข้อสงสัยแม้แต่เล็กน้อย ให้คุณพบแพทย์
  2. แพทย์ของคุณอาจสั่งยาต้านเชื้อราแบบใช้เม็ดเดียว เรียกว่า Fluconazole (Diflucan) ซึ่งใช้รับประทาน [18] [19] อาการจะบรรเทาลงภายใน 12 – 24 ชั่วโมงแรกหลังจากรับประทานยา
    • นี่เป็นการรักษาที่รวดเร็วที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ หากคุณมีอาการที่รุนแรง ให้พบแพทย์โดยทันทีเพื่อตัดสินใจ ตัวเลือกไหนเป็นการรักษาที่ใช่สำหรับคุณ
  3. นี่เป็นรูปแบบทั่วไปของการรักษาโรค การรักษาที่ถูกต้องมีให้เลือกทั้งแบบยาที่ไม่มีใบสั่งแพทย์ และมีใบสั่งแพทย์ โดยตัวยาเหล่านี้ ได้แก่ ครีมต้านเชื้อรา ยาขี้ผึ้ง และยาเม็ดสำหรับสอดช่องคลอด ที่ใช้สำหรับทา และ/หรือสอดช่องคลอด ครีม และยาขี้ผึ้งที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา และซุปเปอร์มาร์เก็ต หากคุณไม่แน่ใจว่าจะใช้ตัวยาไหนในการรักษา ให้ถามเภสัชกรเพื่อให้คำแนะนำคุณ [20] [21]
    • การรักษาด้วยยาในการบำบัดเหล่านี้จะเป็นตัวยาในกลุ่ม ที่เรียกว่า azoles ได้แก่ clotrimazole (Mycelex), butoconazole (Gynezol or Femstat), miconazole nitrate (Monistat) และ tioconazole (Vagistat-1) ยาเหล่านี้มีช่วงเวลาในการใช้ที่แตกต่างกัน เช่น ใช้เพียงครั้งเดียว ใช้ตั้งแต่ 1 – 3 วัน เป็นต้น คุณควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ [22]
    • แน่ใจว่าคุณได้อ่านคำแนะนำที่มากับยาของคุณอย่างระมัดระวัง คำแนะนำจะอธิบายวิธีการทาครีม และ/หรือการสอดเม็ดยาเข้าไปในช่องคลอดของคุณ มันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องทำตามคำแนะนำ หากคุณไม่แน่ใจว่าต้องทำอย่างไร ให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรสำหรับคำแนะนำ
  4. ห้ามหยุดการใช้ยาทันทีที่อาการหายไป ให้ใช้ยาดังกล่าวต่อไปตามระยะเวลาที่ถูกแนะนำให้ใช้ [23]
    • หากคุณใช้ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ และไม่รู้สึกว่าอาการบรรเทาลงหลังจากใช้ไป 2 – 3 วัน ให้คุณพบแพทย์เพื่อหาการรักษาวิธีอื่น
    • ระวังในการใช้ถุงยางอนามัย หากคุณใช้ครีมต้านเชื้อรา หรือยาเม็ดสอดช่องคลอด น้ำมันในตัวยาสามารถทำให้ยางลาเท๊กซ์ในถุงยางอนามัยมีประสิทธิภาพลดลง [24] [25]
  5. รู้ว่าการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะของการติดเชื้อ. ในขณะที่การเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ที่ไม่รุนแรงควรหายไปในเวลาไม่กี่วัน แต่การติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าอาจต้องใช้เวลานานขึ้นในการรักษาให้หายขาด แพทย์ของคุณอาจสั่งยาให้คุณที่สามารถใช้ได้ถึง 2 สัปดาห์
    • หากคุณมีการติดเชื้อซ้ำๆ นี่เป็นเรื่องที่คุณควรอธิบายกับแพทย์ของคุณ มันอาจเป็นสัญญาณของความไม่สมดุลของฮอร์โมน หรือจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน
    • ในการตรวจสอบปริมาณยีสต์ของคุณ แพทย์ของคุณอาจสั่งยา เช่น Diflucan หรือ Fluconazole ที่คุณรับประทานสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในขณะที่แพทย์คนอื่นอาจสั่งยา Clotrimazole ซึ่งเป็นยาเม็ดสอดช่องคลอดสัปดาห์ละครั้ง แทนที่การรับประทานยาเม็ด [26]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การใช้การรักษาที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แครนเบอร์รี่สามารถรักษา และป้องกันทั้งการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ และการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ [27] แน่ใจว่าคุณซื้อน้ำแครนเบอร์รี่ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากหากมีส่วนผสมของน้ำตาล มันจะยิ่งทำให้อาการของโรคแย่ลง
    • คุณสามารถหาซื้ออาหารเสริมแครนเบอร์รี่ในรูปแบบเม็ดได้ [28]
    • เป็นการรักษาที่ต้องใช้ควบคู่กับการรักษาอื่น แครนเบอร์รี่จะเป็นประโยชน์ เฉพาะเมื่อคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ แต่หากคุณเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์อยู่แล้ว พวกมันสามารถเป็นประโยชน์ได้แค่เป็นส่วนเสริมให้กับการรักษาด้วยวิธีอื่น [29]
  2. รับประทานโยเกิร์ต หรือทาโยเกิร์ตบริเวณช่องคลอด คุณสามารถสอดโยเกิร์ตเข้าไปในช่องคลอดได้โดยตรง โดยใช้กระบอกฉีดยาที่ไร้เข็ม หรือโดยการใส่โยเกิร์ตในอุปกรณ์สำหรับใส่ผ้าอนามัยแบบสอดที่เป็นพลาสติก จากนั้นให้แช่แข็งมัน ก่อนจะสอดเข้าช่องคลอด [30] ประโยชน์ คือโยเกิร์ตประกอบไปด้วยเชื้อแบคทีเรียที่มีชีวิต (lactobacillus acidophilus) ที่ช่วยทำให้ปริมาณของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในช่องคลอดกลับมาเป็นเหมือนเดิม [31]
    • ตามประวัติที่ผ่านมา ผู้หญิงบางคนมีการรายงานว่าประสบความสำเร็จกับการรับประทานแลคโตบาซิลลัสที่อยู่ในโยเกิร์ต ถึงแม้ว่าวิธีนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม [32] [33] การศึกษาหลายๆ ชิ้นเสนอแนะว่ามีประโยชน์น้อย หรือแทบไม่มีเลยในการรับประทาน หรือใช้โยเกิร์ตในการรักษาเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ [34]
  3. คุณสามารถรับประทานอาหารเสริม ที่มีส่วนประกอบของ lactobacillus acidophilus หรือที่รู้จักกันว่า โพรไบโอติคส์ ยานี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้หญิงบางคนอาจใช้ยาสอดโพรไบโอติคส์เพื่อช่วยในการรักษาเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ ถึงแม้ว่ายังไม่มีการวิจัยระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ยาสอดโพรไบโอติคส์มีประสิทธิภาพจริง และยังคงต้องทำการศึกษาต่อไป [35]
    • โดยทั่วไป โพรไบโอติคส์ปลอดภัยที่จะใช้ เนื่องจากพวกมันมีคุณสมบัติคล้ายกับแบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในระบบร่างกายของเรา ยิ่งไปกว่านั้น โพรไบโอติคส์บางชนิดสามารถถูกใช้ได้ในทุกช่วงอายุ เช่น อาหาร และเครื่องดื่มที่มีกรรมวิธีการหมักและนมเปรี้ยว อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการวิจัยให้มากกว่านี้ถึงความปลอดภัยสำหรับประชากรที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่า เช่น คนแก่ และเด็กเล็ก
    • ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนทำการสอด หรือทายาโพรไบโอติคส์บริเวณช่องคลอดอยู่เสมอ แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้รับประทานยาโพรไปโอติคส์ มากกว่าการสอดช่องคลอดด้วยตัวยานี้
  4. ลดปริมาณการรับประทานน้ำตาล และคาเฟอีนของคุณ. น้ำตาลในช็อกโกแลต ขนมหวาน และแม้แต่น้ำผลไม้สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสนับสนุนการเจริญเติบโตของยีสต์ คาเฟอีนสามารถทำให้ผลกระทบของน้ำตาลเลวร้ายมากขึ้น โดยการเพิ่มความเร็วในการเติมระดับน้ำตาลในเลือด [36]
    • หากคุณประสบปัญหาเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์อยู่เป็นประจำ คุณควรพิจารณาลดปริมาณน้ำตาล และคาเฟอีนที่คุณรับประทานในแต่ละวัน
  5. หลีกเลี่ยงกางเกงขายาวที่รัด และสวมใส่ชุดชั้นในผ้าฝ้ายเพื่อให้ช่องคลอดของคุณมีการระบายอากาศที่ดี และรู้สึกสบาย ยีสต์เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ชื้น และอุ่น ดังนั้นแน่ใจว่าเสื้อผ้าของคุณแห้งสนิท และระบายอากาศได้ดีสำหรับช่องคลอดของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่เพิ่มจำนวนของยีสต์ให้มีมากขึ้น [37]
  6. ถึงแม้ว่ายาชนิดนี้ถูกใช้ในการรักษาอาการปวดท้อง เมาค้าง และการเจ็บปวดตามร่างกาย และไม่ใช่สำหรับเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์เป็นการเฉพาะ แต่กรดซิตริกในยานี้สามารถรักษาอาการเริ่มต้นของการเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ได้
  7. 7
    ใช้น้ำส้มสายชูหมักจากผลแอปเปิ้ล. น้ำส้มสายชูหมักจากผลแอปเปิ้ล Apple cider vinegar (ACV) เมื่อละลายกับน้ำบริสุทธิ์ และใช้ในการสวนล้างบริเวณช่องคลอด สามารถช่วยบรรเทา หรืออาจทำให้เชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์หายไปได้ คุณสามารถสวนล้างช่องคลอดด้วยสูตรนี้ 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้ไม้พันสำลีทาสารละลายน้ำส้มสายชูหมักจากผลแอปเปิ้ลในช่องคลอดโดยตรง วิธีนี้จะช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการคันให้ลดลง
  8. 8
    ใช้น้ำมันมะพร้าว. มันเป็นการรักษาที่ยอดเยี่ยม หากคุณเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ในช่องคลอด ให้คุณทาน้ำมันมะพร้าวรอบๆ บริเวณช่องคลอดทุกวัน และอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน น้ำมันมะพร้าวสามารถฆ่าเชื้อ Candida และทำให้การติดเชื้อของคุณหายขาด [41]
  9. 9
    ใช้กระเทียม. กระเทียมเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์ หั่นกระเทียมออกเป็น 2 กลีบ และใส่ไว้ในช่องคลอดตลอดคืน ทำซ้ำแบบนี้ 2 – 3 คืนแล้วดูผลลัพธ์ที่ได้ อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องตระหนักว่ากระเทียมอาจทำให้พื้นที่บริเวณช่องคลอดของคุณเกิดอาการแสบร้อน และก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์
    โฆษณา

คำเตือน

  • คอยจนกระทั่งเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์หายขาดถึงมีเซ๊กซ์ การติดเชื้อไม่แพร่ไปยังคู่นอน แต่ผู้ชายสามารถมีอาการคัน หลังจากมีเซ๊กซ์กับคนที่ติดเชื้อได้ [42]
  • หากคุณเป็นเชื้อราชนิดที่เกิดจากยีสต์มากกว่า 4 ครั้งในหนึ่งปี (เป็นลักษณะของการติดเชื้อรา Vulvovaginal Candidiasis) คุณควรไปพบแพทย์ ซึ่งนี่อาจเป็นสัญญาณของอาการทางการแพทย์ที่รุนแรง เช่น โรคเบาหวาน [43]
  • นัดพบแพทย์อีกครั้ง หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังการรักษา จำไว้ว่าการรักษาด้วยยาที่ไม่มีใบสั่งแพทย์ใช้ไม่ได้ผลกับผู้หญิงทุกคน [44]
โฆษณา
  1. http://www.fda.gov/MedicalDevices/ProductsandMedicalProcedures/InVitroDiagnostics/HomeUseTests/ucm126074.htm
  2. www.fda.gov/MedicalDevices/ProductsandMedicalProcedures/InVitroDiagnostics/HomeUseTests/ucm126074.htm
  3. www.fda.gov/MedicalDevices/ProductsandMedicalProcedures/InVitroDiagnostics/HomeUseTests/ucm126074.htm
  4. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001511.htm
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8656170
  6. http://blog.doctoroz.com/oz-experts/gyno-myth-yogurt-on-tampon
  7. http://www.webmd.com/women/yeast-infections-should-you-treat-yourself-or-see-a-doctor
  8. http://www.webmd.com/women/yeast-infections-should-you-treat-yourself-or-see-a-doctor
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/basics/treatment/con-20035129
  10. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001511.htm
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/basics/treatment/con-20035129
  12. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001511.htm
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/basics/treatment/con-20035129
  14. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001511.htm
  15. http://women.webmd.com/tc/vaginal-yeast-infections-topic-overview
  16. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/vaginal-yeast-infections.html
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/basics/treatment/con-20035129
  18. http://www.about-natural-remedies.net/YeastInfection.html
  19. https://www.msu.edu/user/eisthen/yeast/diy.html
  20. https://www.msu.edu/user/eisthen/yeast/diy.html
  21. https://msu.edu/~eisthen/yeast/diy.html
  22. http://www.webmd.com/women/yeast-infections-should-you-treat-yourself-or-see-a-doctor
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/basics/alternative-medicine/con-20035129
  24. http://blog.doctoroz.com/oz-experts/gyno-myth-yogurt-on-tampon
  25. http://blog.doctoroz.com/oz-experts/gyno-myth-yogurt-on-tampon
  26. https://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/lactobacillus-acidophilus
  27. https://msu.edu/~eisthen/yeast/causes.html
  28. http://www.webmd.com/women/yeast-infections-should-you-treat-yourself-or-see-a-doctor
  29. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001511.htm
  30. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/basics/prevention/con-20035129
  31. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/basics/prevention/con-20035129
  32. http://www.yeastinfection.org/is-coconut-oil-good-for-treating-candida-infection/
  33. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001511.htm
  34. http://www.webmd.com/women/yeast-infections-should-you-treat-yourself-or-see-a-doctor
  35. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/basics/treatment/con-20035129

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,026 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา