ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กล้ามเนื้อน่องฉีกหรือบาดเจ็บ เป็นการบาดเจ็บที่พบได้มากในนักกีฬา [1] ปัญหาที่มักพบคือการวินิจฉัยแยกระหว่างกล้ามเนื้อบาดเจ็บเล็กน้อยกับกล้ามเนื้อฉีก โดยหากยังคงใช้งานต่อไป จะทำให้กล้ามเนื้อฉีกได้ ซึ่งค่อนข้างใช้เวลานานกว่าจะหาย และเสี่ยงกลับมาเป็นซ้ำได้ง่าย โดยสาเหตุทั้งหมดเหล่านี้ทำให้เกิดอาการปวดน่อง และหากอาการรุนแรง จะได้ยินเสียง ”ป๊อก” ดังออกมาจากบริเวณนั้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าควรไปพบแพทย์โดยด่วน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รู้จักเกี่ยวกับกล้ามเนื้อน่องฉีกขาดกันก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กล้ามเนื้อน่องประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 3 มัด ที่เชื่อมต่อกันด้วยเอ็นร้อยหวายบริเวณด้านหลังข้อเท้า ซึ่งกล้ามเนื้อสามมัดนี้ได้แก่ gastrocnemius, soleus และ plantaris ซึ่งมัดที่มักบาดเจ็บมากที่สุดคือ gastrocnemius มัดที่ใหญ่ที่สุดในสามมัดนี้ [2]
  2. มักเกิดขณะออกกำลังกายที่รุนแรง [7] เช่น เปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว [8] คือ เพิ่มความเร็วในการออกกำลังกาย และออกแรงมากขึ้น เช่น กีฬาที่ต้องระเบิดพลังเพื่อเพิ่มความเร็ว อย่างเช่น กระโดดข้ามรั้ว กระโดดสูง บาสเกตบอล และ ฟุตบอล [9]
    • การหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างเร็วจากการระเบิดพลังของกล้ามเนื้อ เช่น วิ่งสปรินท์ ซึ่งเป็นกีฬาที่ทำให้กล้ามเนื้อน่องฉีกได้มาก [10] หรือเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วในกีฬาบาสเกตบอลหรือเทนนิส [11]
    • กล้ามเนื้อทำงานนานเกินไป. การใช้งานหนักเกินไปทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ พบมากในนักกีฬาวิ่งและฟุตบอล ซึ่งนักกีฬาฟุตบอลมักจะต้องใช้งานกล้ามเนื้อหนักและวิ่งเป็นเวลานาน
    • โหมออกกำลังกายในช่วงสั้นๆ สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นครั้งคราว แต่ออกแบบหักโหม พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง [12]
  3. อาการมักเกิดทันทีและสังเกตได้ชัดกว่ากล้ามเนื้อบาดเจ็บ ซึ่งอาการของกล้ามเนื้อน่องฉีกมักคล้ายกับอาการของเอ็นร้อยหวายขาด [13] อาการดังกล่าวได้แก่: [14] [15]
    • รู้สึกตรงน่องหลวมเหมือนจะหลุด
    • ได้ยินเสียงดังอยู่ที่น่อง
    • อาการบาดเจ็บเกิดทันทีและรุนแรงบริเวณน่อง
    • มีจุดกดเจ็บและบวมบริเวณน่อง
    • ช้ำ และ/หรือมีสีผิวเปลี่ยนไปบริเวณน่อง
    • ขยับข้อเท้าได้น้อยลง
    • เดินหรือยืนด้วยนิ้วเท้าลำบาก
    • เดินกะเผลก
  4. นอนหงาย พักขาในท่ายกขึ้นสูง แต่ถ้ามีอาการปวดมากและเริ่มบวมควรไปพบแพทย์ ต่อมาอาจจะพบว่าเริ่มมีเชียวช้ำบริเวณน่อง โดยเฉพาะบริเวณที่ฉีดขาด ซึ่งเป็นภาวะที่มีเลือดออกภายใน
    • หากได้ยินเสียงคลิก หรือพบว่าน่องบวม ให้ส่งตัวพบแพทย์ทันที [16]
    • อาการบวมหรือเลือดออก สามารถนำไปสู่ภาวะ compartment syndrome ซึ่งเกิดจากความดันในเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ออกซิเจนหรือสารอาหารไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและเส้นประสาทไม่เพียงพอ [17] มักเกิดหลังจากกระดูกหักหรือกล้ามเนื้อฟกช้ำอย่างรุนแรง หากอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดหากมีภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น
  5. เพื่อทำการวินิจฉัยโรคให้ชัดเจน โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และ MRI เพื่อดูความรุนแรง โดยหากคุณคิดว่ากล้ามเนื้อน่องขาด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที [18]
    • ไม่ควรวินิจฉัยและรักษาด้วยตนเอง เพราะอาจจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
  6. แพทย์จะส่งอัลตราซาวด์ หรือ MRI ดูบริเวณที่บาดเจ็บ [19]
    • การตรวจ MRI จะเป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กและคอมพิวเตอร์เพื่อดูภาพแบบสองมิติและสามมิติ เพื่อดูการบาดเจ็บโครงสร้างภายในที่เอกซ์เรย์ไม่สามารถมองเห็น [20]
    • แพทย์อาจส่งตรวจ MRA เพื่อดูความผิดปกติของเส้นเลือด โดยการย้อมสีเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น เนื่องจากอาจมีการถูกทำลายหรือกดทับของเส้นเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ compartment syndrome [21]
  7. การรักษาโดยส่วนมากมักไม่ต้องผ่าตัด เพราะฉะนั้นต้องควรปฏิบัติตามคำแนะนำจนกว่าจะหาย หากไม่ปฏิบัติตาม อาการอาจจะรุนแรงขึ้นหรือบาดเจ็บซ้ำ โดยส่วนมากมัดจะใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์จึงจะอาการดีขึ้น และใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ [22]
    • การรักษาพยาบาลเบื้องต้นคือ พัก ประคบเย็น รัด และจำกัดการเคลื่อนไหว
    • การฟื้นฟูให้กับมาปกติมักเป็นการออกกำลังกายทางกายภาพบำบัด นวด และใช้ไม้ค้ำยันหรือไม้เท้าในการพยุงเดิน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รู้อาการอื่นๆที่ทำให้ปวดน่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กล้ามเนื้อเป็นตะคริวสามารถทำให้ปวดน่องได้ จากการที่กล้ามเนื้อหดตัวอย่างกะทันหัน [23] ทำให้มีอาการปวดมาก แต่หากรักษาเพียงเล็กน้อยก็จะหายไป อาการที่พบมีดังนี้: [24]
    • กล้ามเนื้อน่องตึง
    • ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงขึ้นมาทันที
    • กล้ามเนื้อเป็นก้อน
  2. รักษา ตะคริว . สามารถหายได้รวดเร็ว และเร็วยิ่งขึ้นโดยการใช้ความร้อนหรือความเย็น
    • ยืดกล้ามเนื้อน่อง โดยการออกแรงดึงน่อง ในท่างอเข่าเล็กน้อย และเหยียดขาที่เป็นออกไปด้านหน้า ใช้ผ้าเช็ดตัวดึงปลายนิ้วเท้าเข้าหาตัว [25]
    • ประคบร้อน โดยใช้แผ่นร้อน ขวดน้ำอุ่น หรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อน่อง หรืออาจใช้การอาบน้ำอุ่นก็ช่วยได้ [26]
    • ประคบเย็น โดยใช้น้ำแข็งนวดบริเวณที่เป็นตะคริวไม่เกิน 15-20 นาทีต่อครั้ง โดยทุกครั้งควรช้าห่อน้ำแข็งเพื่อป้องกันการกัดผิว
  3. เอ็นอักเสบเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งเอ็นคือเส้นที่เชื่อมกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก [27] โดยเอ็นอักเสบนี้สามารถเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ที่มีเส้นเอ็น ส่วนมากมักพบที่ข้อศอก เข่า และส้นเท้า โดยเอ็นอักเสบที่ส้นเท้าจะทำให้เจ็บบริเวณน่องหรือส้นเท้า อาการเป็นดังนี้: [28] [29]
    • ปวดตื้อ และอาการมากขึ้นเมื่อขยับ
    • รู้สึกขัดเมื่อขยับ
    • มีจุดกดเจ็บหรือแดง
    • บวม หรือ ปูดเป็นก้อน
  4. อาการเอ็นอักเสบรักษาได้ไม่ยาก เช่น พัก รับประทานยาแก้ปวด ประคบเย็นบริเวณที่เป็น รัดด้วยผ้ายืด และยกขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ [30]
  5. โดยกล้ามเนื้อมัดนี้หากบาดเจ็บ จะรุนแรงน้อยกว่า gastrocnemius การบาดเจ็บนี้มักเกิดขึ้นในนักกีฬาที่ต้องวิ่งทุกวันหรือวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อดังกล่าวมีอาการดังนี้: [31]
    • กล้ามเนื้อตึงหรือรู้สึกขยับยาก
    • อาการปวดจะเพิ่มขึ้นในไม่กี่วัน หรืออาจนานเป็นสัปดาห์
    • อาการปวดเพิ่มขึ้นหลังจากเดินหรือวิ่งเหยาะๆ
    • บวมเล็กน้อย
  6. เนื่องจากเป็นส่วนที่เชื่อมกล้ามเนื้อน่องกับส้นเท้า ทำให้ปวดน่องหลังการบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้จะเกิดขึ้นเมื่อออกกำลังกายอย่างหนัก ล้ม ตกหลุม หรือกระโดดผิดท่า [32] ควรพบแพทย์ทันที เนื่องจากเป็นภาวะเร่งด่วน โดยอาการมีดังนี้: [33]
    • โดยส่วนมากจะได้ยินเสียงคลิกบริเวณส้นเท้า (อาจจะไม่ได้ยินก็ได้)
    • ปวด และจะปวดมากหากยืดน่อง
    • บวม
    • ไม่สามารถถีบเท้าลงได้
    • ไม่สามารถใช้เท้าข้างที่เป็นเหยียบพื้นเพื่อยันตัวไปด้านหน้าได้ขณะเดิน
    • ไม่สามารถยืนด้วยนิ้วเท้าข้างที่เป็นได้
  7. ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่เอ็นร้อยหวายจะขาดมีดังนี้: [34]
    • อายุระหว่าง 30-40 ปี
    • เพศชาย (เสี่ยงเป็น 5 เท่าเมื่อเทียบกับเพศหญิง)
    • ผู้ที่เล่นกีฬาจำพวก วิ่ง กระโดด หรือต้องกระโดดอย่างรวดเร็ว
    • ฉีดสเตียรอยด์
    • ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวก fluoroquinolone ซึ่งรวมถึง ciprofloxacin (Cipro) หรือ levofloxacin (Levaquin)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

วิธีป้องกันการบาดเจ็บกล้ามเนื้อน่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตามคำแนะนำขององค์กร American College of Sports Medicine แนะนำไว้ว่าควรยืดกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ [35] แต่ไม่จำเป็นต้องยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย แต่ควรยืดหลังออกกำลังกาย [36] และควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย เช่น โยคะ จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้. [37]
    • ใช้ผ้าขนหนูดึงยืดน่องเบาๆ โดยนั่งหลังตรงเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดไปด้านหน้า เกี่ยวผ้าขนหนูที่นิ้วเท้าแล้วดึงให้ตึงจนรู้สึกตึงที่น่อง ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วผ่อน ทำซ้ำ 10 ครั้งแล้วสลับข้าง [38]
    • ใช้ยางยืดออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของน่อง โดยนั่งหลังตรงเหยียดขาข้างที่ต้องการไปด้านหน้า กระดกเท้าให้ปลายนิ้วเท้าชี้เข้าหาตัวแล้วคล้องยางยืดให้ตึง ถีบเท้าออกต้านแรงดึงของยางจนรู้สึกบริเวณน่องเกร็งขึ้น กลับท่าปกติและทำซ้ำแบบนี้ 10-20 ครั้งต่อข้าง แล้วสลับข้าง [39]
  2. ใช้การยืดเหยียดแบบเป็นจังหวะเพื่ออบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย โดยการยืดเหยียดดังกล่าวจะเป็นท่าทางที่คล้ายการออกกำลังกายที่ต้องการจะออก แต่เป็นการออกแบบที่เบากว่า [40]
    • ใช้การเดินเร็ว ทั้งบนถนนหรือบนลู่วิ่ง
    • ย่อตัว แกว่งขา หรือขยับท่าอื่นๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียน
    • หรือออกกำลังกายโดยใช้บอลเพื่อยืดกล้ามเนื้อแบบเบาๆ
  3. การใช้งานหนักเกินไปหรือใช้ซ้ำๆ เป็นสาเหตุให้น่องบาดเจ็บ [41] ควรมีช่วงเว้นพักจากกีฬาที่เล่นหรือกิจกรรมที่ทำอยู่ประจำ แล้วเปลี่ยนไปออกกำลังกายแบบอื่นบ้าง
    โฆษณา

คำเตือน

  • ไม่ควรรักษากล้ามเนื้อน่องที่ฉีกด้วยตนเอง ควรไปพบแพทย์ทันที
โฆษณา
  1. http://www.running-physio.com/acutecalf/
  2. http://www.footeducation.com/foot-and-ankle-conditions/calf-muscle-tear-gastrocnemius-tear/
  3. http://emedicine.medscape.com/article/91687-overview
  4. http://physioworks.com.au/injuries-conditions-1/calf-muscle-tears
  5. http://emedicine.medscape.com/article/91687-clinical
  6. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3845475/
  7. http://www.drugs.com/health-guide/leg-strain.html
  8. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00204
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2697334/
  10. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/calf-muscle-strain
  11. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/treatments-and-procedures/magnetic-resonance-imaging
  12. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007269.htm
  13. http://www.footeducation.com/foot-and-ankle-conditions/calf-muscle-tear-gastrocnemius-tear/
  14. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002066.htm
  15. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=47633
  16. http://www.webmd.com/pain-management/muscle-spasms-cramps-charley-horse
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014594
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tendinitis/basics/definition/con-20020309
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tendinitis/basics/symptoms/con-20020309
  20. http://www.medicalnewstoday.com/articles/175596.php
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tendinitis/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020309
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2697334/
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/achilles-tendon-rupture/basics/causes/con-20020370
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/achilles-tendon-rupture/basics/symptoms/con-20020370
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/achilles-tendon-rupture/basics/risk-factors/con-20020370
  26. https://www.acsm.org/public-information/articles/2012/01/10/basic-injury-prevention-concepts
  27. https://www.acsm.org/public-information/articles/2012/01/10/basic-injury-prevention-concepts
  28. https://www.acsm.org/public-information/articles/2012/02/02/improving-your-flexibility-and-balance
  29. http://www.physioadvisor.com.au/8042350/calf-strain-calf-tear-torn-calf-muscle-physi.htm
  30. http://www.physioadvisor.com.au/8042350/calf-strain-calf-tear-torn-calf-muscle-physi.htm
  31. https://www.acsm.org/public-information/articles/2012/01/10/basic-injury-prevention-concepts
  32. http://emedicine.medscape.com/article/91687-overview

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,082 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา