ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการปวดเรื้อรัง คือ ภาวะอาการปวดที่เป็นมานานอย่างน้อย 3 เดือน หรือมากกว่านั้นนับตั้งแต่เริ่มได้รับบาดเจ็บหรือได้รับรักษาแล้ว ส่วนการปวดแบบเฉียบพลัน คือ กลไกทางธรรมชาติของระบบประสาทที่ตอบสนองต่อการบาดเจ็บ ซึ่งการปวดเรื้อรังนั้น นำมาซึ่งความรู้สึกทุกข์ทนและเบื่อหน่ายจากอาการปวด ในบางรายสาเหตุของอาการปวดนั้นเกิดจากการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย หรือติดเชื้อ แต่ในบางรายนั้นหาสาเหตุความเป็นมาไม่ได้ [1] ในการทำความเข้าใจผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรัง คุณก็ควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรังก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรพูดให้กำลังใจพวกเขาอย่างไร และไม่ควรพูดอะไรบ้าง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

มาเรียนรู้เกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรังกันก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการปวด.ความทรมานของอาการปวดเรื้อรังแต่ละแบบนั้นแตกต่างกัน หากได้พูดคุยเกี่ยวกับอาการในแต่ละวันของพวกเขาก็จะช่วยให้เข้าใจอาการมากขึ้น ดังนี้
    • ลองถามดูว่าพวกเขาเคยรู้สึกทรมานจากการปวดหลัง, ติดเชื้อรุนแรง, หรือมีอาการปวดจากข้อเสื่อม, จากอาการชาในโรคเบาหวาน, หรืออาการเกี่ยวกับการถูกทำลายของเส้นประสาทหรือไม่ และอาการปวดเริ่มมีตั้งแต่เมื่อไร แล้วนำไปค้นคว้าเพิ่มเติมจากงานวิจัยหรือเรื่องราวของผู้ที่มีอาการใกล้เคียงกัน
    • บางครั้งแพทย์ก็ไม่สามารถหาต้นเหตุของอาการปวดดังกล่าวได้ รู้เพียงแค่อาการที่แสดงออกมาเท่านั้น
    • อย่าชวนพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับอาการปวด ถ้าคนไข้ไม่ต้องการ เพราะบางคนหากยิ่งพูดถึงอาจทำให้อาการยิ่งแย่ลง
    • อาการปวดเรื้อรังที่มักพบ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดบั้นเอว ปวดตามข้อ ปวดจากการถูกทำลายของเส้นประสาทส่วนปลายและส่วนกลาง หรือปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ในผู้ป่วยคนเดียว สามารถมีอาการปวดเรื้อรังได้มากกว่า 1 อาการ เช่น อาการปวดและล้าเรื้อรัง, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, ปวดร้าวลงขาโรคเส้นประสาทส่วนปลาย, ทางเดินอาหารอักเสบ, หรือโรคซึมเศร้า
    • ต้องยอมรับว่าเพียงแค่ฟังจากผู้ป่วยพูด อาจบอกถึงความรู้สึกที่ทุกข์ทรมานต่อการปวดได้ไม่เพียงพอ เพราะหากลองจินตนาการว่าถ้าคุณมีอาการปวดทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง คงหาคำมาอธิบายความปวดนั้นๆ ได้ยากเช่นกัน
  2. เรียนรู้ที่จะใช้สัญลักษณ์หรือรหัส.การให้ระดับความเจ็บปวดเป็นตัวเลข ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินระดับความเจ็บปวดเพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษาว่าได้ผลแค่ไหน โดยจะมีตัวเลข 1-10 ให้ผู้ป่วยตอบ ซึ่ง 1 คือไม่มีอาการปวดเลย และ 10 คือ ปวดมากที่สุดเท่าที่เคยปวดมา
    • ต้องเข้าใจว่าจริงๆ แล้วผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวด แต่ผู้ป่วยบอกว่าเขาปกติดี เป็นเพราะพวกเขาพยายามซ่อนอาการปวดไว้ ด้วยความเชื่อว่าคนรอบตัวไม่เข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น
    • เมื่อคุณถามระดับความเจ็บปวด พวกเขาอาจจะให้คะแนนความเจ็บปวดได้ไม่ตามความเป็นจริง เพราะอาการปวดนั้นเป็นอาการเรื้อรัง พวกเขามีอาการมาตลอด จนอาจคิดว่าปวดแบบนี้คือปกติหรือไม่ปวด แต่อาจจะให้ได้ตามจริงเมื่อมีการบาดเจ็บเฉียบพลันอื่นขึ้นมา อาการเปลี่ยนไปจากวันที่ผ่านๆ มา หรืออาการปวดกำเริบเฉียบพลันจากที่เป็นเรื้อรังอยู่ (เช่น บอกว่า"เจ็บจี๊ดๆ" แทนที่จะเป็น "เจ็บหนึบๆ" หรือ "ปวดแสบๆ" แทนที่จะเป็น "ปวดสั่นๆ") หรือตอนที่เขาถูกถามตรงๆ ถึงระดับความปวดทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง
  3. เข้าใจถึงวิธีการเผชิญกับอาการปวด.เมื่อคุณเป็นไข้คุณอาจจะรู้สึกไม่สบายสัก2-3วัน หรือเป็นสัปดาห์ๆ และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ไม่เท่าปกติ ผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังก็เช่นกัน พวกเขาต้องรู้สึกหวาดกลัวเป็นเวลานาน ทำให้เกิดกลไกเผชิญกับความเจ็บปวดโดยการปกปิดระดับความปวดที่แท้จริงไว้ หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ไม่เท่าปกติ
  4. ระวังการเกิดภาวะซึมเศร้า.การปวดเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ และเช่นเดียวกัน ภาวะซึมเศร้าก็ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังได้ [2]
    • ภาวะซึมเศร้า เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกออกมาน้อยลง ซึ่งรวมถึงอาการปวดด้วย เพราะพวกเขาไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ . [3] ดังนั้นจึงควรสังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการของภาวะซึมเศร้าหรือไม่ และไม่ต้องสงสัยหากได้ข้อมูลว่าอาการปวดที่พวกเขาบอก น้อยกว่าอาการที่ควรจะเป็น
    • เช่นเดียวกัน ภาวะซึมเศร้าก็ทำให้ผู้ป่วยแสดงอารมณ์บางอย่างออกมามากกว่าปกติ เช่น ร้องไห้ฟูมฟาย กังวล หงุดหงิด เศร้า เหงา หมดหวัง กลัวเหตุการณ์ในอนาคต โกรธง่าย พูดมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากฤทธิ์ยา ต้องการระบายความรู้สึก หรือนอนหลับไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับระดับความปวด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้วันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง หรือ นาทีต่อนาทีได้เลยทีเดียว
    • สิ่งที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การทิ้งผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังไว้คนเดียว ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า รู้สึกเหงาและมองตัวเองในแง่ลบ ดังนั้นจึงควรมีคนอยู่ด้วย และให้กำลังใจพวกเขาเท่าที่จะทำได้
  5. ยอมรับว่าพวกเขาจะทำกิจกรรมต่างๆ ได้น้อยกว่าปกติ. ในหลายๆ โรค ผู้ป่วยจะมีอาการบางอย่างให้เห็น เช่น ไม่มีแรงจากอาการไข้หรือกระดูกหัก เช่นเดียวกับอาการปวดเรื้อรังที่ผู้ป่วยบางรายอาจจะขยับตัวไม่ได้เลย ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถสื่อสารหรือสังเกตสีหน้าของพวกเขาได้เลย
    • ผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบเลยว่าตื่นมาแล้วพรุ่งนี้อาการจะเป็นอย่างไร เพราะอาการเปลี่ยนไปวันต่อวัน ซึ่งทำให้คนรอบข้างสับสนและหงุดหงิดได้
    • หากลองให้ผู้ป่วยยืน เมื่อวานผู้ป่วยอาจยืนได้นาน 30 นาที ไม่ได้หมายความว่าวันนี้ผู้ป่วยจะยืนได้เหมือนกับเมื่อวาน อาจมากกว่าหรือน้อยกว่านั้นก็ได้
    • ไม่เพียงแต่เรื่องการเคลื่อนไหวเท่านั้น ที่ถูกจำกัดจากอาการปวดเรื้อรัง แต่ยังรวมถึงสมาธิ และการเข้าสังคมด้วย
    • ต้องเข้าใจผู้ป่วย หากพวกเขาบอกว่าไม่ไหว ต้องนั่ง ต้องนอน หรือต้องรับประทานยา ทันที เนื่องจากพวกเขาอาจจะไม่มีวิธีแก้ไขอื่น เมื่อมีอาการปวดขณะทำกิจกรรมต่างๆ อย่างกะทันหัน อาการปวดเรื้อรังมันไม่รอใครหรอกนะ
  6. สังเกตอาการต่างๆ เมื่อมีอาการปวด.เช่น หน้าบึ้ง หงุดหงิด รำคาญ อารมณ์แปรปรวน บีบมือตัวเอง ร้องครวญคราง นอนหลับไม่สนิท กัดฟัน ไม่มีสมาธิ ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ลดลง และอาจจะมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือมีคำพูดที่บ่งบอกว่าหดหู่ [4]
  7. รู้ว่าอาการปวดเรื้อรังนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่. คุณอาจจะคิดว่าผู้ป่วยไปพบแพทย์เพราะต้องการได้รับความสนใจ มีความสุข หรือหลงผิดคิดว่าตนเองป่วย จึงต้องการหาสิ่งที่ดีให้กับตัวเอง รวมทั้งบางครั้งอาจจะพยายามหาสาเหตุของอาการปวด อันที่จริงไม่มีใครต้องการเป็นแบบนี้ แต่พวกเขาไม่มีทางเลือก
  8. มีบางอย่างที่คุณไม่สามารถรู้ได้.อาการปวดเป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายให้คนอื่นฟัง มันเป็นความรู้สึกที่มาจากทั้งทางร่างกายรวมถึงจิตใจ แม้คุณจะเป็นเอาใจใส่สนใจมากแค่ไหน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะรู้ความรู้สึกที่แท้จริงของเขาได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ให้กำลังใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นคนที่สนใจความรู้สึกผู้อื่น.การเป็นคนเอาใส่ใจความรู้สึกผู้อื่นนั้นบ่งบอกถึงความพยายามที่จะเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยคนนั้น โดยการมองให้เห็นทัศนคติ และ พฤติกรรมของคนคนนั้นผ่านทางดวงตา เพื่อให้รู้ว่าควรจะทำอย่างไรและพูดอะไรกับคนคนนั้น [5]
    • ความเจ็บป่วยของพวกเขาไม่ได้ทำให้พวกเขาแตกต่างจากคนปกติ แม้พวกเขาจะใช้เวลาเกือบทั้งวันไปกับอาการปวด แต่พวกเขาก็ยังต้องการทุกสิ่งที่เหมือนกับคนปกติที่สุขภาพดี รวมทั้งต้องการที่จะมีความสุขกับงาน ครอบครัว เพื่อน และกิจกรรมยามว่างเหมือนเดิม
    • ผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังนั้นอาจจะรู้สึกอึดอัดที่ควบคุมอาการปวดของตนเองไม่ได้ ซ้ำอาการปวดยังทำให้หมดสนุกและรู้สึกสิ้นหวัง โศกเศร้า และหดหู่ไปทุกอย่าง
    • พึงระลึกไว้ว่าคุณโชคดีแค่ไหนที่มีสุขภาพร่างกายที่ดี สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปกติ และลองคิดดูว่าหากทำไม่ได้จะรู้สึกอย่างไร
  2. ยอมรับความสามารถว่าพวกเขาทำได้ดีที่สุดแล้ว.พวกเขาอาจจะพยายามแสดงออกว่ามีความสุขดี ทำสิ่งต่างๆ ได้ตามปกติ เพราะพวกเขาเชื่อว่าสิ่งนั้นดีที่สุดแล้ว และหากพวกเขาบ่นว่าปวด ก็คือปวดจริงๆ
  3. รับฟัง.สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้ สำหรับผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังคือ รับฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟัง และพยายามเข้าใจสิ่งที่พวกเขารู้สึกและต้องการจริงๆ
    • คุณต้องแสดงออกให้ชัดเจนว่าต้องการให้พวกเขาบอกอะไร เพราะผู้ป่วยหลายคนเข้าใจว่าคนรอบข้างจะไม่เชื่อคำพูดของเขา หรือต้องการเยาะเย้ยในความอ่อนแอของพวกเขา
    • อ่านใจให้ได้ว่าพวกเขามีอะไรซ่อนอยู่ ทั้งทางท่าทางที่แสดงออกมาและน้ำเสียงการพูด
    • แสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมา แชร์ความรู้สึกที่แท้จริงของคุณออกมาให้เขาเห็น เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเกิดความเชื่อมั่นในตัวคุณ
    • คุณสามารถคลิกเข้าไปอ่านเรื่อง วิธีเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นผู้ฟังที่ดีได้
  4. อดทน .ถ้าคุณรู้ตัวว่าเป็นคนที่ไม่มีความอดทน และต้องการให้พวกเขาทนหรือเพิกเฉยต่ออาการปวดไป เพื่อเป็นการปัดรำคาญ การทำแบบนั้นจะทำให้พวกเขายิ่งรู้สึกทุกข์กับอาการปวดและรู้สึกว่าท้อหรือหมดหนทางที่จะรักษาลงเรื่อยๆ
    • อย่าทำให้พวกเขารู้สึกเสียใจหรือน้อยใจ เพราะพวกเขาอาจจะทำร้ายร่างกายและจิตใจของตัวเองเป็นการระบาย จากความคิดที่ว่าพวกเขาพยายามทำทุกอย่างแล้ว แต่ไม่ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรยอมรับในสิ่งที่เขาทำเป็นอยู่
    • อาจเป็นไปได้ที่พวกเขาจะยกเลิกนัด หรือ สิ่งที่เพิ่งบอกว่าจะทำอย่างกะทันหัน ก็จงอย่าไปหงุดหงิดหรือต่อว่าพวกเขา
  5. ให้ความช่วยเหลือ.พวกเขาต้องการให้คนปกติอย่างเราอยู่ดูแลที่บ้าน หรือไปเยี่ยมเมื่อพวกเขาป่วยหนักจนไม่สามารถออกไปนอกบ้านได้ อาจจะจำเป็นต้องให้ช่วยอาบน้ำ แต่งตัว ดูแลกิจวิตรประจำวันอื่นๆ รวมทั้งช่วยพาไปพบแพทย์ คุณอาจจะแค่ให้พวกเขาทำไปตามปกติ แต่คอยช่วยเหลือแค่สิ่งที่ทำเองไม่ได้
    • คนรอบข้างหลายๆ คนอาจจะต้องการให้ความช่วยเหลือแต่ไม่สามารถอยู่กับพวกเขาได้เมื่อต้องการ เพราะฉะนั้นถ้าคุณต้องการให้ความช่วยเหลือจริงๆ ควรแน่ใจว่าจะสามารถดูแลพวกเขา และเป็นที่พึ่งพาได้อย่างต่อเนื่อง
  6. จัดการเวลาของการรับผิดชอบตนเองกับการดูแลพวกเขาให้ดี.การที่คุณต้องดูแลผู้ป่วยทุกวัน จำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพตนเองด้วย ไม่หดหู่ตามผู้ป่วย และระลึกไว้เสมอว่าดูแลผู้อื่นได้ แต่ต้องไม่ลืมดูแลตนเอง
  7. รักษาและให้เกียรติพวกเขา.แม้พวกเขาจะมีหลายอย่างที่เปลี่ยนไปจากก่อนเจ็บป่วย แต่ความคิดความอ่านยังคงดีเหมือนเดิม ยังคงอยากทำสิ่งต่างๆ เหมือนเดิม เพียงแต่ถูกจำกัดด้วยอาการเจ็บป่วยทำให้ต้องยกเลิกไป เพราะฉะนั้นต้องมีน้ำใจ ให้เกียรติ และไม่ดูถูกพวกเขา
    • การลงโทษเมื่อผู้ป่วยไม่ทำตามคำสั่ง เป็นการยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกแย่และแสดงให้เห็นว่าคุณไม่เข้าใจพวกเขาเลย แต่ควรเปลี่ยนเป็นพยายามเข้าใจพวกเขาว่าทำไมถึงไม่ทำตามมากกว่า
  8. ดึงพวกเขาเข้ามาอยู่ในชีวิตคุณ.อาการเจ็บป่วยเรื้อรังอาจทำให้พวกเขาไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เท่าเมื่อก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่จำเป็นต้องถามหรือไม่จำเป็นต้องให้พวกเขาวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ควรจัดให้มีบางวันที่ให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ เพราะแค่อาการป่วยก็ทำให้เขารู้สึกแปลกแยกจากคนอื่นมากพอแล้ว ฉะนั้นจึงควรเข้าใจและให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมด้วย
  9. โอบกอดแสดงความรัก.เปลี่ยนจากการให้คำแนะนำเพื่อจัดการกับอาการเจ็บป่วยของพวกเขา เป็นการโอบกอดด้วยความเข้าใจและอบอุ่น แสดงให้เห็นว่าคุณให้กำลังใจพวกเขาอยู่ เพราะพวกเขารู้คำแนะนำต่างๆ จากแพทย์มาหมดแล้ว
    • บางครั้งแค่การตบบ่าเบาๆ ก็ช่วยให้พวกเขารู้สึกอุ่นใจและรู้สึกดีขึ้นได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รู้ว่าควรจะพูดอะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่พูดในเชิงชักจูงให้ทำนั่นนี่.เพราะการพูดลักษณะนี้สามารถทำให้พวกเขาหมดกำลังใจได้ หากคุณต้องการให้พวกเขาทำอะไรก็ตาม ควรถามว่าเขาสามารถทำได้ไหมและเคารพการตัดสินใจ
    • อย่าพูดว่า “แต่ก่อนคุณเคยทำได้นะ” หรือ “ลองดู ฉันรู้ว่าคุณทำได้”
    • ให้ขยับร่างกายให้มากเท่าที่จะทำได้เช่น เดิน ปั่นจักรยาน หรือ รำไทเก๊ก สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดอาการปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ เพราะบางครั้งการอยู่เฉยๆ ก็เป็นสาเหตุให้อาการปวดแย่ลง อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงประโยชน์จากการออกกำลังกาย เลือกออกในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ และไม่ทำให้อาการปวดกำเริบ การออกกำลังกายนั้นช่วยให้เลิกหมกมุ่น และนึกถึงอาการปวดน้อยลงได้ exercise
    • หรือแม้กระทั่งการพูดว่าให้ลองพยายามอีก เพราะบางครั้งการให้พวกเขาพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินความสามารถ ก็อาจจะยิ่งทำให้มีอาการปวดมากขึ้น
    • ผู้ป่วยมักไม่ต้องการถูกตอกย้ำว่าพวกเขาอ่อนแอ หรือถูกบอกให้ทำใจยอมรับกับเรื่องนี้ เพราะแน่นอนว่าพวกเขาย่อมรู้สึกอ่อนแออยู่แล้ว คุณอาจจะแค่ไม่ต้องไปพูดอะไรที่อาจจะสร้างความรู้สึกลบต่อพวกเขา
  2. อย่าทำตัวเหมือนเป็นแพทย์.เป็นธรรมดาที่ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์อยู่บ่อยครั้ง เพื่อรับการรักษาและฟื้นฟูอาการให้ดีขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องแนะนำความรู้เหล่านั้นแก่พวกเขา เพราะแน่นอนว่าคุณไม่ได้รู้ดีไปกว่าแพทย์
    • ระวังเรื่องการแนะนำยาใหม่ๆ หรือการรักษาทางเลือกอื่นๆ ให้กับผู้ป่วยเพราะอาจจะมีผลข้างเคียงต่ออาการที่เป็นอยู่ได้
    • แต่ในผู้ป่วยบางคนก็ไม่ต้องการที่จะลองการรักษาแบบใหม่ๆ ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาไม่อยากให้อาการดีขึ้น แต่เพราะว่าเคยได้ยินและลองมาหลายอย่างแล้ว อาจจะเป็นเพราะไม่พร้อมที่จะลองอะไรใหม่ๆ ด้วยความคิดที่ว่าอาจจะยิ่งสร้างภาระให้มากขึ้นจากที่เป็นอยู่ และหากการรักษานั้นไม่ได้ผล จะรู้สึกท้อแท้ และยิ่งทำให้รู้สึกผิดหวังมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม
    • หากมีวิธีรักษาหรือวิธีการใดๆ ที่ช่วยพวกเขาได้ ก็อาจจะบอกให้พวกเขารับรู้ โดยเลือกช่วงที่คิดว่าเขาจะเต็มใจรับฟัง แล้วค่อยๆ แนะนำให้ลองทำตาม
    • ไม่ต้องสอนหรือแนะนำอะไรเกี่ยวกับการรักษาทางการแพทย์ถ้าพวกเขาไปพบแพทย์เป็นปกติอยู่แล้ว เพราะการควบคุมอาการปวดเป็นเรื่องที่จัดการได้ยาก แต่ละวันอาการปวดไม่คงที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ คำแนะนำนั้นอาจจะไม่ได้เป็นประโยชน์
    • หลีกเลี่ยงการแนะนำว่ายาที่พวกเขาใช้อยู่นั้นดีหรือไม่ดี
  3. หลีกเลี่ยงการพูดไม่คิด.คำพูดบางคำเช่น “ชีวิตก็เป็นแบบนี้แหละ”,“ทำใจซะเถอะ”, “เดี๋ยวก็ลืมๆ มันไปเอง” ,”ไปก่อนนะ ดูแลตัวเองให้ดีล่ะ” หรือ “ตอนนี้คุณก็ดูโอเคอยู่แล้วนะ” ซึ่งเป็นคำที่แสดงออกถึง การไม่ใส่ใจ คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่บ่งบอกว่าคุณไม่ได้เข้าใจพวกเขาหรือพูดปแบบขอไปที มักทำให้พวกเขารู้สึกแย่และหมดหวัง [6]
    • คนที่จะอยู่กับผู้ป่วยให้ได้ ย่อมต้องรู้ให้ชัดเจนว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และรู้ว่าควรจะทำอย่างไรกับพวกเขาบ้าง ไม่ควรคิดหรือคาดเดาเอาเองว่าพวกเขาควรจะรู้สึกอย่างไร
    • ควรพูดเพื่อช่วยแก้ปัญหา แทนที่จะพูดแบบไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร เช่น “ฉันพอจะช่วยอะไรคุณได้บ้าง” หรือ “มีวิธีใดไหมที่ฉันจะช่วยให้อาการของคุณดีขึ้น” [7]
  4. อย่าเปรียบเทียบในเรื่องของสุขภาพ.อย่าพูดในเชิงว่า คุณเคยเป็นแบบนี้มาก่อน แล้วตอนนี้ก็หายแล้ว เป็นการบ่งบอกว่าคุณไม่เข้าใจพวกเขา และยิ่งทำให้รู้สึกล้มเหลวว่าทำไมถึงไม่หาย ทั้งที่คนอื่นก็เป็นเหมือนกันมาก่อน
  5. สร้างความรู้สึกที่เป็นบวก.การอยู่คอยให้กำลังใจ ให้ความรักและทำให้พวกเขารู้สึกมีหวังต่อไปเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเขามาก
    • ทำให้เขารู้สึกว่าคุณยังอยู่เคียงข้างเขา เพราะการมีเพื่อนที่ดีเปรียบเสมือนผู้ช่วยชีวิตในยามทุกข์ยาก
  6. ถามถึงการรักษาที่ได้รับ.ให้ลองถามดูว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรกับการรักษาที่ได้รับอยู่ตอนนี้ พอใจไหม และทำให้อยู่กับความปวดนั้นได้หรือไม่ [8] โดยใช้เป็น คำถามปลายเปิด จะช่วยให้พวกเขาพูดเปิดเผยความรู้สึกออกมาได้ดีกว่า
  7. ถามว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง.อย่าเบื่อที่จะถามพวกเขาว่า อาการตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างเพียงเพราะคิดว่าคำตอบของเขาจะทำให้คุณหนักใจ การถามแบบนี้เป็นการแสดงออกว่าคุณใส่ใจ แม้คำตอบจะออกมาไม่ได้เป็นอย่างที่หวัง แต่มันคือความจริง
    • เมื่อพวกเขาตัดสินใจเปิดใจกับใครสักคน อย่าบอกเขาว่าเขาพูดถึงแต่เรื่องเดิมๆ เพราะอาการปวดนั้นเป็นปัญหาใหญ่สำหรับชีวิตเขา แทนที่จะพูดเรื่องเที่ยว ช็อปปิ้ง กีฬา หรือข่าวเม้าท์ซุบซิบแบบคนทั่วไป
  8. ความเงียบก็เป็นสิ่งที่ดี.บางครั้งการเงียบไม่พูดอะไรก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเพียงแค่มีคุณอยู่ข้างๆ ก็รู้สึกมีความสุข โดยไม่ต้องพูดกันตลอดเวลาก็ได้
  9. ยอมรับว่าไม่รู้.อย่าพูดอะไรที่ซ้ำซากหรือพูดเรื่องที่ไม่จริงเพื่อให้ดูเหมือนรู้ เพราะแพทย์หลายๆ คน ก็ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรังของผู้ป่วย หากไม่รู้ก็ตอบไปตามความจริงและไปค้นคว้าหาคำตอบเพิ่มเติมในภายหลัง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การที่เป็นแบบนี้ไม่ใช่ความผิดของพวกเขา และหากปวดขึ้นมาก็จะทำอะไรไม่ได้ ทำให้รู้สึกหดหู่
  • ออกไปช็อปปิ้ง ส่งจดหมาย ซื้อของมาทำอาหาร หรืออะไรก็ได้
  • อาการปวดหรือไม่สบายนี้จะเปลี่ยนไปได้ตลอดแม้จะเป็นวันเดียวกัน
  • ภายนอกพวกเขาอาจจะดูยิ้มแย้ม แต่จริงๆ แล้วข้างในไม่ได้แสดงออกมาให้เห็น
  • ผู้ป่วยปวดเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากการเสแสร้งหรือเรียกร้องความสนใจ
  • ต้องพิจารณาให้ดีหากจะต้องใช้ชีวิตคู่กับผู้ป่วย ว่าจะสามารถดูแลเขาได้หรือไม่ อย่าฝืนตัวเองหรือกลัวว่าจะเป็นคนไม่ดี
  • อย่าลืมว่าพวกเขาก็คือคนปกติเหมือนกับเรา ต้องการได้รับความสำคัญและมีความสุขเหมือนกับเรา
  • ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการยากลำบากในการดำเนินชีวิต แต่เราก็สามารถทดแทนความยากลำบากเหล่านั้นได้ด้วยการให้ความใส่ใจกับพวกเขาที่กำลังต่อสู้กับโรคเรื้อรัง
  • อาการปวดเรื้อรังนั้น เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า, ต้องเพิ่มความรุนแรงของยาแก้ปวด, เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ เพราะฉะนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับอาการหรือลักษณะที่สังเกตได้ว่าผู้ป่วยคนนี้มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือไม่
  • ผู้ป่วยมักมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับร่วมด้วย หากรักษาเรื่องการนอนหลับหรือภาวะซึมเศร้าก็อาจจะช่วยเรื่องอาการปวดได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,167 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา