ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คนทุกคนมีความฝันเป็นของตัวเอง ไม่ว่าความฝันนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ต่างก็มีความสำคัญในชีวิตของเราทั้งนั้น การประสบความสำเร็จในแต่ละเป้าหมายนั้นก็เกี่ยวเนื่องกับความสุขและความเป็นอยู่ของคนเราเช่นกัน [1] ทั้งยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองอีกด้วย เส้นทางสู้เส้นชัยของเรานั้นยังมีส่วนช่วยพัฒนาให้เราเก่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าเป้าหมายของคุณจะเป็นการหาเงินให้ได้ซักล้านหนึ่ง เป็นนักจิตกรที่มีชื่อเสียง หรือเป็นนักกีฬาทีมชาติ อย่ารอ เริ่มเลยวันนี้เพื่อความฝันของคุณ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การตั้งเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นแรกของคุณคือการกำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่คุณต้องการที่จะทำให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เล็กหรือใหญ่ก็ตาม การใช้เวลาสักหน่อยเพื่อค้นหาเป้าหมายของตัวคุณเองก็เป็นขั้นแรกที่สำคัญยิ่งสู่ความสำเร็จ
    • เช่น เป้าหมายของคุณคือต้องการจะมีความสุขมากขึ้น ต้องการหัดเล่นเครื่องดนตรี ต้องการเก่งทางด้านกีฬา ต้องการสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามก็อยู่ที่คุณจะตัดสินใจ
  2. เมื่อคุณค้นพบว่าคุณต้องการอะไรแล้ว คุณต้องเริ่มคิดว่าเป้าหมายเหล่านั้นคืออะไรสำหรับคุณ ความหมายของเป้าหมายของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป [2]
    • เช่น หากเป้าหมายของคุณคือการที่จะมีความสุขให้มากขึ้น คุณต้องคิดว่าความสุขหมายความว่าอะไรสำหรับคุณ ชีวิตที่ดีเป็นอย่างไร อะไรที่จะทำให้คุณมีความสุข
    • รวมถึงเป้าหมายที่มีความหมายกว้างๆ เช่นกัน หากเป้าหมายของคุณคือการเล่นกีตาร์ ต้องหาว่าคุณต้องการระดับไหนกันแน่ คุณจะพอใจหรือไหมหากคุณเล่นเป็นเพียงไม่กี่คอร์ดที่จำเป็นเพื่อที่คนจะได้ร้องตามได้ในงานเลี้ยง หรือว่าคุณต้องการที่จะเป็นนักกีตาร์คลาสสิคเพื่อออกงาน ดังนั้นความหมายคำว่าต้องการเล่นกีตาร์ให้เป็นจึงแตกต่างกัน
  3. เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้เวลาคิดสักคิดว่าทำไมคุณถึงกำหนดเป้าหมายที่คุณกำหนดขึ้นมา หากคุณคิดเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของคุณ คุณอาจต้องลองกลับมาทบทวนเป้าหมายของคุณดูอีกสักครั้ง [3]
    • เช่น ลองจินตนาการว่าเป้าหมายของคุณคือการเล่นกีตาร์ให้เป็น หากคุณลองคิดดูว่าทำไม หากเหตุผลของคุณคือคุณคิดว่าคนที่เล่นกีตาร์เป็นเป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนๆ ในโรงเรียน เหตุผลนี้ไม่ได้สมเหตุสมผลนัก คุณควรลองถามตัวเองว่ามีเหตุผลอื่นอีกไหม ทางที่ง่ายและน่าจะได้ผลดีกว่าการเล่นกีตาร์
  4. สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด คุณต้องตัดสินใจว่าเป้าหมายของคุณตั้งอยู่บนความเป็นจริงหรือไม่ ความจริงที่แสนเศร้าคือความฝันบางอย่างไม่สามารถเป็นจริงได้ หากเป้าหมายของคุณอยู่นอกเหนือจากความเป็นจริงคุณคงต้องหาเป้าหมายใหม่ [4]
    • จินตนาการว่าคุณต้องการเป็นนักบาสเก็ตบอลที่เก่งที่สุดในโลก เป้าหมายนี้ถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมากสำหรับทุกคน แต่อาจเป็นจริงได้เพียงกับบางคนเท่านั้น แต่หากคุณสูงแค่ 150 เซนติเมตร เป้าหมายนี้คงจะสูงเกินไปสำหรับคุณ เป้ามายของคุณครั้งนี้มีแต่จะนำคุณไปพบกับความผิดหวังและเสียกำลังใจในชีวิต. [5] แต่คุณก็ยังสามารถมีความสุขกับการเล่นบาสเก็ตบอลกับเพื่อนๆ ของคุณ แต่หากคุณอย่างเก่งกาจในเรื่องกีฬา คุณควรหากีฬาที่ส่วนสูงของคุณไม่เป็นอุปสรรค
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วางแผน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณหาเป้าหมายได้คร่าวๆ แล้ว คุณต้องเจาะลงไปยังเป้าหมายของคุณและเขียนแผนการออกมา ขั้นแรกคือลองเขียนอะไรก็ตามที่คุณนึกออก หากระดาษสักแผ่นและเขียนความคิดของคุณตามหัวข้อดังนี้ [6]
    • อนาคตในฝันของคุณ
    • สิ่งที่คุณชื่นชอบในผู้อื่น
    • สิ่งที่สามารถพัฒนา
    • สิ่งที่คุณต้องการศึกษาเพิ่มเติม
    • นิสัยที่คุณต้องการปรับปรุง
    • ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพและเห็นความเป็นไปได้ของฝันของคุณ หลังจากเขียนลงกระดาษเรียบร้อยแล้ว คุณก็สามารถกำหนดได้แล้วว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณ
  2. เมื่อคุณได้คิดเกี่ยวกับเป้าหมายของคุณและเขียนลงกระดาษแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องเจาะจงลงไป ใช้กระดาษที่คุณเขียนเกี่ยวกับเป้าหมายของคุณ เขียนสิ่งที่คุณอยากทำให้สำเร็จหรืออยากจะทำ [7]
    • เป้าหมายที่คลุมเครือเช่น “ฉันอยากจะเล่นให้เก่งขึ้น ดังนั้นฉันจะพยายามให้ดีที่สุด” มักจะไม่ใช่เป้าหมายที่ดีเท่ากับ “ฉันอยากเล่นเพลงที่ฉันชอบให้ได้ภายในหกเดือน” การตั้งเป้าหมายกว้างๆ คลุมเครือ “ทำให้ดีที่สุด” มักไม่ใช่วิธีที่ดีเท่ากับการตั้งเป้าหมายที่เจาะจงลงไป
    • ไปให้ไกลกว่าเป้าหมายธรรมดาเช่น “ฉันอยากจะรวย” และให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่จะทำให้เกิดความรวยแทน เช่น แทนที่จะบอกว่า “ฉันอยากจะรวย” ควรเป็น “ฉันอยากจะชำนาญด้านการเล่นหุ้น” หรือ แทนที่จะบอกว่า “ฉันอยากเล่นกีตาร์ให้เป็น” ควรเป็น “ฉันอยากเป็นนักกีตาร์เล่นนำในวงร็อค”
    • ยิ่งเขียนมากเท่าไรยิ่งดี คุณควรพยายามเขียนรายละเอียดของเป้าหมายคุณให้มากที่สุด
  3. วิธีที่จะกำหนดและประเมินเป้าหมายของคุณคือการใช้เทคนิค S.M.A.R.T. วิธีนี้จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายของคุณ [8]
    • เจาะจง (Specific)
    • ประเมินค่าได้ (Measurable)
    • เป็นจริงได้ (Achievable)
    • สำคัญ (Relevant)
    • เวลาเหมาะสม (Time-bounded)
  4. ผู้คนมากมายต่างมีเป้าหมายแตกต่างกันไป ความจริงคือในขั้นตอนที่คุณเขียนเป้าหมายของคุณ คุณอาจค้นพบว่าคุณมีเป้าหมายมากกว่าหนึ่งที่ต้องการบรรลุ ในกรณีนี้คุณควรจัดอันดับความสำคัญให้แต่ละเป้าหมายของคุณ
    • การจัดอันดับเป้าหมายของคุณจะช่วยให้คุณมีสมาธิกับสิ่งที่สำคัญที่สุดของคุณ
    • เช่น คุณอาจต้องการจบปริญญาเอกในสาขามนุษยศาสตร์ เล่นกีตาร์คลาสสิค อ่านหนังสือของรวบรวมงานของลีโอ ตอลสตอย และวิ่งมาราธอน เป็นไปไม่ได้หากคุณต้องการทำทุกอย่างพร้อมกัน ดังนั้นการจัดอันดับว่าเป้าหมายใดที่สำคัญที่สุดจะช่วยให้คุณวางแผนชีวิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
    • ขั้นตอนนี้คือการเข้าถึงความรับผิดชอบของคุณต่อแต่ละเป้าหมาย เป้าหมายที่ยากหรือใช้เวลานานที่คุณไม่ได้ให้ความรับผิดชอบเท่าที่ควรมักจะไม่สำเร็จ [9] หากคุณแค่เพียงอยากได้ปริญญาเอกด้านมนุษย์วิทยา แต่ไม่ได้อยากได้มากนัก คุณไม่ควรนำมันเป็นเป้าหมายหลักในชีวิต
  5. ใช้เวลาคิดเกี่ยวกับผลของแต่ละเป้าหมายที่มีต่อชีวิตของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณกำหนดข้อดีของการบรรลุเป้าหมายได้ [10]
    • การคิดถึงผลนั้นยังช่วยทำให้คุณเห็นภาพขั้นตอนสู้การบรรลุเป้าหมายนั้นๆ ซึ่งจะทำให้คุณมีกำลังใจมากขึ้น
  6. เป้าหมายส่วนใหญ่จะสำเร็จได้ง่ายขึ้น หากแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ส่วนย่อยๆ เหล่านี้คือส่วนเล็กๆ ที่เมื่อรวมกันแล้วจะกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ที่คุณตั้งไว้ [11]
    • เช่น หากคุณต้องการเล่นกีตาร์ให้เป็น คุณควรตั้งเป้าหมายย่อยเป็น หากีตาร์สักตัว เป้าหมายต่อไปคือ ลองหาคอร์สเรียนกีตาร์ดู ต่อไปคือเรียนรู้คอร์ดง่ายๆ ดู และต่อๆ ไป
    • การตั้งตารางเวลาให้กับเป้าหมายย่อยเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีสมาธิและทำตามตารางเวลา [12] ดังตัวอย่างข้างบน คุณอาจตั้งเป้าหมายที่จะมีเงินมากพอสำหรับซื้อกีตาร์ในสามเดือน คุณอาจตั้งเป้าหมายว่าจะเข้าเรียนกีตาร์ให้อาทิตย์ถัดไป เรียนคอร์ดพื้นฐานในอีกสองเดือน และขั้นตอนๆ อื่นๆ ต่อไป
  7. สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ดูว่าอุปสรรคอะไรที่จะทำให้เราไม่สำเร็จเป้าหมาย คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนหน้าจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณเตรียมการข้ามผ่านปัญหาต่างๆ [13]
    • เช่น คุณอาจพบว่าคอร์สการเล่นกีตาร์แพงไปสำหรับคุณในตอนนี้ อุปสรรคนี้อาจนำไปสู้การที่คุณต้องทำงานหาเงินเพิ่ม หรือคุณอาจจะลองหาวิธีเรียนรู้ด้วยตัวเองจากหนังสือหรือคลิปวีดีโอ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทำตามแผน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อจะช่วยให้ขั้นตอนสู้ความสำเร็จของคุณง่ายขึ้นและทำให้คุณจดจ่อกับสิ่งนั้นๆ แต่สุดท้ายแล้วเป้าหมายส่วนใหญ่จะสำเร็จได้ก็ด้วยการให้เวลาและความพยายามทุ่มเทกับมัน [14]
    • คำนึงเกี่ยวกับระยะเวลาที่คุณคิดว่าจะถึงเป้าหมายของคุณ และเมื่อไรที่คุณอยากจะบรรลุเป้าหมาย เช่น คิดว่าคุณต้องการ 40 ชั่วโมงเพื่อที่จะเก่งในการเล่นกีตาร์และคุณต้องการเรียนรู้ทั้งหมดในหนึ่งเดือน คุณจะต้องใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงกว่าๆ ในแต่ละวันเพื่อบรรลุเป้าหมาย
    • ไม่มีวิธีอื่นแล้วนอกจากการให้เวลากับเป้าหมายของคุณหากคุณต้องการจะเป็นบรรลุเป้าหมายจริงๆ
  2. การทำให้เป็นนิสัยจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ทำตารางเวลาของคุณขึ้นสำหรับทุกๆ วัน [15]
    • เช่น คุณอาจใช้เวลาครึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ 6.30 ฝึกฝนดนตรี คุณยังสามารถใช้เวลาอีกครึ่งชั่วโมงหัดเล่นคอร์ดต่างๆ หลังจากนั้นคุณอาจใช้เวลาอีก 15 นาที เล่นเพลงสักเพลงหนึ่ง หากคุณทำตามตารางนี้ทุกวัน คุณจะสามารถเล่นดนตรีเป็นอย่างรวดเร็ว
  3. เมื่อคุณเริ่มทำตามขั้นตอน ให้ติดตามความคืบหน้า จดบันทึกโดยโปรแกรมในมือถือหรือจดในปฏิทิน ว่าเป้าหมายย่อยอะไรบ้างที่คุณทำได้สำเร็จแล้ว
    • การติดตามความคืบหน้านั้นช่วยให้คุณมีกำลังใจจากการที่ประสบความสำเร็จในเป้าหมายย่อย ทั้งยังช่วยคุณให้ทำตามตารางที่กำหนดไว้ได้อีกด้วย [16]
    • เขียนไดอารี่เกี่ยวกับความคืบหน้าของคุณคือวิธีที่ดีที่จะช่วยลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทาง [17]
  4. ส่วนที่ยากที่สุดของการบรรลุเป้าหมายโดยเฉพาะเป้าหมายที่ใช้เวลานานคือการไม่ย่อท้อ การบรรลุเป้าหมายย่อยและจดบันทึกสามารถช่วยให้คุณมีกำลังใจ แต่คุณอาจต้องการอย่างอื่นอีก [18]
    • อย่างอื่นนั้นคือคุณต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเอง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ
    • กำลังใจทางบวก คือการเพิ่มบางอย่างเข้าไปในชีวิต เช่น คุณอาจฉลองให้ตัวเองเมื่อบรรลุเป้าหมายย่อย
    • กำลังใจในทางลบ คือการที่นำบางอย่างออกไป หากคุณมีบางอย่างที่ไม่อยากทำ เมื่อคุณสำเร็จเป้าหมายย่อย คุณอาจฉลองด้วยการนำงานชิ้นนั้นออกไป โดยการไม่ทำงานนั้น 1 สัปดาห์
    • การให้กำลังใจตัวเองจะมีผลมากในการทำให้คุณไม่ย่อท้อ ซึ่งดีกว่าการลงโทษตัวเอง การลงโทษตัวเองอาจเป็นเรื่องที่จะช่วยได้เพียงเล็กน้อย แต่การให้รางวัลตัวเองก็ยังเป็นทางที่ดีกว่า [19]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เชื่อมั่นในตัวเอง
  • ซื่อสัตย์กับตนเอง เป้าหมายของคุณไม่จำเป็นต้องสวยงาม แต่หากคุณทำสำเร็จคุณจะต้องภูมิใจ
  • จำไว้ว่า "การเดินทางเป็นพันไมล์เริ่มต้นจากก้าวก้าวเดียว"
  • เขียนลงมา การเขียนจะช่วยระดมความคิด ต่อให้คุณเป็นเพียงคนเดียวที่จะเห็นสิ่งที่คุณเขียนก็ตาม เขียนเป้าหมายของคุณลงไป จะช่วยให้คุณมีกำลังใจในการไปต่อ
  • คนอื่นที่มีเป้าหมาย ไม่ว่าจะเหมือนหรือแตกต่างกับคุณ สามารถช่วยให้กำลังใจซึ่งกันและกันได้ คุยกับพวกเขาทุกวัน หากคุณไม่สามารถหาคนใกล้ตัวได้ ลองหากลุ่มคนออนไลน์เช่น กลุ่มคนที่ตั้งเป้าหมายและรวมตัวกันอยู่
  • อย่าให้ทัศนคติไม่ดีบดบังคุณ มองโลกในแง่ดีไว้
  • อย่ายอมแพ้เนื่องจากกลัวว่าจะล้มเหลวเพราะคุณจะไม่มีวันประสบความสำเร็จ ให้มีกำลังใจอยู่เสมอและพยายามต่อไป
โฆษณา

คำเตือน

  • ทุกอย่างจะไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้เสมอ อย่าหลงทาง แต่ต้องยืดหยุ่น ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องแย่เสมอไป บ่อยครั้งบางอย่างอาจจะดีขึ้นไปในทางที่คุณคาดไม่ถึง เปิดใจให้กว้าง
  • อย่าตีกรอบตัวเอง หากบางอย่างไม่ถูกต้องหรือรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง ลองหาทางอื่นดู
  • เสมอต้นเสมอปลาย เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่เมื่อเริ่มต้นจะให้เวลาและความพยายามกับเป้าหมายเป็นอย่างมาก แต่สุดท้ายแล้วหมดแรง ความกระตือรือร้นที่มาพร้อมกับเป้าหมายใหม่ อย่าตั้งมาตรฐานที่สูงเกินไปจนคุณไม่สามารถอยู่กับมันได้ในระยะยาว


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. McGregor, I., & Little, B. R. (1998). Personal projects, happiness, and meaning: on doing well and being yourself. Journal of personality and social psychology, 74(2), 494.
  2. McGregor, I., & Little, B. R. (1998). Personal projects, happiness, and meaning: on doing well and being yourself. Journal of personality and social psychology, 74(2), 494.
  3. Brunstein, J. C. (1993). Personal goals and subjective well-being: A longitudinal study. Journal of Personality and Social Psychology, 65, 1061–1070.
  4. Brunstein, J. C. (1993). Personal goals and subjective well-being: A longitudinal study. Journal of Personality and Social Psychology, 65, 1061–1070.
  5. https://www.psychologytoday.com/blog/coaching-and-parenting-young-athletes/201311/keys-effective-goal-setting
  6. Morisano, D., Hirsh, J. B., Peterson, J. B., Pihl, R. O., & Shore, B. M. (2010). Setting, elaborating, and reflecting on personal goals improves academic performance. Journal of Applied Psychology, 95(2), 255.)
  7. Austin, J. T., & Vancouver, J. B. (1996). Goal constructs in psychology: Structure, process, and content. Psychological Bulletin, 120, 338 –375.
  8. Lawlor, B. & Hornyak, M. (2012). SMART Goals: How the Application of Smart Goals can Contribute to Achievement of Student Learning Outcomes. Journal of Development of Business Simulation and Experimental Learning, 39, 259-267. https://journals.tdl.org/absel/index.php/absel/article/viewFile/90/86
  9. Koestner, R., Lekes, N., Powers, T. A., & Chicoine, E. (2002). Attaining personal goals: Self-concordance plus implementation intentions equals success. Journal of Personality and Social Psychology, 83, 231–244.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,213 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา