ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แม้จะฟังดูน่าขยะแขยงสักเล็กน้อย แต่ขี้หูไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลยเมื่อพูดถึงสุขภาพหู ทุกคนต้องมีขี้หูบ้างเพื่อรักษาสุขภาพหูที่ดีและเพื่อให้หูทำงานให้ปกติ แต่ถ้ามีขี้หูมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการอุดตัน เจ็บ หรือกระทั่งติดเชื้อได้ [1] โชคดีที่เรามีวิธีง่ายๆ ในการกำจัดขี้หูด้วยตัวเอง โดยใช้วัตถุดิบในการทำอาหารธรรมดาๆ อย่างน้ำมันมะกอก

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

กำจัดขี้หูด้วยน้ำมันมะกอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าใช้น้ำมันมะกอกถ้าคุณมีอาการบาดเจ็บในหู. แม้ว่าน้ำมันมะกอกจะปลอดภัยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับคนทั่วไป แต่การบาดเจ็บหรืออาการบางอย่างอาจทำให้หูของคุณบอบบางเกินไปที่จะใช้มันได้ ถ้าคุณมีปัญหาต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้ [2] [3]
    • เยื่อแก้วหูทะลุ
    • หูติดเชื้อบ่อยๆ
    • สูญเสียการได้ยินในหูข้างใดข้างหนึ่ง
    • โพรงกระดูกมาสตอยด์มีปัญหา
    • อาการอื่นๆ ที่คุณต้องทำให้หูแห้งอยู่เสมอ
  2. น้ำมันมะกอกช่วยให้ขี้หูนุ่มลงและสลายตัวได้ง่ายขึ้น [4] ก่อนนำน้ำมันมะกอกใส่หู ควรอุ่นให้เท่ากับอุณหภูมิร่างกาย 37 องศาเซลเซียส (98.6 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งคืออุณหภูมิของหูชั้นใน เพราะจะทำให้ใช้ได้ดีขึ้น อุ่นน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ 2-3 ช้อนโต๊ะ
    • อย่าอุ่นน้ำมันจนร้อนเกินไปเพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหูได้
    • แม้ว่าน้ำมันมะกอกจะเป็นตัวเลือกที่นิยม แต่ก็ไม่ใช่ตัวเลือกเดียว คุณสามารถใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ กลีเซอรีน เบบี้ออยล์ หรือน้ำมันแร่ได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน [5]
  3. การอุดตันจะเป็นการดักจับแบคทีเรีย ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อในหูได้ [6] บางคนจึงเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียเพื่อขจัดแบคทีเรียที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการอุดตัน แค่น้ำมันมะกอกอย่างเดียวนั้นช่วยในการทำให้ขี้หูหายอุดตัน [7] อย่าลืมลองหยดน้ำมัน 1-2 หยดลงบนผิวเพื่อทดสอบอาการแพ้ก่อนจะใช้กับหู ถ้าใช้ได้ให้หยดลงในน้ำมันมะกอกที่อุ่นแล้วประมาณ 4 หยด น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ได้ เช่น
    • น้ำมันกระเทียม [8]
    • น้ำมันยูคาลิปตัส [9]
    • น้ำมันลาเวนเดอร์ ปลอดภัยสำหรับเด็ก [10]
    • น้ำมันออริกาโน่ [11]
    • น้ำมันเซนต์จอห์นเวิร์ต [12]
  4. เมื่อผสมน้ำมันมะกอกกับน้ำมันหอมระเหยที่คุณเลือกใช้เสร็จแล้ว ให้ใส่ลงในขวดยาหยอดตา [13] วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้ใช้น้ำมันในปริมาณที่เหมาะสม และจะง่ายกว่าการเทน้ำมันมะกอกใส่หู
  5. คุณไม่จำเป็นต้องใส่น้ำมันให้เต็มหู แค่หยดไม่กี่หยดก็พอให้ชุ่มทั่วแล้ว [14] เอียงศีรษะค้างไว้ 5-10 นาทีเพื่อไม่ให้น้ำมันไหลออกมา
    • คุณอาจจะถือกระดาษทิชชู่ไว้ใกล้ๆ หูเพื่อค่อยซับน้ำมันที่ไหลออกมาเวลาเอียงศีรษะกลับก็ได้
  6. การใช้น้ำมันมะกอกนี้ไม่ได้จะเห็นผลภายในครั้งเดียว คุณควรทำซ้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน ประมาณ 3-5 วัน [15] เท่านี้น่าจะเพียงพอที่จะสลายการอุดตันของขี้หูได้
  7. แม้ว่าน้ำมันมะกอกจะช่วยให้ขี้หูที่อุดตันนุ่มลงได้ แต่บางทีอาจต้องทำมากกว่านั้นเพื่อจะกำจัดมันออก คุณสามารถทำการล้างหูได้ถ้าจำเป็น โดยใช้ลูกยางหลอดหยด (แบบเดียวกับที่ใช้กับเด็ก) เอียงศีรษะ และค่อยๆ ฉีดน้ำอุ่นเข้าไปในช่องหูข้างที่มีปัญหา [16]
    • ควรทำอย่างเบามือมากๆ เพราะหากฉีดน้ำแรงเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหูได้
    • ดึงหูขึ้นไปข้างหลังเพื่อช่วยให้ช่องหูตรง จะทำให้ได้ผลมากขึ้น [17]
    • สามารถให้แพทย์ล้างหูให้ได้ แพทย์จะมีขั้นตอนที่ปลอดภัยกว่าและเครื่องมือที่ใช้แรงดันน้ำที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อหู [18]
  8. ถ้าวิธีการทำให้ขี้หูอุดตันอ่อนลงและการล้างหูใช้ไม่ได้ผล คุณควรไปพบแพทย์ แพทย์จะมีวิธีการอื่นๆ ที่จะช่วยกำจัดขี้หูได้อย่างปลอดภัย [19] และยังสามารถตรวจวินิจฉัยหูของคุณได้ด้วย ปัญหาอาจจะไม่ใช่ขี้หูอุดตันตั้งแต่แรก สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกเหมือนมีการอุดตันในหู ได้แก่ [20]
    • ไซนัสอักเสบ – การอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
    • โรคเมเนียร์หรือน้ำในหูไม่เท่ากัน – เป็นความผิดปกติทางการได้ยินและสมดุลในหูชั้นใน
    • โรคหูน้ำหนวก – มีถุงน้ำในหูชั้นกลาง
    • เนื้องอกที่เส้นประสาทหู
    • โรคเชื้อรา
    • หูชั้นกลางอักเสบ – ติดเชื้อในหูชั้นกลาง
    • ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ใช้วิธีอื่นๆ เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บ่อยครั้งปัญหาความดันในหูก็ไม่ได้เกิดจากขี้หูอุดตัน แต่เป็นความผิดปกติของท่อยูสเตเชียนในหูชั้นกลาง [21] คุณสามารถทำให้ท่อนี้เปิดเพื่อทำให้ความดันหูเท่ากันได้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น [22]
    • การหาว
    • การเคี้ยว
    • การกลืน
    • พยายามหายใจออกทางจมูกขณะเอานิ้วปิดรูจมูกไว้
    • สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดความผิดปกติของท่อยูสเตเชียน ได้แก่ โรคหวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ การเปลี่ยนระดับความสูง และการเจอมลพิษทางอากาศ เช่น ควันบุหรี่ [23]
  2. การคัดจมูกทำให้ความดันในหูผิดปกติ แต่คุณสามารถลดความดันนั้นได้ง่ายๆ ด้วยการดื่มน้ำเยอะๆ น้ำจะช่วยละลายเสมหะที่จะเพิ่มความดันได้ [24] พยายามดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยแปดแก้วต่อวัน
  3. คุณสามารถช่วยไหลน้ำมูกไหลได้สะดวกขึ้นโดยเพิ่มหมอนหนุนและทำให้ศีรษะยกสูงไว้ [25] วิธีนี้จะช่วยลดความดันในหู [26]
  4. ใช้ผ้าร้อนๆ วางบนหูสักพัก คุณอาจจะวางถ้วยบนผ้าบริเวณที่ปิดหูอยู่เพื่อช่วยกักเก็บความร้อนก็ได้ [27]
  5. ถ้าความดันในหูเกิดจากการคัดจมูก คุณก็สามารถอาบน้ำร้อนได้ มันจะช่วยให้เสมหะที่อยู่ในโพรงจมูกสลายตัว ซึ่งจะช่วยลดความดัน [28]
  6. ยาที่ขายทั่วไปมีหลากหลายชนิด ซึ่งช่วยลดความดันในหูได้ตามสาเหตุเฉพาะ ตัวเลือกหลักๆ ได้แก่
    • ยาแก้แพ้ – ถ้าความดันในหูเกิดจากการคัดจมูกจากภูมิแพ้ตามฤดูกาลหรืออาการแพ้ต่างๆ คุณสามารถกินยาแก้แพ้เพื่อช่วยบรรเทาอาการได้
    • ยาแก้คัดจมูก – ถ้าความดันในหูเกิดจากการคัดจมูกเนื่องจากโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ยาแก้หวัดที่มีตัวยาลดน้ำมูกก็จะช่วยบรรเทาอาการที่ทำให้เกิดความดันได้
    • ยาละลายขี้หู – ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์เหมือนกับน้ำมันมะกอก คือช่วยทำให้ขี้หูที่อุดตันและเป็นสาเหตุของความดันในหูอ่อนนุ่มลง [29]
  7. ถ้าความดันในหูทำให้คุณเจ็บ และตัวเลือกที่กล่าวมานั้นไม่ช่วยให้ดีขึ้น คุณควรไปพบแพทย์ แพทย์จะสามารถวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าขี้หูไม่หายไป ควรพบแพทย์ แพทย์จะมีเครื่องมือที่ใช้กำจัดขี้หูที่สะสมโดยเฉพาะ อย่างเครื่องดูดเล็กๆ เหมือนเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถดูดขี้หูออกมาได้ [30]
  • อย่าปล่อยให้ขี้หูอุดตันสะสมโดยไม่กำจัด ถ้ามันอุดตันในหูจนทั่ว ความดันที่เพิ่มขึ้นจะเป็นอันตรายหรือทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ [31]
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามใช้วิธีนี้ถ้าเยื่อแก้วหูของคุณทะลุหรือฉีกขาด
  • ห้ามใช้คอตตอนบัดหรือสิ่งอื่นๆ ในการแคะหู เพราะมันจะยิ่งไปอัดขี้หูให้ลึกเข้าไปอีก และอาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้
  • ต้มน้ำมันมะกอกให้อุ่นกำลังดี ลองหยด 1-2 หยดบนท้องแขนดูก่อนว่ามันไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
โฆษณา
  1. Sarrell, EM., Cohen, HA., Kahan, E., Naturopathic Treatment for Ear Pain in Children., Pediatrics Vol. 111 No. 5 May 1, 2003, pp. e574 -e579
  2. Can Baser, KH., Biological and Pharmacological Activities of Carvacrol and Carvacrol Bearing Essential Oils, Current Pharmaceutical Design, 14 (29), 3106-3119, 2008.
  3. Patocka, J., The chemistry, pharmacology, and toxicology of the biologically active constituents of the herb Hypericum perforatum L. J. Applied Biomedicine 1, 61-70.,2003.
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/earwax-blockage/basics/lifestyle-home-remedies/con-20018904
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/earwax-blockage/basics/lifestyle-home-remedies/con-20018904
  6. http://patient.info/health/earwax-leaflet
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/earwax-blockage/basics/lifestyle-home-remedies/con-20018904
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/earwax-blockage/basics/lifestyle-home-remedies/con-20018904
  9. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  10. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  11. http://www.md-health.com/Pressure-In-Ear.html
  12. http://www.md-health.com/Ear-Congestion.html
  13. http://www.md-health.com/Ear-Congestion.html
  14. https://www.bcm.edu/healthcare/care-centers/otolaryngology/conditions/eustachian-tube-dysfunction
  15. http://www.md-health.com/Pressure-In-Ear.html
  16. http://www.md-health.com/Pressure-In-Ear.html
  17. http://www.md-health.com/Pressure-In-Ear.html
  18. http://www.md-health.com/Pressure-In-Ear.html
  19. http://www.md-health.com/Pressure-In-Ear.html
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0072538/
  21. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  22. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,909 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา