ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สาเหตุยอดนิยมที่ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดง (red blood cell count) ลดน้อยลง ก็คือขาดธาตุเหล็กในอาหารประจำวันนี่แหละ ดีไม่ดีอาจขาดแร่ธาตุและสารอาหารอื่นๆ ร่วมด้วย แก้ได้โดยกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงเพิ่มธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ทองแดง (copper) วิตามินบี 12 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี และวิตามินอีด้วย แต่ที่ครอบคลุมยิ่งกว่าคือเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น หันมาออกกำลังกายบ่อยขึ้น แต่ถ้าทำทุกวิธีที่แนะนำแล้วยังเหลว คงถึงเวลาหาหมอกินยา รวมถึงถ่ายเลือดแทน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเสริมสร้างสิ่งที่ร่างกายขาด อาหารประจำวันที่อุดมธาตุเหล็กจะช่วยเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายให้คุณ นั่นเพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดงกับฮีโมโกลบิน ที่คอยลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการกำจัดคาร์บอนมอนอกไซด์ตอนหายใจออก อาหารที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็กก็เช่น [1]
    • ถั่วฝัก (bean) / ถั่วเมล็ดแห้ง (legume)
    • ถั่วเมล็ดแบน (lentil)
    • ผักใบเขียว เช่น เคล และปวยเล้ง
    • ผลไม้แห้ง เช่น ลูกพรุน
    • เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ
    • ไข่แดง
    • เนื้อแดง
    • ลูกเกด
      • ถ้าในแต่ละวัน ร่างกายได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ คงต้องพึ่งอาหารเสริมและแร่ธาตุอื่นๆ ที่เพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดง ปกติปริมาณธาตุเหล็กที่เป็นอาหารเสริมจะอยู่ที่ 50 - 100 มก. กินได้ 2 - 3 ครั้งต่อวัน
  2. ทองแดง หรือ copper ก็เป็นอีกแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยให้เซลล์ดูดซึมธาตุเหล็กในรูปของสารเคมีได้ดี จำเป็นต่อเม็ดเลือดแดงระหว่างการเผาผลาญธาตุเหล็ก ทองแดงพบมากในเนื้อสัตว์ปีก สัตว์น้ำเปลือกแข็ง ตับ โฮลเกรน (ธัญพืชเต็มเมล็ด) ช็อคโกแลต ถั่วฝัก เชอร์รี่ และถั่วเปลือกแข็ง [2] ปริมาณของทองแดงในรูปอาหารเสริมปกติจะอยู่ที่เม็ดละ 900 ไมโครกรัม แนะนำให้กินวันละ 1 ครั้ง
  3. กรดโฟลิกหรือวิตามินบี 9 ช่วยเรื่องการสร้างเม็ดเลือดแดงให้จำนวนตรงตามเกณฑ์ ถ้ากรดโฟลิกลดลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นไปได้ว่าคุณอาจมีภาวะโลหิตจาง (anemia) [4]
    • ซีเรียล ขนมปัง ผักใบเขียวเข้ม ถั่วเมล็ดกลม (pea) ถั่วเมล็ดแบน ถั่วฝัก และถั่วเปลือกแข็ง พวกนี้มีกรดโฟลิกสูง [5] ถ้าเป็นอาหารเสริมจะอยู่ที่ 100 - 250 ไมโครกรัม แนะนำให้กิน 1 ครั้งต่อวัน
    • สมาคมสูตินรีแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (The American College of Obstetricians and Gynecologists หรือ ACOG) แนะนำว่าผู้หญิงที่มีประจำเดือนบ่อยๆ ควรได้รับกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวัน [6] ส่วนสถาบันสุขภาพแห่งชาติของอเมริกา (National Institute of Health) ก็แนะนำว่าหญิงมีครรภ์ควรได้รับกรดโฟลิก 600 ไมโครกรัมต่อวัน [7]
    • นอกจากช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงแล้ว กรดโฟลิกยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างและซ่อมแซมองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ใน DNA ปกติที่ใช้การได้ดี [8]
  4. วิตามินเอช่วยเรื่องพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก โดยทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงที่กำลังสร้างได้รับธาตุเหล็กเพียงพอต่อการจัดการฮีโมโกลบิน
    • มันเทศ, แครอท, ฟัก (squash), ผักใบเขียวเข้ม, พริกหวานแดง และผลไม้ เช่น แอพริคอต, เกรปฟรุต, แตงโม, ลูกพลัม/ลูกพรุน และแคนตาลูป พวกนี้เป็นแหล่งวิตามินเอชั้นดี [9]
    • ผู้หญิงควรได้รับวิตามินเอวันละ 700 ไมโครกรัม และปริมาณที่แนะนำของผู้ชายคือ 900 ไมโครกรัม
  5. [10] ร่างกายต้องการวิตามินซีควบคู่ไปกับธาตุเหล็กในรูปของอาหารเสริมด้วย ถึงจะเสริมฤทธิ์กัน เพราะวิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ผลิตเม็ดเลือดแดงมากขึ้น
    • ให้กินวิตามินซี 500 มก. ต่อวัน ควบคู่ไปกับธาตุเหล็ก จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งมีประสิทธิภาพ แต่ร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากอาหารเสริมเยอะๆ ก็ต้องระวัง เพราะเป็นอันตรายได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน . การออกกำลังกายดีต่อคนทุกเพศทุกวัย รวมถึงคนที่ปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำด้วย บอกเลยว่าดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ร่างกายจะแข็งแรง ไร้โรคภัยและอาการเจ็บป่วย [11]
    • การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (cardiovascular) เช่น จ็อกกิ้ง วิ่ง และว่ายน้ำ นี่แหละเหมาะสุด แต่จริงๆ แล้วอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว [12]
    • การออกกำลังกายมีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงมาก เวลาคุณออกกำลังกายหนักๆ คุณจะเหนื่อยและเหงื่อออกเยอะเป็นพิเศษ ออกกำลังกายหนักแล้วทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้นเยอะ เลยส่งสัญญาณไปที่สมองว่าร่างกายกำลังขาดออกซิเจน เท่ากับกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน จะได้ลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย
  2. ถ้ากังวลเรื่องจำนวนเม็ดเลือดแดง ต้อง เลิกบุหรี่ และ เลิกเหล้า จริงๆ แล้วถ้าเลิก 2 อย่างนี้ได้จะดีต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมเลย
    • สูบบุหรี่แล้วไปรบกวนการไหลเวียนของเลือด เพราะทำให้หลอดเลือดหดตัว จนเลือดข้น ไม่ไหลเวียนและลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอย่างที่ควรจะเป็น แถมยังทำให้ไขกระดูกขาดออกซิเจนด้วย [13]
    • เวลาดื่มเหล้าหนักๆ ก็ทำให้เลือดข้น ไหลเวียนไม่สะดวก และขาดออกซิเจนเช่นกัน รวมถึงสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เลยมีแต่เม็ดเลือดแดงที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่
  3. ถ้าจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำจนปรับอาหารการกินและใช้อาหารเสริมช่วยแล้วก็ยังเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดงได้ไม่มากเท่าที่ควร ก็คงต้องถ่ายเลือด ให้คุณปรึกษาคุณหมอประจำตัวเพื่อตรวจเช็คร่างกายตามสมควร คุณหมอจะตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (complete blood count หรือ CBC) เพื่อเช็คจำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายของคุณ
  4. ถ้าอยากติดตามจำนวนเม็ดเลือดแดงของตัวเอง ก็ต้องหมั่นไปหาหมอ นอกจากนี้ยังอาจต้องทดสอบเพิ่มเติมให้แน่ใจว่าไม่มีโรคอื่นที่เป็นสาเหตุทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ แนะนำให้หมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปีจะดีที่สุด
    • ถ้าผลออกมาว่าจำนวนเม็ดเลือดแดงคุณต่ำ ก็ต้องพยายามปรับตัวตามคำแนะนำข้อต่างๆ ที่ผ่านมาอย่างเคร่งครัด เปลี่ยนทั้งอาหารและวิถีชีวิต และพบคุณหมอทุกครั้งตามนัด ไม่นานระดับเม็ดเลือดแดงของคุณก็น่าจะกลับมาเป็นปกติ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องจำนวนเม็ดเลือดแดง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1/4 ของเซลล์ในร่างกายเรา ก็คือเม็ดเลือดแดงที่เรียกว่า erythrocytes นี่แหละ เม็ดเลือดแดงพวกนี้มาจากไขกระดูก ใน 1 วินาทีจะมีเม็ดเลือดแดงเกิดขึ้นมากถึง 2.4 ล้านเลยทีเดียว [16]
    • เม็ดเลือดแดงจะไหลเวียนไปทั่วร่างกายเป็นเวลา 100 - 120 วัน นี่คือสาเหตุว่าทำไมเราถึงต้องรอ 3 - 4 เดือน ถึงจะบริจาคเลือดได้อีกครั้ง
    • ผู้ชายจะมีเม็ดเลือดแดงประมาณ 5.2 ล้าน ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ส่วนผู้หญิงมี 4.6 ล้าน ถ้าใครบริจาคเลือดบ่อยๆ จะสังเกตว่าผู้ชายผ่านการคัดเลือกเป็นผู้บริจาคเลือดมากกว่าผู้หญิง
  2. ฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนที่อุดมธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบหลักของเม็ดเลือดแดง [17] ที่เม็ดเลือดเป็นสีแดงก็เพราะธาตุเหล็กจับตัวกับออกซิเจนนี่แหละ
    • แต่ละโมเลกุลของฮีโมโกลบิน จะมีธาตุเหล็ก 4 อะตอม แต่ละอะตอมจะจับตัวกับออกซิเจน 1 โมเลกุลและ 2 อะตอม เม็ดเลือดแดง 33% เลยเป็นฮีโมโกลบิน ปกติผู้ชายจะมี 15.5 g/dL และผู้หญิงมี 14 g/dL
  3. เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่สำคัญคือลำเลียงเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจน จากปอดไปยังเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ เม็ดเลือดแดงจะมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่สร้างจากไขมันกับโปรตีน จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย โดยจะไหลเวียนไปตามเส้นเลือดฝอย [18]
    • นอกจากนี้เม็ดเลือดแดงยังช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะมีเอนไซม์ carbonic anhydrase ที่ทำให้น้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก แยกประจุไฮโดรเจนกับไบคาร์บอเนตออกจากกัน
    • ประจุไฮโดรเจนจะจับตัวกับฮีโมโกลบิน ส่วนประจุไบคาร์บอเนตจะเข้าสู่พลาสมา กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 70% คาร์บอนไดออกไซด์ 20% จะจับตัวกับฮีโมโกลบิน แล้วค่อยเข้าไปยังปอด แต่ที่เหลืออีก 7% จะละลายไปกับพลาสมา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • วิตามินบี 12 กับบี 6 ก็มีประโยชน์ ปกติวิตามินบี 12 จะเป็นเม็ด 2.4 ไมโครกรัม แนะนำให้กินวันละ 1 เม็ด ส่วนวิตามินบี 6 จะเป็นเม็ด 1.5 ไมโครกรัม กินวันละ 1 เม็ดเช่นกัน ทั้งเนื้อสัตว์และไข่จะมีวิตามินบี 12 ส่วนกล้วย ปลา และมันฝรั่งอบ จะมีวิตามินบี 6
  • เม็ดเลือดแดงจะอยู่ได้ 120 วัน หลังจากนั้นไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดแดงชุดใหม่ออกมา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,515 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา