PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

SGPT (serum glutamate pyruvate transaminase) หรือ ALT (Alanine aminotransferase) เป็นเอนไซม์ในตับที่สำคัญต่อการสร้างพลังงาน พบได้ในเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ที่ตับ กล้ามเนื้อลาย และหัวใจ แต่พบมากสุดที่ตับนี่แหละ [1] ถ้าตับเสื่อมหรือเสียหาย SGPT จะรั่วออกมาจากเซลล์ เข้ามาในกระแสเลือด ค่า SGPT ปกติอยู่ที่ 7 - 56 ยูนิตต่อเลือด 1 ลิตร ยิ่งค่า SGPT ในเลือดสูง ก็เป็นไปได้ว่าตับเสียหายหรือเป็นโรคตับ แต่บางกรณีค่านี้ก็สูงเพราะออกแรงเยอะเกินพิกัด ถ้าคุณกำลังมีปัญหาค่า SGPT สูง ต่อเนื่อง ก็ต้องปรับเปลี่ยนอาหารการกินและการใช้ชีวิต รวมถึงเข้ารับการตรวจรักษาถ้าจำเป็น เพื่อให้ค่านี้ลดลงเท่าค่ามาตรฐานตามเดิม ว่าแล้วก็เลื่อนลงไปอ่านขั้นตอนที่ 1 กันเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปรับอาหารการกิน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะตับอ่อนแอ SGPT ถึงได้แทรกซึมเข้ากระแสเลือดได้ มีงานวิจัยล่าสุดชี้ว่า วิตามินดีช่วยบำรุงตับให้แข็งแรงได้ เลยลดค่า SGPT เพราะฉะนั้นใครที่ได้รับวิตามินดีเยอะ ก็เสี่ยงเป็นโรคตับน้อยกว่าคนที่ได้วิตามินดีไม่เพียงพอ [2] จุดสำคัญคือคุณต้องกินผักผลไม้อย่างน้อย 1 อย่างในทุกมื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดีเพียงพอ ป้องกันความเสี่ยงเกิดโรคตับ
    • อาหารที่อุดมวิตามินดีก็คือผักใบเขียวทั้งหลาย น้ำมันตับปลา ปลา ซีเรียลเพิ่มวิตามิน หอยนางรม ไข่ปลาคาเวียร์ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์นม ไข่ เห็ด แอปเปิ้ล และส้ม เป็นต้น
  2. อาหารสดใหม่จากธรรมชาติช่วยบำรุงตับ เป็นการดีท็อกซ์ขับสารพิษที่สะสม สร้างเซลล์ใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้ SGPT รั่วเข้าไปในกระแสเลือด อาหารที่มีประโยชน์คือมีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ โดยที่ไขมันต่ำ สรุปแล้วดีต่อทุกอวัยวะในร่างกาย ให้กินแต่อาหารสดใหม่และไม่ผ่านการแปรรูป โดยเฉพาะอาหารทำเอง งดอาหารสำเร็จรูป พร้อมทาน เพราะนอกจากอุดมไขมันแล้วยังด้อยคุณค่าทางอาหาร
    • กินอาหารหลากสีสัน ให้เน้นผักใบเขียว เช่น บร็อคโคลี่ แครอท ฟักทอง รวมถึงผลไม้สด แล้วเสริมด้วยถั่วต่างๆ ธัญพืชโฮลเกรน ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เป็นต้น
  3. เพราะจะเป็นภาระในการย่อยและดูดซึมให้ตับ ตับมีไขมันบ้างไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิน 10% เท่ากับมีอาการที่เรียกว่า "ไขมันพอกตับ (fatty liver)" แล้ว [3] เซลล์ไขมันพวกนี้ทำให้เนื้อเยื่อรอบตับอักเสบและเสียหายได้ [4] ถ้าตับเสียหาย SGPT จะรั่วจากเซลล์ตับที่อ่อนแอเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ค่านี้สูงกว่าที่ควรจะเป็น
    • ควรงดของมัน เช่น อาหารทอดๆ เนื้อสัตว์ติดมัน หนังหมูหนังไก่ น้ำมันมะพร้าว เนย ชีส อาหารแปรรูป ไส้กรอก เบคอน อาหารฟาสต์ฟู้ด และน้ำอัดลม
  4. ถ้าร่างกาย โดยเฉพาะตับ ได้รับเกลือมากเกินพิกัด จะทำให้ตัวบวมน้ำ ตับก็กรองของเสียลำบากขึ้น นานๆ ไปทำให้ตับพัง SGPT เลยซึมเข้ากระแสเลือด ค่านี้ก็สูงเป็นธรรมดา
    • อาหารที่ต้องลดด่วนคือเกลือ ซุปก้อน เบคกิ้งโซดา ซอสถั่วเหลือง น้ำสลัดข้นๆ เบคอน ซาลามี่ อาหารหมักดอง และอาหารแปรรูป/สำเร็จรูปต่างๆ ให้กินอาหารสดใหม่ อย่าใส่เกลือเพิ่ม
    • เดี๋ยวนี้อะไรก็ใส่เกลือทั้งนั้น จะดีกว่าถ้าคุณทำอาหารเอง จะได้ควบคุมปริมาณเกลือได้ รู้ไว้ใช่ว่า ผู้ใหญ่ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 2,300 มก. (1 ช้อนชา ) เท่านั้นในแต่ละวัน [5]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนวิถีชีวิต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลิกดื่มแอลกอฮอล์ . เพราะเป็นตัวร้ายทำลายตับ ถ้าดื่มมานาน ระวังตับวายไม่รู้ตัว ดื่มเหล้าแล้วแอลกอฮอล์จะซึมเข้ากระแสเลือดโดยตรง พอกระแสเลือดกรองผ่านไตแล้ว ตับก็รับหน้าที่กรองสารพิษต่ออีกที หรือในที่นี้ก็คือสารพิษจากแอลกอฮอล์ นานๆ ไปจะทำตับเสื่อมสภาพได้เลย [6] ยิ่งตับเสียหายอ่อนแอ SGPT ก็รั่วจากเซลล์เข้ากระแสเลือดได้มากขึ้นเท่านั้น
    • แอลกอฮอล์เป็นต้นเหตุของสารพัดโรคตับมาช้านาน เช่น ไขมันพอกตับ ตับแข็ง และไวรัสตับอักเสบ ดื่มแอลกอฮอล์ได้แต่ต้องรู้จักดื่มในปริมาณพอเหมาะพอควร นอกจากจะไม่เกิดโรคแล้ว ยังลด SGPT ในกระแสเลือดด้วย
  2. ออกง่ายๆ อย่างเดินเร็ว จ็อกกิ้ง ว่ายน้ำ เป็นต้น เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง แถมตับก็พลอยแข็งแรงไปด้วย ออกกำลังกายแล้วเหงื่อออก ถือเป็นการขับสารพิษทางหนึ่ง แถมยังช่วยเผาผลาญไขมันให้คุณฟิตแอนด์เฟิร์ม คนออกกำลังกายจะมีกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน อวัยวะต่างๆ ก็สมบูรณ์แข็งแรง รวมถึงตับด้วย เรียกว่าร่างกาย "ท็อปฟอร์ม" กันเลยทีเดียว ยิ่งตับจัดการกับสารพิษน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแรงเหลือเฟือไปเสริมสร้างความแข็งแรงให้เซลล์
    • ออกกำลังกายแค่ 30 นาทีต่อวัน ตับก็แข็งแรงขึ้นแล้ว พอไม่ค่อยเหลือสารพิษมาถึง ตับก็ภาระน้อยลง ทำให้ SGPT รั่วออกไปไม่ได้ง่ายๆ ค่าก็ต่ำลง
  3. เลิกบุหรี่ . ควันบุหรี่มีสารพิษอย่างนิโคตินและแอมโมเนีย ซึ่งดูดซึมทางผิวหนังได้ เท่ากับเพิ่มภาระในการกรองสารพิษให้ตับอีกระลอก ควรหลีกเลี่ยงกระทั่งควันบุหรี่มือสองของคนอื่น เพราะส่งผลต่อร่างกายคุณไม่ต่างกัน
    • นอกจากบุหรี่จะทำให้ค่า SGPT สูงขึ้นแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อหัวใจ ปอด ไต ผิว ผม กระทั่งเล็บ แถมรบกวนคนรอบข้างอีกด้วย ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องค่า SGPT ก็ถือว่าเห็นแก่คนอื่นเถอะ
  4. หมายถึงทั้งควันพิษและมลภาวะต่างๆ เช่น ควันรถ ควันจากการเผาไหม้ หรือแอมโมเนีย ไปจนถึงสารเคมีอื่นๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศ ถ้าคุณอาศัยอยู่ใกล้เคียงหรือทำงานในสถานที่ที่เจอมลภาวะพวกนี้นานๆ ต้องพยายามหลีกเลี่ยงหรือเปลี่ยนงาน เพราะจะซึมเข้าผิวไปทำร้ายตับได้ ค่า SGPT ก็จะสูงขึ้น
    • ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ให้ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หน้ากาก และถุงมือตลอดเวลาหรือบ่อยที่สุด ยิ่งป้องกันก็เท่ากับรักษาสุขภาพในระยะยาว
  5. ทำการ ลดน้ำหนัก ถ้าคุณน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วน. ถ้ากำลังมีปัญหากับน้ำหนักตัว คุณอาจเสี่ยงมีไขมันพอกตับ ซึ่งจะนำไปสู่การมีค่า SGPT เพิ่มขึ้น [7] ปรึกษาแพทย์เรื่องวิธีที่ได้ผลและความปลอดภัยเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือให้แพทย์แนะนำนักโภชนาการให้
    • สำหรับคนส่วนใหญ่ วิธีลดน้ำหนักที่ได้ผลและปลอดภัยที่สุดคือการออกกำลังกายและรับประทานอาหารสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม ปรึกษาแพทย์ว่าควรควบคุมอาหารกับออกกำลังกายแบบไหนถึงจะเหมาะกับตนเอง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เข้ารับการรักษา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค่า SGPT จะรู้ได้ก็ตอนตรวจเลือดเท่านั้น ถ้าตับเสียหายหรืออ่อนแอเฉียบพลัน ค่า SGPT จะพุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ เพราะรั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือดได้ตามสบาย แต่ที่ต้องตรวจเช็คโดยละเอียดเพราะบางทีค่า SGPT ก็สูงขึ้นได้ถ้าคุณเพิ่งออกแรงหรือทำกิจกรรมหนักๆ มา
    • ค่า SGPT สูงไม่ได้แปลว่าคุณเป็นโรคตับเสมอไป ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการตรวจตับด้วยวิธีอื่นๆ ถึงจะฟันธงได้ชัดเจน
    • สาเหตุลึกลงไปที่แตกต่างกันอาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่า SGPT แตกต่างกัน เช่น โรคไขมันพอกตับแบบไม่มีแอลกอฮอล์นั้นเป็นสาเหตุของการเพิ่มค่า SGPT เบาบางในสหรัฐ ไขมันพอกตับจะเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและเบาหวานมากกว่า ค่า SGPT ที่เพิ่มไม่มากนั้นมักเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายมากเกินไปกับโรคไทรอยด์มากกว่า
  2. ถ้าตับเสียหายแล้วยังดันทุรังซื้อยากินเองแบบไม่ปรึกษาแพทย์ ระวังเพิ่มภาระให้ตับ เพราะต้องเผาผลาญยาพวกนี้ และกรองสารพิษออกไป ทำให้ตับอ่อนแอกว่าเดิม ดีที่สุดคือกินเฉพาะยาที่จำเป็นและที่หมอสั่งเท่านั้น
    • ข้องใจเรื่องอะไรปรึกษาหมอลูกเดียว เพราะยาบางตัวอาจก่อให้เกิดโรคตับอักเสบหรือตับเป็นพิษ (hepatotoxic) ถ้าเป็นยาชนิดดังกล่าว คุณหมอจะได้ปรับเปลี่ยนให้
    • ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ก็ทำค่า SGPT และค่า SGOT สูงขึ้นได้ ให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อพิจารณาเปลี่ยนตัวยาต่อไป
    • ระมัดระวังอย่างยิ่งเวลาใช้ยาที่มีส่วนผสมของ acetaminophen ซึ่ง acetaminophen เป็นส่วนผสมสามัญในยาสามัญประจำบ้านส่วนใหญ่ รวมไปถึงยาแก้ปวด และยาแก้หวัด
  3. เพราะจะไปลดการทำงานของระบบภูมิต้านทาน รวมถึงต้านอักเสบโดยลดการผลิตสารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ทำให้เนื้อเยื่อเสียหายน้อยลง จะกินหรือฉีดก็ได้ ที่นิยมกันก็คือ Hydrocortisone, Prednisone และ Fludrocortisone
    • พออาการอักเสบบรรเทาลงแล้ว เซลล์ตับจะกลับมาเพิ่มจำนวนอีกครั้ง ทำให้ค่า SGPT ในกระแสเลือดลดลง
    • ปรึกษาคุณหมอถ้าอยากเปลี่ยนไปใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ห้ามกินเองสุ่มสี่สุ่มห้าเด็ดขาด
  4. บางทีตับอาจติดไวรัสก็ได้ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ พอตรวจเลือดแล้วคุณหมอจะบอกได้เอง ว่าตับติดเชื้อไวรัสหรือเปล่า และต้องกินยาต้านไวรัสอย่าง Entecavir, Sofosbuvir, Telaprevir และอื่นๆ หรือไม่
    • เช่นเดียวกันกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ พอหายติดเชื้อแล้ว เซลล์ตับจะฟื้นฟู ค่า SGPT ในกระแสเลือดก็จะลดลงตาม
  5. หรือก็คือโปรตีนตามธรรมชาติที่เซลล์ในร่างกายหลั่งออกมา เวลามีสิ่งแปลกปลอมเล็ดลอดเข้าไป เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เซลล์เนื้องอก หรือปรสิต เป็นต้น การกินยาชนิดนี้จะไปกระตุ้นกลไกป้องกันตัวของระบบภูมิคุ้มกัน ให้กำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
    • SGPT จะลดลงเมื่อร่างกายหายติดเชื้อ เซลล์ตับจะเพิ่มจำนวนอีกครั้ง ทำให้ค่าต่างๆ กลับคืนสู่ปกติ พอมีเซลล์ใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม SGPT ก็ไม่รั่วเข้าไปในกระแสเลือดอีกต่อไป
    • อินเตอร์เฟอรอนสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายรูปแบบ เช่น คลื่นไส้ ผมร่วง เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย หายใจติดขัด และอาการที่เหมือนเป็นหวัด [8] ปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงกับผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ก่อนใช้
  6. การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตควบคู่ไปกับการใช้ยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมจากธรรมชาติ ก็ช่วยให้ค่า SGPT ลดลงได้ ลองปรึกษาคุณหมอประจำตัวดูก่อนว่าปลอดภัยและเหมาะสมกับคุณหรือเปล่า สมุนไพรที่น่าสนใจก็เช่น
    • Milk thistle - ช่วยป้องกันและซ่อมแซมตับที่เสียหายจากสารพิษ สารเคมี และยาแรงๆ มีตั้งแต่ 100 - 1,000 มก. แต่ปริมาณที่แนะนำคือ 200 มก. 2 - 3 ครั้งต่อวัน [9]
    • Inositol - ช่วยให้ไขมันในตับแตกตัวดีขึ้น แต่ผลข้างเคียงคืออาจทำให้ปวดท้องหรือท้องเสียได้ มีตั้งแต่ 500 - 1,000 มก. แต่ปริมาณที่แนะนำคือ 500 มก. 3 ครั้งต่อวัน
    • Burdock root - หรือก็คือ "รากโกโบ" ช่วยดีท็อกซ์ตับและป้องกันไม่ให้เสียหายเพิ่มเติม มีตั้งแต่ 500 - 1,000 มก. แต่ปริมาณที่แนะนำคือ 500 มก. 3 ครั้งต่อวัน
  7. ให้ตรวจซ้ำหลายๆ ที่ หลายๆ วิธี เพื่ออ้างอิงข้อมูลหาค่าเฉลี่ย โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 10 - 40 international units (หน่วยสากล) ต่อลิตร [10]
    • แต่ค่านี้จะสูงขึ้นมาก (มากกว่าค่าปกติประมาณ 15 เท่า) สำหรับคนเป็นไวรัสตับอักเสบ สูงขึ้นปานกลาง (มากกว่าค่าปกติประมาณ 5 - 15 เท่า) ในเคสที่เป็นแผลไหม้รุนแรง ตับแข็ง ดีซ่านจากท่อน้ำดีอุดตัน และเนื้องอกที่ตับ และสูงขึ้นเล็กน้อย (มากกว่าค่าปกติ 5 เท่าหรือน้อยกว่า) ในเคสที่เป็นตับอ่อนอักเสบ เกิดอาการช็อค โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอสิส และหัวใจวาย
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 60,267 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา