ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การหลอกตัวเองเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อนและมีผู้คนเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ การพูดโกหกบ้างเป็นบางครั้งบางคราวไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนชอบหลอกตัวเอง อย่างไรก็ตามหากเราไม่สามารถหยุดโกหกได้ ใช้คำโกหกเพื่อหาผลประโยชน์จากผู้อื่น หรือคำโกหกของเรามีผลกระทบต่อชีวิตของตนเองอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่าเราอาจเข้าข่ายเป็นโรคหลอกตัวเองได้ [1] การเรียนรู้ที่จะเลิกหลอกตัวเองอาจยากลำบาก แต่ก็เป็นการเริ่มต้นไปสู่การเป็นเราคนใหม่ที่รู้จักยอมรับความจริงและซื่อสัตย์ต่อตัวเอง

1

หยุดคิดลบต่อตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราไม่จำเป็นต้องโกหกเพื่อทำให้ผู้อื่นประทับใจ. ถ้าเอาแต่คิดว่าตัวเองดีไม่พอ เราก็อาจอยากโกหกเพื่อทำให้ตัวเองดูดีขึ้นมา ฉะนั้นแทนที่จะโกหก ให้นึกถึงคุณสมบัติที่ดีของตนเองว่ามีอะไรบ้าง นี่คือสิ่งที่ควรเน้นย้ำ ไม่ใช่คำโกหกที่ทำให้ผู้อื่นประทับใจเพียงชั่วคราวหรือการหลอกตัวเองให้เป็นคนที่เราไม่ได้เป็น [2]
    • สมมติเราต้องการให้เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งประทับใจด้วยการบอกว่าเคยดูหนังเรื่องโปรดของเขา แต่ถ้าเราไม่เคยดูมาก่อน ก็ให้บอกไปตามความจริง พูดถึงหนังสนุกๆ ทั้งหมดที่เราเคยไปดูจริงๆ แทนก็ได้!
    • อาจพูดอย่างเช่นว่า "ฉันไม่เคยดูหนังเรื่องนั้นมาก่อนเลย เห็นทีต้องหาเวลาไปดูซะหน่อยแล้ว!"
    โฆษณา
2

ยอมรับผลการกระทำของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงการโกหกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนา. เมื่อทำอะไรผิดพลาดไป อย่าหาข้อแก้ตัว ยอมรับว่าเราได้ทำผิดพลาดไปจริงๆ จากนั้นแสดงความรับผิดชอบด้วยการขอโทษและแก้ไขสถานการณ์ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้การทำแบบนี้จะยากมากและต้องใช้ความมานะพยายามอย่างยิ่ง แต่ความสบายใจที่ได้จากการดำเนินชีวิตโดยยึดถือความซื่อสัตย์คือผลตอบแทนที่คุ้มค่า [3]
    • ถ้าเราทำร้ายความรู้สึกของเพื่อน อย่าโทษพวกเขาหรือแก้ตัวว่าวันนี้เราเจอแต่เรื่องแย่ ให้ยอมรับว่าตนเองทำผิดและพูดว่า ขอโทษ
    • สมมติว่าเราลืมรดน้ำต้นไม้ให้เพื่อนร่วมห้อง อย่าโกหกว่าเราทำให้แล้ว ทั้งๆ ที่เพื่อนของเรากลับมาที่ห้องแล้วพบว่าต้นไม้นั้นเหี่ยวเฉา ยอมรับว่าเราไม่ได้รดน้ำให้เขาและขอโทษ
    • เราอาจไม่ได้รับการให้อภัยเสมอไป แต่ผู้คนก็อาจนับถือเราที่ยอมรับว่าตนเองทำผิด
3

อย่าพูดความจริงแค่บางส่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่เป็นการแสดงว่าเราตั้งใจปิดบังความจริงบางอย่างเอาไว้. [4] เมื่อไรที่พูดกับใครสักคน อย่าตัดรายละเอียดที่ทำให้เราดูแย่หรือบิดบังความจริงบางส่วนของเรื่องราวเอาไว้ สมมติว่าเราไปกินข้าวกับแฟนเก่ามา แต่ไม่กล้าบอกให้ภรรยารู้ อย่าพูดความจริงเพียงบางส่วนว่าเราไปกินข้าวกับเพื่อนเก่ามาหรือไม่บอกเลยว่าไปกินข้าวกับใครมา บอกความจริงไปเพื่อเราจะได้พูดคุยได้อย่างเปิดเผยและตรงไปมาในเรื่องนี้ [5]
    • นี่เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองด้วย
    โฆษณา
4

แก้ไขความขัดแย้งด้วยความซื่อสัตย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งคนเราโกหกเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับผู้อื่น. การมีพฤติกรรมชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นอาจทำให้เรารู้สึกขุ่นเคืองและปิดกั้นตัวเองจากบุคคลที่เราโกหกเขา ฉะนั้นจงซื่อสัตย์เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มาจากการสื่อสารแบบเปิดกว้างและความเชื่อใจ เพราะเป็นการเปิดประตูไปสู่ความสัมพันธ์เชิงลึกกับผู้อื่น ถึงแม้การพูดความจริงออกไปอาจยากลำบากสักหน่อยก็ตาม [6]
    • สมมติสามีของเราลืมแยกผ้าของตัวเองไปเก็บเข้าที่อยู่บ่อยๆ และเรื่องนี้ทำให้เราหงุดหงิดมาก อย่าบอกเขาว่าเรายอมรับพฤติกรรมนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ให้โอกาสเขาได้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร
    • บอกไปเลยตามตรงแต่ก็แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายอย่างเช่น "ฉันเข้าใจนะว่าคุณยุ่ง แต่คืนนี้คุณช่วยแยกผ้าในส่วนของคุณเองไปเก็บได้ไหม"
5

คิดก่อนพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เวลาประมวลความคิดเพื่อเราจะได้ไม่เผลอพูดโกหกออกไป. ถ้าพบว่าตนเองโกหกบ่อยๆ โดยมักจะพูดออกไปอย่างอัตโนมัติ ให้หยุดคิดสักครู่ก่อนที่จะมีส่วนร่วมในการอภิปรายหรือตอบคำถาม เราจะได้มีเวลาคิดคำตอบที่เป็นความจริง ไม่ใช่คำโกหก [7]
    • สมมติเจ้านายถามเราว่าทำงานที่ได้รับมอบหมายชิ้นล่าสุดเสร็จหรือยัง ให้เวลาตัวเองคิดสักครู่หนึ่งก่อน ถามตัวเองว่า "เราทำทุกอย่างตามที่เจ้านายสั่งเสร็จหมดแล้วหรือยัง" ถ้าคำตอบคือไม่ ให้ตอบไปตามความจริง
    โฆษณา
6

ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งการยอมรับความจริงที่ไม่เป็นอย่างใจนั้นยาก สมมติเรามีปัญหาเรื่องเก็บเงินไม่ค่อยได้ เพราะมีนิสัยชอบซื้อของทางออนไลน์แบบไม่ยั้ง การบอกกับตัวเองว่าทุกๆ อย่างเป็นไปด้วยดีและเราไม่มีปัญหาอะไรเลยนั้นง่ายกว่า ในการค้นพบวิธีแก้ปัญหาอย่างแท้จริงและป้องกันไม่ให้โกหกตัวเอง (และผู้อื่น) เราต้องคิดใคร่ครวญอย่างตรงไปตรงมาถึงสิ่งที่เราไม่อยากจะยอมรับนั้น [8]
    • ทุกคนทำผิดกันได้บางครั้ง การคิดใคร่ครวญถึงพฤติกรรมของตนเองอย่างตรงไปตรงมาสามารถช่วยเราเยียวยาและป้องกันไม่ให้ทำผิดพลาดซ้ำในอนาคตได้ การโกหกจะไม่ช่วยอะไรเราในระยะยาว [9]
7

บันทึกคำพูดโกหกลงไปในสมุดบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบันทึกไว้จะช่วยให้เห็นสาเหตุและหยุดพฤติกรรมเอาไว้ได้. ในการเลิกโกหกเราต้องรู้ตัวเมื่อตนเองโกหก เขียนลงไปว่าเราโกหกเรื่องอะไรบ้างตลอดวันนั้นและคิดใคร่ครวญดูสิว่าทำไมเราถึงพูดโกหกไปแบบนั้น การหาสาเหตุจะช่วยให้เรารู้ว่าอะไรเป็นแรงจูงใจให้เราโกหก ไม่ว่าจะเป็นการขาดความมั่นใจหรือความต้องการทำให้ผู้อื่นพอใจก็ตาม [10]
    • การไตร่ตรองอย่างตรงไปตรงมาช่วยบำบัดจิตใจได้มาก ถือเสียว่าสมุดบันทึกเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการประมวลอารมณ์ความรู้สึกและรู้ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
    โฆษณา
8

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นักบำบัดหรือผู้ให้คำปรึกษาสามารถช่วยให้เราเข้าใจสาเหตุที่ตนเองพูดโกหกได้. มีปัจจัยมากมายที่ทำให้คนเราโกหกอย่างเช่น ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ความประหม่าในการเข้าสังคม และความหุนหันพลันแล่น [11] ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่และทำให้เราต้องโกหก ขอให้แพทย์ของเราส่งตัวไปหาผู้เชี่ยวชาญหรือสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตสิว่ามีผู้เชี่ยวชาญท่านใดอยู่ในพื้นที่ของเราบ้าง [12]
    • ถึงแม้จะยาก แต่จงพูดความจริงกับนักบำบัดหรือผู้ให้คำปรึกษาตอนเข้าพบ ผู้เชี่ยวชาญพร้อมที่จะช่วยเหลือเราอยู่แล้ว และจะไม่ตัดสินเราจากปัญหาที่ประสบอยู่หรือพฤติกรรมของเรา
9

เข้ารับการรักษาหากเป็นอาการหนึ่งของความผิดปกติทางจิตใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การชอบหลอกตัวเองยังเป็นอาการหนึ่งของความผิดปกติทางจิตใจอีกด้วย. ความผิดปกติทางจิตใจได้แก่ โรคหลงตัวเอง โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม และโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบก้ำกึ่ง หากคิดว่าการโกหกแท้จริงแล้วอาจเป็นอาการหนึ่งของความผิดปกติทางจิตใจ ขอให้รู้ว่ามีวิธีรักษา การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตอย่างเช่น ผู้ให้คำปรึกษา นักบำบัด หรือจิตแพทย์สามารถให้หนทางการรักษาที่เราต้องการได้ [13]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,513 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา