PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เกลือสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของมนุษย์ โซเดียมที่คุณได้รับจากเกลือช่วยควบคุมความดันโลหิตและทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ แต่การบริโภคเกลือมากเกินไปก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน เช่น โรคความดันโลหิตสูงและมีความเสี่ยงที่จะหัวใจล้มเหลวหรือเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันมากขึ้น คุณสามารถลดระดับโซเดียมในร่างกายได้ด้วยการรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ ออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานอาหารโซเดียมต่ำ [1] แต่คุณก็ต้องระมัดระวังเวลาปรับปริมาณการบริโภคโซเดียมเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านสุขภาพด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

รักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หนึ่งในวิธีการขับของเสียและสารอาหารที่เกินมาออกจากร่างกายได้ดีที่สุดก็คือ การรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ ซึ่งวิธีการที่เรียบง่ายที่สุดก็คือการดื่มน้ำ แม้ว่าปริมาณน้ำที่ควรดื่มในแต่ละวันจะต่างกันไปในแต่ละคน แต่แนวทางพื้นฐานเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับคนส่วนใหญ่ได้ : [2]
    • โดยเฉลี่ยแล้วผู้ชายควรดื่มน้ำวันละ 13 ถ้วย (3 ลิตร)
    • โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงควรดื่มน้ำวันละ 9 ถ้วย (2.2 ลิตร)
  2. แม้ว่าการดื่มน้ำจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ แต่คุณก็ยังสามารถบริโภคของเหลวจากแหล่งอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน นอกจากเครื่องดื่มแล้ว คุณยังได้ของเหลวจากอาหารต่างๆ ที่คุณรับประทานอีกด้วย ผักและผลไม้สด และซุปใสไม่เติมโซเดียมล้วนเป็นแหล่งอาหารที่คุณจะได้บริโภคของเหลวเข้าไป [3]
  3. แม้ว่าเครื่องดื่มเกลือแร่อย่างเกเตอเรดหรือสปอนเซอร์อาจเป็นตัวเลือกที่ดีเวลาที่คุณสูญเสียน้ำหลังจากออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงหรือเมื่อคุณป่วย แต่มันก็มักจะมีปริมาณโซเดียมสูง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเกลือแร่ยกเว้นว่าคุณจะออกกำลังกายเป็นเวลานาน (ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป) หรือแพทย์แนะนำให้คุณดื่มเพื่อช่วยต่อสู้กับอาการขาดน้ำที่เกิดจากความเจ็บป่วย [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ออกกำลังกาย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ร่างกายของคุณจะขับทั้งน้ำและเกลือออกมาทางเหงื่อ ด้วยเหตุนี้เองการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เหงื่อแตกพลั่กๆ จึงเป็นวิธีที่ดีในการกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย [5]
    • ออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูง เช่น การออกกำลังกายแบบครบวงจร เพื่อให้รูปร่างของคุณสมส่วนและขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย
    • อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ คุณอาจจะออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำที่ช่วยให้คุณเหงื่อออกได้เหมือนกัน เช่น โยคะร้อน แต่ก็ต้องระวังไว้ว่า โยคะร้อนอาจเป็นอันตรายต่อคนที่ทนความร้อนได้ต่ำ เพราะฉะนั้นปรึกษาแพทย์ก่อนเล่นโยคะร้อนเป็นประจำ [6]
  2. จริงๆ แล้วการปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำขณะออกกำลังกายจะยิ่งทำให้ร่างกายกักเก็บเกลือ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่เรียกว่า ภาวะโซเดียมในเลือดสูงได้ [7] ดื่มน้ำเรื่อยๆ ขณะออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณร้อนหรือเหงื่อออกมาก
    • ปริมาณน้ำที่คุณควรดื่มระหว่างออกกำลังกายจะขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล และความเข้มข้นกับระยะเวลาในการออกกำลังกาย ระหว่างออกกำลังกายเบาๆ หรือออกกำลังกายประจำวัน เช่น ออกกำลังกายครึ่งชั่วโมงที่ฟิตเนส ดื่มน้ำเพิ่มสัก 1 ½ - 2 ½ ถ้วย (400-600 มล.) ก็น่าจะเพียงพอแล้ว [8]
  3. สอบถามแพทย์เรื่องการรักษาสมดุลที่ดีของอิเล็กโทรไลต์. การสูญเสียโซเดียมมากเกินไประหว่างออกกำลังกายก็อาจเป็นอันตรายได้ การดื่มน้ำขณะออกกำลังกายมากเกินไปอาจทำให้ระดับโซเดียมและอิเล็กโทรไลต์อื่นๆ ลดต่ำมากเกินไป เกิดเป็นภาวะโซเดียมในเลือดต่ำที่มีสาเหตุมาจากการออกกำลังกาย [9] ปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการกีฬาว่า คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าร่างกายไม่ได้ขับโซเดียมออกมามากเกินไปขณะออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำอยู่แล้ว [10]
    • สำหรับการออกกำลังกายที่ยาวนานหรือเข้มข้นจริงๆ คุณอาจจะต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อไม่ให้ระดับเกลือในร่างกายลดต่ำจนเป็นอันตราย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

เปลี่ยนการรับประทานอาหาร

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณกังวลว่าคุณจะได้รับเกลือจากอาหารมากเกินไป ให้ปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์หรือนักโภชนาการที่มีใบอนุญาต เขาสามารถช่วยระบุได้ว่าคุณต้องลดปริมาณการบริโภคโซเดียมไหม และคุณควรได้รับโซเดียมจากอาหารในปริมาณเท่าไหร่
  2. แพทย์แนะนำว่า ผู้ใหญ่ที่ร่างกายแข็งแรงส่วนใหญ่ไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 2,300 มก. ต่อวัน ซึ่งปัจจุบันพบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมเกินมาตรฐานถึง 2 เท่า [12] คุณสามารถลดการบริโภคเกลือได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน : [13]
    • รับประทานของสดแทนอาหารบรรจุสำเร็จรูป เนื้อบรรจุสำเร็จรูป เช่น เนื้อสัตว์สไลด์แผ่นบาง เบคอน หรือไส้กรอกนั้นมักจะใส่เกลือเพิ่มจำนวนมาก
    • มองหาผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า “โซเดียมต่ำ” อ่านฉลากอาหารบรรจุสำเร็จรูปให้ดีเพื่อเช็กปริมาณโซเดียม
    • ตัดเกลือออกจากสูตรอาหารไปเลยถ้าทำได้ ลองปรุงรสอาหารด้วยเครื่องปรุงอื่นๆ เช่น พริกไทยไม่ใส่เกลือหรือผงกระเทียมแทน
  3. โพแทสเซียมก็เป็นอิเล็กโทรไลต์ที่สำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อให้มีสุขภาพดีเช่นเดียวกับโซเดียม คนส่วนใหญ่รับประทานโซเดียมมากเกินไปแต่ได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ การได้รับโพแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอในแต่ละวันช่วยให้ร่างกายกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกไปได้ [14] แหล่งโพแทสเซียมที่ดีได้แก่ :
    • มันฝรั่งอบทั้งเปลือก
    • อะโวคาโด
    • กล้วย
    • ผักใบเขียว เช่น ผักปวยเล้งหรือคะน้า
    • ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ตหรือนม
    • ถั่วฝักและถั่วเมล็ดแบน
  4. หลักการบริโภคอาหารต้านความดันโลหิตสูงหรือแดชนั้น เป็นหลักการรับประทานอาหารที่เน้นลดการบริโภคเกลือและรับประทานในปริมาณที่ดีต่อสุขภาพ แพทย์หรือนักโภชนาการอาจจะแนะนำอาหารแดชมาตรฐานหรืออาหารแดชโซเดียมต่ำให้แล้วแต่ความต้องการของร่างกาย ถ้าเป็นการรับประทานอาหารแดชแบบมาตรฐาน คุณก็สามารถบริโภคเกลือได้วันละ 2,300 มก. แต่ถ้าเป็นการรับประทานแบบโซเดียมต่ำ คุณจะบริโภคเกลือได้ไม่เกินวันละ 1,500 มก. [15]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ปรับระดับเกลืออย่างปลอดภัย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระมัดระวังเวลาลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งวันหรือรับประทานอาหารน้อยลงอย่างฉับพลัน. หลักการดูแลสุขภาพที่ฮิตเป็นช่วงๆ ไม่ว่าจะเป็นการล้างพิษด้วยน้ำผลไม้หรือการล้างพิษด้วยน้ำเกลืออ้างว่าสามารถล้างพิษล้างกาย ขับสิ่งตกค้าง และช่วยลดปัญหา เช่น ท้องอืดและการกักเก็บน้ำในร่างกายได้ แต่เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีหรือไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนเลยว่า หลักการรับประทานอาหารหรือการล้างพิษที่นิยมกันเป็นพักๆ นั้นได้ผลจริง และยังอาจส่งผลกระทบต่อระดับโซเดียมในร่างกายอย่างรุนแรง และบางครั้งก็อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายด้วย [16]
    • การล้างพิษด้วยน้ำผลไม้หรือการดื่มแต่น้ำผลไม้อย่างเดียวอาจทำให้ระดับโซเดียมในร่างกายต่ำลงถึงขั้นเป็นอันตรายและทำให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบหัวใจและระบบประสาทได้ [17]
    • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วด้วยน้ำเกลืออาจส่งผลให้ไตทำงานหนักและทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ร่างกายขาดน้ำ ท้องอืด อาการบวมน้ำ หรือความดันโลหิตสูง [18]
  2. แม้ว่ามันจะฟังดูตรงข้ามกับความเชื่อที่มีอยู่ แต่คุณสามารถดื่มน้ำมากเกินไปได้จริงๆ ถ้าคุณบังคับให้ตัวเองดื่มน้ำมากเกินไปขณะออกกำลังกายหรือแค่เพราะอยากจะชำระล้างภายในร่างกาย คุณก็อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ หรือภาวะขาดเกลือในเลือด ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอาจทำให้สมองบวมจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ [19]
    • มันยากที่จะรู้ได้ว่าปริมาณน้ำแค่ไหนที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงหรือออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทาน วิธีที่ดีที่สุดก็คือฟังร่างกายของตัวเอง ดื่มน้ำเมื่อหิว และหยุดดื่มเมื่อหายหิว
  3. ปรึกษาแพทย์เรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตที่สำคัญ. การปรับเปลี่ยนการบริโภคโซเดียมอย่างฉับพลันหรือเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกายแบบใหม่อาจส่งผลต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น โรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน เพราะฉะนั้นก่อนเปลี่ยนแปลงเรื่องสำคัญ ให้ปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการก่อน เขาสามารถช่วยวางแผนที่ปลอดภัยเพื่อให้คุณไปถึงเป้าหมายด้านสุขภาพได้ [20]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,505 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา