ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

"ไข้" หรือ fever ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการหรือสัญญาณที่บอกว่าร่างกายกำลังต่อสู้ ขับไล่โรคหรือเชื้อบางอย่างอยู่ เราไม่แนะนำให้ลดไข้จนต่ำมากหรือหายไปเลย เพราะจะไปขัดขวางกระบวนการรักษาตัวเองของร่างกาย ซึ่งจำเป็นต่อการกำจัดไวรัสหรือแบคทีเรีย บางโรคพอเป็นไข้แล้วก็ควรปล่อยไปก่อน (ถ้าไข้ไม่สูงเกินไป) ไม่ก็หาหมอเพื่อตรวจรักษาโรคอันเป็นสาเหตุ ถ้าคุณมีไข้สูงจนไม่สบายตัว หรือกลัวจะสูงจนเป็นอันตราย บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการลดไข้ให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ดูแลตัวเองดีๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาเป็นไข้เรามักรู้สึกหนาว แต่จริงๆ แล้วอุณหภูมิร่างกายกลับสูงกว่าปกติ ต้องลดอุณหภูมิลงถึงจะรู้สึกอุ่นขึ้น ลองระบายความร้อนส่วนเกินของร่างกายโดยสวมใส่เสื้อผ้าบางๆ ดู หรือห่มผ้าบางๆ ไม่ก็ใช้ผ้าปูที่นอนแทน [1]
    • ถ้าเป็นไข้แล้วยิ่งใส่เสื้อกันหนาวหรือห่มผ้าหนาๆ อาจเป็นอันตรายได้ เพราะอุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นกว่าเดิม
  2. ถ้าอุณหภูมิห้องสูงเกินไป จะทำให้ร่างกายระบายความร้อนส่วนเกินไม่ได้ แต่ก็อย่าปรับจนหนาวไป ที่เป็นไข้จนหนาวสั่น เพราะร่างกายเพิ่มอุณหภูมิภายในสูงขึ้น ถ้าห้องก็หนาวอีกต่อ อาจเป็นไข้หนักกว่าเดิม [2]
    • ถ้าห้องร้อนจนอึดอัด หายใจไม่ค่อยออก ต้องเปิดหน้าต่างหรือเปิดพัดลม
  3. ประคบให้ผิวชื้น จะช่วยลดไข้ได้ แต่ระวังอย่าปล่อยให้ร่างกายเย็นลงเกินไป ให้ประคบผ้าเปียกบิดหมาดที่หน้าผากและแขนขา หรือใช้ฟองน้ำชุบน้ำอุ่นมาประคบตามตัว ให้ใช้น้ำอุ่นนิดๆ หรืออุณหภูมิห้อง จะได้ไม่หนาวสั่นตอนประคบหรือเช็ดตามตัว [3]
    • ถ้าเด็กมีไข้ ให้เช็ดตัวด้วยฟองน้ำแบบเดียวกัน
    • คุณอาจจะเคยอ่านผ่านตามา ว่ามีคนแนะนำให้เอาแอลกอฮอล์ล้างแผลมาทาผิว จะช่วยลดไข้ได้ แต่บอกเลยว่าแอลกอฮอล์จะซึมลงผิว จนเกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (alcohol poisoning) ได้ เพราะงั้นใช้น้ำอย่างเดียวดีกว่า!
  4. ถ้าไข้สูงจนไม่สบายตัว ให้ซื้อยาลดไข้กินเองได้ เช่น acetaminophen (Tylenol) หรือ ibuprofen อย่าลืมอ่านรายละเอียดที่ฉลากยาให้ดี จะได้ไม่กินยาเกินขนาด [4]
    • Acetaminophen กินแล้วช่วยลดไข้ รวมถึงอาการปวด และอาการข้างเคียงต่างๆ ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องตับ อย่าใช้ยา acetaminophen โดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อน
    • แอสไพรินก็ใช้ลดไข้ได้ แต่ต้องใช้เฉพาะในผู้ใหญ่ ห้ามให้เด็กกิน เพราะมักเป็นสาเหตุของโรคอันตรายอย่าง Reye's syndrome [5]
    • ยาพวกนี้กินแล้วจะสบายตัวขึ้น แต่ไม่ได้รักษาโรคอันเป็นสาเหตุทำให้คุณมีไข้ ถ้าสงสัยว่าตัวเองน่าจะติดเชื้อแบคทีเรีย สำคัญมากว่าต้องรีบไปหาหมอเพื่อตรวจรักษา และกินยาตามที่หมอสั่ง
  5. ร่างกายกำลังต่อสู้กับโรคต่างๆ ภายใน เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องช่วยอีกแรงโดยนอนหลับพักผ่อนให้มากๆ ไม่ได้แปลว่าต้องนอนอยู่บนเตียงทั้งวัน แต่อย่าทำอะไรให้ร่างกายเหนื่อยหรืออ่อนเพลียก็พอ [6]
    • ทางที่ดีให้หยุดงานและลาโรงเรียน จะได้พักผ่อนเต็มที่ แถมไม่พาเชื้อไปติดเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนร่วมชั้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ดื่มน้ำและกินอาหารอย่างเหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอมีไข้แล้วร่างกายมักขาดน้ำ ทำให้มีอาการต่างๆ ตามมา ถ้าดื่มน้ำเยอะๆ จะทำให้รู้สึกดีขึ้น ร่างกายก็ต่อสู้กับเชื้อโรคได้ง่ายกว่าเดิม [7]
    • ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย ถึงจะรู้ว่าต้องดื่มน้ำมากแค่ไหน รวมถึงน้ำหนักตัวและความหนัก-เบาของกิจกรรมที่ทำด้วย แต่ปกติผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำ 9 - 13 แก้วต่อวัน [8]
    • น้ำเปล่านี่แหละดีต่อร่างกายที่สุด แต่จะดื่มน้ำผลไม้ เครื่องดื่มเกลือแร่เจือจาง (น้ำ 1 ส่วนต่อเครื่องดื่มเกลือแร่ 1 ส่วน) หรือใช้ผงเกลือแร่อย่าง Pedialyte ก็ได้
  2. เน้นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและย่อยง่าย ร่างกายจะได้แข็งแรง หายป่วยและฟื้นตัวเร็ว ให้เน้นผักผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด [9]
    • โปรตีนไขมันต่ำและไขมันดีจากแหล่งอาหารอย่างน้ำมันมะกอกก็สำคัญมาก
    • กินอาหารที่มีโปรไบโอติกส์ (probiotics) ตามธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต ร่างกายจะสู้กับเชื้อโรคได้ดีกว่าเดิม
    • อาจจะกินอาหารเสริมหรือวิตามินรวมด้วย สุขภาพโดยรวมจะได้แข็งแรง ไม่ก็กินวิตามินซี กับกรดไขมันโอเมก้า-3 จะได้เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ แต่ทางที่ดีให้ปรึกษาคุณหมอก่อน โดยเฉพาะถ้าปกติกินยาอื่นอยู่แล้ว
  3. คือกินอาหารที่เหลวๆ หรือเป็นน้ำบ้าง ไม่ต้องถึงกับงดอาหารปกติไปเลย เพราะจะช่วยเพิ่มน้ำให้ร่างกาย แถมย่อยง่าย ที่แนะนำก็เช่น ไอติมหวานเย็น หรือซุป [10]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ลองใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับ แต่หลายคนก็เชื่อว่าสมุนไพรต่างๆ ทำให้ร่างกายสู้โรคภัยได้ดีมีประสิทธิภาพขึ้น แถมช่วยลดอาการอักเสบ ให้ซื้อชาที่มีส่วนผสมที่มีประโยชน์ หรือชงชาเองซะเลย โดยแช่สมุนไพรในน้ำ หรือชงจากสมุนไพรแบบผง ต่อไปนี้คือสมุนไพรที่กินแล้วช่วยลดไข้ได้ [11]
    • ชาเขียว
    • ต้นเล็บแมว (Cat's claw)
    • เห็ดหลินจือ
    • Milk thistle (ตระกูลเดซี่)
    • ฟ้าทะลายโจร
  2. ถ้าเป็นไข้แบบไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือหาหมอ ให้ลองรักษาโดยใช้ยาแบบ homeopathic คือกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันรักษาตัวเอง ถึงจะเป็นยาจากธรรมชาติ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าได้ผลแค่ไหนหรือปลอดภัยไหม เพราะงั้นควรปรึกษาคุณหมอก่อนว่าเคสของคุณใช้ได้ไหม ต่อไปนี้คือส่วนผสมที่ใช้ลดไข้ได้ตามธรรมชาติ [12]
    • โหราเดือยไก่ (Aconitum)
    • ผึ้ง (Apis mellifica)
    • Belladonna (ตระกูลมะเขือ)
    • Bryonia (ตระกูลน้ำเต้า)
    • Ferrum Phosphoricum
    • Gelsemium (เป็นพืชมีพิษ)
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รักษาโรคต้นเหตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะหาวิธีลดไข้ได้เหมาะสมตรงจุดที่สุด ต้องรู้สาเหตุว่าอะไรทำให้คุณไข้ขึ้นซะก่อน มีอาการอะไรจดไว้ให้หมด แต่ถ้าอาการต่างไปจากโรคหรือไวรัสทั่วไป เช่น เจ็บคอหรือเจ็บหู ก็ควรไปหาหมอเพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติม [13]
    • ไปหาหมอด่วน ถ้ามีอาการสับสน มึนงง หายใจหรือเคลื่อนไหวลำบาก ปากหรือเล็บเขียว ชักเกร็ง คอแข็ง หรือปวดหัวรุนแรง
    • ถ้าเด็กมีไข้สูง อาจกระตุ้นให้เกิด febrile seizure หรือไข้ชักได้ ถึงปกติจะไม่อันตราย และไม่ได้เป็นสัญญาณบอกโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า แต่ก็ควรพาลูกไปหาหมอตั้งแต่ชักครั้งแรก ถ้าชักนานเกิน 2 - 3 นาทียิ่งต้องเรียกรถพยาบาล หรือขับรถพาลูกไปแผนกฉุกเฉินทันทีหลังเด็กหยุดชัก [14]
  2. ถ้าหมอตรวจแล้วพบว่าติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น คออักเสบ (strep throat) หรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection) มักจ่ายยาปฏิชีวนะให้ ถ้ากินตามที่คุณหมอสั่ง ไข้และอาการอื่นๆ ก็จะหายไปใน 2 - 3 วัน [15]
    • อย่าใช้ยาปฏิชีวนะถ้าป่วยเพราะเชื้อไวรัส เช่น หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เพราะใช้รักษาอาการจากไวรัสไม่ค่อยได้
    • กินยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่คุณหมอสั่ง ถึงจะอาการดีขึ้นแล้วก็ยังต้องกินจนหมด จะได้แน่ใจว่าไม่เหลือแบคทีเรีย แถมป้องกันไม่ให้ร่างกายดื้อยา
  3. ปกติเป็นไข้ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร แต่จะอันตรายก็ต่อเมื่อไข้สูงเกินไป หรือไข้ขึ้นต่อเนื่องไม่ยอมลง ถ้าคุณหรือลูกมีอาการแบบนี้ต้องรีบหาหมอทันที [16]
    • ถ้าเป็นเด็กอายุไม่เกิน 3 เดือน ให้พาไปหาหมอถ้ามีไข้ 38°C (ประมาณ 100°F) ขึ้นไป
    • ถ้าเป็นเด็กอายุ 3 - 12 เดือน ให้พาไปหาหมอถ้ามีไข้ 39°C (ประมาณ 102°F) ขึ้นไป
    • ถ้าเป็นเด็กโต ไปจนถึงผู้ใหญ่ ควรไปหาหมอถ้ามีไข้ 40.6°C (ประมาณ 105°F) ขึ้นไป และไม่ลดลงทั้งๆ ที่รักษาตัวเองด้วยวิธีต่างๆ แล้ว
    • ถ้ามีไข้สูงเกิน 42°C (ประมาณ 107°F) ต่อเนื่องนานๆ อาจถึงขั้นช็อคหรืออันตรายต่อสมองได้ถ้าไม่รีบไปโรงพยาบาล
    • ต้องไปหาหมอเช่นกันถ้าเป็นไข้นานเกิน 48 - 72 ชั่วโมง หรือนานเกิน 24 - 48 ชั่วโมงในกรณีที่เป็นเด็กเล็กไม่เกิน 2 ขวบ
  4. บางทีที่เป็นไข้อาจเพราะโรคแพ้ภูมิตัวเองแบบเรื้อรัง (chronic autoimmune) และอาการอักเสบต่างๆ เช่น โรคพุ่มพวง/โรคแพ้ภูมิตัวเอง (lupus), โรคหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis) วิธีลดไข้จากโรคพวกนี้ ก็คือให้คุณหมอวางแผนรักษาโรคต้นเหตุ [17]
    • ถ้าคุณมีโรคเรื้อรังอะไร ควรไปหาหมอเมื่อมีไข้
    • บางทีการที่คุณมีไข้ ก็เป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงได้ เช่น มะเร็ง เพราะงั้นควรไปหาหมอถ้าเป็นไข้นาน ไม่ยอมหาย
  5. ถ้าเป็นไข้เพราะสภาพแวดล้อม ต้องไปหาหมอทันที. ถ้าคุณเป็นไข้หลังตากแดดนานๆ หรืออยู่ในที่ที่อากาศร้อนจัด อาจเกิดจากภาวะตัวร้อนเกิน (hyperthermia หรือ heat stroke) เพราะร่างกายพยายามระบายความร้อนให้เร็วที่สุด [18]
    • อาการอื่นๆ ของ heat stroke ก็เช่น อ่อนแรง คลื่นไส้ สับสนมึนงง วิงเวียน และอาการทางสมองอื่นๆ
    • คนที่เป็น heat stroke ห้ามรักษาเอง ต้องไปโรงพยาบาลทันที ถ้าไม่แจ้งหน่วยฉุกเฉินก็ต้องให้ใครขับรถไปส่ง
    • ระหว่างรอหมอ ให้พยายามลดอุณหภูมิร่างกาย โดยถอดเสื้อผ้าให้เหลือชั้นเดียวหรือเหลือแต่เสื้อผ้าบางๆ เช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ย้ายไปอยู่ที่เย็นๆ อากาศถ่ายเทสะดวก และดื่มน้ำเย็นเยอะๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าลูกคุณโตพอจะบอกอาการของตัวเองได้ ก็ต้องเก็บรายละเอียดให้ดี ว่าลูกรู้สึกยังไง ไม่สบายตรงไหน
  • ที่คุณมีไข้เพราะร่างกายพยายามกำจัดเชื้อโรคออกไป เพราะงั้นปกติถ้ามีไข้ต่ำๆ ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร ควรหาวิธีลดไข้ก็ต่อเมื่อเป็นไข้สูงจนไม่สบายตัว [19]
  • ถ้าเจ็บคอด้วย ให้ดื่มน้ำอุ่นนิดๆ หรือน้ำอุณหภูมิห้องผสมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ จะบีบมะนาวด้วยก็ดี
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าไข้สูงเกินขนาด ระวังจะอันตรายต่อสมอง แต่ไม่ต้องกังวลถ้าไข้ไม่สูงถึง 42°C (ประมาณ 107°F) [20]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,983 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา