ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณรู้สึกเจ็บเมื่อไอ จาม หายใจเข้าลึกๆ หรือเมื่อบิดงอลำตัวล่ะก็ นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าคุณมีอาการซี่โครงช้ำ คุณสามารถรักษาอาการบาดเจ็บนี้ได้ด้วยตัวเอง แต่ก็อาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่อาการเริ่มหนักจนทนไม่ไหว และในกรณีที่อาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากทานยาแก้ปวดและหายใจเข้าลึกๆ อาจถึงเวลาที่คุณต้องไปพบคุณหมอแล้วล่ะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

วิธีบรรเทาอาการแบบเร่งด่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซี่โครงที่ช้ำหรือร้าวอาจเสียหาย แต่ก็ยังคงอยู่ประจำที่ในผนังทรวงอกของคุณ แต่การที่ซี่โครงหักถือเป็นสัญญาณอันตราย เพราะมันจะเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ และมีโอกาสแทงทะลุปอดหรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ของคุณ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน คุณจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าซี่โครงของคุณไม่ได้แตกหักแต่อย่างใด
    • ค่อยๆ ไล่มือไปตามผนังทรวงอก โดยบริเวณรอบจุดที่ซี่โครงร้าวหรือช้ำอาจรู้สึกบวมขึ้นมา แต่ไม่ควรจะมีอะไรยื่นออกมาหรือยุบลงไป ถ้าสงสัยว่าอาจมีซี่โครงหักล่ะก็ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
    • มองหาสัญญาณของภาวะอกรวน ภาวะอกรวนเกิดขึ้นเมื่อกระดูกซี่โครง 3 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ติดๆ กันหัก ซึ่งอาจขัดขวางการหายใจได้อย่างรุนแรง [1] เพราะฉะนั้นถ้าสงสัยว่ากระดูกซี่โครงมากกว่า 1 ชิ้นอาจได้รับบาดเจ็บ และรู้สึกว่าหายใจเข้าลึกๆ ไม่ได้ล่ะก็ ควรรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด
  2. การใช้น้ำแข็งถูที่ซี่โครงจะช่วยให้อาการปวดและบวมทุเลาลง จึงทำให้เนื้อเยื่อที่บอบช้ำหายเร็วขึ้นได้นั่นเอง โดยควรถูน้ำแข็งบ่อยๆ ในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังจากได้รับบาดเจ็บ และต้องพยายามหักห้ามใจไม่หันไปหยิบแผ่นประคบร้อนมาใช้
    • ลองหาถุงใส่ผลไม้แช่แข็ง (เช่น ถั่วหรือข้าวโพด) หรือใส่เกล็ดน้ำแข็งลงไปในกระเป๋าพลาสติกแบบเปิดปิดปากถุงได้ จากนั้นจึงใช้ผ้าขนหนูหรือเสื้อห่อถุงน้ำแข็งไว้ และประคบลงบริเวณที่ซี่โครงช้ำ
  3. ถ้าคุณรู้สึกเจ็บในทุกลมหายใจเข้าออกล่ะก็ การใช้ยาระงับความเจ็บปวดจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้มากทีเดียว ลองทานยาแก้ปวดที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน หรืออะเซตามิโนเฟนตามคำแนะนำที่เขียนไว้บนขวด
  4. เพราะตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะกับการลงแรงทำสิ่งใด โดยเฉพาะถ้าแม้แต่หายใจก็ทำให้รู้สึกเจ็บแปลบแล้ว การพักผ่อนจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้อาการหายไปโดยเร็ว ลองหยิบหนังสือขึ้นมาสักเล่มหรือเปิดหนังดู จากนั้นจึงนอนแผ่ลงในท่าที่รู้สึกสบายมากที่สุด และอยู่ในท่านั้นให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยพยายามอดใจไม่ลุกไปเข้าห้องน้ำหรือเดินไปหาขนมทานเล่น
    • ลางานสักวันสองวันถ้าทำได้ โดยเฉพาะถ้างานที่คุณทำต้องยืนเป็นเวลานานๆ หรือเป็นงานประเภทใช้แรงงาน
    • ลองนอนเอาด้านที่เจ็บลง ถ้าคอและหลังของคุณยังใช้การได้ดีล่ะก็ ลองนอนโดยเอาด้านที่ซี่โครงช้ำลง ฟังดูขัดกับสัณชาตญาณของเราไปหน่อยจริงไหม แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีการนี้จะช่วยให้คุณหายใจได้ง่ายขึ้น (เพียงแต่อย่าลืมทานยาแก้ปวดอย่างสม่ำเสมอก่อนเท่านั้น)
    • อย่าเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่กระตุ้นอาการบาดเจ็บของคุณเอง
  5. ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า วิธีการที่คนทั่วไปแนะนำให้ใช้กันมากที่สุดเพื่อรักษาอาการซี่โครงช้ำ คือการพันผ้ารอบผนังทรวงอก ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นวิธีการที่ไม่ดีเอาเสียเลย เพราะการหายใจติดขัดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ฯลฯ ตามมา เพราะฉะนั้นขอย้ำอีกครั้ง “ห้ามพันผ้ายืดรอบซี่โครงเป็นอันขาด” และนี่คือวิธีการที่คุณควรทำ:
    • หายใจเข้าลึกๆ ทุกครั้งที่ทำได้ โดยลองหายใจลึกสัก 1 ครั้งทุกๆ 2-3 นาที พยายามสูดลมหายใจเข้าให้นานที่สุด จากนั้นจึงค่อยๆ ปล่อยออกมา
      • ถ้าหากซี่โครงบาดเจ็บมากจนดูเหมือนจะทำไม่ได้จริงๆ ล่ะก็ ลองเปลี่ยนเป็นหายใจลึกสักชั่วโมงละครั้งในทุกๆ ชั่วโมง
      • แต่ถ้าหายใจลึกแค่ชั่วโมงละครั้งก็ยังไม่ไหว คงได้เวลาที่ต้องปรึกษาคุณหมอแล้วล่ะ
    • ฝึกการหายใจ เมื่อรู้สึกว่าคุณเริ่มกลับมาหายใจได้ตามปกติบ้างแล้ว ลองฝึกหายใจเข้าช้าๆ 3 วินาที ตามด้วยกลั้นหายใจ 3 วินาที แล้วจึงหายใจออกอีก 3 วินาที ทำซ้ำแบบนี้สัก 2-3 รอบ ประมาณ 1-2 ครั้งต่อวัน
    • อย่าสูบบุหรี่ ในระหว่างที่พักฟื้นจากอาการบาดเจ็บบริเวณซี่โครง สารที่ทำให้ปอดระคายเคืองอาจทำให้คุณมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น เพราะฉะนั้น ลองใช้โอกาสนี้เลิกสูบบุหรี่เป็นการถาวรดูหน่อยเป็นไง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เมื่อไรที่ต้องเข้ารับการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรไปพบแพทย์ถ้าอาการเจ็บไม่ยอมห่างหายหรือเจ็บจนทนไม่ไหวจริงๆ. อาการเจ็บหน้าอกอาจมีได้หลายสาเหตุ และบางกรณีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว การตรวจหาสาเหตุของอาการที่แน่นอนจึงเป็นเครื่องรับประกันได้ว่าคุณกำลังแก้ปัญหาอย่างถูกจุด โดยคุณหมออาจสั่งเอ็กซเรย์ทรวงอก ทำซีทีสแกน ทำ MRI หรือสแกนกระดูกถ้าสงสัยว่ารอยแตกอาจเป็นสาเหตุของโรคบางอย่าง หากแต่การตรวจเหล่านี้จะไม่แสดงให้เห็นอาการบาดเจ็บของกระดูกอ่อนหรือรอยช้ำ และอาการต่อไปนี้คือสัญญาณบ่งชี้ว่าถึงเวลาที่ต้องให้คุณหมอช่วยตรวจดูอาการแล้วล่ะ [3]
    • จู่ๆ ก็รู้สึกหายใจติดขัด
    • รู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อยๆ บริเวณหน้าอก ช่องท้อง และไหล่
    • มีอาการไอหรือไข้ขึ้น
    • รู้สึกเจ็บบริเวณทรวงอกอย่างรุนแรง แต่ยังสามารถหันหน้ามองข้ามไหล่ได้โดยไม่รู้สึกเจ็บมากขึ้น เพราะอาการซี่โครงช้ำจะทำให้คุณรู้สึกแย่ขึ้นเมื่อบิดลำตัว ในขณะที่อาการอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่าจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด

เคล็ดลับ

  • เมื่อสังเกตว่าตัวเองกำลังจะจามหรือไอ ให้ลองกดจุดที่เป็นแผล วิธีการนี้จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • ทานยาแก้ปวดที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป หรือทายาแก้ปวดกล้ามเนื้อชนิดครีมทาเฉพาะที่ตามความจำเป็น (โดยที่แพทย์อนุญาตแล้ว) แพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดหรือแนะนำให้ฉีดยาระงับประสาทที่มีฤทธิ์นาน
  • พยายามนั่ง นอน ยืนในท่าปกติ เพราะการบิดลำตัวเพื่อบรรเทาอาการเจ็บซี่โครงเป็นสาเหตุโดยตรงที่อาจนำไปสู่อาการปวดหลัง จนอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดกระดูกโดยไม่จำเป็น
  • ใช้กล้ามเนื้อช่วงท้องให้น้อยที่สุดและนอนหงายเข้าไว้ เพราะนี่จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บซี่โครงและช่วงไหล่ได้
  • ทานยาแก้แพ้ถ้ารู้สึกเจ็บเนื่องจากภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจตอนบน การไอและจามจะทำให้คุณรู้สึกเจ็บเมื่อมีอาการซี่โครงช้ำ และการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นขณะที่คุณไอและจามจะทำให้อาการหายช้าขึ้นอีกด้วย
  • แช่น้ำร้อน พร้อมเติมเกลืออนามัย หรือน้ำมันยูคาลิปตัส หรือผงฟูลงไป โดยใช้เพียงอย่างละนิดอย่างละหน่อยก็เพียงพอ ขอบอกว่าใช้ได้ผลดีทีเดียว
โฆษณา

คำเตือน

  • ควรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินถ้ารู้สึกหายใจไม่สะดวก รู้สึกถึงแรงกด เจ็บกลางหน้าอก หรือมีอาการเจ็บแผ่ออกมาจากช่วงไหล่หรือแขน เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวายได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ถุงพลาสติกชนิดเปิดปิดได้
  • เกล็ดน้ำแข็งหรือผักแช่แข็งชิ้นเล็กๆ
  • ผ้าชิ้นบางๆ (เช่น ผ้าเช็ดจาน)
  • เจลบรรเทาอาการปวด

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 125,525 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา