ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลายคนถึงกับตกใจเมื่อได้รู้ว่าในร่างกายเรามีแบคทีเรียมากกว่าจำนวนเซลล์ของเราถึง 10 ต่อ 1! [1] กลุ่มแบคทีเรียจำนวนมากนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่จำเป็นต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ มันคือไมโครไบโอม [2] ไมโครไบโอมสามารถส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและน้ำหนักตัว และมันยังเป็นตัววัดความเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วย [3] แบคทีเรียทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายรูปแบบซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอช ไพโลไร ก็เป็นหนึ่งในแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น (ดูโอดีนัม) มีผู้คนมากมายได้รับเชื้อเอช ไพโลไรและเป็นแผลในทางเดินอาหาร แม้จะเคยมีความเชื่อว่าแผลในทางเดินอาหารเกิดจากความเครียด การกินอาหารเผ็ดๆ ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ แต่จริงๆ แล้วแผลส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียเหล่านี้ [4]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

วิธีรักษาแบบธรรมชาติที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำแครนเบอร์รี่ดูเหมือนจะช่วยป้องกันหรือยับยั้งแบคทีเรียไม่ให้อาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารได้ งานวิจัยหนึ่งแนะนำให้ดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ 250 มิลลิลิตรทุกวัน วิธีนี้มีอัตราความสำเร็จเพียง 14 เปอร์เซ็นต์หลังผ่านไป 90 วัน ดังนั้นคุณอาจควรใช้วิธีอื่นควบคู่กันไปด้วย [5]
  2. ชะเอมเทศเป็นยาพื้นบ้านของอินเดีย จีน และญี่ปุ่น ที่ช่วยรักษาแผลในกระเพาะ แม้จะยังต้องการหลักฐานเพิ่มเติม แต่จากการทดลองในสัตว์และมนุษย์เท่าที่มีอยู่ก็พอเชื่อถือได้ การทำงานของมันคือจะป้องกันไม่ให้แบคทีเรียฝังตัวในกระเพาะอาหาร มันจึงใช้ได้ผลที่สุดในระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อ [6] [7] [8]
    • ส่วนประกอบอย่างหนึ่งในชะเอมเทศจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น แต่คุณกินสารสกัดจากรากชะเอมเทศหรือ DGL (Deglycyrrhizinated licorice) ได้ เพราะมันสกัดเอาสารนั้นออกไปแล้ว
  3. รักษาความสะอาดให้เป็นนิสัยเพื่อป้องกันเชื้อโรค. เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอช ไพโลไร คุณควรล้างมือและอุปกรณ์เครื่องครัวทุกชิ้นให้สะอาดโดยใช้น้ำอุ่นผสมน้ำยา อย่าใช้ช้อนส้อมร่วมกับผู้อื่น และดูให้แน่ใจว่าคนที่ทำอาหารให้คุณกินนั้นรักษาความสะอาดด้วย ล้างผักและผลไม้ด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำยาหรือใช้น้ำยาล้างผักผลไม้โดยเฉพาะ และล้างน้ำเปล่าให้สะอาด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

การรักษาแบบธรรมชาติที่อาจได้ผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจถึงข้อจำกัดของการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ. การรักษาอาการติดเชื้อเอช ไพโลไรแบบธรรมชาติจะมุ่งเน้นไปที่อาหารและโภชนาการ การปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะ และการใช้ยาสมุนไพรบางชนิด โพรไบโอติกส์ และอาหารเสริมอื่นๆ วิธีการเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยรักษาโรคจากเอช ไพโลไรได้จริง แต่มันช่วยป้องกันและรักษาอาการติดเชื้อได้ และยังช่วยลดอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วย
  2. โพรไบโอติกส์เป็นแหล่งของแบคทีเรียชนิดดีและยีสต์ มักจะพบในระบบไมโครไบโอมในร่างกาย แบคทีเรียเหล่านี้ ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (lactobacillus) แอซิโดฟิลัส (acidophilus) บิฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria) และยีสต์แซคคาโรไมซีส บูลาได (saccharomyces boulardii) คุณสามารถกินแบบอาหารเสริม (ตามคำแนะนำของผู้ผลิต) หรือแบบที่อยู่ในอาหารทั่วไปก็ได้ หลักฐานในขั้นต้นชี้ว่ามันอาจช่วยต่อสู้กับเชื้อเอช ไพโลไรได้ [9] [10]
    • แหล่งอาหารดีๆ ที่มีโพรไบโอติกส์คือพวกของหมักดอง เช่น คีเฟอร์ (บัวหิมะธิเบต) เซาเออร์เคราท์ (กะหล่ำปลีดอง) ผักดอง คอมบูฉะ (ชาหมัก) เทมเป้ (ถั่วเหลืองหมัก) กิมจิ และอาหารอื่นๆ อย่างโยเกิร์ต ซุปมิโสะ เผือกบด หน่อไม้ฝรั่ง ต้นหอม และหอมหัวใหญ่ [11] กินของเหล่านี้อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
    • คุณจะกินพรีไบโอติกส์สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเพื่อช่วยเสริมการทำงานของแบคทีเรียที่ดีในกระเพาะด้วยก็ได้ พวกนี้เป็นอาหารของแบคทีเรีย อาหารจำพวกพรีไบโอติกส์ ได้แก่ ธัญพืชเต็มเมล็ด หอมหัวใหญ่ กล้วย กระเทียม น้ำผึ้ง อาร์ติโชก และต้นหอม [12]
  3. ยาสมุนไพรหลายชนิดมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย (ฆ่าเชื้อโรค) พืชสมุนไพรต่อไปนี้ชะลอการเติบโตของเชื้อเอช ไพโลไรที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ ถึงมันจะไม่ใช่วิธีการรักษาอาการติดเชื้อที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็คุ้มที่จะลอง
    • ขิง มีฤทธิ์สมานแผล [13] [14]
    • ใบไธม์ มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย [15] [16]
    • ผงขมิ้น/ผงกะหรี่ [17] [18]
    • ออริกาโน่ [19]
    • อบเชย [20]
  4. จากการทดลองกับสัตว์พบว่าโสมแดงเกาหลีมีสรรพคุณต้านเชื้อเอช ไพโลไร [21] โสมแดงนั้นต่างจากโสมอเมริกาและมีประโยชน์หลากหลายกว่า หลายคนบอกว่าโสมช่วยในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพทางสมองและสมรรถภาพทางเพศ แต่มันยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และยังเพิ่มหรือลดความดันโลหิตได้ด้วย ถ้าคุณสนใจที่จะลองกินโสมแดง ลองปรึกษากับแพทย์ที่รู้เรื่องนี้ดู
  5. ชาเขียว ไวน์แดง และน้ำผึ้งมานูก้า ก็มีคุณสมบัติต้านเชื้อเอช ไพโลไรเช่นกัน แต่งานวิจัยหลายๆ งานทำกับเชื้อแบคทีเรียและสัตว์ทดลอง จึงยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณที่ควรใช้ในมนุษย์ ถ้าดื่มชาเขียวหรือน้ำผึ้งมานูก้าเป็นประจำอาจจะปลอดภัย แต่สำหรับไวน์แดงควรดื่มแค่พอเหมาะ พวกนี้จะช่วยเรื่องการติดเชื้อได้
  6. โภชนาการกับเชื้อเอช ไพโลไรไม่ได้มีความเชื่อมโยงที่เห็นได้ชัด [22] แต่นักโภชนาการแนะนำให้กินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปเพื่อสุขภาพโดยรวม และเพื่อส่งเสริมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและระบบไมโครไบโอมที่ดี อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้แก่
    • โปรตีนคุณภาพสูง
      • เนื้อแดงปริมาณน้อยถึงพอเหมาะ (ควรเป็นเนื้อจากวัวที่กินหญ้า)
      • เนื้อสัตว์ปีกไม่ติดหนังปริมาณพอเหมาะ
      • เนื้อหมูปริมาณน้อยถึงพอเหมาะ
      • เนื้อปลาปริมาณพอเหมาะถึงมาก
    • ผักและผลไม้สด (เลือกกินอย่างหลากหลาย)
    • ถั่วและถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเลนทิล
    • คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน พบใน
      • ผัก
      • อาหารจากธัญพืชเต็มเมล็ด
      • ธัญพืช เช่น ข้าวกล้องและคีนัว
      • ถั่วและถั่วเมล็ดแห้ง
  7. แม้เรื่องของสารอาหารจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นอาหารจากธรรมชาติหรือแปรรูป แต่อาหารแปรรูปส่วนใหญ่ก็มีสารอาหารน้อยกว่า และอาจมีสารที่ให้ผลเสียต่อร่างกายอยู่ (บางทีอาจไปยับยั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน) [24] [25] การหลีกเลี่ยงอาหารพวกนี้อาจจะทำให้มีสุขภาพโดยรวมที่ดีกว่า แต่อาจจะไม่ได้มีผลโดยตรงต่อเชื้อเอช ไพโลไร
    • วิธีดูว่าอาหารนั้นเป็นอาหารแปรรูป/สำเร็จรูปหรือไม่ ให้ดูรายการส่วนผสม ถ้ารายการยิ่งยาว แสดงว่ายิ่งผ่านการแปรรูปมามาก อาหารแปรรูปมักจะอยู่โซนกลางๆ ในซูเปอร์มาร์เก็ต ส่วนอาหารที่ผ่านการแปรรูปต่ำจะหาได้จากโซนรอบนอก เช่นพวกถั่วเมล็ดแห้ง ผักและผลไม้สด ข้าวกล้อง อาหารที่ขายเป็นแพ็คใหญ่ๆ และอาหารที่มีส่วนผสมเดียว
    • หลีกเลี่ยงพวกอาหารสำเร็จรูปกินง่ายทั้งหลาย มันมักจะผ่านการแปรรูปมามาก แถมยังมีสารกันเสียและสารเคมีอื่นๆ ที่ไม่ควรกิน
  8. คุณอาจจะทำสำเร็จมากขึ้นถ้านำหลายๆ วิธีที่กล่าวไปมารวมกัน คุณจะรู้สึกดีขึ้นและอาจหายจากการติดเชื้อเอช ไพโลไรถ้าคุณเปลี่ยนอาหารการกินให้ดีขึ้น ใช้สมุนไพรและเครื่องเทศที่แนะนำเพื่อเพิ่มความหลากหลายและรสชาติให้กับอาหาร กินอาหารหมักดองบ้าง และเสริมด้วยโพรไบโอติกส์
    • หลังจากลองทำวิธีเหล่านี้สัก 2-3 เดือนให้ลองไปตรวจดูว่ายังมีการติดเชื้ออยู่หรือไม่ ถึงตอนนั้นคุณอาจต้องลองกินยาปฏิชีวนะและยาลดกรดตามแพทย์สั่งด้วย ปรึกษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอและรับการตรวจเพื่อให้รู้ว่าคุณมีเชื้อเอช ไพโลไรหรือเปล่า
  9. ถ้าวิธีการเหล่านี้ไม่ทำให้คุณดีขึ้นหรือถ้าคุณมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อุจจาระปนเลือด (มีสีดำและมีน้ำมัน) หรืออาเจียนเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ หรืออาเจียนออกมาเหมือนผงกาแฟ ควรรีบติดต่อแพทย์ทันที นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ความเชื่อที่ผิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การดื่มน้ำไม่ได้ช่วยรักษาการติดเชื้อเอช ไพโลไร หรือแผลในทางเดินอาหาร แผลนั้นไม่ได้เกิดจากภาวะขาดน้ำ [26]
  2. การทดสอบโดยใช้กระเทียมไม่มีผลต่อแบคทีเรียเอช ไพโลไร และไม่ได้ทำให้อัตราการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารลดลง [27]
  3. ฟีนูกรีกใช้แก้ปัญหานี้ไม่ได้ผล [28]
  4. การรักษาด้วยตัวเองตามวิธีต่อไปนี้เหมือนจะไม่มีหลักฐานรองรับ มันใช้ไม่ได้ผลหรอก
    • พริกคาเยนป่น
    • สมุนไพรไบคาล [29] (คำเตือน: ถ้าคุณอยากลองใช้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะมันอาจไปชะลอการแข็งตัวของเลือด กระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ความดันเลือดต่ำลง)
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

การรักษาด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแพทย์แน่ใจว่าคุณติดเชื้อเอช ไพโลไร เขาอาจให้คุณกินยาปฏิชีวนะเพื่อจัดการกับเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจจะแนะนำยาปฏิชีวนะสักสองตัวหรือมากกว่าให้กินอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของคุณต่อยาปฏิชีวนะ
    • ยาปฏิชีวนะที่ใช้ทั่วไป เช่น อะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) คลาริโธรไมซิน (clarithromycin) เมโทรนิดาโซล (metronidazole) เตตราไซคลิน (tetracycline)
  2. ยาที่ลดระดับกรด (ยากลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ หรือ PPIs) หรือยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2 (H2 blockers) มักจะได้มาพร้อมๆ กับยาปฏิชีวนะ ปริมาณกรดที่ลดลงจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อแบคทีเรีย และยาปฏิชีวนะก็จะกำจัดมันได้
  3. นอกจากยาลดกรดและยาปฏิชีวนะแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาที่มีสารบิสมัท อย่างบิสมัท ซับซาลิไซเลท (bismuth subsalicylate) เช่น ยาเปปโต บิสมอล (Pepto Bismol) ยาบิสมัทอย่างเปปโต บิสมอลไม่ได้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่จะทำงานร่วมกับยาปฏิชีวนะและยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
    • ประมาณ 70-85 เปอร์เซ็นต์ของคนที่รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียเอช ไพโลไรโดยใช้ยาสามชนิดนี้สามารถหายได้ และยังมีอีกหลายวิธีที่จะผสมยาปฏิชีวนะสองตัว เกลือบิสมัท กับยาลดกรด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อขอคำแนะนำ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอช ไพโลไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้ว่าเชื้อเอช ไพโลไรทำให้เกิดแผลได้อย่างไร. เอช ไพโลไรจะไปทำลายเยื่อบุผนังกระเพาะอาหารซึ่งปกติจะเป็นตัวปกป้องกระเพาะจากกรดที่ถูกหลั่งออกมาย่อยอาหาร เมื่อเยื่อบุนั้นถูกทำลาย กรดในกระเพาะก็จะเริ่มไปกัดกินกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น จนอาจทำให้เกิดแผลซึ่งอาจมีเลือดออกและเจ็บปวดมากๆ ได้
    • การที่มีเลือดออกนี้อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เหนื่อยล้า และอ่อนแรงได้ อีกทั้งความเจ็บปวดและไม่สบายตัวนั้นก็จะทำให้คุณไม่มีแรงทำอะไรได้
    • เอช ไพโลไรจะมาพร้อมกับมะเร็งในกระเพาะอาหารชนิดหนึ่งและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด MALT การติดเชื้อจะทำให้ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารชนิดอื่นๆ และมะเร็งหลอดอาหารลดลง [30]
  2. รู้ว่าคุณจะติดเชื้อเอช ไพโลไรได้จากทางใดบ้าง. คุณจะรับเชื้อเอช ไพโลไรได้จากอาหาร น้ำ และเครื่องครัวที่ปนเปื้อน หรือการสัมผัสกับของเหลวของคนที่มีเชื้ออยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้ส้อมร่วมกับคนที่มีเชื้อนี้ คุณก็จะติดเชื้อด้วย
    • แบคทีเรียเอช ไพโลไรมีอยู่ในทุกที่ สามารถพบได้ถึง 2 ใน 3 ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ และเด็กก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน [31] อัตราการติดเชื้อในประเทศกำลังพัฒนามีสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
    • การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร และโดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำเสร็จ ดื่มน้ำจากแหล่งที่สะอาดและปลอดภัย และควรให้แน่ใจว่าอาหารของคุณปรุงอย่างปลอดภัยและถูกหลักอนามัย [32]
    • คุณอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงแบคทีเรียได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่คุณลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ถ้าคุณกินอาหารที่ดีและรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณก็จะสามารถสู้กับเชื้อโรคได้
  3. การติดเชื้อเอช ไพโลไรในระยะแรกอาจไม่เจ็บปวดและไม่แสดงอาการเลย ที่จริง ถ้าคุณไม่ไปตรวจ คุณอาจจะไม่รู้เลยก็ได้ว่าคุณติดเชื้อ หากมีอาการจะเป็นดังต่อไปนี้ [33]
    • ปวดหรือแสบท้อง (ซึ่งอาจยิ่งเป็นหนักเวลาหิว)
    • คลื่นไส้
    • เรอ
    • ความอยากอาหารลดลง
    • ท้องอืด
    • น้ำหนักลดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
  4. แพทย์สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อเอช ไพโลไรได้โดยดูจากอาการ และจากการตรวจหลายๆ แบบ
    • การตรวจลมหายใจโดยใช้สารยูเรียเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ใช้ตรวจหาการติดเชื้อเอช ไพโลไร
      • คุณจะต้องดื่มของเหลวแปะฉลาก ซึ่งอาจมีสารกัมมันตภาพรังสีอยู่บ้างหรือไม่มีเลย แล้วแต่ประเภทของการตรวจที่ใช้ หลังจากนั้นสักพัก แพทย์ก็จะทำการตรวจลมหายใจของคุณเพื่อหาสารยูเรีย [34] ยูเรียและแอมโมเนียจะเป็นผลผลิตจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของแบคทีเรีย และจะเป็นตัวชี้ว่ามีเชื้อเอช ไพโลไรหรือไม่
    • การตรวจอุจจาระเพื่อหาส่วนประกอบของเชื้อ
    • ไม่บ่อยนักที่แพทย์จะให้ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย ปกติแล้วการส่องกล้องนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อสงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง แต่มันเป็นการตรวจที่เชื่อถือได้มากที่สุดและแพทย์บางคนก็ชอบใช้วิธีนี้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต อาหารแปรรูป และน้ำตาล สิ่งเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ และอาจกระตุ้นพวกแบคทีเรียที่ไม่ดี
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารดิบๆ เช่น ซูชิ ไข่ต้มไม่สุก เนื้อดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ และพวกเนื้อสเต็ก
โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทำการรักษาโรคด้วยตัวเองเสมอ
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.sciencedaily.com/releases/2008/06/080603085914.htm
  2. http://www.sciencedaily.com/releases/2014/04/140416133157.htm
  3. Balter, M. Taking Stock of the Human Microbiome and Disease. (2012) Science: 336(6086) pp.1246-1247.
  4. http://www.webmd.com/digestive-disorders/h-pylori-helicobacter-pylori
  5. Zhang L, Ma J, Pan K, Go VLW, Chen J, You W. 2005. Efficacy of cranberry juice on Helicobacter pylori infection: a double-blind, randomized placebo-controlled trial. Helicobacter 10:2;139-45.
  6. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3925854/
  7. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16904801
  8. Wittschier N, Faller G, Hensel A.2009. Aqueous extracts and polysaccharides from liquorice roots (Glycyrrhiza glabra L.) inhibit adhesion of Helicobacter pylori to human gastric mucosa. J Ethnopharmacol 125;218-23.
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3002586/
  1. http://ajcn.nutrition.org/content/80/3/737.full.pdf
  2. http://whfoods.org/genpage.php?tname=dailytip&dbid=113
  3. http://www.foodinsight.org/Functional_Foods_Fact_Sheet_Probiotics_and_Prebiotics
  4. Mahady GB, Pendland SL, Yun GS, Lu ZZ, Stoia A. Ginger (Zingiber officinale Roscoe) and the gingerols inhibit the growth of Cag A+ strains of Helicobacter pylori. Anticancer Res. 2003 Sep-Oct;23(5A):3699-702.
  5. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0378874188900098
  6. Smith-Palmer, A., et al., “Antimicrobial properties of plant essential oils and essences against five important food-borne pathogens,” Lett Appl Microbiol (1998), 26(2):118-22.
  7. Tabak M, Armon R, Potasman I, Neeman I. In vitro inhibition of Helicobacter pylori by extracts of thyme. J Appl Bacteriol. 1996 Jun;80(6):667-72.
  8. Nostro A, Cellini L, Di Bartolomeo S, Di Campli E, Grande R, Cannatelli MA, Marzio L, Alonzo V. Antibacterial effect of plant extracts against Helicobacter pylori. Phytother Res. 2005 Mar;19(3):198-202.
  9. Foryst-Ludwig A, Neumann M, Schneider-Brachert W, Naumann M. Curcumin blocks NF-kappaB and the motogenic response in Helicobacter pylori-infected epithelial cells. Biochem Biophys Res Commun. 2004 Apr 16;316(4):1065-72.
  10. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0032959204001189
  11. http://www.wjgnet.com/1007-9327/full/v11/i47/7499.htm
  12. Bae M, Jang S, Lim JW, Kang J, Bak EJ, Cha JH, Kim H. Protective effect of Korean Red Ginseng Extract against Helicobacter Pylori-induced gastric inflammation in Mongolian gerbils. J Ginseng Res. 2014 Jan
  13. http://www.healthline.com/health/helicobacter-pylori#Treatment7
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15387326
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20435078
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16904801
  17. https://www.sciencebasedmedicine.org/the-water-cure-another-example-of-self-deception-and-the-lone-genius/
  18. Williams, L. (2011). Helicobacter pylori infection: a review of current scientific research on the efficacy or potential of herbal medicine for the treatment of H. pylori infection of the gastric mucosa. Australian Journal Of Medical Herbalism, 23(3), 139-145.
  19. http://www.wjgnet.com/1007-9327/full/v11/i47/7499.htm
  20. http://www.getingethealthy.com/ns/DisplayMonograph.asp?StoreID=hq0ushrk24s92nd700akhlbd34su9lub&DocID=bottomline-baikal_skullcap
  21. http://www.cancer.gov/cancertopics/causes-prevention/risk/infectious-agents/h-pylori-fact-sheet
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8547526
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/helicobacterpyloriinfections.html
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/h-pylori/basics/symptoms/con-20030903
  25. http://labtestsonline.org/understanding/analytes/h-pylori/tab/test/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,556 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา