ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลายคนต้องพบเจอกับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องรับประทานหรือดื่มอะไรบางอย่างที่รสชาติไม่ได้เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์ที่คุณต้องรักษามารยาทด้วยการรับประทานอาหารที่คุณไม่สามารถปฏิเสธได้ หรือยาขมปี๋ที่คุณกลืนแทบไม่ลง คุณก็อาจจะไม่สามารถเลี่ยงรสชาติแย่ๆ นั้นได้ แต่โชคดีที่การรับรสก็เหมือนประสาทสัมผัสอื่นๆ ที่สามารถทำให้หมดความรู้สึกหรือกำจัดไปได้ และที่โชคดีไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ มันสามารถทำได้ง่ายพอๆ กับการควบคุมลมหายใจหรือเอื้อมมือไปหยิบเกลือเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เปลี่ยนการรับรส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปุ่มรับรสของเรารับรสได้แค่ 5 รสเท่านั้น ได้แก่ หวาน เค็ม ขม เปรี้ยว และกลมกล่อม ("อูมามิ") ที่เหลือจะอยู่ในจมูก ถ้าคุณสามารถเลี่ยงกลิ่นอาหารได้ เท่ากับว่าคุณแทบจะไม่รับรู้ถึงกลิ่นรสนั้นเลย บีบจมูกขณะรับประทานหรือดื่มเพื่อลดความเข้มข้นของกลิ่นรสส่วนใหญ่ [1]
    • เมื่อคุณสามารถเลี่ยงการรับรสได้จริงๆ แล้ว ให้จิบน้ำก่อนเลิกบีบจมูกเพื่อไม่ให้มีรสชาติหลงเหลืออยู่ที่ลิ้น กลั้วน้ำในปากให้ทั่วเพื่อกำจัดรสชาติออกให้หมด
    • ถ้าคุณรับประทานอาหารในที่สาธารณะหรือที่ไหนก็ตามที่ไม่สามารถบีบจมูกได้เพราะจะดูไม่สุภาพ ให้หายใจออกทันทีก่อนรับประทาน/ดื่มเพื่อเลี่ยงการรับรส ถ้าคุณใช้วิธีนี้คุณต้องรับประทานคำเล็กๆ เพื่อไม่ให้สำลักขณะที่พยายามหายใจอีกครั้ง
  2. การรับรสของคุณล้วนเกี่ยวข้องกับน้ำลาย การรับรสต่างๆ ของคุณขึ้นอยู่กับว่า อาหารมีปฏิกิริยากับน้ำลายในปากของคุณอย่างไร ใช้กระดาษทิชชูอเนกประสงค์ซับน้ำลายในช่องปากและลิ้นจนแห้ง วิธีนี้จะกำจัดรสชาติได้เกือบหมด แต่จำไว้ว่าน้ำลายในปากนั้นผลิตทุก 2-3 วินาที เพราะฉะนั้นให้รับประทานอาหารอย่างรวดเร็วหลังจากซับช่องปากให้แห้ง [2]
    • สำลีพันก้าน เช่น คอตตอนบัตเป็นทางเลือกที่ดูไม่ประเจิดประเจ้อเท่ากับกระดาษทิชชูอเนกประสงค์ แต่คุณคงต้องใช้มากกว่า 1 อัน
    • ถ้าคุณรู้ก่อนแล้วว่าต้องรับประทานอาหารที่ไม่อร่อยเมื่อไหร่ ระหว่างวันพยายามอย่าดื่มน้ำเปล่าก่อนหน้า ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลมหรือกาแฟเพื่อให้ร่างกายขาดน้ำ ช่องปากของคุณเองก็น่าจะแห้งประมาณนึงเมื่อถึงเวลารับประทานอาหาร
  3. คุณอาจจะเคยสังเกตว่ารสชาติอาหารจะต่างไปจากเดิมเล็กน้อยแล้วแต่ว่ามันร้อนหรือเย็น ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้นล่ะทั้งที่มันคือสิ่งเดียวกัน ความจริงก็คือโดยทั่วไปความเย็นจะลดความสามารถในการรับรส ซึ่งจะไปลดความเข้มข้นของรสชาติ ถ้าคุณดื่มน้ำเย็นสักแก้วแล้วไปรับประทานหรือดื่มของที่ไม่อร่อยทันที คุณจะรู้สึกดีกว่ากันมาก ยิ่งถ้าคุณสามารถนำอาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่อร่อยไปแช่เย็นก่อนได้ยิ่งดีใหญ่ [3]
    • สำหรับวิธีการอื่นๆ ที่ไม่ค่อยสบายตัวเท่าไหร่ (แต่ว่าคุณก็อาจจะชอบวิธีนี้มากกว่าหากคุณมักเสียวฟันเวลาเจอของเย็น) คุณก็สามารถดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ เช่น ชา กาแฟ หรือช็อกโกแลตร้อนให้ลวกลิ้นก่อนได้ ความร้อนจะทำให้ปุ่มรับรสไวต่อรสชาติน้อยลงมากชั่วคราวหลังจากจิบอะไรที่ร้อนมากๆ
  4. เครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์สูง (เช่น วิสกี้) มีผลทำให้ศูนย์บรสในปากและจมูกชาเล็กน้อย พยายามรับประทานหรือดื่มของไม่อร่อยทันทีหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
    • ถ้าคุณอายุต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่มีแอกอฮอล์เข้มข้นอยู่ตรงนั้น ให้เปลี่ยนไปใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เช่น ลิสเตอรีนแทน เพราะช่วยระงับการรับรส และรสมินต์เข้มข้น (โดยทั่วไป) ก็จะไปกลบรสชาติอื่นๆ ด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

กลบรสชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นไปได้ให้เหยาะเกลือลงในอาหารไม่อร่อยที่คุณต้องรับประทานลงไปเยอะๆ ถ้าเติมลงไปมากพอ เวลารับประทานเข้าไปคุณน่าจะไม่รู้รสอะไรเลยนอกจากรสเค็ม แต่ก็อย่าเติมมากเกินไปจนกลายเป็นว่ารสเค็มที่ได้นั้นแย่พอๆ กับรสเดิม
    • ในทางทฤษฎีคุณสามารถใช้เครื่องปรุงอะไรก็ได้ (รวมถึงน้ำตาลด้วย) แต่เกลือมักหยิบง่ายอยู่แล้ว และการเติมเกลือเยอะๆ ก็ไม่ค่อยผิดสังเกตเท่าไหร่
  2. เทสารสกัดจากเปปเปอร์มินต์ 1 ขวดลงในฝาเล็กๆ (เช่น ฝาขวดน้ำอัดลมปริมาณ 0.70 ลิตร) กรอกสารสกัดเปปเปอร์มินต์เต็มฝาลงในปาก กลั้วไปรอบๆ เหมือนเวลาบ้วนปาก บ้วนสารสกัดออกแล้วล้างปากด้วยน้ำเย็น ประสาทรับรสของคุณน่าจะชาเล็กน้อยสักพักเพราะในสารสกัดจากเปปเปอร์มินต์มีการบูร
    • สารสกัดจากสเปียร์มินต์ก็มีการบูรเท่ากับเปปเปอร์มินต์และสามารถใช้แทนกันได้เลย
    • ถ้าคุณไม่มีสารสกัดจากพืชตระกูลมินต์ คุณก็สามารถใช้รสชาติเข้มข้นอื่นๆ เช่น สารสกัดจากอัลมอนด์หรือช็อกโกแลตแทนได้ กลั้วปากเพื่อเคลือบรสชาติในแบบเดียวกัน (ใช้แค่ 1 ฝาเท่านั้น) จากนั้นไม่ว่าคุณจะรับประทานอะไรเข้าไปก็จะกลายเป็นกลิ่นของสารสกัด
  3. ถ้ารสชาติที่คุณพยายามเลี่ยงอยู่ในรูปแบบของเหลว ให้ใช้หลอดเพื่อดูดผ่านลิ้นลงไปเลย พยายามให้มันไหลลงไปที่โคนลิ้นเพื่อให้มันไหลลงคอไปเลยโดยไม่ต้องสัมผัสกับปุ่มรับรสบนลิ้น
    • หลักการเดียวกันนี้ใช้กับอาหารได้ด้วย ดันสิ่งที่คุณรับประทานอยู่ไปที่ด้านข้างของช่องปากและเคี้ยวอาหารตรงกระพุ้งแก้มเพื่อไม่ให้อาหารโดนลิ้น
    • ลองเงยศีรษะไปด้านหลังเล็กน้อยเพื่อให้อาหาร/เครื่องดื่มไหลผ่านลิ้นและลงไปในคออย่างรวดเร็ว
  4. ถ้ามีอาหารหรือเครื่องดื่มที่คุณไม่อยากลิ้มรสเลย ให้ลองรับประทานอาหารที่ชอบทั้งก่อนและหลัง รับประทานเร็วๆ แต่ระวังอย่าให้สำลักหรือติดคอ ยิ่งคุณปล่อยให้รสที่คุณพยายามเลี่ยงสัมผัสกับปุ่มรับรสน้อยเท่าไหร่ คุณก็จะรับรู้รสชาติแย่ๆ ได้น้อยลง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เลี่ยงไม่ให้กลับไปรับรสชาติแย่ๆ อีก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณเริ่มรู้สึกว่าอาหารต่างๆ รสชาติไม่อร่อยเลย หรืออาหารที่คุณเคยชอบกินก็ไม่อร่อยอีกต่อไปแล้ว ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น รสชาติแย่ๆ ที่ติดอยู่ในลิ้นนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ผลข้างเคียงจากยาที่หาซื้อได้เองไปจนถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบและอื่นๆ ถ้าคุณต้อทำให้ปุ่มรับรสหมดความรู้สึกบ่อยๆ ลองไปพบแพทย์ดู [4]
  2. การรักษาสุขอนามัยที่ดีและถูกต้องนั้นทำให้ปุ่มรับรสทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันโดยทั่วไปนั้นไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียที่ตกค้างอยู่ได้เสมอไป และอาจทำให้เกิดรสชาติชวนคลื่นไส้ในปากตลอดเวลา ที่ขูดลิ้นนั้นราคาไม่แพงและสามารถทำเพิ่มเข้าไปในกิจวัตรตอนเช้าและตอนกลางคืนได้ไม่ยาก [5]
    • ทุกวันนี้แปรงสีฟันหลายยี่ห้อจะมีที่ขูดลิ้นอยู่ตรงด้านหลังหัวแปรง ลองใช้ตัวเลือกนี้เพื่อความประหยัด
  3. รสชาติแย่ๆ ทั้งหลายอาจเป็นผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ของการรับรู้หรือสภาพแวดล้อม สิ่งที่คุณเคยรับประทานหรือดื่มมาก่อนหน้านี้อาจทำให้สิ่งนั้นมีรสชาติแย่ หรือสิ่งที่คุณรับประทานอยู่อาจจะไม่ได้ผ่านการปรุงอย่างดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็อย่ากลัวที่จะลองชิมรสชาติสิ่งที่เคยทำให้คุณไม่อยากลิ้มรสในอดีต
    • ถ้ามีอาหารประเภทไหนที่คุณเลี่ยงมาตลอด ให้ลองชิมอีกครั้งที่ร้านอาหารที่คุณไม่เคยลองมาก่อน อาจจะร้านที่ชาวเน็ตหรือเพื่อนแนะนำ อย่าให้ประสบการณ์แย่ๆ แค่ครั้งเดียวมาทำให้คุณเลี่ยงอะไรบางอย่างไปโดยสิ้นเชิง
    • ถ้ามีอาหารจานไหนที่คุณรู้สึกว่ารสชาติงั้นๆ หรือไม่คงที่ ลองหาสูตรในอินเทอร์เน็ตและหัดทำเอง เวลาที่คุณทำอาหารรับประทานเองคุณจะสามารถปรับรสชาติให้ถูกปากคุณได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,116 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา