ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณอยู่ในจุดที่ลองทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ แต่ชีวิตก็ยังไม่เข้าที่เสียที บางทีมันอาจจะเป็นเวลาที่สมควร “กดปุ่มรีเซ็ท” ชีวิตแล้วก็ได้ การเริ่มต้นชีวิตใหม่นั้น ต้องเริ่มจากเลิกใช้ชีวิตและวิธีคิดในแบบเดิมๆ เหมือนที่ผ่านมา ลองทำอะไรใหม่ๆ ดูบ้าง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เลิกยึดติดกับอดีต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองมองชีวิตตัวเอง ความสัมพันธ์ การงาน การเงินและสุขภาพ ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปในแบบที่คุณต้องการ คงถึงเวลาที่คุณต้องยอมรับกับตัวเองแล้วล่ะ การรีเซ็ทชีวิตใหม่อาจไม่ง่ายนัก แต่มันก็คือเริ่มต้นจากยอมรับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในแบบที่มันเป็นนี่แหละ [1]
    • ในหลายๆ ครั้ง วิธีการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามองเห็นปัญหาที่แท้จริง
    • เลิกตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรับรู้และเข้าใจถึงปัญหา ไม่ใช่การโทษตัวเองหรือใครๆ
  2. ไม่ว่าคุณจะจมอยู่กับประสบการณ์ที่เลวร้ายหรือหวนคิดถึงอดีตที่สวยงาม แต่ชีวิตของคุณคือสิ่งที่อยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ในอดีต การมัวแต่จมอยู่กับอดีตจะขัดขวางการรีเซ็ทชีวิตใหม่ของคุณได้ [2]
    • การปล่อยวางอดีตที่เจ็บปวด ต้องอาศัยการตัดสินใจของเรา ถ้าเราไม่ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด เราจะไม่สามารถปล่อยวางอดีตเหล่านั้นได้
    • แม้แต่ช่วงเวลาดีๆ สามารถทำให้เรา “จมปลัก” อยู่แต่กับมัน ถ้าชีวิตในปัจจุบันนั้นไม่เป็นอย่างที่หวัง
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Guy Reichard

    ไลฟ์โค้ช
    กาย ริชาร์ดเป็นไลฟ์โค้ชและผู้ก่อตั้ง Coaching Breakthroughs ในโทรอนโต แคนาดา เขาจะช่วยผู้คนให้ค้นพบเป้าหมาย ความสงบหรือความสำเร็จในชีวิต กายมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีช่วยลูกค้าค้นพบตัวตนและเชื่อมต่อกับคุณค่าในตัวเอง เขามีใบรับรอง Adler Certified Professional Coach (ACPC) กายจบปริญญาตรีด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยยอร์กในปี 1997 และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากที่เดียวกันในปี 2000
    Guy Reichard
    ไลฟ์โค้ช

    ผู้เชี่ยวชาญของเราเห็นด้วย: การปล่อยอดีตให้เป็นอดีตนั้น คุณจะต้องยอมรับในสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว การเลือกสร้างชีวิตใหม่ไม่ได้หมายถึงการแสร้งทำว่าไม่เคยมีอดีต แต่ตุณต้องตระหนักและเรียนรู้จากมันเพื่อจะได้เดินหน้าต่อ

  3. หันกลับมามองชีวิตตัวเองอย่างถี่ถ้วน จดรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเป็นอยู่ในตอนนี้แล้วพอใจกับมัน สิ่งเหล่านั้นทำแล้วมีความสุขไหม? ถ้าใช่ก็เก็บไว้ แต่ถ้าคำตอบคือไม่ คุณก็ควรปล่อยมันทิ้งไปเถอะ [3]
    • สิ่งของ เหตุการณ์และผู้คนที่เคยทำให้คุณมีความสุขมาก อาจไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้วก็ได้
    • ถ้ามีสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ ก็ทิ้งๆ ไปบ้าง เสื้อผ้าที่ไม่ใส่ เครื่องใช้ที่ไม่ได้ใช้ หนังสือที่ไม่เคยคิดจะอ่าน เอาไปบริจาคดีกว่า การทำความสะอาดบ้านช่วยทำให้ชีวิตปลอดโปร่งโล่งสบายมากขึ้น ดีต่อทางร่างกายและจิตใจ
    • ถ้าของบางอย่างต้องซ่อม ให้แบ่งเวลาไปซ่อมมัน ถ้าหากซ่อมไม่ได้ ก็ให้เอาไปบริจาคหรือโละทิ้ง
    • ละทิ้งความคิดและความรู้สึกที่ทำให้คุณท้อแท้หรือเกินจะรับไหว เมื่อคุณรู้ตัวว่ากำลังมีความคิดหรือความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้น ให้เตือนตัวเองว่านั่นเป็นเพียงความคิดในใจเท่านั้น แล้วหันไปสนใจอะไรที่มีประโยชน์ต่อชีวิตมากกว่าเรื่องพวกนี้ดีกว่า
  4. ถ้าคุณพยายาม เลิกพฤติกรรม ที่ไม่ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของคุณมานานแล้ว แต่ไม่สำเร็จสักที เวลานี้น่าจะเหมาะสมที่สุดที่จะรีเซ็ทชีวิตใหม่ เริ่มจากการรับรู้ว่าพฤติกรรมเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ทำตั้งแต่เมื่อไหร่ ทำบ่อยแค่ไหนและจะแทนที่มันด้วยอะไรดี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากเลิกกัดเล็บ ให้นับจำนวนครั้งที่คุณกัดและลองคิดทำอย่างอื่นแทนการกัดเล็บ [4]
    • เลือกหาอะไรทำแทนพฤติกรรมนั้น เช่น อาจเลือกเคี้ยวหมากฝรั่งไม่มีน้ำตาล กินขึ้นฉ่ายหรือแครอทแท่งแทนการกัดเล็บ
    • หาเพื่อนช่วยสนับสนุน ให้เพื่อนหรือครอบครัวช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของคุณ ลองหากลุ่มช่วยเหลือสำหรับพฤติกรรมของคุณดูก็ได้ การทำงานกับผู้อื่นจะทำให้คุณมีความรับผิดชอบและช่วยให้กำลังใจคุณในการเปลี่ยนพฤติกรรม
    • ถ้าคุณลองนึกดูว่าคุณเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นได้สำเร็จ คุณจะมีโอกาสทำทุกอย่างสำเร็จได้มากขึ้น จินตนาการภาพชีวิตใหม่ของคุณ นั่นเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริง
    • อย่าหยุดเพียงเพราะคุณทำพลาด พฤติกรรมเป็นสิ่งที่เลิกยาก จำไว้ว่าทุกวันเป็นการเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ จงทำต่อไป
  5. การรีเซ็ทเป็นโอกาสที่จะลบล้างแผนการต่างๆ ที่ล้นมือวุ่นว่ายในชีวิต เวลาของคุณมีค่า ทำในสิ่งที่อยากทำ ละทิ้งสิ่งบางสิ่ง คนบางคน เหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ควรค่าแก่การเสียเวลาของคุณซะ
    • ถ้าคุณมีความสุขและพอใจกับชีวิตมากขึ้น คุณจะมีคุณค่า มีตัวตนต่อคนรอบข้างและต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่คุณอยากรักษาไว้มากขึ้น
    • ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องสนใจคำวิจารณ์หรือการตัดสินจากคนภายนอก เพราะสิ่งที่เราทำมันไม่มีผิดหรือถูก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณค่าแก่นแท้หรือค่านิยมหลักของเราคือความเชื่อหรือความเห็นอันแน่วแน่ที่นำทางความคิดและการใช้ชีวิตของเรา หลายๆ คนอาจมีค่านิยมหลัก 5-7 อย่าง [5] ความคิดความเชื่อเหล่านี้จะเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ แต่มันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเสมอ ถ้าคุณจะรีเซ็ทชีวิตตัวเองใหม่ อาจจะต้องไตร่ตรองค่านิยมที่เคยมีเสียใหม่ด้วย
    • การหาค่านิยมหลักของคุณเอง ทำได้โดยการคิดถึงเวลาที่น่าพึงพอใจที่สุด คิดว่าค่านิยมอะไรที่เรายึดถือในช่วงเวลาเหล่านั้น แล้วเลือกค่านิยมที่ถูกจริตกับคุณที่สุด
    • มองว่าค่านิยมเหล่านั้นมีความหมายต่อคุณอย่างไร ในทุกแง่มุมของชีวิต มันเป็นค่านิยมหลักของชีวิตหรือเปล่า ถ้าใช่ก็ลองจดไว้
    • ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนกว่าคุณจะหา 5 ค่านิยมหลักของตัวเองเจอ
    • มุ่งไปข้างหน้า ทุกครั้งที่คุณตัดสินใจที่จะทำแล้ว ดูค่านิยมหลักที่คุณจดไว้ ถามตัวเองว่าการตัดสินใจนั้นสอดคล้องกับค่านิยมหลักในชีวิตไหม ชีวิตที่แข็งแกร่งอย่างแท้จริงเกิดขึ้นจากความเสมอต้นเสมอปลายต่อค่านิยมหลักของตนเอง
  2. การยึดติดกับความเกลียดชังตนเองหรือผู้อื่นจะทำลายพลังงานที่จะทำสิ่งดีๆ ในชีวิต ถ้าคุณยังถือความโกรธไว้ การรีเซ็ทชีวิตใหม่ก็คงจะหมายถึงการหาความโกรธและเกลียดชังที่มีอยู่แล้วทิ้งมันไปซะ การเป็นเหยื่อของการกระทำในอดีตของผู้อื่นหมายถึงการเอาความสุขของตัวเองไปไว้ในมือคนอื่น ไม่ว่าเขาจะรู้หรือไม่ แต่เราเองจะไม่มีความสุข [6]
    • การพูดคุยเกี่ยวกับความไม่พอใจที่คุณมีกับคนอื่น บางครั้งอาจทำให้ได้แง่คิดดีๆ ที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อน
    • การรู้สึกผิด ต่อความผิดพลาดในอดีตเป็นความรู้สึกที่หนักหนา ทุกคนมีความเสียดายหรือเสียใจกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ลองเรียนรู้จากความผิดพลาด มองสิ่งที่คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองในเหตุการณ์เหล่านั้น ทุกความผิดพลาดเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้เราได้รู้จักตัวเองมากขึ้น
    • การให้อภัย เป็นการแสดงความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความอ่อนแอ การไม่ยอมให้อภัยการกระทำในอดีตของผู้อื่นไม่ได้ทำให้คุณแข็งแกร่งมากขึ้น แต่กลับทำให้คุณไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้
  3. คนที่ใช้ชีวิตสนุกมักจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างกล้าหาญในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความคิดดีๆ สำหรับอนาคต ผู้ใหญ่มักลืมที่จะใช้ชีวิตให้สนุก งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการขาดการเล่นจะส่งผลต่อกระบวนคิดและกระบวนการปรับตัวในการใช้ชีวิต ซึ่งคงเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณต้องการ หากอยากจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ก็ต้องใช้ชีวิตให้สนุก ซึ่งอาจหมายถึงกิจกรรมประจำวันทั่วไปที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และช่วยให้คุณรู้จักแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น [7]
    • วิธีการเล่นมีหลากหลายวิธี เช่น การเล่นเป่าฟองลูกโป่ง เล่นเกมกระดาน เรียนศิลปะ เรียนอะไรที่ช่วยพัฒนาตนเอง หากิจกรรมที่ทำแล้วสนุกและคุณทำได้ดี
    • ชวนเพื่อนและครอบครัวมาทำกิจกรรมด้วยกัน การทำกิจกรรมกับคนที่คุณรักจะช่วยให้คุณทำกิจกรรมนั้นได้นานขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย
  4. การออกจากพื้นที่สุขสบายที่คุณคุ้นเคยแล้วทำในสิ่งใหม่ๆ จะทำให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น อะดรีนาลีนจะช่วยเติมพลังแห่งความสร้างสรรค์ให้กับคุณ เมื่อไหร่ก็ตามที่ความกลัวทำให้คุณไม่กล้าที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง คุณจะวนเวียนอยู่ในชีวิตรูปแบบเดิมๆ [8]
    • แบ่งความท้าทายยิ่งใหญ่ให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ เช่น คุณกลัวการดำน้ำตื้น เริ่มจากการเรียนดำน้ำในยิมใกล้บ้าน ถ้าคุณกลัวที่จะไปร้านอาหารคนเดียว ให้ลองเริ่มนั่งเล่นตามบาร์หรือออกไปกับคนอื่นก่อน
    • ลองคิดว่าทำไมกลัว ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มมีความกลัวนี้ แล้วมันมีผลกับชีวิตอย่างไรบ้าง การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและความกลัวของคุณเป็นส่วนสำคัญในการรีเซ็ทชีวิต
  5. หาทางเลือกให้กับพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อร่างกาย. ส่วนใหญ่ทุกคนก็รู้ว่าตนเองมีพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อร่างกายอะไรบ้าง การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้ามาก การกินเยอะไปหรือการออกกำลังกายไม่เพียงพอ ทั้งหมดนี้เป็นพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยนแปลง การรีเซ็ทพฤติกรรมเหล่านี้ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น ไม่ใช่การนั่งรู้สึกผิด กลัวหรือเสียดายกับมัน [9]
    • ตั้งเป้าหมายให้ตรงจุดและปรับเปลี่ยนให้ไปถึงเป้าหมายได้จะมีประโยชน์มาก ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะรู้สึกผิดที่ไม่ได้ออกกำลัง ให้เพิ่มการเดิน 20 นาที 4 วันต่อสัปดาห์แทน
    • การวางแผนให้ไปถึงเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การอยากเลิกบุหรี่เฉยๆ ย่อมได้ผลยากกว่าการลงมือทำตามแผนเลิกบุหรี่ คุณควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญหรือเพื่อนที่ไว้ใจ
    • ชักชวนให้คนอื่นทำตามแผนเหมือนคุณจะช่วยให้คุณมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำ และยิ่งทำให้รู้สึกสนุกไปกับมันมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้คุณมีแนวโน้มกลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิมได้ยากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รู้จักขอบคุณสิ่งที่เข้ามาในชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การแสดงความซาบซึ้งต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิตจะช่วยคุณจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ใหม่อีกครั้งและทำให้คุณเห็นสิ่งต่างๆ ชัดเจนมากขึ้น การจดบันทึกเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราได้รู้จักคิดขอบคุณสิ่งต่างๆ ในทุกวัน
    • บันทึกขอบคุณไม่จำเป็นต้องเลิศหรูหรือซับซ้อน เขียนถึงสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณวันละ 1-2 อย่างก็พอ
    • งานวิจัยระบุว่าคนที่เขียนบันทึกขอบคุณได้รับประโยชน์มหาศาลจากมัน หากไม่นับเหตุการณ์อื่นๆ ที่เข้ามาในชีวิต [10]
  2. ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองมีความคิดด้านลบกับคน สถานที่หรือสิ่งต่างๆ ให้เปลี่ยนวิธีคิด แน่นอนว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนความคิดแรกที่เกิดขึ้นในหัวได้ แต่คุณสามารถเรียนรู้แล้วเปลี่ยนความคิดในครั้งต่อไปได้ สังเกตความคิดแง่ลบด้วยใจที่เป็นบวกต่อคน สถานที่หรือสิ่งเดิมนั้นอีกที อาจจะได้มุมมองที่ต่างไปจากเดิม
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณกำลังจะไปเยี่ยมแม่ของสามีหรือแม่ของภรรยา แทนที่จะมานั่งเซ็งว่าเขาทำอาหารไม่อร่อย ก็ให้มองว่าการเยี่ยมครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้เวลาในสวนน่ารักๆ ของเขาดีกว่า
    • ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่แย่มากๆ ให้พยายามหาสิ่งดีของมัน จำไว้ว่าทุกๆ สถานการณ์มีคุณค่าและให้ข้อคิดดีๆ แก่เราเสมอ
  3. ชมคนอื่นอย่างน้อยวันละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ความรู้สึกซาบซึ้งต่อผู้อื่นเกิดจากการเห็นความดีของเขา ไม่ได้เกิดจากการหาข้อติเตียนพวกเขา คนรอบตัวจะอยากอยู่กับคุณมากกว่าเดิม หากคุณไม่เอาแต่หาข้อผิดพลาดคนอื่น
    • คำชมต้องมาจากความจริงใจ การเอาใจใส่ในสิ่งดีๆ ที่ผู้อื่นทำจะทำให้เราชมคนอื่นได้จากใจ
    • คนที่ชอบชมเชยผู้อื่นมักเป็นคนที่มีความสุขมากขึ้น [11]
    • การชมตนเองหรือผู้อื่นในสถานการณ์ที่ยากลำบากจะช่วยสร้างความมั่นใจและคุณค่าในตัวเอง
  4. ผลการศึกษาระบุว่าการเป็นอาสาสมัคร การเห็นคุณค่าให้ตัวเองและการมีสุขภาพร่างกายที่ดีมีความเกี่ยวข้องกัน คนที่ชอบอาสาทำอะไรเพื่อสังคมมักจะมีระบบประสาทที่แข็งแกร่งและมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อสิ่งต่างๆ [12]
    • วิธีการทำเพื่อสังคมมีมากมาย เช่น การช่วยเหลือเด็กๆ ช่วยสร้างบ้าน อาสาไปซื้อของให้ผู้พิการ ช่วยเลี้ยงลูกให้พ่อแม่ที่ไม่มีเวลา หรืออาสารับโทรศัพท์ให้กับองค์กรต่างๆ
    • การทำงานให้กับองค์กรที่มีโครงการที่คุณสนใจจะช่วยเติมพลังให้กับชีวิตและทำให้ชีวิตคุณมีเป้าหมายมากขึ้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากสำหรับการรีเซ็ทชีวิต
  5. การนินทา วิพากษ์วิจารณ์ ต่อว่าเกี่ยวกับทุกสิ่งจะทำลายพลังบวกในตัวคุณ ถ้าคุณสามารถหลีกเลี่ยงการพูดสิ่งไม่ดีเกี่ยวกับคนอื่น คุณจะรู้สึกดีมากขึ้น ลองใช้เวลาคิดว่าอะไรที่มีประโยชน์ต่อชีวิตคุณอย่างแท้จริง [13]
    • ตอนแรกคุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณกำลังนินทาหรือต่อว่าใครต่อใครเพราะมันเป็นเรื่องปกติธรรมชาติ ลองสังเกตให้ดีแล้วกำจัดนิสัยนี้ทิ้งไปดีกว่า
    • คุณอาจจะตั้งเป้าหมายสำหรับตัวเอง เช่น ตั้งเป้าว่าจะไม่ยุ่งเรื่องซุบซิบนินทาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ในตอนเย็นของทุกวันให้ประเมินตนเอง ถ้าคุณได้ซุบซิบนินทาหรือว่าใคร ให้เริ่มต้นใหม่ ทำวนไปจนกว่าคุณจะผ่าน 7 วันนี้ไปโดยไม่นินทาใครเลย
    • ถ้ารู้สึกว่าตัวเองกำลังเข้าไปยุ่งกับเรื่องซุบซิบนินทาหรืออยู่ในกลุ่มนั้นๆ ให้พยายามหาเรื่องมาคุย คุณอาจจะบอกเพื่อนในกลุ่มเลยตรงๆ ว่าคุณพยายามเลิกนินทาชาวบ้านอยู่
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เตรียมพร้อมสำหรับความสำเร็จ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณมีหลายเป้าหมายมากไป คุณจะมีแนวโน้มที่สำเร็จได้ยาก ลองจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่ดีต่อร่างกายดีกว่า [14]
    • เริ่มด้วยการแทนที่พฤติกรรมที่มีอิทธิพลไม่ดีต่อชีวิตคุณ เช่น ถ้าการดื่มเหล้าสร้างปัญหาให้กับความสัมพันธ์ การทำงาน หรือกับคนในครอบครัวของคุณ คุณอาจจะต้องแก้ปัญหาการดื่มเหล้าก่อนที่จะไปแก้ปัญหาอื่นๆ เช่น การไม่ออกกำลัง
    • ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสำคัญในชีวิต ผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำ กำลังใจหรือวิธีการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมให้เราได้
    • สร้างแรงกระตุ้นหรือรางวัลให้ตัวเองเมื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้สำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากเลิกสูบบุหรี่ ให้เอาเงินที่ใช้ซื้อบุหรี่ไปซื้อเสื้อสวยๆ ตัวใหม่ เอาไปใช้เที่ยวหรือกินข้าวกับเพื่อนแทน
  2. ถ้าคุณเห็นชีวิตใหม่ในแบบที่คุณอยากให้มันเป็น คุณก็สามารถทำให้มันเป็นแบบนั้นได้ ระบุให้ชัดเจนว่าคุณต้องการอะไร แต่อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง ถ้าคุณมีเป้าหมายใหม่ [15]
    • เริ่มมองหาว่าตอนนี้ชีวิตของคุณมีอะไรดีอยู่แล้วบ้าง แล้วเราสามารถพัฒนามันให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร ในแง่ไหนบ้าง
    • ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม เช่น ถ้าชีวิตใหม่ที่คุณฝันไว้ ต้องทำอาชีพอื่น นี่อาจทำให้คุณต้องกลับไปเรียนใหม่ ก้าวเล็กๆ ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้
    • ใช้เวลาพัฒนามุมมองต่อชีวิตใหม่ในทุกวัน ทิ้งภาพที่คุณฝันในชีวิต แล้วลงมือคิดถึงความเป็นไปได้ ซึ่งจะทำให้ความเปลี่ยนแปลงนั้นสร้างสรรค์ ทะเยอทะยานและเป็นไปได้จริง
  3. สมองของมนุษย์มีไว้เพื่อคิด เพื่อความอยากรู้อยากเห็น ถ้าเราไม่ให้โอกาสตัวเองที่จะตั้งคำถาม สุดท้ายเราจะลงท้ายด้วยความเบื่อ ซึมเศร้า และไม่รู้จะไปทางไหนดี ผลการวิจัยเผยว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้สมองแก่ช้าลง อีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าเราฝึกเป็นคนกระตือรือร้น คิดอะไรที่ฉับไวและจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเสมอๆ เราก็จะได้ใช้สมองตลอดเวลา ซึ่งทำให้เราพร้อมในการทำสิ่งต่างๆ [16]
    • การเรียนรู้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การเรียนทางวิชาการ อาจจะหมายถึงการเรียนเต้นรำ การทำซูชิ การเล่นเกมใหม่ๆ หรือเข้าร่วมชมรมถักนิตติ้งก็ได้
    • การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำให้สมองมีความเปลี่ยนแปลง ทำให้เซลล์สมองใหม่ได้โต ช่วยเพิ่มความคิดและทักษะความยืดหยุ่นในเชิงสร้างสรรค์
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,598 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา