ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การติดเชื้อราในหูที่รู้จักกันในโรคเชื้อราภายในช่องหูหรือ "โรคหูนักว่ายน้ำ" นั้นเบื้องต้นจะส่งผลต่อช่องหู โรคเชื้อราภายในช่องหูนั้นคิดเป็น 7% ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น หูชั้นนอกอักเสบ หรือการอักเสบและติดเชื้อในช่องหู โดยสาเหตุของโรคเชื้อราภายในช่องหูที่พบบ่อยที่สุดนั้นเกิดจากเชื้อราในสปีชีส์ แคนดิดา และ แอสเปอร์จิลลัส คนมักจะสับสนโรคเชื้อราในหูกับการติดเชื้อแบคทีเรียในหู ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาอาการติดเชื้อในหูในลักษณะของการติดเชื้อแบคทีเรีย และบ่อยครั้งที่แพทย์ก็จะสั่งยาปฏิชีวนะให้ แต่เนื่องจากว่ายาปฏิชีวนะไม่ได้ต่อสู้กับการติดเชื้อรา มันจึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นแพทย์ก็จะให้ยารักษาเชื้อราทั้งแบบที่หาซื้อได้ทั่วไปกับแบบที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รู้อาการของโรคเชื้อราในหู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการคันหูเป็นอาการปกติ เพราะบนหูและในหูมีขนเล็กๆ อยู่หลายร้อยเส้นที่อาจทำให้คุณรู้สึกจั๊กจี้ได้ง่ายๆ ถ้าคุณรู้สึกคันหูไม่หยุดและแม้จะเกา/ถูแล้วก็ยังไม่หายคัน หูของคุณก็อาจจะติดเชื้อราได้ วิธีนี้เป็นวิธีเบื้องต้นในการระบุการติดเชื้อราที่หู
  2. คุณจะมีอาการปวดหูข้างเดียวในเกือบทุกกรณี ไม่ใช่สองข้างเพราะการติดเชื้อรานั้นเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ บางครั้งผู้ป่วยจะอธิบายว่ามันเหมือนมี “แรงดัน” หรือ “หูอื้อ” อาการปวดก็มีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง และยิ่งคุณเอามือจับหูมากเท่าไหร่ อาการปวดก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น [2]
  3. ของเหลวในหูที่เกิดจากเชื้อรามักจะข้นและอาจจะใสๆ เป็นสีขาว สีเหลือง หรือบางครั้งก็มีเลือดปน/กลิ่นเหม็น อย่าสับสนระหว่างน้ำหนวกกับการสะสมของขี้หูธรรมดา นำไม้สำลีมาเช็ดหู (ระวังอย่าสอดสำลีเข้าไปในช่องหู) มันจะมีการสะสมของขี้หูในระดับปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าปริมาณหรือสีเปลี่ยนไป ก็เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะติดเชื้อราในหู [3]
  4. อาการติดเชื้อราที่หูอาจปรากฏในรูปแบบของคำพูด/เสียงที่ได้ยินไม่ชัดเจน เข้าใจคำพูดได้ยาก และมีปัญหาในการได้ยินเสียงพยัญชนะ บางครั้งคนอื่นก็รู้ว่าคนๆ นั้นสูญเสียการได้ยินจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ความคับข้องใจที่เกิดการที่ไม่ได้ยินเสียงจะทำให้คนๆ ออกจากการสนทนาและสถานการณ์ทางสังคมไป [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณติดเชื้อที่หู คุณควรไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรู้ว่าต้องรักษาด้วยวิธีการไหนจึงจะดีที่สุด ถ้าคุณมีอาการปวดหูอย่างรุนแรง สูญเสียการได้ยิน หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ คุณควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ [5]
    • แพทย์สามารถทำความสะอาดช่องหูให้สะอาดได้ด้วยเครื่องดูดขี้หูและจ่ายยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อที่หู
    • นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะแนะนำยาแก้ปวดที่คุณสามารถหาซื้อได้เองที่ร้านขายยา หรือจ่ายยาให้หากอาการปวดรุนแรง [6]
  2. โคลไตรมาโซลชนิดสารละลาย 1% เป็นยารักษาเชื้อราที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่แพทย์จ่ายเพื่อรักษาการติดเชื้อราในหู ยาตัวนี้ฆ่าได้ทั้ง แคนดิดา และ แอสเปอร์จิลลัส ซึ่งทำงานโดยการไปยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการเปลี่ยนเออร์โกสเตอรอล เชื้อราจำเป็นต้องอาศัยเออร์โกสเตอรอลในการรักษาความสมบูรณ์ของแผ่นเยื่อ ซึ่งโคลไตรมาโซลก็จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราด้วยการไปกำจัดเออร์โกสเตอรอลให้สิ้นซาก [7]
    • อย่าลืมนึกถึงผลข้างเคียงของโคลไตรมาโซลด้วย โดยผลข้างเคียงที่ว่านี้ได้แก่ ระคายเคืองที่หู แสบร้อน หรือไม่สบายหู [8] อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่เกิดจากโคลไตรมาโซลชนิดทาเฉพาะที่นั้นพบได้ไม่บ่อยเท่าชนิดรับประทาน
    • ในการทายาโคลไตรมาโซลนั้น เปิดน้ำก๊อกแล้วใช้สบู่อ่อนล้างมือให้สะอาด ทำความสะอาดหูด้วยน้ำอุ่นจนกว่าของเหลวที่มองเห็นได้จะออกไปหมดแล้ว ใช้ผ้าสะอาดค่อยๆ ซับหูให้แห้ง อย่าพยายามเช็ดน้ำที่ยังติดอยู่ออกมากเกินไป เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้ [9]
    • นอนลงหรือเอียงศีรษะไปด้านข้างเพื่อให้ช่องหูขึ้นมา ยืดช่องหูให้ตรงด้วยการดึงติ่งหูลงล่างแล้วก็ดึงไปข้างหลัง หยดโคลไตรมาโซลลงในหู 2-3 หยด เอียงศีรษะต่อ 2-3 นาทีเพื่อให้ตัวยาไหลไปถึงบริเวณที่ติดเชื้อ จากนั้นเอียงศีรษะลงให้ยาไหลลงมาบนผ้า [10]
    • ปิดฝาขวดแล้วเก็บยาไว้ให้ไกลและพ้นจากมือเด็ก เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น อย่าให้โดนแดดหรือความร้อนโดยตรง [11]
    • ถ้าโคลไตรมาโซลไม่สามารถรักษาการติดเชื้อในหูได้ แพทย์ก็อาจจะตัดสินใจใช้สารฆ่าเชื้อราตัวอื่น เช่น ไมโคนาโซล [12]
  3. ถ้าคุณติดเชื้อราในหูอย่างรุนแรง แพทย์ก็อาจจะจ่ายยาฟลูโคนาโซลให้ ซึ่งทำงานเหมือนโคลไตรมาโซลทุกอย่าง ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ เวียนศีรษะ การรับรสเปลี่ยนไป ถ่ายเหลว ปวดท้อง ผื่นขึ้นตามผิวหนัง เอนไซม์ในตับสูงขึ้น [13]
    • ฟลูโคนาโซลอยู่ในรูปของยาชนิดเม็ด ตามปกติแพทย์จะสั่งให้รับประทานวันแรก 200 มก. และวันละ 100 มก. ในอีก 3-5 วัน [14]
  4. ยาปฏิชีวนะใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้เท่านั้น มันจึงไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อราได้
    • ยาปฏิชีวนะยังอาจทำให้เชื้อราในช่องหูแย่ลงด้วย เพราะมันอาจจะไปทำลายแบคทีเรียที่ดีในหูหรือส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งก็คือแบคทีเรียที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อราในหูนั่นเอง [15]
  5. คุณต้องไปพบแพทย์อีกครั้งในสัปดาห์ถัดไปหรือระยะเวลาประมาณนั้นเพื่อดูว่าการรักษาได้ผลหรือเปล่า ถ้าการรักษาไม่ได้ผล แพทย์ก็อาจจะต้องใช้ทางเลือกอื่น
    • นอกจากนี้ก็อย่าลืมโทรหาแพทย์ด้วยถ้าอาการแย่ลงหรือไม่ดีขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาอาการด้วยตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ที่หยดยาหยดไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ลงไปในหูข้างที่ติดเชื้อ 2-3 หยด ปล่อยให้ตัวยาอยู่ในช่องหู 5-10 นาที จากนั้นเอียงศีรษะเพื่อให้ตัวยาระบายออกมา วิธีนี้จะช่วยทำให้สารที่แห้งเป็นสะเก็ดหรือจับตัวเป็นก้อนในช่องหูนิ่มลง ซึ่งจะช่วยล้างกลุ่มเชื้อราออกมาจากหูได้ [16]
  2. ตั้งค่าไดร์เป่าผมให้ลมแรงน้อยที่สุดและจ่อหัวไดร์ให้ห่างจากหูข้างที่ติดเชื้ออย่างน้อย 10 นิ้ว วิธีนี้จะทำให้ความชื้นที่ปรากฏในช่องหูแห้งลง ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา [17]
    • ระวังอย่าให้ผิวหนังโดนความร้อน
  3. นำผ้าขนหนูสะอาดมาแช่ไว้ในน้ำอุ่น อย่าให้ผ้าขนหนูร้อนเกินไป ประคบผ้าขนหนูอุ่นๆ ลงบนหูข้างที่ติดเชื้อแล้วรอจนกว่าผ้าขนหนูจะเย็นลง วิธีนี้ช่วยบรรเทาอาการปวดได้โดยไม่ต้องรับประทานยาแก้ปวด และยังเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณที่ติดเชื้อ ทำให้หายเร็วขึ้นด้วย [18]
  4. ใช้รับบิงแอลกอฮอล์และน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล. ผสมในอัตราส่วน 1:1 จากนั้นใช้ที่หยดยาหยดลงในหูข้างที่ติดเชื้อ 2-3 หยด ปล่อยตัวยาไว้ในหู 10 นาทีและเอียงศีรษะเพื่อระบายตัวยาออกมา คุณสามารถใช้ส่วนผสมนี้ได้ทุก 4 ชั่วโมงเป็นเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
    • รับบิงแอลกอฮอล์เป็นสารที่ทำให้แห้ง ซึ่งจะไปทำลายความชื้นในช่องหูที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรา และยังช่วยฆ่าเชื้อผิวหนังที่อยู่ในช่องหูอีกด้วย ส่วนความเป็นกรดของน้ำส้มสายชูก็จะไปชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อรา เพราะ แคนดิดา และ แอสเปอร์จิลลัส ชอบสภาพแวดล้อมที่เป็น "ด่าง" ที่ช่วยให้เจริญเติบได้มากที่สุด [19]
    • ส่วนผสมนี้จะไปฆ่าเชื้อและทำให้หูแห้ง ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาของการติดเชื้อ [20]
  5. วิตามินซีสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจากการติดเชื้อราในหู นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายผลิตคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในการสร้างเนื้อเยื่อ เช่น ผิวหนัง กระดูกอ่อน และหลอดเลือดอีกด้วย แพทย์แนะนำให้รับประทานวิตามินซีที่เป็นอาหารเสริมขนาด 500-1,000 มก. ต่อวันควบคู่กับอาหาร
    • อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม (ส้ม มะนาว เลมอน) เบอร์รี (บลูเบอร์รี แครนเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี ราสป์เบอร์รี) สับปะรด แตงโม มะละกอ บร็อกโคลี ปวยเล้ง กะหล่ำดาว กะหล่ำปลี และดอกกะหล่ำ
  6. นำน้ำมันกระเทียมชนิดแคปซูลออกมา เจาะลงไป แล้วเทน้ำมันใส่หูข้างที่ติดเชื้อ ให้น้ำมันอยู่ในหู 10 นาทีแล้วเอียงศีรษะเพื่อระบายน้ำมันออกมา คุณสามารถทำเช่นนี้ได้ทุกวันไม่เกิน 2 สัปดาห์ งานวิจัยพบว่าน้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส (หนึ่งในสองสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเชื้อราในหู)
    • ยิ่งไปกว่านั้นน้ำมันกระเทียมยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ใช้รักษาเชื้อราในหูได้เทียบเท่าหรือมีอัตราที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับยารักษาเชื้อราในช่องหูที่แพทย์จ่าย [21]
  7. ถ้าคุณติดเชื้อราในหู มันก็จะมีของเหลวสีขาวๆ หรือเหลืองๆ ไหลออกมาจากหู นอกจากนี้ก็จะมีขี้หูเยอะกว่าปกติด้วย ทั้งหมดนี้อาจทำให้ท่อยูสเตเชียนอุดตัน และน้ำมันมะกอกก็มีประสิทธิภาพในการทำให้ขี้หูนิ่มลง
    • ใช้ที่หยดยาหยดน้ำมันมะกอกลงในไปหูข้างที่ติดเชื้อ 2-3 หยด ปล่อยให้น้ำมันมะกอกอยู่ในช่องหู 5-10 นาที จากนั้นเอียงศีรษะเพื่อระบายน้ำมันมะกอกออกมา มันจะช่วยให้ขี้หูและของเหลวที่จับตัวเป็นก้อนในช่องหูนิ่มลง และช่วยระบายของเหลวเหล่านั้นออกมา (เหมือนไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์) นอกจากนี้น้ำมันมะกอกยังมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อราในหูด้วย ซึ่งคุณสมบัติต้านการอักเสบในน้ำมันมะกอกนั้นมาจากการที่น้ำมันมีระดับพอลิฟีนอลสูง [22]
    โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Khurshid A, Muhammad SG. Otomycosis: clinical features, predisposing factors, and treatment implications. Pak J Med Sci. 2014 May-Jun; 30 (3): 564-567.
  2. Khurshid A, Muhammad SG. Otomycosis: clinical features, predisposing factors, and treatment implications. Pak J Med Sci. 2014 May-Jun; 30 (3): 564-567.
  3. Khurshid A, Muhammad SG. Otomycosis: clinical features, predisposing factors, and treatment implications. Pak J Med Sci. 2014 May-Jun; 30 (3): 564-567.
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hearing-loss/basics/symptoms/con-20027684
  5. https://www.entnet.org/content/swimmers-ear
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/diagnosis-treatment/treatment/txc-20201524
  7. http://www.drugbank.ca/drugs/db00257
  8. http://patient.info/medicine/clotrimazole-for-ear-infections-canesten
  9. http://patient.info/medicine/clotrimazole-for-ear-infections-canesten

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,540 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา