ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แม็กนีเซียมให้ประโยชน์กับร่างกายมากมายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ แต่ในขณะเดียวกันหลายคนก็ไม่ได้บริโภคแม็กนีเซียมมากพอที่จะได้ประโยชน์เหล่านี้ [1] วิธีที่ดีที่สุดที่จะแน่ใจได้ว่าร่างกายของคุณได้รับแม็กนีเซียมที่คุณต้องการก็คือ การรับประทานอาหารที่มีแม็กนีเซียมสูง เช่น ผัก ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วมีฝัก และธัญพืชเต็มเมล็ด แต่ถ้าอาหารที่คุณรับประทานนั้นขาดแม็กนีเซียม คุณอาจจะต้องรับประทานแม็กนีเซียมเสริมทุกวัน เพื่อให้ได้ประโยชน์จากแม็กนีเซียมเสริมมากที่สุด คุณต้องแน่ใจว่าร่างกายของคุณดูดซึมแม็กนีเซียมได้จริงๆ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

กำหนดแม็กนีเซียมที่ร่างกายต้องการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคุณต้องการแม็กนีเซียมเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ [2] แม็กนีเซียมมีส่วนสำคัญในระบบการทำงานที่สำคัญมากมาย ได้แก่ :
    • ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาท
    • รักษาความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ดี
    • สร้างโปรตีน กระดูก และดีเอ็นเอ
    • ควบคุมระดับแคลเซียม [3]
    • ช่วยเรื่องการนอนหลับและการผ่อนคลาย [4]
  2. แม้ว่าแม็กนีเซียมจะมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่บางครั้งร่างกายของเราก็ไม่สามารถดูดซึมแม็กนีเซียมได้อย่างเพียงพอ หลักๆ ก็เพราะว่าหลายคนไม่ได้รับแม็กนีเซียมจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ขัดขวางการดูดซึมแม็กนีเซียมด้วย เช่น :
  3. ปริมาณแม็กนีเซียมที่ร่างกายต้องการนั้นขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และปัจจัยอื่นๆ โดยทั่วไปผู้ใหญ่เพศชายไม่ควรบริโภคแม็กนีเซียมมากกว่า 420 มก. ต่อวัน และผู้ใหญ่เพศหญิงไม่ควรรับประทานเกิน 320 มก. ต่อวัน
    • คุณควรปรึกษาแพทย์ว่าคุณควรได้รับแม็กนีเซียมเท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณคิดว่าคุณอาจจะขาดแม็กนีเซียม
    • คุณต้องเช็กว่ามีแม็กนีเซียมอยู่ในวิตามินรวมที่คุณรับประทานหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้บริโภคแม็กนีเซียมเสริมควบคู่กับวิตามินรวมมากเกินไป แคลเซียมเองก็เช่นเดียวกัน เพราะแคลเซียมมักพบในแม็กนีเซียมเสริมอยู่แล้ว
    • อย่าลืมบอกแพทย์ถึงปัญหาสุขภาพเรื้อรังด้วย เพราะปัญหาสุขภาพอย่างโรคลำไส้แพ้กลูเตนและโรคโครห์นนั้นแทรกแซงการดูดซึมแม็กนีเซียม [8] และอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียแม็กนีเซียมจากการท้องเสียได้
    • ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น เพราะความสามารถในการดูดซึมแม็กนีเซียมของร่างกายจะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น และการขับแม็กนีเซียมออกจากร่างกายก็จะมากขึ้นด้วย [9] นอกจากนี้งานวิจัยยังพบอีกด้วยว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น อาหารที่เรารับประทานก็มักจะมีแม็กนีเซียมน้อยลง และผู้ใหญ่ที่อายุมากก็มักจะรับประทานยาที่ทำปฏิกิริยากับแม็กนีเซียม
    • ปรึกษาแพทย์ก่อนให้เด็กรับประทานแม็กนีเซียมเสริมเสมอ [10]
  4. สังเกตสัญญาณที่บอกว่าคุณได้รับแม็กนีเซียมไม่เพียงพอ. ถ้าคุณขาดแม็กนีเซียมแค่ในช่วงระยะสั้นๆ คุณน่าจะไม่มีอาการอะไรเลย [11] แต่ถ้าคุณได้รับแม็กนีเซียมไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง คุณอาจจะเริ่มมีอาการต่อไปนี้: [12]
    • คลื่นไส้
    • อาเจียน
    • เบื่ออาหาร
    • เหนื่อยล้า
    • กล้ามเนื้อกระตุกและตะคริว
    • ถ้าคุณมีภาวะขาดแม็กนีเซียมอย่างรุนแรง คุณอาจจะเป็นเหน็บหรือชา ชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจถึงขั้นมีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปได้
    • ถ้าคุณมีปัญหาเหล่านี้อยู่เป็นระยะ ให้พบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
  5. ถ้าคุณไม่ได้มีปัญหาด้านสุขภาพที่ทำให้ร่างกายดูดซึมแม็กนีเซียมได้ยาก คุณก็ควรได้รับแม็กนีเซียมอย่างเพียงพอจากอาหารที่ถูกต้อง คุณควรวางแผนการรับประทานอาหารก่อนเริ่มรับประทานแม็กนีเซียมเสริม อาหารที่มีแม็กนีเซียมสูงได้แก่ : [13]
    • ถั่วเปลือกแข็งอย่างอัลมอนด์หรือถั่วบราซิล
    • เมล็ดพืช เช่น เมล็ดฟักทองและเมล็ดทานตะวัน
    • ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้
    • ปลา เช่น ปลาเล็กปลาน้อย และปลาทูน่า
    • ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักปวยเล้ง ผักคะน้า และผักสวิสชาร์ด
    • กล้วย
    • ช็อกโกแลตและผงโกโก้
    • เครื่องเทศหลายชนิด เช่น ผักชี ยี่หร่า และเสจ
  6. ถ้าคุณตัดสินใจจะรับประทานแม็กนีเซียมเสริม ให้เลือกชนิดที่มีส่วนประกอบของแม็กนีเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย แม็กนีเซียมเสริมที่คุณควรมองหาได้แก่แม็กนีเซียมเสริมที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ : [14]
    • แม็กนีเซียมแอสพาติค แม็กนีเซียมในรูปแบบนี้จะคีเลต (รวมกับ) กรดแอสพาติค กรดแอสพาติคเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ทั่วไปในอาหารที่มีโปรตีนสูงที่ทำให้ร่างกายดูดซึมแม็กนีเซียมได้ง่ายขึ้น [15]
    • แม็กนีเซียมซิเตรท ซึ่งมาจากเกลือแม็กนีเซียมของกรดซิตริก ความเข้มข้นของแม็กนีเซียมชนิดนี้ค่อนข้างต่ำแต่สามารถดูดซึมได้ง่าย และมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ [16]
    • แม็กนีเซียมแลคเตต ซึ่งเป็นรูปแบบของแม็กนีเซียมที่มีความเข้มข้นปานกลาง และมักใช้รักษาอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร คนที่ไตมีปัญหาไม่ควรรับประทานแม็กนีเซียมรูปแบบนี้ [17]
    • แม็กนีเซียมคลอไรด์ เป็นแม็กนีเซียมอีกรูปแบบหนึ่งที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย และเป็นชนิดที่ช่วยเสริมการทำงานของไตและกระบวนการเผาผลาญด้วย [18]
  7. สังเกตอาการที่บอกว่าคุณได้รับแม็กนีเซียมมากเกินไป. แม้ว่าการรับประทานแม็กนีเซียมมากเกินไปนั้นอาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่คุณก็อาจจะรับประทานแม็กนีเซียมเสริมมากเกินไปก็ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเป็นพิษจากแม็กนีเซียมซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้: [19]
    • ท้องเสีย
    • คลื่นไส้
    • ปวดท้องบิด
    • ในกรณีร้ายแรงอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและ/หรือหัวใจหยุดเต้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแม็กนีเซียม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังรับประทาน. การรับประทานแม็กนีเซียมอาจมีผลต่อยาบางตัว และยาบางตัวก็อาจมีผลต่อความสามารถในการดูดซึมแม็กนีเซียมเสริมที่คุณรับประทานเข้าไป ยาประเภทนี้ได้แก่ [20] :
    • ยาขับปัสสาวะ
    • ยาปฏิชีวนะ
    • กลุ่มยาบิสฟอสโฟเนต เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน
    • ยาที่ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน
  2. งานวิจัยบางชิ้นพบว่า การเพิ่มวิตามินดีช่วยให้ร่างกายของคุณดูดซึมแม็กนีเซียมได้ดีขึ้น [21]
    • คุณสามารถรับประทานวิตามินดีจากอาหารที่มีวิตามินดีสูงได้ เช่น ปลาทูน่า ชีส ไข่ และซีเรียลเติมสารอาหาร
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถรับวิตามินดีจากการอยู่ท่ามกลางแสงแดดได้ด้วย
  3. แร่ธาตุบางอย่างจะทำให้ร่างกายของคุณดูดซึมแม็กนีเซียมได้ยากขึ้น คุณควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแร่ธาตุเสริมพร้อมกับแม็กนีเซียมเสริม [22]
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม แคลเซียมในร่างกายไม่ว่าจะมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้ดูดซึมแม็กนีเซียมได้ยากขึ้น ขณะที่รับประทานแม็กนีเซียมเสริม ให้เลี่ยงการรับประทานแคลเซียมมากเกินไป [23] แต่ในขณะเดียวกันก็อย่าละเลยแคลเซียมเสียทีเดียว เพราะอาจไปขัดขวางการดูดซึมของแม็กนีเซียมได้เช่นเดียวกัน
    • งานวิจัยพบว่าระดับแม็กนีเซียมและระดับโปแตสเซียมนั้นน่าจะเกี่ยวข้องกัน ธรรมชาติของความเกี่ยวข้องนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด [24] แต่ถึงกระนั้นคุณก็ไม่ควรเพิ่มหรืองดโปแตสเซียมอย่างรวดเร็วขณะพยายามเพิ่มระดับแม็กนีเซียม
  4. แอลกอฮอล์เพิ่มปริมาณแม็กนีเซียมที่ร่างกายปล่อยออกมากับปัสสาวะ งานวิจัยพบว่าคนที่ติดเหล้าหลายคนมีระดับแม็กนีเซียมต่ำ [25]
    • แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการกระตุ้นและเพิ่มระดับแม็กนีเซียมและอีเล็กโตรไลต์อื่นๆ ที่ถูกปล่อยออกมาพร้อมปัสสาวะ [26] หมายความว่าแม้แต่การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางก็สามารถลดระดับแม็กนีเซียมของคุณได้
    • ระดับแม็กนีเซียมจะลดต่ำที่สุดในกลุ่มคนที่กำลังเลิกเหล้า
  5. หมั่นสังเกตระดับแม็กนีเซียมให้ดีถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน. ถ้าโรคเบาหวานไม่ได้ถูกควบคุมผ่านอาหาร วิถีชีวิต และยาให้ดี ภาวะขาดแม็กนีเซียมอาจเกิดขึ้นได้ [27]
    • โรคเบาหวานจะทำให้ร่างกายปล่อยแม็กนีเซียมผ่านทางปัสสาวะมากเกินไป ทำให้ระดับแม็กนีเซียมลดลงอย่างรวดเร็วถ้าไม่ควบคุมให้ดี
  6. แทนที่จะรับประทานแม็กนีเซียมรวดเดียว ให้แบ่งรับประทานในปริมาณเล็กๆ ตลอดทั้งวัน โดยรับประทานพร้อมมื้ออาหารและน้ำ 1 แก้วเต็ม วิธีนี้ช่วยให้ร่างกายของคุณดูดซึมแม็กนีเซียมได้ดีกว่า
    • บางคนแนะนำให้รับประทานแม็กนีเซียมเสริมตอนท้องว่างหากคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแม็กนีเซียม บางครั้งแร่ธาตุในอาหารที่อยู่ในท้องของคุณก็อาจไปขัดขวางความสามารถในการดูดซึมแม็กนีเซียมของร่างกาย แต่บางครั้งวิธีนี้ก็อาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้ [28]
    • ที่จริงแล้วมาโยคลินิก องค์กรสุขภาพไม่แสวงผลกำไรในอเมริกาแนะนำให้รับประทานแม็กนีเซียมพร้อมอาหารเท่านั้น เพราะการรับประทานตอนท้องว่างอาจทำให้ท้องเสียได้ [29]
    • การเตรียมร่างกายให้ได้รับแม็กนีเซียมอย่างช้าๆ ก็อาจช่วยการดูดซึมได้เช่นเดียวกัน [30]
  7. เช่นเดียวกับแร่ธาตุ อาหารบางอย่างก็อาจทำให้ร่างกายของคุณไม่สามารถดูดซึมแม็กนีเซียมได้อย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้ในช่วงเวลาเดียวกับที่คุณรับประทานแม็กนีเซียมเสริม:
    • อาหารที่มีใยอาหารและกรดไฟติกสูง ได้แก่ผลิตภัณฑ์รำข้าวหรือธัญพืชเต็มเมล็ดอย่างข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ หรือขนมปังโฮลวีต
    • อาหารที่มีกรอออกซาลิก (ออกซาเลต) สูง ได้แก่กาแฟ ชา ช็อกโกแลต ผักใบเขียว และถั่วเปลือกแข็ง [31] การนำอาหารที่มีออกซาเลตสูงไปนึ่งหรือต้มก่อนอาจช่วยกำจัดออกซาเลตไปได้บ้าง รับประทานผักปวยเล้งปรุงสุกแทนสลัดปวยเล้ง การนำถั่วและธัญพืชไปแช่น้ำก่อนปรุงก็ช่วยได้เหมือนกัน
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • สำหรับคนส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงอาหารการกินเพื่อเพิ่มปริมาณแม็กนีเซียมนั้นถือว่าเพียงพอแล้ว แต่ตราบใดที่คุณรับประทานแม็กนีเซียมตามปริมาณที่แนะนำ การรับประทานแม็กนีเซียมเสริมก็ไม่อันตรายแต่อย่างใด
  • บางครั้งคนเราก็รู้สึกดีกว่าเวลาได้รับประทานแม็กนีเซียมเสริม แม้ว่าผลเลือดจะบอกว่าร่างกายมีระดับแม็กนีเซียม "อยู่ในเกณฑ์" ที่เหมาะสมก็ตาม เพราะแม็กนีเซียมเสริมมักทำให้เรารู้สึกกระปรี้ประเปร่ามากขึ้น ช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น และอาจเสริมสร้างการทำงานของต่อมไทรอยด์
โฆษณา

คำเตือน

  • การได้รับแม็กนีเซียมไม่เพียงพออาจทำให้เหนื่อยล้าได้ อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและกล้ามเนื้อกระตุก ในกรณีร้ายแรงก็อาจทำให้เกิดความสับสนทางจิตใจ ความวิตกกังวล ตื่นตระหนก น้ำหนักขึ้น แก่ก่อนวัย ผิวหนังแห้ง และมีริ้วรอย
  • คนที่มีระดับแม็กนีเซียมต่ำมากอาจต้องให้แม็กนีเซียมทดแทนทางหลอดเลือดดำ


โฆษณา
  1. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/magnesium
  2. http://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/#en9
  3. http://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/#en9
  4. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/magnesium
  5. http://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-Consumer/#h6
  6. http://getfit.jillianmichaels.com/benefits-magnesium-aspartate-1536.html
  7. http://www.globalhealingcenter.com/natural-health/types-of-magnesium/
  8. http://www.globalhealingcenter.com/natural-health/types-of-magnesium/
  9. http://www.naturalnews.com/046401_magnesium_dietary_supplements_nutrient_absorption.html
  10. http://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-Consumer/#h6
  11. http://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-Consumer/
  12. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1992050
  13. https://www.consumerlab.com/answers/Which+vitamins+and+minerals+should+be+taken+together+or+separately/how-to-take-vitamins/
  14. http://www.healthy-diet-healthy-you.com/benefits-of-magnesium.html
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3732091
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7836619
  17. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7836619
  18. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/magnesium
  19. http://www.jigsawhealth.com/blog/ought-know-mag
  20. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/magnesium-supplement-oral-route-parenteral-route/proper-use/drg-20070730
  21. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/magnesium
  22. http://www.researchgate.net/profile/Torsten_Bohn/publication/233603748_Dietary_Factors_Influencing_Magnesium_Absorption_in_Humans/links/004635379efbd4aa0f000000.pdf

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,569 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา