ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การฉีกขาดของกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากมักรู้จักกันในรูปแบบของอาการเคล็ดที่มักพบเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในคนที่มีกิจกรรมทางกายมาก กล้ามเนื้อเคล็ดนี้มักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อถูกดึงหรือยืดออกมากเกินไป กล้ามเนื้อที่ถูกยืดออกมากเกินไป โดยทั่วไปมีสาเหตุมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อที่หนักเกินไป, ใช้กล้ามเนื้อไม่เหมาะสม หรือเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อเนื่องจากการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ เมื่อมีการเคล็ดของกล้ามเนื้อแสดงว่าเส้นใยกล้ามเนื้อมีการฉีกขาดหรือเอ็นกล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการยืดออกมากเกินไป อาการกล้ามเนื้อเคล็ดสามารถเจ็บได้ทันทีหลังเกิดการบาดเจ็บหรือเกิดได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง หากคุณคิดว่าอาจจะต้องทุกข์ทรมานกับอาการกล้ามเนื้อเข่าฉีกขาด สิ่งสำคัญคือการรู้อาการและวิธีทดสอบอาการกล้ามเนื้อฉีกขาด จุดประสงค์ของการวินิจฉัยและการรักษาที่ต้องรักษาเพื่อรักษาการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ตรวจสอบอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การอักเสบอันที่จริงแล้วเป็นการพยายามซ่อมแซมการบาดเจ็บของร่างกายในช่วงเริ่มต้น เพื่อที่จะซ่อมแซมตัวเอง โดยร่างกายมีแนวโน้มที่จะเกิดการบวม, เริ่มมีอาการปวด, อุ่นหรือแดง ลองสังเกตดูว่าเข่ามีอาการอุ่นหรือไม่เมื่อลองแตะ, มีขนาดใหญ่ขึ้น, หรือมีสีแดงโดยการวางมือลองไปบนเข่าแล้วดูว่าเป็นอย่างไร นอกจากนั้นให้ลองตรวจดูอาการปวดและจุดกดเจ็บด้วย [1]
    • อาการอุ่นในบริเวณที่เป็นมีสาเหตุมาจากการมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้นซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนในร่างกายจากแกนกลางลำตัวมายังเนื้อเยื่อส่วนปลายซึ่งเย็นกว่า [2]
    • การอักเสบมีสาเหตุมาจากปฏิกิริยาของร่างกายที่ทำต่อเนื้อเยื่อที่โดนทำลายและมีผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายตัวที่มากขึ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาว [3]
    • อาการแดงมีสาเหตุมาจากเลือดที่ไหลมาเลี้ยงมากขึ้นในบริเวณที่บาดเจ็บ [4]
    • บางครั้งในบริเวณที่บาดเจ็บก็ไม่แดงแต่มีสีที่เปลี่ยนไปหรือฟกช้ำมากกว่าจากการบิดหรือมีแรงกระทำที่ไม่เหมาะสมอันเนื่องมาจากการงอที่มากเกินไปหรือการเหยียดที่มากเกินไป
  2. สังเกตอาการแข็งตึงหรือได้ช่วงการเคลื่อนไหวลดลง. หลังเข่าเกิดการบาดเจ็บอาการที่มักพบในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บคือจะแข็งตึงและรู้สึกเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มช่วง ให้ยืนบนข้างที่ไม่ได้บาดเจ็บแล้วค่อยๆ ยกขาข้างที่บาดเจ็บขึ้นมาดูว่าเข่าข้างที่บาดเจ็บไม่มีแรงหรือรู้สึกยืนได้ไม่มั่นคง อาจรู้สึกว่าเข่าไม่มีแรงเป็นพิเศษหรือรู้สึกสั่นตรงเข่าข้างที่บาดเจ็บ [5]
  3. บางครั้งการบาดเจ็บสามารถเป็นสาเหตุให้บริเวณนั้นรู้สึกชาหรือกล้ามเนื้อเกร็งตัวขึ้นมาทันทีและเป็นอยู่เป็นพักๆ ตรวจดูให้แน่ใจว่าเข่าหรือบริเวณรอบๆ รู้สึกยิบๆ เนื่องจากการบาดเจ็บทำให้รู้สึกรำคาญหรือไม่
    • อาการชามีสาเหตุมาจากการสูญเสียการรับความรู้สึกหรือการสั่งการกล้ามเนื้อชั่วคราวซึ่งถูกกระตุ้นให้เกิดได้จากอุบัติเหตุที่เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อถูกทำลาย
  4. ขยับขาไปรอบๆ อย่างระมัดระวังและสังเกตเสียงที่ผิดปกติอย่างเช่น เสียงการบดกันหรือเสียงคลิกจากข้อเข่า เสียงจำพวกนี้สามารถบ่งบอกได้ว่ามีการฉีกขาดของบางโครงสร้าง เมิ่อลองสังเกตดูแล้วพบว่าได้ยินเสียงผิดปกติใดๆ ก็ตาม ให้ลองเหยียดให้ตรงดูว่าสามารถทำได้หรือไม่ การไม่สามารถงอหรือเหยียดขาและเข่าให้สุดได้คือสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีกล้ามเนื้อเคล็ด [7]
  5. ลองยืนลงน้ำหนักบนเข่าข้างที่บาดเจ็บว่าทำได้หรือไม่. กล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อจะไม่แข็งแรงเท่ากับก่อนได้รับบาดเจ็บ ให้ยืนลงน้ำหนักของขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บสักพักว่าสามารถยืนได้หรือไม่ หรือเข่ามีอาการงอทรุดเมื่อรับน้ำหนักหรือไม่ วิธีการทดสอบอีกวิธีหนึ่งคือเดินหรือขึ้นบันไดเพื่อประเมินว่าสามารถทำได้สะดวกหรือไม่ หากกล้ามเนื้อ, เอ็นกล้ามเนื้อ, หรือเอ็นยึดกระดูกถูกทำลาย การทดสอบดังกล่าวจะทำให้รู้สึกปวดและทำได้ยาก [8]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เข้ารับการวินิจฉัยทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับอาการที่เป็นอยู่. ขณะที่พบแพทย์จะต้องมั่นใจและบอกข้อมูลกับแพทย์เกี่ยวกับปัญหาของข้อต่อในอดีต, ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในอดีต, ปัญหาเกี่ยวกับการอักเสบหรือการบาดเจ็บ และระดับความหนักของกิจกรรมทางกาย
    • ลองนึกว่าเคยมีประวัติการล้ม, เดินหรือวิ่งบนพื้นขรุขระ, การบิดหรือเปลี่ยนทิศกระทันหันของข้อเท้าหรือขา, การสะดุด หรือการได้รับแรงกระแทกแบบรุนแรงที่เข่า
  2. แพทย์จะทำการทดสอบหลากหลายการทดสอบเพื่อตรวจดูเอ็นยึดกระดูกที่หัวเข่า เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูว่าเอ็นยึดกระดูกหัวเข่าทำงานเป็นอย่างไร ยังสร้างความมั่นคงให้แก่เข่าได้เป็นอย่างไรบ้าง แพทย์อาจจะทำการตรวจสอบเอ็นดังต่อไปนี้ : เอ็นยึดกระดูกด้านข้างหัวเข่า, เอ็นไขว้หลัง, และเอ็นไขว้หน้า [9]
    • The valgus และ varus test จะใช้ตรวจเอ็นยึดกระดูกด้านข้างเข่าด้านในและด้านนอกตามลำดับ
    • The posterior drawer test จะใช้ตรวจเอ็นไขว้หลัง
    • The Lachman, anterior drawer และ pivot shift test จะใช้ตรวจเอ็นไขว้หน้า
    • หากแพทย์มองว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกเข่าจากการทดสอบเอ็นยึดกระดูกต่างๆ จะใช้ท่า McMurray test
    • หากการตรวจร่างกายตามปกติข้างต้นทำให้ปวดมากเกินไป แพทย์อาจส่งตรวจภายในข้อต่อเพื่อประเมินการหลุดหลวมของข้อต่อ แต่อย่างไรก็ถือว่าพบได้น้อยมาก
  3. เข้ารับการตรวจเพิ่มเติมหากแพทย์สงสัยว่าเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรง. แพทย์อาจต้องการตรวจเพิ่มเติมของบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการปวด, ปริมาณของการบวม, ความมั่นคงภายในข้อต่อและองศาของการเคลื่อนไหว โดยแพทย์สามารถแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมอย่างเช่น เอ็กซเรย์, MRIs, หรือตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ การทดสอบดังกล่าวจะช่วยให้เห็นภายในเข่าได้ชัดเจนขึ้น
    • การทดสอบดังกล่าวนี้ควรใช้เมื่อการทดสอบเอ็นยึดกระดูกด้วยท่าต่างๆ ไม่สามารถประเมินปัญหาได้
    • เอ็กซเรย์สามารถใช้ตรวจดูกระดูกหักได้
    • MRIs จะช่วยให้แพทย์เห็นโครงสร้างภายในเข่าเพื่อตรวจดูอาการบวมและการทำลายของเนื้อเยื่อ [10]
    • การตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์สามารถทำให้เห็นภาพเนื้อเยื่อภายในเข่าและสามารถใช้การรูปแบบของการรักษาได้อีกด้วย [11]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาอาการกล้ามเนื้อเข่าฉีกขาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาต้านอักเสบ NSAIDs หรือ ยาต้านอักเสบชนิดไม่มีสเตอรอยด์ เป็นยาบรรเทาอาการปวดที่มักนำมาใช้ลดปวด, บวม, หรือไข้จากการเคล็ดของกล้ามเนื้อเข่าได้ ถ้าให้มั่นใจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้ยาใดๆ เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหากับไตหรือมีเลือดออกได้ หากซื้อยาจากร้านขายยาแล้วไม่ได้ผล สามารถให้หมอสั่งจ่ายยาแทนได้ [12]
  2. เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องพักหลังบาดเจ็บแต่ก็ยังสามารถขยับไปไหนมาไหนได้ตามปกติ โดยใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงอย่างเช่น ดามเข่า, เฝือก, เครื่องล็อกเข่า, พันผ้า หรือไม้ค้ำยันเพื่อลดการเคลื่อนไหวขณะที่เข่ากำลังซ่อมแซมตัวเอง อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ยังช่วยลดปวดเพราะเข่าจะไม่ต้องใช้งาน หรือแพทย์อาจจะแนะนำให้ถ่วงน้ำหนักขาที่บาดเจ็บไว้นาน 48 ชั่วโมง [13]
  3. ในการจัดการกับอาการปวดควรยกขาขึ้นสูงและพักการใช้เข่า โดยให้มั่นใจว่ายกเข่าสูงกว่าระดับหัวใจเพื่อลดเลือดที่จะไหลไปคั่งค้างบริเวณที่บาดเจ็บ [14]
    • ลองนั่งเก้าอี้เอนไปด้านหลังหรือเก้าอี้นวมแล้วนำหมอนสองใบมาหนุนใต้เข่า หรือนอนบนเตียงแล้วมีหมอนสองใบหนุนใต้เข่า
  4. เพื่อการลดอาการปวดและบวม ให้ประคบเย็นแล้วหาอะไรรัดให้แนบกับเข่า ใช้แผ่นประคบเย็นหรือน้ำแข็งป่นใส่ถุงแล้ววางไว้ไม่เกิน 20 นาที ต่อครั้ง สามารถทำซ้ำได้ทุกชั่วโมง การประคบน้ำแข็งยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อที่มากขึ้นได้อีกด้วย ส่วนการรัดให้แน่นด้วยผ้าพันแผลก็สามารถลดปวดและปวดได้เช่นเดียวกัน [15]
    • ใช้น้ำแข็งประคบ 48 ชั่วโมงแรกหลังจากการบาดเจ็บที่เข่า
  5. การใช้ผ้ายืดหรือผ้ารัดอย่างเช่นผ้าพันแผล สามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่บาดเจ็บได้และช่วยพยุงเข่าได้ดี รัดเข่านี้ก็เพื่อช่วยในการฟื้นตัวหรือรัดให้โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เท่านั้น [16]
  6. เข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อช่วยรักษาการบาดเจ็บ. ขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ แพทย์ที่รักษาอยู่อาจแนะนำให้ไปทำกายภาพบำบัด โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดคุณจะได้เรียนรู้การออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและช่วงการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย
  7. ในบางรายจำเป็นต้องเข้าห้องฉุกเฉินสำหรับการบาดเจ็บที่เข่า ให้ไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการ: [17]
    • ไม่สามารถลงน้ำหนักขาข้างที่เจ็บได้หรือรู้สึกข้อต่อไม่มั่นคง
    • มีอาการแดงหรือมีแนวแดงกระจายทั่วออกจากบริเวณที่บาดเจ็บ
    • เกิดการบาดเจ็บซ้ำในบริเวณเดิมกับบริเวณที่เคยบาดเจ็บมาก่อนหน้าบ่อยๆ
    • อาการบาดเจ็บดูเหมือนจะรุนแรง
    โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์หากยังมีอาการหลังจากทำการรักษาเองที่บ้านแล้ว 2 สัปดาห์, มีเข่าอุ่น, หรือเริ่มมีไข้ร่วมกับอาการปวดบวมของเข่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 977 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา