PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

โอกาสคือคุณต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในทุกๆ ระดับตลอดช่วงชีวิตของคุณ ทักษะระหว่างบุคคลนั้นสำคัญ ไม่ว่าคุณจะสัมภาษณ์งานใหม่ เริ่มความสัมพันธ์ใหม่หรือสื่อสารในทีม คุณอาจจะสังเกตเห็นแล้วว่าความสำเร็จของคุณขึ้นอยู่กับทักษะการสื่อสารและวิธีการมีปฏิสัมพันธ์แต่ละวิธีมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน คุณต้องพัฒนาการสื่อสารทางอวัจนภาษาของคุณ วิธีวิธีการมีปฏิสัมพันธ์และจัดการกับภาพลักษณ์เพื่อเสริมสร้างทักษะระหว่างบุคคล [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การพัฒนาการสื่อสารทางอวัจนภาษา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสื่อสารทางอวัจนภาษาคือการแสดงสีหน้า การใช้สัมผัสและน้ำเสียง (ไม่ใช่คำพูดแต่เป็นวิธีที่คุณพูด) [2] การสื่อสารด้วยภาพสำคัญกว่าการสื่อสารทางเสียง ด้วยการสื่อสารทางภาพนั้น ผู้คนมักจะตีความการแสดงสีหน้าได้ดีกว่าภาษากาย [3]
    • เช่น หากคุณต้องการแสดงออกว่าคุณมีความสุข การแสดงออกทางสีหน้า เช่น การยิ้ม จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการพูดให้เร็วขึ้นหรือการใช้ภาษากาย บางครั้งคุณอาจจะต้องซ่อนอารมณ์ที่คุณกำลังรู้สึก (เช่น เวลาที่คุณกลัว) แต่คุณไม่อยากแสดงมันออกมา
  2. การสื่อสารทางอวัจนภาษานั้นประเมินได้ว่ามีมากถึง 60% ของความหมายของการสื่อสารระหว่างบุคคล [4] เพื่อให้การสื่อสารทางอวัจนภาษาสำเร็จลุล่วง คุณต้องแสดงอารมณ์ในวิธีที่ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
    • เริ่มคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางอวัจนภาษาทั้งที่คุณส่งไปและได้รับจากผู้อื่นเมื่อสื่อสาร
  3. ในวัฒนธรรมตะวันตกโดยทั่วไปนั้น หากคุณต้องการส่งต่อสายสัมพันธ์ที่อบอุ่นกับใครสักคน คุณต้องสังเกตจากพฤติกรรมเหล่านี้: โน้มตัวไปหาและหันหน้ากับลำตัวเข้าหาอีกฝ่าย ใช้ท่าทางและน้ำเสียง ความเร็วและระดับเสียงที่หลากหลาย ตั้งใจฟังโดยการพยักหน้า ยิ้มและไม่ขัดจังหวะ ทำตัวผ่อนคลายแต่อย่ามากเกินไป
    • หากพูดอีกแบบหนึ่งคือคุณไม่ควรห่อไหล่แต่ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อ หากคุณพบว่าคุณสนใจภาษากายของคุณมากเกินไปก็จงมุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่อีกฝ่ายกำลังพูดแทน
  4. ภาษากายอาจจะใช้ได้กับบางวัฒนธรรมแต่ใช้ไม่ได้กับบางวัฒนธรรม ทักษะการสื่อสารทางอวัจนภาษาที่ดีมาจากการรู้กฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการแสดงอารมณ์ เช่น ในวัฒนธรรมของชาวฟินแลนด์นั้น การสบตาถือเป็นสัญญาณของการเป็นคนที่เข้าถึงได้ ในขณะที่ในวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นนั้น การสบตาเป็นสัญญาณของความโกรธ [5]
    • จากมุมมองสากลนั้น หากคุณเป็นเจ้าของวัฒนธรรมใดๆ ธรรมเนียมของอวัจนภาษาหลายๆ อย่างจะมีอยู่ในสัญชาติญาณ หากคุณพบว่าคุณกำลังสื่อสารในวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ของคุณ คุณควรดูผู้อื่นอย่างตั้งใจสำหรับพฤติกรรมของอวัจนภาษาที่เป็นแบบอย่าง
  5. เข้าใจว่าความแตกต่างระหว่างเพศมีผลต่อการสื่อสารทางอวัจนภาษา. การเข้าใจความแตกต่างระหว่างเพศเมื่อส่งและตีความข้อความทางอวัจนภาษานั้นเป็นประโยชน์ [6] ผู้ชายและผู้หญิงแสดงออกทางอวัจนภาษาในวิธีที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงมักจะสบตาและยิ้มมากกว่าผู้ชาย พวกเขายังมักจะได้รับและให้สัมผัสทางกายมากกว่าผู้ชายอีกด้วย [7]
    • ผู้หญิงมักจะขัดจังหวะน้อยกว่าผู้ชาย ฟังมากกว่าผู้ชายและตีความสีหน้าได้อย่างถูกต้องมากกว่าผู้ชาย [8]
  6. ส่วนนี้สำคัญมากต่อการสื่อสารที่สำเร็จ เมื่อคุณมีอารมณ์ที่ตื้นตัน คุณอาจจะต้องหายใจลึกๆ และหาความรู้สึกที่สงบ ระวังสัญญาณที่ตึงเครียดที่คุณส่งและทำสัญญาณเหล่านั้นให้ผ่อนคลาย: คลายมือออก ไม่กัดฟันและคลายกล้ามเนื้อ
    • จากการสำรวจผู้บริหารที่ติดอันดับ Fortune 500 ก็พบว่าผู้ที่สามารถควบคุมและแสดงอารมณ์ตัวเองได้ (เช่น กลั้นไม่ให้ร้องไห้เมื่อโดนวิจารณ์) มักจะได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่นมากกว่า [9]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การปรับปรุงวิธีการมีปฏิสัมพันธ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณได้ผลลัพธ์ที่ต้องการเวลาคุยกับคนอื่นหรือไม่? ใช้เวลาคิดเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ที่คุณมีเมื่อไม่นานมานี้ คุณได้รับสิ่งที่ต้องการจากบทสนทนานั้นหรือไม่? (เช่น คุณโน้มน้าวใจหรือไม่?) คุณรู้สึกว่าอีกฝ่ายเข้าใจคุณจริงๆ หรือไม่? หากคำตอบคือไม่ คุณควรคิดเกี่ยวกับวิธีการที่จะใช้เอาผลลัพธ์ที่คุณต้องการ [10] เหล่านี้คือวิธีที่มีประสิทธิภาพ:
    • โน้มน้าวใจ: ทำให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณมีตรรกะ เช่น หากคุณอยากให้รูมเมทเอาขยะไปทิ้ง คุณควรอธิบายว่าคุณทั้งคู่ต้องทำงานบ้านเท่าๆ กันและครั้งที่แล้วคุณเป็นฝ่ายเอาขยะไปทิ้ง ฉะนั้นคราวนี้ก็คือคราวที่เธอต้องเอาขยะไปทิ้ง
    • ใช้ภาษากายที่เป็นมิตร: หากคุณได้การตอบรับที่เย็นชาจากคำขอใดๆ คุณควรลองสร้างสายสัมพันธ์ที่อบอุ่นด้วยภาษากายก่อนโดยการโน้มตัวไปข้างหน้าในขณะที่พูดกับอีกฝ่ายและตั้งใจฟัง.
    • ฟัง: อย่าถือสิทธิ์ของบทสนทนานั้นแต่ผู้เดียว คุณควรฟัง สังเกตวิธีที่คุณตอบโต้และฟังสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังพูด ปล่อยให้ความเงียบเข้ามาและส่งสัญญาณว่าคุณกำลังฟัง เช่น การพูดว่า “พูดต่อสิ” “โอเค” และ “จริงหรือเปล่า?”
    • กล้าแสดงออกอย่างมีหลักการ: ใช้ข้อความที่แทนตัวคุณ เช่น “ฉันรู้สึกตื้นตัน” [11] ระมัดระวังการเพื่อไม่ใช้ข้อความเหล่านี้มากเกินไปหรือใช้ข้อความที่แทนตัวอีกฝ่ายหนึ่งที่ก้าวร้าว เช่น “เธอกำลังทำให้ฉันโกรธมาก” [12]
  2. ใช้คำร้องที่ง่ายและตรงไปตรงมาเพื่อให้ได้สิ่งที่คุณต้องการ แทนการใช้ข้อความที่ซับซ้อนและวกวน [13] วางแผนและฝึกฝนสิ่งที่คุณจะพูดเพื่อที่คุณจะสามารถถ่ายทอดข้อความของคุณด้วยความเร็วและความสบายที่เหมาะสมของข้อความเมื่อคุณทำได้ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยให้คนอื่นเข้าใจคุณเท่านั้นแต่ยังช่วยให้คุณสร้างข้อความได้มากขึ้นในเวลาเท่าเดิม [14]
    • เช่น คุณอาจจะอยากขอให้เจ้านายของคุณเพิ่มความรับผิดชอบในงานให้กับคุณ แทนที่จะพูดว่า “สวัสดี ฉันคิดว่าฉันอยากได้ความรับผิดชอบและตัวงานที่มากขึ้น หากคุณคิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี” ให้พูดว่า “ฉันหวังว่าจะได้ความรับผิดชอบในงานที่มากขึ้นถ้าคุณเห็นสมควร”
  3. คนเราคาดหวังว่าจะสามารถมีส่วนร่วมในบทสนทนาเท่าๆ กัน [15] การให้โอกาสผู้อื่นได้พูดคือคุณควรพยายามเปิดใจรับความเงียบแต่ต้องไม่นานเกินกว่าสองสามวินาที [16] การสนใจผู้อื่นหรือการมุ่งความสนใจไปที่ผู้อื่นในบทสนทนาทำให้คนที่สื่อสารดูมีอำนาจ [17]
    • เช่น ใส่ใจว่าคุณได้พูดในบทสนทนานั้นมากเท่าไหร่ เรื่องของคุณใช้เวลานานหรือเปล่า? พูดเรื่องของคุณให้จบและหยุดเพื่อส่งสัญญาณว่าถึงตาของอีกฝ่ายในการพูดแล้ว
  4. โดยทั่วไป การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบไปด้วยห้าหลักการ: ความเป็นข้อมูล ความเกี่ยวข้อง ความจริงใจ ความสุภาพและความถ่อมตน [18] ข้อสรุปในหมู่ผู้คนคือเมื่อคุณพูดนั้น คำพูดของคุณจะ:
    • ให้ข้อมูลที่คนอื่นไม่รู้มาก่อน
    • เกี่ยวข้องและเป็นที่สนใจของทุกคนที่เกี่ยวข้อง
    • จริงใจ (นอกจากว่าคุณใช้การประชดหรือเสียดสี)
    • ใช้ความคาดหวังทางสังคมเกี่ยวกับความสุภาพ เช่น พูดว่า “ได้โปรด” และ “ขอบคุณ”
    • หลีกเลี่ยงการโอ้อวดหรือการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การจัดการภาพลักษณ์ที่ผู้อื่นมีต่อคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้สามารถช่วยให้คุณและอีกฝ่ายบรรลุเป้าหมาย [19] หาคุณสมบัติที่คุณมีร่วมกันและสร้างความเข้าใจร่วม เช่น หากคุณเห็นไม่ตรงกันว่าจะไปร้านอาหารไหน แต่คุณทั้งสองหิวก็ให้ใช้ความหิวมาร่วมกันตัดสินใจ
    • หากคุณพบว่าอีกฝ่ายไม่เข้าใจหรือไม่ยอมรับจุดสนใจร่วมระหว่างคุณทั้งสอง คุณควรหยุดบทสนทนาสักครู่แล้วค่อยกลับมาภายหลัง เช่น คุณสามารถพูดว่า “เราหิวกันมากแล้ว คราวนี้ฉันเลือกร้านอาหารแล้วเธอค่อยเลือกครั้งต่อไปดีไหม?”
  2. คุณควรจะตรงไปตรงมาและชัดเจนเวลาที่สื่อสารกับผู้อื่น [20] หากคุณสันนิษฐานหรือสรุปสิ่งต่างๆ คุณจะเข้าใจผิดและสร้างความตึงเครียดในความสัมพันธ์ของคุณ [21] เช่น ลองคิดว่าคุณกำลังพูดกับบางคนที่ดูแก่และเธอของให้คุณพูดซ้ำ อย่าด่วนสรุปว่ามันเป็นเพราะเธอแก่กว่าและหูฟังได้ไม่ค่อยดีและอย่าตะโกนเพื่อให้เธอได้ยิน
    • หากข้อความไม่ชัดเจน ลองถามอีกฝ่ายก่อนที่คุณจะพูดต่อ คุณสามารถพูดว่า “ขอโทษนะ ฉันพูดเสียงเบาไปหรือเปล่า?”
  3. ไม่มีใครอยากรู้สึกว่าตัวเองไม่มีทางเลือก หากคุณรู้สึกว่าตัวเอง “ฝืนใจอีกฝ่าย” ในบทสนทนานี้ หรือพยายามทำให้อีกฝ่ายทำในสิ่งที่คุณต้องการโดยการฝืนใจ คุณควรคิดแผนการอีกที พยายามบรรลุเป้าหมายโดยการโน้มน้าวและการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา วิธีนี้จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าความสัมพันธ์ระยะยาวของคุณจะไม่เสียหายและจะประสบความสำเร็จมากขึ้น
    • เช่น ลองคิดว่าคุณอยากไปขับรถเล่นกับเพื่อน เพื่อนของคุณมีเหตุด่วนเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงขึ้นมาในวันนั้นและไม่สามารถไปกับคุณได้ แทนที่จะทำให้เพื่อนรู้สึกผิดที่ไปไม่ได้ คุณควรแสดงความผิดหวังแต่หยิบยื่นความช่วยเหลือให้กับเพื่อน อธิบายว่าคุณเข้าใจว่าเพื่อนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ไม่ใช่ว่าทุกๆ “ข้อความที่แทนตัวเอง” จะใช้ได้กับผู้ที่กำลังสื่อสารกับคุณ งานวิจัยชี้ว่าข้อความที่แทนตัวเองอาจจะถูกมองว่าไม่เป็นมิตรเมื่อใช้ร่วมกับข้อความที่แสดงความโกรธ เช่น “ฉันกำลังโกรธ” [22]
  • คุณอาจจะพยายามแสดงความเสียใจแทนความโกรธผ่านทางข้อความที่แทนตัวเอง เช่น “ฉันกำลังหงุดหงิด” หรือ “ฉันกำลังเสียใจ” เพราะข้อความเหล่านี้มักจะได้รับความร่วมมือจากผู้อื่น [23]
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  2. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  3. Ekman, P., & Friesen, W. V. (1969). Nonverbal leakage and clues to deception.Psychiatry, 32(1), 88-106.
  4. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  5. Akechi H, Senju A, Uibo H, Kikuchi Y, Hasegawa T, et al. (2013). Attention to Eye Contact in the West and East: Autonomic Responses and Evaluative Ratings. PLoS ONE 8(3): e59312.
  6. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  7. Hall, J. A., Carter, J. D., & Horgan, T. G. (2000). Gender differences in nonverbal communication of emotion. Gender and emotion: Social psychological perspectives, 97-117.
  8. Hall, J. A., Carter, J. D., & Horgan, T. G. (2000). Gender differences in nonverbal communication of emotion. Gender and emotion: Social psychological perspectives, 97-117.
  9. Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. Bantam.
  1. Berger, C. R. (1997). Planning strategic interaction. Lawrence Erlbaum Associates.
  2. Kubany, E. S., Bauer, G. B., Muraoka, M. Y., Richard, D. C., & Read, P. (1995). Impact of labeled anger and blame in intimate relationships. Journal of social and clinical psychology, 14(1), 53-60.
  3. Kubany, E. S., Bauer, G. B., Muraoka, M. Y., Richard, D. C., & Read, P. (1995). Impact of labeled anger and blame in intimate relationships. Journal of social and clinical psychology, 14(1), 53-60.
  4. Berger, C. R. (1997). Planning strategic interaction. Lawrence Erlbaum Associates.
  5. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  6. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  7. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  8. Rubin, R. B., & Martin, M. M. (1994). Development of a measure of interpersonal communication competence. Communication Research Reports,11(1), 33-44.Rubin, R. B., & Martin, M. M. (1994). Development of a measure of interpersonal communication competence. Communication Research Reports,11(1), 33-44.
  9. Grice, H. P., Cole, P., & Morgan, J. L. (1975). Syntax and semantics. Logic and conversation, 3, 41-58.
  10. Clark, H. H. (1994). Discourse in production.
  11. Greene, J. O., & Burleson, B. R. (Eds.). (2003). Handbook of communication and social interaction skills. Psychology Press.
  12. Berger, C. R. (1997). Planning strategic interaction. Lawrence Erlbaum Associates.
  13. Kubany, E. S., Bauer, G. B., Muraoka, M. Y., Richard, D. C., & Read, P. (1995). Impact of labeled anger and blame in intimate relationships. Journal of social and clinical psychology, 14(1), 53-60.
  14. Kubany, E. S., Bauer, G. B., Muraoka, M. Y., Richard, D. C., & Read, P. (1995). Impact of labeled anger and blame in intimate relationships. Journal of social and clinical psychology, 14(1), 53-60.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,415 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา