ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Tinnitus (คุณหมอส่วนใหญ่เรียก “ทินนิทัส” ส่วนคนทั่วไปบางทีก็เรียก “ทิไนทัส”) หรืออาการเสียงดังในหู คือคุณ “ได้ยินเสียงทั้งที่บรรยากาศโดยรอบไม่มีเสียงอะไร” [1] ส่วนใหญ่ที่ได้ยินจะเป็นเสียงวิ้งๆ แต่บางทีก็ดังหึ่งๆ เสียงเหมือนคำราม เสียงลมตี เสียงหวด เสียงดังคลิก กระทั่งเสียงดังฟ่อ [2] อาการเสียงดังในหูนี้พบในผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก แค่ในอเมริกาก็ปาเข้าไป 45 ล้านคน หรือประมาณ 15% ของประชากรสหรัฐแล้ว ส่วนอาการขั้นรุนแรงนั้นมีผู้ป่วยมากถึง 2 ล้านคนทีเดียว [3] อาการเสียงดังในหูบางทีก็เป็นอาการบอกโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า เช่น บาดเจ็บในหู หรือสูญเสียการได้ยิน (ทั้งจากประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันหรือเป็นไปตามวัย) เป็นแล้วร่างกายจะอ่อนแอน่าดู คุณปรับเปลี่ยนชีวิตเพื่อบรรเทาอาการเสียงดังในหูได้ โดยเริ่มจากพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัด รับการบำบัดรักษาการได้ยิน และเปิดใจทดลองรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 7:

รับการตรวจวินิจฉัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการเสียงดังในหูมีได้ตั้งแต่ได้ยินเสียงดังมาก ไปจนถึงเสียงแผ่วเบา แต่ก็คือดังพอที่จะรบกวนการได้ยินตามปกติ บางเคสได้ยินในหูข้างเดียว แต่บางเคสก็ได้ยินทั้ง 2 ข้าง เสียงที่ได้ยิน จะเป็นเสียงวิ้ง เสียงหึ่ง เสียงคำราม เสียงคลิก หรือเสียงดังฟ่อ [4] อาการเสียงดังในหูมี 2 แบบด้วยกัน คือเสียงที่ได้ยินเฉพาะคนที่เป็น (subjective tinnitus) และเสียงที่คนอื่นก็ได้ยิน (objective tinnitus)
    • Subjective tinnitus เป็นแบบที่พบบ่อยกว่า เกิดจากโครงสร้างในหูผิดปกติ (ไม่ว่าจะชั้นนอก ชั้นกลาง หรือชั้นใน) หรือวิถีประสาทการได้ยินจากหูชั้นในไปที่สมองผิดปกติ เคสนี้คุณ (ผู้ป่วย) จะเป็นคนเดียวที่ได้ยินเสียง
    • Objective tinnitus เป็นแบบที่หายากกว่า แต่คุณหมอสามารถตรวจพบเสียงได้ เพราะเกิดจากหลอดเลือดผิดปกติ กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรืออาการอื่นๆ ของกระดูกหูชั้นใน
  2. เป็นอาการที่พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง พบในผู้สูงอายุมากกว่าคนอายุน้อยๆ ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็เช่น [5]
    • อายุ (มักเริ่มเป็นตอนอายุประมาณ 60 - 69 ปี)
    • เพศ
    • รับราชการทหาร (เจอเสียงระเบิด เสียงปืน เครื่องจักรอื่นๆ)
    • ทำงานในโรงงานหรือสถานที่ที่มีเสียงดังๆ
    • ชอบฟังเพลงเสียงดัง
    • ใครก็ตามที่ฟังหรือได้ยินเสียงดังมากเป็นประจำ ไม่ว่าจะด้วยหน้าที่การงานหรือเรื่องส่วนตัวก็ตาม
    • เคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล และ/หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder หรือ OCD)
  3. Tinnitus Handicap Inventory เป็นแบบทดสอบของ American Tinnitus Association ให้ลองทดสอบเพื่อเช็คอาการเบื้องต้นดู โดยจะมีคำถามต่างๆ ให้คุณใช้ประเมินระดับความผิดปกติทางการได้ยินของคุณ จะได้รู้ว่ามีอาการเสียงดังในหูไหม และเป็นขั้นไหนแล้ว ถือเป็นขั้นแรกในการตรวจเช็คอาการเสียงดังในหู
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 7:

ปรึกษาคุณหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยคุณหมอจะตรวจหูด้วย otoscope (อุปกรณ์มีไฟฉายสำหรับส่องตรวจหู) และอาจมีการทดสอบการได้ยิน รวมถึงการถ่ายภาพด้วยรังสี เช่น MRI หรือ CT scan แต่บางเคสก็อาจต้องตรวจกันละเอียดกว่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจภายนอก ไม่เจ็บปวดแต่อย่างใด แค่อาจมีไม่สบายตัวบ้าง [6]
    • บางทีกระดูกในหูชั้นในก็เปลี่ยนแปลงไปจากสาเหตุทางพันธุกรรม โดยหูชั้นในมีกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้นด้วยกัน คือกระดูกค้อน (malleus) กระดูกทั่ง (incus) และกระดูกโกลน (stapes) กระดูก 3 ชิ้นนี้จะเชื่อมต่อกัน และเชื่อมต่อกับแก้วหู (eardrum หรือ tympanic membrane (เยื่อแก้วหู)) ด้วย พวกนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างภายในหูที่มีหน้าที่แปลงความสั่นสะเทือนของเสียงเป็นกระแสประสาท (nerve impulse) หรือเสียงที่เราได้ยิน ถ้ากระดูกพวกนี้ขยับเขยื่อนหรือสั่นสะเทือนได้ไม่สะดวกเพราะโรคหินปูนเกาะกระดูกหู (otosclerosis) ก็ทำให้เกิดอาการเสียงดังในหูได้
    • ถ้ามีขี้หูสะสมเยอะผิดปกติ ก็ทำให้เกิดอาการเสียงดังในหูได้เช่นกัน
  2. ข่าวร้ายคืออาการเสียงดังในหูนั้นบางทีก็วินิจฉัยหาสาเหตุชัดเจนได้ยาก ส่วนใหญ่ก็เป็นเพราะอายุที่มากขึ้นนั่นแหละ ปัจจัยทางอายุที่ทำให้เกิดอาการเสียงดังในหูก็เช่น [7]
    • สูญเสียการได้ยินเมื่ออายุมากขึ้น (presbycusis)
    • ถึงไม่ค่อยพบบ่อย แต่พอหมดประจำเดือนแล้วก็อาจทำให้เกิดอาการเสียงดังในหูได้ เพราะส่วนใหญ่ผู้หญิงวัยทองก็คือผู้หญิงสูงอายุ แต่พออาการอื่นๆ ของวัยหมดประจำเดือนหายไป เสียงดังในหูก็มักหายไปด้วย บางครั้งอาการเสียงดังในหูก็เกิดจากการใช้โปรเจสติน (ฮอร์โมนสังเคราะห์) แทนฮอร์โมนตามธรรมชาติเช่นกัน [8]
  3. ถ้าคุณต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน หรือมักฟังหรือได้ยินเสียงดังๆ ต่อเนื่องยาวนานด้วยสาเหตุอื่น อย่าลืมแจ้งคุณหมอ เพราะช่วยเรื่องการวินิจฉัยได้
  4. หลายโรคที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดก็ทำให้เกิดอาการเสียงดังในหูได้เช่นกัน ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ให้แจ้งคุณหมอเพิ่มเติม [9]
    • มีเนื้องอกในหัวหรือที่คอ จนไปกดทับหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
    • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) หรือก็คือภาวะไขมันสะสมจนหลอดเลือดตีบตัน
    • ความดันสูง
    • ความหลากหลายทางกายวิภาคในเส้นเลือดแดงใหญ่ (carotid artery) ที่คอ ทำให้การไหลเวียนของเลือดปั่นป่วน
    • หลอดเลือดฝอยผิดรูป (arteriovenous malformation)
  5. มียาหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการเสียงดังในหู หรือทำให้ยิ่งอาการหนักขึ้น [10] เช่น
    • แอสไพริน
    • ยาปฏิชีวนะ เช่น polymyxin B, erythromycin, vancomycin และ neomycin
    • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics บางทีก็เรียกยาขับน้ำ (water pills)) เช่น bumetanide, ethacrynic acid และ furosemide
    • ควินิน (Quinine)
    • ยาต้านเศร้า (anti-depressants) บางตัว
    • ยาเคมีบําบัด (Chemotherapeutics หรือคีโม) เช่น mechlorethamine และ vincristine
  6. อาการเสียงดังในหูเป็นได้เพราะหลายสาเหตุมาก เพราะฉะนั้นควรตรวจเช็คร่างกายให้แน่ใจ ว่ามีโรคหรืออาการต่อไปนี้อยู่แล้วหรือเปล่า
    • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่หูชั้นใน เกิดจากแรงดันน้ำในหูชั้นในเพิ่มสูงขึ้น
    • ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temperomandibular joint (TMJ) disorders)
    • อาการบาดเจ็บที่หัวและคอ
    • เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (Benign tumors) เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทหู (acoustic neuromas) ซึ่งทำให้เกิดอาการเสียงดังในหูข้างเดียว
    • ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)
  7. ถ้ามีอาการเสียงดังในหูแบบเฉียบพลันและหาสาเหตุไม่ได้ หลังเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory infection (URI)) หรือวิงเวียน สูญเสียการได้ยินควบคู่ไปด้วย ให้รีบไปหาหมอด่วน
    • หาคุณหมอประจำตัวก่อน ถ้ามีอะไร คุณหมอจะโอนเคสไปให้คุณหมอเฉพาะทางอีกต่อ เช่น คุณหมอหูคอจมูก (Ear, Nose and Throat (ENT) specialist หรือ otolaryngologist)
    • นอกจากได้ยินเสียงดังในหูแล้ว ยังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหนื่อยอ่อน เครียด นอนไม่หลับ ไม่ค่อยมีสมาธิ จำอะไรไม่ค่อยได้ ซึมเศร้า และหงุดหงิดง่าย ถ้ามีอาการที่ว่า ให้แจ้งคุณหมอด้วย
  8. ถ้าอาการเสียงดังในหูเกิดจากโรคอื่น ก็ต้องรักษาโรคที่ว่าก่อน เช่น [11]
    • กำจัดขี้หูที่สะสม
    • รักษาโรคต้นเหตุอย่างความดันสูง หรือโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
    • เปลี่ยนยาที่ใช้อยู่ ถ้าอาการเสียงดังในหูเป็นผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ ให้แจ้งคุณหมอเพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาหรือลดปริมาณลง
    • ลองกินยารักษาอาการเสียงดังในหู หรือก็คือยารักษาโรคอื่นที่มีผลบรรเทาอาการเสียงดังในหูเช่นกัน เช่น ยาต้านเศร้า (antidepressants) และยารักษาอาการวิตกกังวล (antianxiety drugs) แต่ยาพวกนี้ก็อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ด้วย เช่น ทำให้ปากแห้ง เห็นภาพเบลอ ท้องผูก หัวใจผิดปกติ ง่วงซึม และคลื่นไส้ เป็นต้น
  9. ในบางเคสก็จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง (hearing aids) คุณหมอหรือนักโสตสัมผัสวิทยา (audiologist) จะเป็นผู้ตรวจและพิจารณาว่าคุณต้องใช้เครื่องช่วยฟังหรือเปล่า [12]
    • อ้างอิงจาก American Tinnitus Association หรือสมาคมเกี่ยวกับอาการเสียงดังในหูของสหรัฐอเมริกา “การสูญเสียการได้ยินทำให้เสียงภายนอกไปไม่ค่อยถึงสมอง ทำให้สมองเริ่มปรับตัวเพื่อรับเสียงในคลื่นความถี่ต่างๆ อาการเสียงดังในหูก็เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ของการปรับตัวในทางที่ไม่ดีนี้ของสมอง” [13] สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณค่อยๆ สูญเสียการได้ยิน สมองจะพยายามปรับตัวตามนั่นเอง แต่บางครั้งการปรับตัวนี้ไม่ได้ผลดี แล้วกลายเป็นเกิดอาการเสียงดังในหูแทน เพราะส่วนใหญ่จะสูญเสียการได้ยินในระดับคลื่นความถี่ของอาการเสียงดังในหูขึ้นไป [14]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 7:

บำบัดด้วยเสียง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กลบเสียงดังในหูโดยเปิดเพลงบรรเลงหรือเสียงบรรยากาศคลอไป จะเปิดคลิปหรือแผ่น CD ที่เป็น “white noise” (เสียงที่ใช้กลบเสียงอื่น) อย่างเสียงคลื่น เสียงกระแสน้ำในลำธาร เสียงฝน เพลงเบาๆ หรืออะไรก็ได้ที่ช่วยกลบหรือทำให้เสียงดังในหูของคุณจางลง
  2. white noise หรือเสียงช่วยขับกล่อมอื่นๆ ช่วยให้คุณนอนหลับสบายขึ้น ถือว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะหลายคนที่มีอาการเสียงดังในหูมักประสบปัญหาการนอน พอตกดึกเงียบสงัดได้ยินแต่เสียงในหูจนนอนแทบไม่ได้ ถ้ามีเสียงอื่นเปิดคลอจะได้สงบใจ หลับง่ายขึ้น
  3. “Brown noise” เป็นชุดเสียงที่ถูกเล่นสุ่มๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะต่ำกว่าเสียง white noise [15] ส่วน “Pink noise” เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่ต่ำ ซึ่งเสียงที่ได้ก็จะต่ำกว่า white noise เช่นกัน แต่ไม่ว่าจะ pink หรือ brown noise ก็ช่วยเรื่องการนอนได้ทั้งนั้น [16]
    • ลอง search ในเน็ตดู ว่า pink กับ brown noise เป็นยังไง แล้วเลือกใช้เสียงที่ได้ผลกับคุณที่สุด
  4. เพราะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการเสียงดังในหูได้มากที่สุด [17] ถ้าเป็นไปได้ให้อยู่ห่างที่ที่เสียงดังให้มากที่สุด สำหรับบางคนอาจไม่มีผลกระทบอะไร แต่ถ้าเสียงดังๆ ทำอาการคุณกำเริบหรือหนักกว่าเดิม ก็ต้องรู้ตัวแล้วคอยระวัง
  5. มีงานวิจัยของเยอรมนีชี้ว่าใช้ดนตรีบำบัดกับผู้ป่วยที่มีอาการเสียงดังในหูแล้ว ช่วยป้องกันไม่ให้อาการเบื้องต้นลุกลามไปเป็นอาการเรื้อรังได้ [18]
    • ขั้นตอนการบำบัดคือเปิดเพลงที่คุณชอบ โดยปรับคลื่นความถี่ให้ตรงกับเสียงที่ดังในหูนั่นเอง [19]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 7:

รักษาบรรเทาอาการด้วยวิธีทางเลือก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint (TMJ)) ที่ทำให้เกิดอาการเสียงดังในหู สามารถรักษาได้ด้วยการจัดกระดูกโดยผู้เชี่ยวชาญ [20] , [21] ที่ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรนั้นถูกมองว่าทำให้เกิดอาการเสียงดังในหู ก็เพราะกล้ามเนื้อกับเอ็นยึดกระดูก (ligaments) ที่ติดกับขากรรไกรนั้น อยู่ใกล้กันกับกระดูกที่มีผลต่อการได้ยิน
    • การจัดกระดูกนั้นอาจใช้ขั้นตอน manual manipulation หรือการดัดขยับข้อต่อแรงเร็วเพื่อจัดเรียงข้อต่อขากรรไกรซะใหม่ บางทีนักจัดกระดูก (chiropractor) ก็จัดกระดูกสันหลังส่วนคอร่วมด้วยเพื่อลดอาการเสียงดังในหู การจัดกระดูกนั้นไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจมีไม่สบายตัวบ้างชั่วคราว
    • บางทีจัดกระดูกแล้วก็มีการประคบเย็น/ร้อนร่วมกับการบริหารบางจุดด้วย [22]
    • การจัดกระดูกช่วยรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) ที่เป็นอีกสาเหตุ (ที่พบได้ยากกว่า) ของอาการเสียงดังในหูได้ด้วย [23]
  2. มีงานวิจัยไม่นานมานี้ชี้ว่าเป็นไปได้มากที่การฝังเข็ม (acupuncture) สามารถรักษาอาการเสียงดังในหูได้ ส่วนเทคนิคที่ใช้จะขึ้นอยู่กับโรคต้นทางที่ก่อให้เกิดอาการเสียงดังในหู ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สมุนไพรแบบจีนโบราณ [24]
    • แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องรอหลักฐานการวิจัยเพิ่มเติม ว่าจะใช้รักษาได้มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
  3. aldosterone เป็นฮอร์โมนที่ปกติพบในต่อมหมวกไต (adrenal gland) เป็นฮอร์โมนที่ใช้ควบคุมโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือดของเรา [25] มีงานวิจัยหนึ่งพบว่าคนที่มีอาการเสียงดังในหูแล้วสูญเสียการได้ยินด้วย มักมีฮอร์โมน aldosterone น้อย ถ้าได้รับฮอร์โมน aldosterone ทดแทน (bioidentical aldosterone) จะกลับมาได้ยินอีกครั้ง และไม่มีอาการเสียงดังในหูอีก [26]
  4. ถือเป็นวิธีทางเลือกที่อาจได้ผลสำหรับบางคน ขั้นตอนหลักๆ ก็คือหาความถี่เสียงที่ตรงกับเสียงในหู แล้วกลบคลื่นความถี่นั้นด้วยเสียงพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
    • คุณหมอหูคอจมูกหรือนักโสตสัมผัสวิทยา (audiologist) อาจแนะนำให้คุณบำบัดรักษาด้วยวิธีดังกล่าว
    • บางทีเสียงที่ใช้บำบัดนี้ก็มีให้ฟังกันออนไลน์ (แบบเสียเงิน) เช่นเว็บ Audionotch กับ Tinnitracks โดยเว็บจะมีบททดสอบให้ลองทำ เพื่อหาคลื่นความถี่ที่ตรงกับเสียงในหู แล้วเลือกวิธีบำบัดที่น่าจะได้ผล
    • แต่วิธีนี้ก็ยังขาดหลักฐานงานวิจัยรองรับที่เพียงพอ หลายคนก็ว่าได้ผล ยังไงลองพิจารณาดู [27]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 7:

กินอาหารเสริม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ร่างกายต้องใช้ CoQ10 หรือ coenzyme Q10 เพื่อการเจริญเติบโตและรักษาเซลล์ นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระด้วย CoQ10 พบได้ในอาหารจำพวกเครื่องใน เช่น หัวใจ ตับ และไต [28]
    • มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่าอาหารเสริม CoQ10 ก็ช่วยได้สำหรับคนที่มี serum level ของ CoQ10 ต่ำ (ระดับ CoQ10 ในเลือดต่ำ)
    • ปริมาณที่แนะนำคือ 100 มก. วันละ 3 ครั้ง [29]
  2. Ginkgo biloba หรือใบแปะก๊วย นั้นเชื่อว่าช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองดีขึ้น เลยมีการใช้รักษาบรรเทาอาการเสียงดังในหู ซึ่งผลที่ได้ก็แตกต่างกันไปตามเคส เพราะอาการเสียงดังในหูนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ บางเคสก็หาสาเหตุชัดเจนไม่ได้
    • มีบางแหล่งรายงานว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอมารองรับการใช้ใบแปะก๊วยสกัดรักษาอาการเสียงดังในหู [30] แต่อีกแหล่งก็สรุปว่า EGb 761 หรือใบแปะก๊วยสกัดที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานแล้ว นั้นใช้รักษาอาการเสียงดังในหูได้อย่างเห็นผล [31] EGb 761 นั้นเป็น “สารสกัดจากใบแปะก๊วยที่ผ่านการทดสอบรับรองมาตรฐาน มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ เพราะเป็นตัวดักจับอนุมูลอิสระ (free radical scavenger) สารสกัดจากใบแปะก๊วยที่ผ่านการทดสอบรับรองมาตรฐานแล้วจะมีฉลากระบุรายละเอียดชัดเจน โดยมี flavone glycosides ประมาณ 24% (หลักๆ คือ quercetin, kaempferol และ isorhamnetin) และ terpene lactones 6% (ginkgolides A, B และ C 2.8 - 3.4% และ bilobalide 2.6 - 3.2%)” [32]
    • คุณหาซื้ออาหารเสริมนี้ได้ในชื่อ Tebonin Egb 761
    • ให้กินตามคำแนะนำที่ฉลากอย่างเคร่งครัด
  3. มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่า เกือบครึ่งของคนที่มีอาการเสียงดังในหู อาการดีขึ้นเมื่อได้รับสังกะสีหรือ zinc วันละ 50 มก. ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งปริมาณนี้ถือว่าสูงพอสมควร เพราะปกติปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันสำหรับผู้ชาย (ผู้ใหญ่) จะอยู่ที่แค่ 11 มก. ส่วนของผู้หญิงนั้นอยู่ที่ 8 มก.
    • อย่าเพิ่งเพิ่มปริมาณสังกะสีมากขนาดนี้ถ้ายังไม่ได้ปรึกษาคุณหมอ
    • ถ้าจะเพิ่มปริมาณสังกะสีมากขนาดนี้จริงๆ อย่าพยายามกินต่อเนื่องเกิน 2 เดือน
    • ควบคุมปริมาณสังกะสีให้สมดุลโดยกินอาหารเสริมทองแดง (copper) ควบคู่กันไป เพราะถ้าได้รับสังกะสีในปริมาณมาก จะทำให้ทองแดงลดลง จนเกิดโรคโลหิตจางได้ ให้ป้องกันไว้ก่อนโดยเสริมทองแดงเข้าไป [33] ในปริมาณ 2 มก. ต่อวัน
  4. เมลาโทนิน (melatonin) เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวงจรการนอนโดยตรง มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่า ถ้ากินเมลาโทนิน 3 มก. ตอนกลางคืน จะได้ผลดีที่สุดในผู้ชายที่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า และคนที่มีอาการเสียงดังในหูทั้ง 2 ข้าง [34]
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 7:

เปลี่ยนอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติก็ไม่ควรกินเค็มจัดเกินไปอยู่แล้ว เพราะทำให้ความดันสูงได้ จนเกิดอาการเสียงดังในหู [35]
  2. เพราะไม่ผ่านการปรุงรส เลยไม่เค็มและหวานเกินไป (ไม่ปรุงรสจัด) และมีไขมันอิ่มตัวน้อย นอกจากนี้ให้กินผักผลไม้เยอะๆ ด้วย [36]
  3. เพราะทั้งกาแฟ แอลกอฮอล์ และนิโคติน เป็นปัจจัยต้นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการเสียงดังในหู [37] เพราะงั้นให้ลดหรืองดไปเลยจะดีที่สุด แม้จะยังไม่มีหลักฐานรองรับชัดเจนว่าทำไม 3 อย่างนี้ถึงกระตุ้นให้เกิดอาการเสียงดังในหูต่างกันออกไปในแต่ละคนก็ตาม อย่างที่บอกว่าอาการเสียงดังในหูนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางทีก็ไม่พบสาเหตุชัดเจน คุณจึงควรสังเกตอาการตัวเองไว้ เพราะบางคนบริโภค 3 อย่างนี้แล้วอาจไม่ถูกกระตุ้นก็ได้
    • การลด 3 อย่างที่ว่าบางทีก็ไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการเสียงดังในหูที่เป็นอยู่ อย่างงานวิจัยหนึ่งก็ชี้ว่าคาเฟอีนไม่ได้ก่อให้เกิดอาการเสียงดังในหู [38] ส่วนอีกงานวิจัยชี้ว่าแอลกอฮอล์อาจช่วยบรรเทาอาการเสียงดังในหูของผู้ป่วยสูงอายุด้วยซ้ำไป [39]
    • ยังไงลองลดปริมาณดูก่อน แล้วเฝ้าระวังว่าถ้าดื่มกาแฟ ดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ในปริมาณไม่มากแล้วมีอาการยังไงบ้าง ถ้ามีอาการอยู่แล้วก็ให้สังเกตว่าอาการคงเดิม บรรเทาลง หรือรุนแรงยิ่งขึ้น ถ้าอาการหนักขึ้น ก็แน่นอนว่าควรงด 3 อย่างนี้ที่เป็นตัวกระตุ้นไปเลย
    โฆษณา
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 7:

พบนักจิตบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองใช้ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (cognitive behavioral therapy) และการฝึกรับมือกับอาการเสียงดังในหู (tinnitus retraining therapy). ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (cognitive behavioral therapy (CBT)) เป็นการรักษาโดยใช้เทคนิคอย่างการปรับเปลี่ยนวิธีคิด (cognitive restructuring) และการผ่อนคลาย (relaxation) เพื่อให้เวลามีอาการเสียงดังในหูแล้วรู้วิธีรับมือ ส่วน tinnitus retraining therapy เป็นการวิธีทางเลือกช่วยให้คุณลดความไว (desensitize) ต่อเสียงดังในหูลง
    • นักบำบัดจะแนะนำวิธีการต่างๆ ในการปรับตัวและรับมือกับเสียงดังในหูให้คุณ เป็นช่วงของการบำบัดที่เรียกว่า habituation หรือการสร้างความเคยชิน ให้คุณเลิกใส่ใจเสียงดังในหูได้ในที่สุด นักบำบัดจะให้ความรู้เรื่องอาการเสียงดังในหูของคุณ และสอนเทคนิคต่างๆ ในการผ่อนคลาย ให้คุณยอมรับและรับมือกับอาการเสียงดังในหูได้อย่างเห็นผล [40]
    • บางความเห็นก็ว่าเทคนิคนี้ไม่ได้ช่วยเรื่องลดระดับเสียงดังในหูลง แต่เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ป่วยให้รู้จักรับมือ อยู่กับเสียงนั้นให้ได้มากกว่า บำบัดแล้วจะซึมเศร้าและวิตกกังวลน้อยลง หลายรายก็ว่าใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกว่าที่เคย [41]
    • ในการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ หลายคนก็ลงความเห็นว่าถ้าบำบัดด้วยเสียง (ใช้เสียงบรรยากาศกลบ) ควบคู่ไปกับความคิดและพฤติกรรมบำบัด (CBT) จะเห็นผลโดยรวมดีกว่า [42]
    • อีกงานวิจัยเป็นการรวบรวมข้อมูลจาก 9 แหล่งที่เชื่อถือได้ เกี่ยวกับการประเมินผลการฝึกรับมือกับอาการเสียงดังในหูร่วมกับความคิดและพฤติกรรมบำบัด โดยในแต่ละการประเมินมีการให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบและได้มาตรฐานรับรอง พบว่าการบำบัดทั้ง 2 แบบนั้นช่วยบรรเทาอาการเสียงดังในหูได้อย่างเห็นผลพอๆ กัน [43]
  2. บางทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหมู่ผู้ป่วยก็ได้ผลกว่า [44] โดยเฉพาะถ้ามีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลร่วมด้วย
    • กลุ่มบำบัดนี้น่าจะช่วยให้คุณยอมรับและรับมือกับอาการที่เป็นอยู่ได้ดีขึ้น
  3. อาการวิตกกังวลและซึมเศร้านั้นเกี่ยวข้องกับอาการเสียงดังในหูอย่างแยกไม่ได้ เพราะอาจเป็นสาเหตุซึ่งกันและกัน ถ้าคุณมีอาการอย่างที่ว่า ขอให้ไปตรวจรักษาให้ตรงจุดจะดีกว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักเริ่มซึมเศร้าและวิตกกังวลก่อนมีอาการเสียงดังในหู แต่บางทีก็สลับกัน [45] ยิ่งคุณรับการรักษาทั้ง 3 อาการนี้เร็วแค่ไหน ก็ยิ่งรู้สึกดีและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้นเท่านั้น [46]
    • อาการเสียงดังในหูมักทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิจดจ่ออยู่กับอะไรได้นานๆ ตรงนี้แหละที่คุณจะได้ประโยชน์เต็มๆ หากเลือกรักษาด้วยความคิดและพฤติกรรมบำบัด เพราะจะได้รับข้อมูลและเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการรับมือ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองรักษาดูหลายๆ แบบจนกว่าจะเจอวิธีที่ใช่ tinnitus หรือเสียงดังในหูเป็นอาการ ไม่ใช่โรค เพราะฉะนั้นเลยเกิดได้จากหลายปัจจัย (เช่น เป็นอาการของโรคอื่นๆ) บางวิธีก็ใช้ได้ผลดีกับบางคนเท่านั้น หรือบางทีก็ต้องใช้หลายวิธีควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งถอดใจ ถ้าวิธีแรกไม่ได้ผลก็ลองวิธีใหม่ จนกว่าจะอาการดีขึ้นในที่สุด
โฆษณา
  1. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tinnitus/symptoms-causes/syc-20350156
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tinnitus/basics/treatment/con-20021487
  3. https://www.ata.org/managing-your-tinnitus/treatment-options/hearing-aids
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tinnitus/basics/treatment/con-20021487
  5. https://www.ata.org/understanding-facts/measuring-tinnitus
  6. http://www.livescience.com/38547-what-is-brown-noise.html
  7. http://www.prevention.com/health/sleep-energy/how-pink-noise-makes-better-sleep
  8. https://www.ata.org/managing-your-tinnitus/treatment-options/hearing-aids
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23936599
  10. http://www.nytimes.com/2010/01/05/science/05obhear.html?ref=science
  11. Ganz Sanchez,T., Bezerra Rocha, C., Diagnosis and management of somatosensory tinnitus: review article. Clinics (Sao Paulo) 2011 June; 66(6): 1089–1094.
  12. DeVocht, JW., Goertz, CM.,Hondras,MA., Long, CR., Schaeffer,W. Thomann, L., Spector, M., Stanford, CM. A pilot study of a chiropractic intervention for management of chronic myofascial temporomandibular disorder. J Am Dent Assoc. 2013 October; 144(10): 1154–1163
  13. DeVocht, JW., Goertz, CM.,Hondras,MA., Long, CR., Schaeffer,W. Thomann, L., Spector, M., Stanford, CM. A pilot study of a chiropractic intervention for management of chronic myofascial temporomandibular disorder. J Am Dent Assoc. 2013 October; 144(10): 1154–1163
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3081245/
  15. http://www.pacificcollege.edu/acupuncture-massage-news/press-releases/642-traditional-chinese-medicine-for-tinnitus.html
  16. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/aldosterone
  17. https://www.urmc.rochester.edu/news/story/1022/hormone-linked-to-good-hearing-as-we-age.aspx
  18. http://www.pnas.org/content/107/3/1207.abstract
  19. http://www.webmd.com/heart-disease/heart-failure/tc/coenzyme-q10-topic-overview
  20. Khan, M., Gross J, Haupt H, Jainz A, Niklowitz P, Scherer H, Schmidt FP, Klapp BF, Reisshauer A, Mazurek B., A pilot clinical trial of the effects of coenzyme Q10 on chronic tinnitus aurium. Otolaryngol Head Neck Surg. 2007 Jan;136(1):72-7.
  21. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/14651858.CD003852.pub3/full
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3157487/
  23. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12757407
  24. http://ods.od.nih.gov/factsheets/Zinc-HealthProfessional/#h4
  25. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21859051
  26. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23827090
  27. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23827090
  28. https://www.ata.org/managing-your-tinnitus/treatment-options/hearing-aids
  29. http://www.tinnitus.org.uk/drugs-food-and-drink
  30. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23827090
  31. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3493359/
  32. Cima RF, Andersson G, Schmidt CJ, Henry JA., Cognitive-behavioral treatments for tinnitus: a review of the literature. J Am Acad Audiol. 2014 Jan;25(1):29-61.
  33. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23827090
  34. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25417546
  35. https://www.ata.org/managing-your-tinnitus/support-network/support-group-listing
  36. http://tinnitus.org.au/What-Is-Tinnitus
  37. https://www.ata.org/managing-your-tinnitus

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,830 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา