ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

hematoma คือการมีเลือดขังใต้ผิวหนังบางส่วน จนทำให้ผิวเป็นสีเขียวออกแดง ดูบวมช้ำ มักเกิดจากการถูกของแข็งไม่มีคมกระแทก จนหลอดเลือดรั่วหรือแตก ถ้ามีก้อนเลือดขังเป็นจำนวนมากถือว่าอันตราย เพราะจะไปกดทับหลอดเลือด กีดขวางการไหลเวียนของเลือด ถ้าไปหาหมอได้จะดีที่สุด แต่จริงๆ แล้วคุณก็ดูแลตัวเองได้เมื่อมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ว่าแล้วก็ไปอ่านขั้นตอนแรกของบทความวิกิฮาวนี้กันเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวหรือใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้น จะทำให้เกิดการระคายเคืองและเพิ่มแรงกดทับที่เนื้อเยื่ออ่อน กระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบ เพราะงั้นถ้าเป็นไปได้ต้องพักผ่อน อยู่เฉยๆ สัก 48 ชั่วโมงก่อนจะดีกว่า [1]
    • นอนพักในท่า normal anatomical position (คือนอนหงายเหยียดตรง ฝ่ามือและเท้าชี้ไปข้างหน้าตามปกติ) จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว และป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม โดยเฉพาะใครบาดเจ็บที่แขนขาหรือข้อ
  2. คือภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ ให้ใช้เจลแพ็คหรือถุงน้ำแข็งห่อผ้า ประคบบริเวณที่บาดเจ็บทันทีที่แสดงอาการเลือดออกใต้ผิวหนัง อุณหภูมิต่ำช่วยลดการไหลเวียนของเลือดได้ เลือดเลยไม่คั่งใต้ผิวหนังเพิ่ม แต่อย่าประคบนานเกิน 15 - 20 นาที ไม่งั้นความเย็นจะกัดผิวหรือเนื้อเยื่อได้ [2]
    • เอาน้ำแข็งห่อผ้า (18 - 27°C/64 - 80°F) แล้วประคบบริเวณที่บาดเจ็บครั้งละ 10 นาที ทำซ้ำได้ตามที่จำเป็น (4 - 8 ครั้งต่อวัน) เพื่อลดอุณหภูมิของผิวบริเวณนั้น 10 - 15°C
    • อุณหภูมิเย็นจัดทำให้หลอดเลือดหดตัว (vasoconstriction) ช่วยลดอาการบวมและห้อเลือด ถ้าประคบเย็นให้หลอดเลือดหดตัวตั้งแต่เป็นแรกๆ จะช่วยให้ไม่เลือดออกใต้ผิวหนังเพิ่ม เลือดไม่ขังเป็นวงกว้าง
    • รวมถึงช่วยลดอัตราการเผาผลาญของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น เลยลดความเสี่ยงการเกิด “hypoxia” หรือภาวะพร่องออกซิเจนจนเซลล์เสียหาย
  3. จะช่วยได้เยอะโดยเฉพาะบริเวณแขนขา ถ้ายกบริเวณที่มีก้อนเลือดขังสูงไว้ จะทำให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณนั้นน้อยลง ทำให้ก้อนเลือดไม่ขยายเป็นวงกว้าง [3] ให้รองบริเวณที่บาดเจ็บด้วยหมอนหรือผ้าห่มหนาๆ จะยกสูงได้สะดวกสบายขึ้น
    • บริเวณที่บาดเจ็บต้องสูงกว่าระดับหัวใจ
  4. ใช้แผ่นประคบร้อนหรือผ้าแช่ในน้ำอุ่น [4] โดยใช้ความร้อนประมาณ 37 - 40°C (98 - 104°F) ตรงข้ามกับการประคบเย็น การประคบร้อนจะดีต่อระยะฟื้นตัวมากกว่า เพราะช่วยขยายหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนเลือดและสารอาหารที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมร่างกาย
    • การกำซาบ (perfusion) หรือกระบวนการขนส่งสารอาหารจากหลอดเลือดแดงไปยังแขนงหลอดเลือดฝอยในเนื้อเยื่อ พอสะดวกและมากขึ้น ก็จะช่วยระบายน้ำเหลืองหรือของเสียจากการอักเสบ ออกไปจากบริเวณที่บาดเจ็บ ทำให้หายไวขึ้น
    • นอกจากนี้ความร้อนยังลดอาการปวด เพราะทำให้รู้สึกสบายขึ้น
    • คำเตือน: ห้าม ประคบร้อนตอน เพิ่งบาดเจ็บ ใหม่ๆ เพราะจะไปขยายหลอดเลือด ยิ่งเป็นอันตราย
    • กดแผ่นประคบเบาๆ ให้อยู่กับที่ และอย่าบีบนวดบริเวณที่บาดเจ็บ เพราะทั้งหมดนี้จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดยิ่งสูบฉีดไหลเวียน เป็นอันตรายต่อชีวิต
  5. พอผ่านช่วงต้นของอาการบาดเจ็บไปแล้ว ให้เริ่มทำกิจกรรมขยายหลอดเลือด. หรือก็คือ หลัง บาดเจ็บไปได้ 24 - 48 ชั่วโมง ต่อไปนี้คือกิจกรรมที่แนะนำให้ทำเพื่อรักษาอาการเลือดคั่งใต้ผิวหนัง
    • แช่น้ำอุ่น - แช่น้ำอุ่นจัด นอกจากสบายตัวแล้วยังช่วยขยายหลอดเลือดแบบเดียวกับการประคบร้อน ลดอาการปวดบวม และสลายก้อนเลือดบริเวณที่บาดเจ็บได้ เพราะเลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น
    • ออกกำลังกายแบบ Isometric - คือเกร็งกล้ามเนื้อทั้ง 2 ส่วน (flexors (งอ) และ extensors (เหยียด)) เฉพาะบริเวณนั้น การเกร็งกล้ามเนื้อแบบนี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดกลับไปยังหัวใจ โดยหลอดเลือดจะหดรัดเป็นจังหวะ เลือดเลยไหลเวียนสะดวกขึ้น
  6. ถ้ารู้สึกปวด ก็ใช้ยาแก้ปวดพวก acetaminophen (Tylenol) [5] อย่าใช้ Ibuprofen หรือแอสไพริน เพราะมันจะป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว ทำให้เลือดออกนานขึ้น ทานยาตามที่แนะนำบนฉลาก
  7. 7
    ใช้วิธี RICE ในการรักษา. RICE ย่อมาจาก Rest, Ice, Compress, Elevate พักการใช้งานบริเวณที่บาดเจ็บเท่าที่จะทำได้ และประกบน้ำแข็งบ่อยๆ ในช่วง 48 ชั่วโมงแรกเพื่อลดอาการอักเสบ เวลาที่ไม่ได้ประคบน้ำแข็ง ก็ให้ใช้พลาสเตอร์รัดรอบแผล (อย่าติดจนแน่นชนิดเลือดไหลเวียนไม่ได้) ลดอาการบวมให้เหลือน้อยที่สุดโดยการยกส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่เหนือระดับหัวใจ (เช่น นอนบนเตียงแล้วหนุนบริเวณที่บาดเจ็บด้วยหมอน) [6]
    • อย่านวดแผลหรือจุดที่มีเลือดขัง มันจะทำให้เม็ดเลือดแตกตัวเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาด้วยอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะดีต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ [7] แหล่งอาหารที่อุดมโปรตีนมักมาจากสัตว์มากกว่าพืช ต่อไปนี้คือตัวอย่างแหล่งโปรตีน เรียงตามความมากน้อยของคุณค่าทางชีวภาพ (โปรตีนที่ดูดซึมเข้าร่างกายได้ง่าย)
    • เวย์โปรตีน
    • ปลาทูน่า
    • ปลาแซลมอนธรรมชาติ
    • ปลาฮาลิบัท
    • ไข่ดาวน้ำ
    • อกไก่งวง
    • คอทเทจชีส
  2. ถ้าขาดวิตามินบี 12 (Cobalamin) จะทำให้ผิวช้ำง่าย, เป็นโลหิตจางชนิดร้ายแรง และเลือดไม่ค่อยแข็งตัว [8] พบมากในคนที่กินมังสวิรัติ เพราะอาหารจากพืชไม่มีวิตามินบี 12 เว้นแต่จะ fortified หรือเพิ่มเติมเข้าไปเอง ถ้าคุณกินมังสวิรัติหรือกินเจ ควรกินวิตามินเสริมด้วย
    • วิตามินบี 12 มักพบตามธรรมชาติในอาหารจากสัตว์หลายประเภท เช่น เครื่องใน (ตับวัว), สัตว์น้ำเปลือกแข็ง (หอยลาย) เนื้อ นมและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ไข่ สัตว์ปีก ซีเรียล และ nutritional yeast คือยีสต์ที่ไม่ active แล้ว มีคุณค่าทางอาหารสูง
  3. ถ้าในแต่ละวันร่างกายได้รับวิตามินซีเพิ่ม (กรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid)) 500 มก. จะช่วยให้ซ่อมแซมและฟื้นฟูเนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะผนังหลอดเลือด [9]
    • แหล่งอาหารที่อุดมวิตามินซี ก็เช่น มะละกอ พริกหวาน บร็อคโคลี่ สตรอว์เบอร์รี่ สับปะรด กะหล่ำดอก และส้ม [10]
    • ปกติถ้าคุณกินอาหารครบหมู่อยู่แล้ว ก็น่าจะได้รับทั้งสารอาหารหลักและสารอาหารรองอย่างเพียงพอ คุณหมอจะแนะนำให้กินวิตามินหรืออาหารเสริมก็ต่อเมื่อผู้ป่วยขาดสารอาหารหรือตั้งครรภ์เท่านั้น
  4. ถ้าขาดวิตามินเค (K1 phylloquinone และ K2 menaquinone) อาจเพราะร่างกายดูดซึมไขมันได้ไม่ดี และ/หรือเกิดจากการกินยาปฏิชีวนะ จะทำให้เลือดไม่ค่อยแข็งตัว และตกเลือดได้ [11]
    • แหล่งอาหารที่อุดมวิตามินเค ก็เช่น ชาเขียว ผักใบเขียว (เช่น ผักสวิสชาร์ด, ผักเคล, ผักชีฝรั่ง และปวยเล้ง) บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว ตับ น้ำมันถั่วเหลือง และรำข้าวสาลี
    • ผลิตภัณฑ์นมหมัก เช่น โยเกิร์ต ชีส และถั่วเหลืองหมัก เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ หรือถั่วหมัก ทำให้ร่างกายได้ Menaquinone
  5. อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำให้เยอะๆ แล้วเดี๋ยวดีเอง [12] หิวน้ำเมื่อไหร่ให้รีบดื่ม ดื่มให้ได้อย่างน้อย 1.5 - 2 ลิตรต่อวัน (ตามแต่ขนาดตัว) [13]
    • น้ำเปล่านี่แหละสุดยอดเครื่องดื่ม รองลงมาคือน้ำผลไม้แท้แบบไม่แต่งรสหวานหรือเติมน้ำตาล และชาที่ไม่มีคาเฟอีน
    • ดื่มแค่พอประมาณ เน้นดื่มน้ำเข้าไว้แม้ไม่กระหายแล้ว แต่อย่าดื่มมากกินไปเพราะทำให้เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
  6. ขมิ้น/ขมิ้นชัน (Turmeric) มีสรรพคุณต้านอักเสบและฆ่าเชื้อ ป้องกันทั้งการอักเสบและติดเชื้อในบริเวณที่มีก้อนเลือดขังได้ [14] นอกจากนี้ยังมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี และเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง ก้อนเลือดก็จะละลายกลับเข้าระบบได้สะดวกขึ้น
    • ให้ละลายผงขมิ้นชัน 1 ช้อนชาในนมสด 1 แก้ว แล้วดื่มทุกวัน หรือใช้แต่งรสอาหารทำเอง จนก้อนเลือดสลายไป
    • ขมิ้นชันขึ้นชื่อเรื่องมีสรรพคุณทางยา แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรอง ถ้าจะใช้ ควรร่วมกับวิธีอื่นด้วย [15]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ประเมินอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คำว่า hematoma คือมีก้อนเลือดขังอยู่นอกหลอดเลือด แต่ใต้ผิวหนังหรืออยู่ระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของร่างกาย [16] ส่วนใหญ่ที่พบคือเลือดออกใต้เนื้อเยื่อ ถ้าเลือดออกเป็นวงกว้างเกิน 10 มล. ถือว่าเป็นจ้ำเลือด (ecchymosis) [17] hematoma มีหลายประเภทด้วยกัน แล้วแต่บริเวณที่พบในร่างกาย แต่ชนิดที่พบบ่อยคือ
    • Subdermal hematoma คือเลือดออกใต้ผิวหนัง
    • Cephalohematoma คือมีก้อนเลือดใต้หนังศีรษะ (ระหว่างกะโหลกกับเยื่อหุ้มกะโหลก (periosteum))
    • Epidural hematoma คือเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater เป็นเยื่อหุ้มสมองกับไขสันหลัง)
    • Subdural hematomas คือเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง ระหว่างชั้นนอกกับชั้นกลาง (arachnoid mater เป็นเยื่อหุ้มสมองชั้นที่ 2)
    • Subarachnoid hematoma คือเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) กับเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
    • Perianal hematoma คือก้อนเลือดขังด้านในหรือรอบทวารหนัก
    • Subungual hematoma คือเล็บห้อเลือด เป็นชนิดที่พบบ่อย
  2. ก้อนเลือดขังแล้วจะมีอาการยังไง จะต่างกันไปตามตำแหน่งของร่างกายและขนาดของก้อนเลือด แต่อาการที่พบบ่อยก็คือ [18]
    • ปวด - อาการเจ็บปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดเวลามีก้อนเลือดขัง เพราะเนื้อเยื่อบริเวณนั้นอักเสบ
    • บวม - ถ้าเลือดท่วมเนื้อเยื่อ ก็แน่นอนว่าจะอักเสบ สุดท้ายเลยบวมเป่ง
    • แดง - ที่มีก้อนเลือดขังแล้วผิวออกแดง เพราะเลือดคั่งใต้ผิวหนังบริเวณนั้น (subdermal hematoma) รวมถึงเพราะอาการอักเสบด้วย
    • ปวดหัวและมึนงง - ในเคสที่เป็น subdural hematoma (เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง) เลือดจะไปกดทับ เกิดการอักเสบที่เนื้อเยื่อโดยรอบ จนปวดหัว ตามมาด้วยอาการสับสนมึนงง เพราะก้อนเลือดเริ่มกดทับเส้นประสาทในหัว
    • อาการเลือดขังภายในสามารถทำให้เกิดอาการร้ายแรงหลายอย่าง เช่น ปวดศีรษะและมึนงง หมดสติ หรือแขนขาอ่อนแรง ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้ไปพบแพทย์ในทันที
  3. หนึ่งในสาเหตุยอดนิยมที่ทำให้เกิดก้อนเลือดขัง ก็คือแรงกระแทกจนเกิดอาการบาดเจ็บ เวลาคุณเล่นกีฬาที่ต้องถึงเนื้อถึงตัว อย่างศิลปะการต่อสู้ ชกมวย หรือรักบี้ ก็มักมีกระทบกระทั่งกันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่สาเหตุอื่นก็มีเหมือนกัน เช่น [19]
    • มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือด เช่น ฮีโมฟีเลีย (ห้ามเลือดยาก) และโรค Von Willebrand’s disease
    • กินยาที่มีผลต่อเลือด เช่น แอสไพริน หรือ วาร์ฟาริน
    • ขาดวิตามินสำคัญบางตัว เช่น วิตามินซี, บี12, หรือเค
    • อายุ ผู้สูงอายุมีผิวบอบบางกว่า ทำให้เสี่ยงจะเกิดแผลหรือเลือดขังได้
  4. ก้อนเลือดขังบางชนิดต้องผ่าตัดเพื่อระบายออก คุณหมอจะเป็นคนแนะนำให้คำปรึกษาเองว่าเหมาะจะใช้รักษาเคสของคุณหรือเปล่า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บทความนี้จะกล่าวถึงเคสที่มีก้อนเลือดขังแบบอาการไม่รุนแรง จากการที่เนื้อเยื่ออ่อนบาดเจ็บเล็กน้อย แนะนำให้อ่านเป็นความรู้ และไปตรวจรักษากับคุณหมอให้ตรงจุดเพื่อความปลอดภัย
โฆษณา

คำเตือน

  • ไปพบแพทย์ทันทีถ้าอาการปวดทวีมากขึ้น หรือมีอาการบวมขึ้น หรือคุณรู้สึกชา ปวด หรือบริเวณใต้ก้อนเลือดขังเกิดซีด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 33,004 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา