ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านเกิดขึ้นเมื่อต่อมหมวกไตสูบฉีดอะดรีนาลีนเข้าไปในร่างกายมากเกินไปในตอนที่เราเครียดหรือวิตกกังวลสูง อาการนี้มีลักษณะหลายอย่างคล้ายกับอาการตื่นตระหนกกะทันหัน เช่น ชีพจรเต้นเร็ว หัวใจเต้นแรง หายใจไม่ทัน เวียนศีรษะ เป็นต้น [1] อาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านอาจทำให้ไม่สบายใจและหวาดกลัว แต่ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด [2] การใช้เทคนิคผ่อนคลายหรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตอาจช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านได้ [3]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ใช้เทคนิคผ่อนคลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การฝึกหายใจเข้าลึกๆ หรือปราณยามะสามารถช่วยคลายความตึงเครียดและช่วยให้เราผ่อนคลายได้ [4] หายใจเข้าลึกๆ สักสองสามครั้งเพื่อให้ตนเองผ่อนคลายและกลับมาจดจ่ออยู่กับตนเองรวมทั้งลดอาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านลง
    • การหายใจเข้าลึกๆ ช่วยกระจายออกซิเจนไปทั่วร่างกาย จึงลดอัตราการเต้นของหัวใจลงได้และทำให้ชีพจรเต้นปกติ อีกทั้งยังช่วยคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งซึ่งอาจเพิ่มการพลุ่งพล่านของอะดรีนาลีนได้ [5]
    • หายใจเข้าลึกๆ และผ่อนลมหายใจออกให้หมดทางจมูก ตัวอย่างเช่น หายใจเข้าจนกระทั่งนับถึงสี่ กลั้นลมหายใจจนกระทั่งนับถึงสองและจากนั้นผ่อนลมหายใจออกจนกระทั่งนับถึงสี่ จะนับอย่างไรก็ได้ตามแต่สะดวก [6]
    • นั่งตัวตรง ไหล่ตั้งตรง เท้าวางราบกับพื้น และอย่าให้ตัวงอเพื่อให้สามารถหายใจเข้าลึกๆ ได้มากที่สุด วางมือทั้งสองไว้ที่ท้องและฝึกหายใจอย่างช้าๆ มือจะสัมผัสได้ถึงการเคลื่อนไหวของท้อง เมื่อผ่อนลมหายใจออก กล้ามเนื้อท้องของเราจะแฟบและลมหายใจออกทางริมฝีปากที่ห่ออยู่ รู้สึกถึงกะบังลมเคลื่อนขึ้นและเคลื่อนลงขณะที่หายใจ
  2. เมื่อรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือมีอะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน ให้ปลีกตัวออกไปและนับหนึ่งถึงสิบ การนับทำให้จิตใจได้หันไปจดจ่อกับอะไรสักอย่างแทนที่จะนึกถึงสถานการณ์ที่ทำให้เครียดหรือวิตกกังวล [7]
    • เมื่อตนเองจดจ่อกับอะไรสักอย่างแทนการนึกถึงสถานการณ์ที่ทำให้เครียด ร่างกายอาจหยุดหลั่งอะดรีนาลีนก็ได้
    • ถ้าจำเป็น นับหนึ่งถึงยี่สิบและนับแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหายเครียดหรือวิตกกังวล [8]
  3. ถ้าสังเกตเห็นว่าความเครียดหรือความวิตกกังวลกระตุ้นให้อะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน ฝึกผ่อนคลายร่างกายเพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวล จะนอนไปกับพื้นหรือนั่งลงก็ได้แล้วเริ่มเกร็งและคลายกล้ามเนื้อตามร่างกาย [9] โดยเริ่มที่เท้าก่อน
    • หดเกร็งกล้ามเนื้อแต่ละส่วนในร่างกายเป็นเวลาห้าวินาทีโดยเริ่มจากบริเวณเท้าก่อน จากนั้นค่อยๆ คลายกล้ามเนื้อ หลังจาก 10 วินาที เกร็งกล้ามเนื้อขาเป็นเวลาห้าวินาทีแล้วคลาย [10]
    • ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงศีรษะ [11]
    • หลังจากผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เท้าแล้ว ให้ย้ายขึ้นไปผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ขา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทีละกลุ่ม ค่อยๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากด้านล่างของร่างกายขึ้นไปสู่ศีรษะ
  4. การคิดอะไรในแง่ลบอาจยิ่งทำให้เครียดและวิตกกังวล จึงอาจยิ่งทำให้อะดรีนาลีนพลุ่งพล่านรุนแรงมากขึ้น [12] การเลือกมองสถานการณ์ใดๆ ในแง่บวกอาจช่วยให้เรายับยั้งและควบคุมการพลุ่งพล่านของอะดรีนาลีนหรืออาการตื่นตระหนกกะทันหันได้ [13]
    • การเลือกมองสถานการณ์ในแง่บวกเป็นเทคนิคปรับพฤติกรรมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ด้วยการมองสถานการณ์เหล่านั้นเป็นเรื่องดี [14]
    • ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเรารับมือกับลูกค้าที่กำลังโมโหอยู่ ให้นึกเสียว่าผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้คือการทำไห้ลูกค้ารู้สึกดีใจที่เราสามารถแก้ไขปัญหาให้เขาได้ การคิดแบบนี้จะช่วยให้เราผ่านสถานการณ์นั้นไปด้วยดีและอาจป้องกันไม่ให้ตนเองตื่นตระหนกกะทันหัน [15]
    • การฝึกคิดบวกอีกแบบหนึ่งคือนึกภาพสถานที่ซึ่งเงียบสงบมาก เช่น ทุ่งดอกไม้ และนึกภาพตนเองอยู่ในทุ่งดอกไม้นั้น
    • เราสามารถฝึก สติ ได้ด้วย การฝึกสติเป็นกระบวนการรับรู้ว่าตนเองคิดอะไรและรู้สึกอย่างไรในตอนนั้นโดยไม่ตัดสินใดๆ [16]
  5. พยายามหาเรื่องตลกขบขันและสิ่งดีๆ ในสถานการณ์ต่างๆ. ในสถานการณ์ที่ยากลำบากอาจมีช่วงเวลาดีๆ และช่วงที่ทำให้เราหัวเราะได้ ถึงแม้อาจเห็นไม่ชัดเจนโดยทันที แต่การสามารถรับรู้และหัวเราะออกมาได้จะช่วยให้เราผ่อนคลายและลดการพลุ่งพล่านของอะดรีนาลีนได้ [17]
    • มีการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าการคิดบวกมีส่วนช่วยทำให้เรามีความสุขขึ้นได้ [18]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดหกล้มแล้วข้อศอกถลอก พยายามอย่าจดจ่ออยู่กับบาดแผลหรือรอยขาดที่เสื้อผ้า ให้หัวเราะในความซุ่มซ่ามของตนเองหรือเรื่องน่าขำที่เกิดขึ้นตอนนั้นแทน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายสิ่งหลายอย่างอยู่เหนือการควบคุมของเราแต่ก็มีบางอย่าง (ได้แก่ ตัวเรา การกระทำ และการตัดสินใจ) ที่เราพอจะควบคุมได้บ้าง การเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เราเครียดหรือวิตกกังวลอาจช่วยลดหรือยับยั้งอะดรีนาลีนที่พลุ่งพล่านอยู่ลงได้ [19]
    • เขียนว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้อะดรีนาลีนของเราพลุ่งพล่าน อ่านสิ่งที่เขียนและขีดฆ่ารายการที่เราสามารถควบคุมได้ [20]
    • ตัวอย่างเช่น การต้องเข้าประชุมอาจทำให้อะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน หาวิธีลดความวิตกกังวล เช่น เตรียมตัวมาอย่างเต็มที่ ทำสมาธิห้านาทีก่อนเข้าประชุม หรือนั่งกับผู้คนที่คิดบวก [21]
    • ถ้าเพื่อนเป็นสาเหตุทำให้เราเครียดเพราะเพื่อนคนนั้นชอบก่อปัญหาให้วุ่นวายใจ ให้ลดระยะเวลาการอยู่กับเพื่อนคนนั้นลง พึงระลึกไว้ว่าเราไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมเพื่อนเราได้ แต่สามารถควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของตนเองและระยะเวลาที่อยู่กับเพื่อนคนนั้นได้
  2. มีหลักฐานว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอวาสคิวลาร์ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นและทำให้จิตใจสงบลง [22] ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มการออกกำลังกายไม่ว่าแบบใดก็ตาม
    • การออกกำลังกายแค่ 10 นาทีก็ช่วยให้เราผ่อนคลายและมีสมาธิมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การเดินสัก 10 นาทีช่วยทำให้เราผ่อนคลายและทำให้เรามีโอกาสคิดถึงสิ่งดีๆ ในชีวิต [23]
    • การออกกำลังกายกระตุ้นร่างกายให้หลั่งสารเอ็นดอร์ฟินและเซโรโทนินซึ่งช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น และอาจลดหรือคลายการพลุ่งพล่านของอะดรีนาลีนได้ [24]
    • จะเลือกการออกกำลังกายแบบไหนก็ได้ อาจเดิน ปีนเขา พายเรือแคนู หรือวิ่งก็ได้
    • ขอแนะนำให้ออกกำลังกายห้าวันต่อสัปดาห์ โดยออกกำลังกายวันละ 30 นาที
  3. การฝึกโยคะแบบเบาสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อและช่วยให้เราผ่อนคลายมากขึ้นได้ แม้แต่การอยู่ในท่าสุนัขแลลงจนกระทั่งนับลมหายใจเข้าออกถึงสิบก็สามารถช่วยให้เราผ่อนคลายและกลับมาจดจ่อกับกิจกรรมตรงหน้าได้อีกครั้ง เราจึงสามารถควบคุมความวิตกกังวลและอะดรีนาลีนได้ [25]
    • ฝึกโยคะในแบบเบาๆ โยคะแบบนี้จะช่วยคลายกล้ามเนื้อและทำให้เราผ่อนคลาย โยคะแบบฟื้นฟูและหยินโยคะเป็นทางเลือกที่เหมาะอย่างยิ่งในการควบคุมอะดรีนาลีนที่พลุ่งพล่านอยู่ [26]
    • ถ้าไม่มีเวลาที่จะเข้าเล่นโยคะแบบเต็มเวลา ให้ทำโยคะท่า สุนัขแลลง ค้างไว้จนกระทั่งหายใจเข้าแล้วหายใจออกครบ 10 ครั้ง ท่าสุนัขแลลงเป็นท่าโยคะพื้นฐานที่ไม่เพียงทำให้เราสงบลงและผ่อนคลายเท่านั้น แต่ยังช่วยคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่ด้วย [27]
    • ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มฝึกโยคะเพื่อให้แน่ใจว่าตนเองมีสุขภาพดีพอที่จะฝึกโยคะ [28]
  4. กินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วนและดีต่อสุขภาพ. อาหารที่ไม่ดีอาจทำให้กำลังของเราลดลงและก่อให้เกิดความเครียดหรือความวิตกกังวลซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านตามมา การกินอาหารและของว่างที่ดีต่อสุขภาพจะไม่เพียงช่วยให้สุขภาพของเราดีขึ้นเท่านั้น แต่อาจช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และการหลั่งของอะดรีนาลีนได้ [29]
    • หน่อไม้ฝรั่งมีสารอาหารที่ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นและอาจช่วยลดความเครียดได้ [30]
    • อาหารที่มีวิตามินบีสูงยังสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีได้แก่ อาโวคาโดและถั่วฝัก [31]
    • นมอุ่นหนึ่งแก้วสามารถช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับและความวิตกกังวลซึ่งอาจทำให้อะดรีนาลีนพลุ่งพล่านได้ [32]
  5. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และอยู่ให้ห่างจากยาเสพติด. อยู่ให้ห่างจากยาเสพติดทุกชนิด จำกัดหรือไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน สารนี้อาจเพิ่มความวิตกกังวลและทำให้อะดรีนาลีนพลุ่งพล่าน [33]
    • ผู้ใหญ่ส่วนมากรับคาเฟอีนได้ 400 มิลลิกรัมต่อวัน นี้เป็นปริมาณที่เทียบเท่ากับกาแฟสี่ถ้วย น้ำอัดลมสิบกระป๋อง หรือเครื่องดื่มชูกำลังสองขวด ถ้าเรามีอาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านบ่อยๆ พยายามลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน [34]
    • ผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกินหนึ่งหน่วยบริโภคต่อวัน และผู้ชายไม่ควรเกินสองหน่วยบริโภคต่อวัน ตัวอย่างของหนึ่งดื่มมาตรฐาน เช่น เบียร์ 355 มิลลิลิตร ไวน์ 148 มิลลิลิตร สุรากลั่น 80 พรูฟ 44 มิลลิลิตร [35]
  6. มีการแบ่งและกำหนดระยะเวลาในการทำภารกิจ ธุระ และการอยู่ในสถานการณ์ที่น่าอึดอัดใจ โดยให้อยู่ในระยะเวลาที่สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จเสร็จสิ้น การพักช่วยให้เราผ่อนคลาย เพิ่มพลังกายและพลังใจได้ การพักอาจยังช่วยควบคุมหรือลดระดับของอะดรีนาลีนได้ด้วย [36]
    • การอ่านหนังสือ การดูภาพยนตร์ การอาบน้ำฟองสบู่ การพาสุนัขไปเดินเล่น หรือการคุยกับคู่ชีวิตสามารถช่วยคลายความเครียดให้เราได้ทั้งนั้น
    • ทำกิจกรรมที่เราชื่นชอบในช่วงพัก การออกไปเดินช่วงสั้นๆ เป็นวิธีพักที่ดีเยี่ยม เพราะจะทำให้เรามีโอกาสอยู่ห่างจากภารกิจของตนสักพัก ทำให้เลือดหมุนเวียน สมองได้รับออกซิเจน ได้ปล่อยให้ตนเองคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย และผ่อนคลาย [37]
    • ให้เวลาตนเอง "วิตกกังวล" หรือ "คิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย" ด้วย ในแต่ละวันให้เวลาตนเองคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่กำลังประสบหรืออยู่ว่างๆ โดยไม่ทำอะไรเลยก็ได้ การให้เวลาตนเองวิตกกังวลหรือคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อยนั้นสำคัญพอๆ กับการหาเวลาพัก
    • การพักนั้นสำคัญ ฉะนั้นพยายามหาเวลาไปเที่ยวพักผ่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปี เราจะได้มีโอกาสผ่อนคลาย ฟื้นฟูกำลังกายและพลังใจของตนเองได้อย่างเต็มที่
  7. ความเครียด ความวิตกกังวล และความตื่นตระหนกกะทันหันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในร่างกาย ฉะนั้นให้เข้ารับการนวดเพื่อจะได้ผ่อนคลายและควบคุมอะดรีนาลีนที่พลุ่งพล่านได้ [38] พนักงานนวดมืออาชีพจะนวดคลายความตึงเครียดให้เราได้ [39]
    • ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนวดช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ [40]
    • มีการนวดหลายแบบให้เลือก เลือกแบบที่เราชอบมากที่สุด การนวดจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งออกซิโทซินซึ่งช่วยทำให้เราผ่อนคลายและคลายความเครียด [41]
    • เราสามารถหานักบำบัดด้านการนวดที่ผ่านการรับรองได้ทางอินเตอร์หรือให้แพทย์แนะนำก็ได้ [42]
    • ถ้าไม่สามารถเข้ารับการนวดได้ ลองพยายามนวดตนเองดู การนวดไหล่ ใบหน้า หรือแม้แต่ใบหูสามารถช่วยคลายความเครียดของเราได้ [43]
  8. ทุกคนต้องนอนหลับพักผ่อนเพื่อรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี การนอนหลับพักผ่อนช่วยให้จิตใจและร่างกายได้ผ่อนคลาย [44] พยายามนอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย จิตใจ และช่วยให้ตนเองผ่อนคลาย อีกทั้งอาจช่วยให้ควบคุมอะดรีนาลีนที่พลุ่งพล่านได้ด้วย [45]
  9. การเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งทรมานจากความวิตกกังวลหรือโรคตื่นตระหนกจะทำให้เรามีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่นที่เป็นแบบเดียวกันกับเราโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ การเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลืออาจทำให้เรารู้หนทางที่จะรับมือเมื่ออะดรีนาลีนพลุ่งพล่านขึ้นมา [48]
    • ถ้าไม่มีกลุ่มช่วยเหลือให้เข้าร่วม ลองระบายให้เพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวฟังว่าเรากำลังประสบปัญหาอะไร การพูดคุยกับคนที่ตนเองรักอาจช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ เพราะคนที่อยู่นอกสถานการณ์ที่ตึงเครียดบ่อยครั้งจะสามารถเห็นหนทางรับมือกับปัญหาได้ดีกว่าคนที่อยู่ท่ามกลางสถานการณ์นั้น
  10. ถ้าเห็นว่าอาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเห็นได้ชัด หรือรุนแรงมากจนร่างกายทนไม่ไหว ให้พบแพทย์ แพทย์จะวางแผนการรักษาเราซึ่งอาจได้แก่ การรักษาโดยใช้จิตบำบัด การรักษาโดยใช้ยารักษาโรค หรือวิธีการอื่นๆ [49]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีอาการวิตกกังวล แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเบนโซไดอะซีปีนหรือยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (selective serotonin reuptake inhibitors) เพื่อลดอาการ การรักษาอาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านอีกทางได้แก่ การใช้สมุนไพรคาวาคาวาและรากวาเลอเรียน
    • พบแพทย์หรือจิตแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง [50]
    • ถ้าปล่อยให้ตนเองมีอาการอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านหรือตื่นตระหนกกะทันหันบ่อยๆ โดยไม่ยอมรักษาอาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ [51]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จงกล้าที่จะขอความช่วยเหลือ ถ้ากำลังพบปัญหาที่ก่อให้ความเครียดอย่างหนัก ลองพูดคุยและปรึกษาปัญหากับผู้อื่นดู
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  3. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  4. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  5. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  6. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  7. http://www.helpguide.org/harvard/benefits-of-mindfulness.htm
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-purpose/201309/lighten-and-laugh
  9. http://tinybuddha.com/blog/stop-being-hard-on-yourself-5-tips-for-learning-life-lessons/
  10. https://dst.sp.maricopa.edu/DWG/wellness/Shared%20Documents/August%20-%20Stress%20Management/Stress%20and%20the%20Four%20A's.pdf
  11. https://dst.sp.maricopa.edu/DWG/wellness/Shared%20Documents/August%20-%20Stress%20Management/Stress%20and%20the%20Four%20A's.pdf
  12. https://dst.sp.maricopa.edu/DWG/wellness/Shared%20Documents/August%20-%20Stress%20Management/Stress%20and%20the%20Four%20A's.pdf
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  17. http://www.yinyoga.com/newsletter13_restorativeyin.php
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  19. http://www.yogaoutlet.com/guides/how-to-do-downward-facing-dog-in-yoga/
  20. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  21. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  22. http://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/vitamin-b/
  23. http://www.mensfitness.com/nutrition/what-to-eat/eat-to-beat-stress-10-foods-that-reduce-anxiety/slide/6
  24. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  25. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/caffeine/art-20045678
  26. 1.5 fluid ounces (44 milliliters)
  27. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  28. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  29. https://www.amtamassage.org/approved_position_statements/Massage-Can-Reduce-Symptoms-of-Depression.html
  30. http://www.calmclinic.com/anxiety/signs/muscle-tension
  31. http://life.gaiam.com/article/how-relieve-muscle-tension
  32. https://www.amtamassage.org/approved_position_statements/Massage-Can-Reduce-Symptoms-of-Depression.html
  33. http://life.gaiam.com/article/how-relieve-muscle-tension
  34. http://www.calmclinic.com/anxiety/signs/muscle-tension
  35. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/basics/lifestyle-home-remedies/con-20032977
  36. http://sleepfoundation.org/how-sleep-works/how-much-sleep-do-we-really-need/page/0/1
  37. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/basics/lifestyle-home-remedies/con-20032977
  38. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  39. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020825
  40. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/complications/con-20020825
  41. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/complications/con-20020825
  42. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/complications/con-20020825

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,882 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา