ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการน้ำมูกไหลเป็นสิ่งที่สร้างความหงุดหงิด กวนใจ และน่ารำคาญ แม้ว่าบางครั้งอาการน้ำมูกไหลจะเกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลงหรืออาการแพ้ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากอาการป่วยที่รุนแรงกว่านั้น เช่น เป็นหวัด ไซนัสอักเสบ หรือแม้กระทั่งไข้หวัดใหญ่ เริ่มจากการรักษาอาการน้ำมูกไหลด้วยตนเองแบบง่ายๆ และยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปก่อน มองหาอาการที่บ่งบอกว่าอาจเกิดจากสาเหตุบางอย่าง และถ้าอาการของคุณยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ให้ไปพบแพทย์ การพักผ่อนเยอะๆ ดื่มน้ำมากๆ รวมถึงเทคนิคและเคล็ดลับที่ถูกต้องจะช่วยให้จมูกของคุณโล่งและทำให้คุณกลับมาหายใจได้เป็นปกติอีกครั้ง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาด้วยตนเองแบบธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รักษาอาการปวดไซนัสและคัดจมูกด้วยการกดจุดเบาๆ. การกดจุดลงบนบริเวณรอบจมูกอาจช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและปวดศีรษะที่เกิดจากน้ำมูกไหลได้

    กดลงตรงมุมจมูกข้างละ 10 ครั้ง โดยกดลงอย่างเบามือ จากนั้นทำแบบเดียวกันตรงบริเวณเหนือดวงตา สำหรับการบรรเทาอาการปวดไซนัส ให้ทำอย่างนี้ วันละ 2-3 ครั้ง

  2. สูดจมูกฟุดฟิด กลืน หรือค่อยๆ สั่งน้ำมูกเพื่อขับน้ำมูกออกมา. การขับน้ำมูกออกจากจมูกเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้น้ำมูกหยุดไหล เพราะฉะนั้นให้สั่งน้ำมูกเบาๆ ลงบนกระดาษทิชชูตามต้องการ ถ้าน้ำมูกไหลเยอะ ให้ฉีกกระดาษทิชชูแบ่งครึ่ง ม้วนเป็นลูกกลมๆ 2 ลูก และใส่ไว้ในรูจมูกลูกละข้าง หายใจตามปกติหรือไม่ก็ทางปาก [1]

    ถ้าเป็นไปได้ ให้ สั่งน้ำมูกลงบนกระดาษทิชชูผสมมอยซ์เจอไรเซอร์ เพื่อไม่ให้ผิวหนังใต้จมูกที่บอบบางแห้งตึง ถ้าผิวหนังของคุณระคายเคือง ให้ทาโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นลงบนผิวบริเวณนั้นเล็กน้อย
    นอกจากนี้คุณก็อาจจะรู้สึกได้ว่ามีน้ำมูกอยู่หลังลำคอที่คุณไม่สามารถสั่งลงบนกระดาษทิชชูได้ ลองกลืนลงไปเพื่อไม่ให้รู้สึกเหมือนมีอะไรลื่นๆ ติดอยู่

  3. ในการลดแรงดันในจมูกและช่วยหยุดอาการน้ำมูกไหลนั้น ให้อาบน้ำร้อนและให้ไอน้ำเกาะอยู่เต็มห้องน้ำ หรือคุณอาจจะพันผ้าขนหนูไว้รอบศีรษะและยืนโน้มตัวไปหาหม้อหรือชามที่มีน้ำร้อน หรือเปิดน้ำร้อนในฝักบัวและแค่นั่งในห้องน้ำโดยที่ไม่ต้องเข้าไปในตู้ฝักบัว ทำอย่างนี้วันละ 2-4 ครั้ง [2]
    • คุณสามารถใช้เครื่องพ่นไอน้ำหรือเครื่องเพิ่มความชื้นได้เช่นกัน
    • เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ใส่น้ำมันยูคาลิปตัส เหล้าการบูร หรือน้ำมันเปปเปอร์มินต์ลงไปด้วย เทลงในชามน้ำร้อนเล็กน้อย หรือสะบัดรอบตู้ฝักบัวก่อนเปิดน้ำ
  4. วางผ้าขนหนูผืนเล็กอุ่นๆ และเปียกลงบนใบหน้าเพื่อลดแรงดันในจมูก. จุ่มผ้าขนหนูผืนเล็กลงในน้ำอุ่นหรือถือไว้ใต้ก๊อกน้ำที่อ่างล้างหน้าแล้วเปิดน้ำอุ่นจนผ้าชุ่ม บิดผ้าให้พอหมาด จากนั้นวางไว้บนใบหน้าเป็นเวลา 2-3 นาที [3]
    • หรือคุณจะใช้วิธีชุบผ้าขนหนูผืนเล็กให้เปียก จากนั้นก็นำไปอุ่นในไมโครเวฟ 30-45 วินาทีหรือจนกว่าจะอุ่นก็ได้
  5. การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญเมื่อร่างกายกำลังต่อสู้กับสิ่งที่น่ารำคาญอย่างอาการน้ำมูกไหล เวลาที่คุณนอนลงเพื่อพักผ่อน ให้นอนหมอนสูงโดยการนำหมอนมาซ้อนกันสัก 2-3 ใบเพื่อกระตุ้นให้ของเหลวในจมูกขับออกมาตามธรรมชาติ [4]
    • ท่านี้ยังช่วยให้คุณหายใจสะดวกขึ้นด้วย
  6. ดื่มน้ำและของเหลวอุ่นๆ มากๆ เพื่อขับน้ำมูกออกมา. การรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำกระตุ้นให้ของเหลวในจมูกขับออกมา ซึ่งจะช่วยให้น้ำมูกหยุดไหล พยายามดื่มน้ำเปล่าทุก 1 ชั่วโมงโดยประมาณ รวมถึงของเหลวร้อนๆ เช่น ชาสมุนไพรหรือแม้แต่ซุปเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก [5]
  7. ผสมน้ำอุ่น 1 ถ้วย (240 มล.) เกลือ ½ ช้อนชา (3 ก.) และเบกกิ้งโซดาเล็กน้อย ใช้กระบอกฉีดยา ขวดสเปรย์เล็กๆ หรือกาเนติพ่นสเปรย์น้ำเกลือเข้าไปในจมูกวันละ 3-4 ครั้ง [6]
    • ระวังอย่าใช้สเปรย์น้ำเกลือมากเกินไป เพราะอาจทำให้อาการน้ำมูกไหลยิ่งแย่ลงได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รับประทานยาเพื่อรักษาอาการน้ำมูกไหล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สเปรย์น้ำเกลือและน้ำยาล้างจมูกมีขายที่ร้านขายยา และสามารถกำจัดน้ำมูกในจมูกที่ทำให้น้ำมูกไหลได้ เลือกสูตรอ่อนโยนสำหรับรักษาอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล และใช้วันละ 3-4 ครั้งตามวิธีใช้ที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด [7]
    • อย่าใช้สเปรย์พ่นจมูกนานกว่า 5 วัน เพราะอาจทำให้อาการคัดจมูกกลับมาได้
  2. วางแผ่นแปะจมูกลงบนจมูกเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น. หาซื้อแผ่นแปะจมูกที่ร้านขายยาเพื่อให้จมูกโล่งและช่วยลดการคั่ง ใช้แผ่นแปะที่ออกแบบมาสำหรับรักษาอาการหวัดและคัดจมูก และปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุบนกล่องเพื่อวางแผ่นแปะลงบนดั้ง ใช้ได้บ่อยตามที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ [8]
    • ตามปกติแล้วแผ่นแปะจมูกจะใช้ตอนกลางคืน แต่ถ้าคุณน้ำมูกไหลไม่หยุด คุณก็สามารถใช้ระหว่างวันได้เช่นกัน
  3. รับประทานยาลดอาการคัดจมูกเพื่อให้โพรงจมูกแห้ง. ดูตามชั้นในร้านขายยาเพื่อหายาลดอาการคัดจมูกที่โดยทั่วไปจะเป็นยาเม็ดที่ช่วยให้โพรงจมูกหดตัวและแห้ง ซึ่งจะช่วยได้มากเวลาที่คุณพยายามรักษาอาการคัดจมูกและน้ำมูกไหล อ่านบรรจุภัณฑ์เพื่อดูว่า คุณสามารถรับประทานยาได้บ่อยแค่ไหน [9]
    • รับประทานยาลดอาการคัดจมูกแค่ 2-3 วันเท่านั้น เพราะถ้ารับประทานนานเกินไปอาจทำให้กลับมาคัดจมูกยิ่งกว่าเดิม
  4. ถ้าคุณคิดว่าอาการน้ำมูกไหลอาจเกิดจากอาการแพ้ ให้ซื้อผลิตภัณฑ์แก้แพ้ที่ร้านขายยาเพื่อบรรเทาอาการ ปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์และอ่านผลข้างเคียงอย่างละเอีย เพราะยาแก้แพ้บางตัวอาจทำให้ง่วงซึม [10]
    • ยาแก้แพ้ทั่วไปได้แก่ เบเนดริล ซีร์เทค และอัลเลกรา
    • ยาพ่นจมูกกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น โฟลเนสหรือนาซาคอร์ตก็สามารถลดอาการน้ำมูกไหลที่เกิดจากอาการแพ้ได้เช่นกัน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาสาเหตุเบื้องหลัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รักษาโรคไซนัสอักเสบถ้าคุณปวดหัวหรือเกิดแรงดันที่ทำให้บวม. โรคไซนัสอักเสบบางครั้งก็ทำให้น้ำมูกไหลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำมูกเหนียวข้นและเป็นสีเหลืองหรือออกเขียว อาการอื่นๆ ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูกไหลลงไปด้านหลังของลำคอ ปวด บวม หรือเกิดแรงดันรอบดวงตา แก้ม จมูก หรือหน้าผาก ในการรักษาโรคไซนัสอักเสบนั้น ให้คุณ : [11]
    • รักษาด้วยไอน้ำที่บ้านหรือประคบอุ่นที่ใบหน้า
    • ใช้สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกหรือยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูก ซึ่งสามารถรักษาอาการอักเสบได้
    • รับประทานยาลดอาการคัดจมูกที่หาซื้อได้เอง 2-3 วัน
    • รับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้เอง เช่น แอสไพริน อะซิตามิโนเฟน (เช่น ไทลีนอล) หรือไอบูโพรเฟน (เช่น แอดวิล)
    • พบแพทย์หากอาการอักเสบยังไม่หายไปภายใน 1 สัปดาห์โดยประมาณ
  2. หลีกเลี่ยงการทำให้จมูกระคายเคืองหากคุณเกิด อาการแพ้. น้ำมูกไหลเป็นอาการของโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย ซึ่งอาการแพ้ก็อาจมีสาเหตุมาจากสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองมากมาย เช่น ละอองเกสรดอกไม้ สะเก็ดผิวหนังสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น หรืออาหาร คอยสังเกตหากคุณเริ่มมีน้ำมูกไหลเวลาที่อยู่ใกล้สิ่งใดสิ่งหนึ่งและหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด หรือรับประทานยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการ [12]
    • อาการแพ้อื่นๆ ได้แก่ จาม คันตามใบหน้า และตาแดงหรือบวม
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถรักษาอาการน้ำมูกไหลที่เกิดจากการแพ้ได้ด้วยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ลดการสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ด้วยการดูดฝุ่นบ่อยๆ และซักเครื่องนอนและของเล่นยัดนุ่นในน้ำร้อน
  3. หนึ่งในสาเหตุของน้ำมูกไหลที่พบบ่อยที่สุดก็คือไข้หวัด อาการเหล่านี้สังเกตได้ค่อนข้างง่าย ได้แก่ เจ็บคอ ไอ จาม และปวดเมื่อยตามตัว ในการรักษาไข้หวัดนั้น ให้คุณ : [13]
    • รับประทานยาแก้ปวด เช่น อะซิตามิโนเฟน (เช่น ไทลีนอล)
    • ใช้ยาลดอาการคัดจมูกชนิดหยดหรือสเปรย์ไม่เกิน 5 วัน
    • รับประทานยาน้ำแก้ไอเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอหรือไอ
  4. พบแพทย์หากคุณมี อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่. ไข้หวัดใหญ่ในช่วงแรกจะมีอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดารวมถึงน้ำมูกไหลด้วย แต่จะต่างกันตรงที่มันจะเกิดขึ้นฉับพลันกว่าไข้หวัด อาการอื่นๆ ได้แก่มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่นและเหงื่อแตก ปวดหัว และคัดจมูก ถ้าคุณคิดว่าตัวเองเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดและระวังอย่าแพร่เชื้อให้คนอื่นด้วยการล้างมือ ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม และอย่าไปในที่แออัด ในการบรรเทาอาการเหล่านี้ ให้คุณ : [14]
    • พักผ่อนและดื่มของเหลวมากๆ
    • รับประทานยาต้านไวรัสหากแพทย์สั่ง
    • รับประทานยาแก้ปวด เช่น อะซิตามิโนเฟน (เช่น ไทลีนอล) หรือไอบูโพรเฟน (เช่น แอดวิล) เพื่อบรรเทาอาการปวด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าจมูกของคุณระคายเคืองเนื่องจากสั่งน้ำมูกมากเกินไป มอยซ์เจอไรเซอร์น้ำเกลือชนิดเจลสามารถช่วยบรรเทาความแสบได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 366,335 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา