ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความ wikiHow นี้จะบอกวิธีการรักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยาแก่คุณ โดนเริ่มจาก ขับน้ำมูกและเสมหะ และ ใช้ของจากธรรมชาติ จนถึง บรรเทาอาการให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น

หัวข้อหลัก

  • ขับน้ำมูกและเสมหะโดยการดื่มน้ำอุ่นมากๆ และอาบน้ำอุ่น อ่านต่อ ↓
  • ใช้ของจากธรรมชาติ เช่น ใช้สารสกัดจากเอลเดอร์เบอร์รี่ หรือดื่มชาเปปเปอร์มิ้นต์
  • บรรเทาอาการให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น โดยการกลั้วคอด้วยน้ำผสมเกลือ หรือใช้กลิ่นหอมรักษา
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ขับน้ำมูกและเสมหะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การดื่มน้ำอุ่นจะช่วยให้น้ำมูกในโพรงจมูกระบายออกได้ง่ายขึ้น จึงทำให้คุณขับทั้งน้ำมูกและเสมหะออกมาได้สะดวก และทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นด้วย ผลการศึกษาพบว่า การดื่มน้ำอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการหวัด เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ หรืออาการอ่อนล้าได้ [1]
    • ดื่มชาร้อนที่ไม่มีคาเฟอีน เพิ่มน้ำในร่างกายด้วยการดื่มชาสมุนไพร เช่น ชาดอกคาโมมายล์ หรือชาเปปเปอร์มิ้นต์ เติมน้ำผึ้งและมะนาวเล็กน้อย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและบรรเทาอาการเจ็บคอ ดอกคาโมมายล์จะช่วยลดความเครียดและความอ่อนล้า ส่วนเปปเปอร์มิ้นต์จะช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวก
    • ดื่มชาเขียวญี่ปุ่นเบนิฟูวกิเป็นประจำ เพื่อช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวกและอาการแพ้ [2] ชาสมุนไพรสูตรดั้งเดิมที่ช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอจะให้ผลดีกว่าชาทั่วไป [3]
    • ซุปร้อนๆ ก็เหมาะจะใช้บรรเทาอาการหวัดเช่นกัน ทานซุปผักหรือซุปไก่ให้มากๆ แต่ควรเลือกซุปที่มีปริมาณโซเดียมน้อย เพื่อไม่ให้ร่างกายบริโภคเกลือมากไป ซุปไก่จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและขจัดเสมหะ [4]
    • หากคุณเป็นคนรักกาแฟ คุณก็สามารถดื่มตอนเป็นหวัดได้ การดื่มกาแฟจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวระหว่างที่เป็นหวัด แต่อย่างไรก็ตาม เด็กไม่ควรดื่มกาแฟ [5] นอกจากนี้คุณควรดื่มน้ำอุ่น ชา และซุปเป็นหลัก เพราะคาเฟอีนปริมาณมากจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้อาการหายใจไม่สะดวกกับอาการบวมแย่ลงกว่าเดิม [6]
  2. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    ไอน้ำจะทำให้โพรงจมูกชุ่มชื้นและระคายเคืองน้อยลง ซึ่งช่วยบรรเทาอาการหวัด [7] แช่ตัวในอ่างน้ำร้อน หรืออาบน้ำอุ่นจากฝักบัวในระหว่างที่เป็นหวัด เพื่อรับประโยชน์จากไอร้อน [8] หรือคุณอาจจะใช้ “บาธบอมบ์” กลิ่นเมนทอล เพื่อช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวกด้วยก็ได้
    • สำหรับวิธีการรักษาด้วยไอน้ำสูตรรวดเร็ว ให้คุณต้มน้ำในหม้อจนเดือด เมื่อมีไอน้ำลอยออกมามากพอสมควรแล้ว ให้ยกหม้อออกจากเตา และวางบนที่มั่นคงอย่างโต๊ะหรือเคาน์เตอร์
    • อังหน้าเหนือหม้อ แต่อย่าใกล้มากไปจนไอร้อนหรือน้ำลวกคุณ โพกหัวด้วยผ้าเช็ดตัวผืนบางๆ หายใจสูดไอน้ำสัก 10 นาที [9] คุณสามารถทำซ้ำได้สองถึงสี่ครั้งต่อวัน [10]
    • หยดน้ำมันหอมระเหยสักสองสามหยดเพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นและให้มีกลิ่นหอมผ่อนคลาย [11] [12] ลองใช้น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มิ้นต์เพื่อช่วยบรรเทาอาการไซนัสอักเสบ [13] และน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสเพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวก [14] อย่าใช้น้ำมัน Tea tree oil เพราะจะเป็นพิษได้เมื่อสูดดม [15]
  3. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    การบ้วนปากด้วยน้ำมันเป็นวิธีบำบัดของอินเดีย ซึ่งเป็นการใช้น้ำมันขจัดเชื้อโรคและแบคทีเรียในช่องปาก จุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเกาะติดกับน้ำมันที่คุณบ้วนออกมา [16]
    • ใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และยังมีกรดลอริกกับสรรพคุณต้านเชื้อโรคอีกด้วย [17]
    • ใช้น้ำมันสกัดเย็น เช่น น้ำมันงา หรือน้ำมันดอกทานตะวัน แต่น้ำมันมะพร้าวจะมีสรรพคุณต้านเชื้อโรคเพิ่มเข้ามา (และยังให้รสชาติที่ดีกว่าด้วย)
    • กลั้วน้ำมันหนึ่งช้อนโต๊ะพูนในปากอย่างน้อยหนึ่งนาที ยิ่งกลั้วนานเท่าไร ก็จะนำแบคทีเรียออกมาได้มากเท่านั้น กลั้วให้ทั่วปาก ผ่านตามซอกฟัน และร่องเหงือก
    • อย่ากลืนลงไป หากคุณมักจะเผลอกลืนน้ำมันระหว่างที่กลั้วปากอยู่ ก็ให้บ้วนน้ำมันออกเล็กน้อย
    • หลังจากกลั้วปากแล้ว ก็ให้บ้วนน้ำมันทิ้งในถังขยะ (หากบ้วนทิ้งลงท่ออาจจะทำให้ท่ออุดตันได้) และบ้วนน้ำอุ่นล้างปาก [18]
  4. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    อุปกรณ์ล้างจมูกออกแบบมาเพื่อขับน้ำมูกในโพรงจมูก และบรรเทาอาการหวัดชั่วคราว โดยการชะล้างโพรงจมูก น้ำเกลือจะเข้าไปทางรูจมูกข้างหนึ่ง และขับน้ำมูกออกมาทางรูจมูกอีกข้างหนึ่ง อุปกรณ์ล้างจมูกมีขายตามร้านขายยาและร้านอาหารเพื่อสุขภาพ [19] [20]
    • ล้างจมูกวันละครั้งทุกวันระหว่างที่เป็นหวัด หากคุณรู้สึกดีขึ้น คุณก็สามารถเพิ่มเป็นทำสองครั้งต่อวันได้
    • ทำน้ำเกลือ หรือซื้อน้ำเกลือจากร้านขายยา. หากคุณเลือกที่จะผสมขึ้นเอง ให้ผสมเกลือ ¼ ช้อนชา กับเบคกิ้งโซดา ¼ ช้อนชา ลงในน้ำกลั่นสะอาดต้มเดือด 240 มิลลิลิตร น้ำที่ใช้ควรจะเป็นน้ำกลั่นหรือน้ำที่ต้มแล้วเท่านั้น เพราะน้ำประปาอาจจะมีพยาธิหรืออะมีบาปะปนมาได้
    • เติมน้ำเกลือ 120 มิลลิลิตร ลงในอุปกรณ์ล้างจมูก โดยเติมในอ่างหรือในห้องน้ำเพื่อไม่ให้หกเลอะเทอะ แล้วเอียงหัวสัก 45 องศา [21]
    • จ่อท่อของอุปกรณ์ไปที่รูจมูกที่อยู่ด้านบนสุด เอียงอุปกรณ์เพื่อให้น้ำเกลือไหลลงรูจมูกและออกทางรูจมูกอีกข้าง ทำซ้ำกับรูจมูกอีกข้างหนึ่ง
  5. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    แม้ว่าการสั่งจมูกระหว่างที่เป็นหวัดจะเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะเป็นการทำให้โพรงจมูกโล่ง แต่ก็อย่าสั่งแรงเกินไป แรงที่เกิดจากการสั่งจมูกอาจจะส่งผลต่อหูได้ และจะทำให้คุณปวดหูทั้งๆ ที่ยังเป็นหวัดอยู่ [22] สั่งจมูกเบาๆ และสั่งบ่อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
    • แพทย์มักจะแนะนำให้คุณใช้นิ้วกดปิดจมูกข้างหนึ่งและสั่งน้ำมูกทีละข้าง
    • ล้างมือทุกครั้งที่สั่งจมูก เพื่อขจัดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสบนมือ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ (หรือแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น)
  6. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    หากอากาศในบ้านแห้งเกินไป อาการหวัดของคุณก็อาจจะหายช้าลงและแย่ลงกว่าเดิม ใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ ช่วยให้หายใจได้สะดวก และขับน้ำมูกได้ง่ายขึ้น เปิดเครื่องทำความชื้นตอนกลางคืนเพื่อช่วยให้คุณหายใจได้คล่องขึ้น
    • ทำความสะอาดเครื่องทำความชื้นเป็นประจำ เพราะความชื้นจะทำให้เครื่องขึ้นราได้ง่าย
    • คุณยังสามารถเพิ่มความชื้นให้อากาศได้ด้วยการต้มน้ำกลั่นสะอาดสองถ้วยในหม้อ ใช้น้ำกลั่นสะอาด เพราะสิ่งเจือปนในน้ำอาจทำให้อาการหวัดแย่ลงได้
    • ใช้ไม้ประดับบ้านเป็นเครื่องทำความชื้นจากธรรมชาติ. ทั้งดอก ใบ และลำต้นสามารถคายน้ำระเหยเป็นไอสู่อากาศได้ นอกจากนี้ยังช่วยฟอกคาร์บอนไดออกไซด์และสารพิษอื่นๆ ในอากาศได้ด้วย [23] คุณสามารถเลือกปลูกได้ทั้งว่านหางจระเข้ ปาล์มไผ่ ไทรย้อยใบแหลม เขียวหมื่นปี และพืชชนิดอื่นในตระกูลฟีโลเดนดรอนและดราซีนา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาโดยใช้ของจากธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    เอลเดอร์เบอร์รี่ยุโรปใช้เป็นยาอย่างแพร่หลาย มันสามารถช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวก และอาการป่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ด้วย [24] เอลเดอร์เบอร์รี่มีสรรพคุณต้านการอักเสบและต้านไวรัส ซึ่งช่วยรักษาหวัดและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
    • สารสกัดเอลเดอร์เบอร์รี่มีทั้งรูปแบบน้ำเชื่อม ยาอม แคปซูลอาหารเสริม ซึ่งสามารถหาซื้อไปตามร้านขายอาหารเสริม และร้านขายยาทั่วไป
    • ชงชาดอกเอลเดอร์ โดยแช่ดอกเอลเดอร์ตากแห้งสามถึงห้ากรัมในแก้วน้ำร้อนประมาณ 10-15 นาที กรองดอกไม้ออก และดื่มชาสามครั้งต่อวัน
    • อย่าใช้เอลเดอร์เบอร์รี่เป็นระยะเวลานานโดยไม่ปรึกษาแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เอลเดอร์เบอร์รี่ด้วย เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงต่อหญิงตั้งครรภ์ คนที่เป็นโรคภูมิต้านตนเอง และคนที่มีความดันต่ำ รวมถึงคนที่ใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ยาระบาย ยาเคมีบำบัด และยากดภูมิคุ้มกัน
    • อย่าใช้เอลเดอร์เบอร์รี่ที่ยังไม่สุกหรือยังไม่ปรุง เพราะมันมีพิษ [25]
  2. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    ยูคาลิปตัสมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะคอยป้องกันสารอนุมูลอิสระที่สามารถทำร้ายเซลล์ได้ ส่วนประกอบสำคัญในยูคาลิปตัสคือ สารประกอบ Cineole ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นยาขับเสมหะเพื่อบรรเทาการติดเชื้อในทางเดินหายใจและอาการไอ [26] ยูคาลิปตัสมีขายตามร้านขายยาทั่วไปในรูปแบบยาอม ยาน้ำแก้ไอ และโฟมอาบน้ำ
    • เจลที่มีส่วนประกอบของน้ำมันยูคาลิปตัสก็สามารถใช้ทาบริเวณจมูกและอก เพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวกและลดเสมหะได้
    • ใบยูคาลิปตัสสดหรือตากแห้งสามารถใช้ชงชาและน้ำบ้วนปากเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอได้ ชงชายูคาลิปตัสด้วยการแช่ใบยูคาลิปตัสตากแห้งสองถึงสี่กรัมในแก้วน้ำร้อนประมาณ 10-15 นาที ดื่มชาประมาณสามครั้งต่อวัน
    • สำหรับน้ำบ้วนปาก ให้แช่ใบยูคาลิปตัสตากแห้งสองถึงสี่กรัมในแก้วน้ำอุ่น เติมเกลือ ¼ ถึง ½ ช้อนชา แช่ทิ้งไว้ 5 ถึง 10 นาที ใช้กลั้วปากหลังอาหารเพื่อดับกลิ่นปากและบรรเทาอาการเจ็บคอ [27]
    • อย่ากลืนน้ำมันยูคาลิปตัส เพราะอาจจะเป็นพิษได้ คนที่เป็นโรคหอบหืด โรคลมชัก โรคตับ โรคไต หรือโรคความดันต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยูคาลิปตัส
  3. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    เปปเปอร์มิ้นต์ใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาอาการหวัด เมนทอลซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักสามารถทำหน้าที่เป็นยาลดอาการคัดจมูก ขับน้ำมูก ขจัดเสมหะ รวมถึงบรรเทาอาการเจ็บคอและไอได้ด้วย [28] เปปเปอร์มิ้นต์มีขายในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย ยาอม สารสกัดอาหารเสริม ชาสมุนไพร และสมุนไพรสดหรือตากแห้ง
    • ชาเปปเปอร์มิ้นต์สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ แช่ถุงชาหนึ่งถุง (มีใบเปปเปอร์มิ้นต์ประมาณสามถึงสี่กรัม) ในน้ำร้อน เติมน้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อช่วยลดอาการไอ
    • อย่าใช้น้ำมันเปปเปอร์มิ้นต์หรือเมนทอลกับเด็กอายุต่ำกว่าสองปี
    • คุณสามารถใช้น้ำมันเปปเปอร์มิ้นต์ในการบำบัดด้วยกลิ่นหรือใช้นวดได้ แต่อย่าใช้รับประทาน
  4. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    น้ำผึ้งมีฤทธิ์ต้านไวรัสและช่วยเสริมภูมิต้านทาน โดยเฉพาะน้ำผึ้งดิบ น้ำผึ้งดิบจะแข็งตัวที่อุณหภูมิห้อง และมีรสแรงกว่าน้ำผึ้งที่ผ่านการพาสเจอไรซ์แล้วเล็กน้อย เพื่อประโยชน์สูงสุด ให้ลองหาซื้อน้ำผึ้งดิบที่เพิ่งเก็บจากในท้องที่ใกล้บ้านดู เพราะมันจะช่วยร่างกายต่อสู้กับสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ซึ่งอยู่แถวละแวกบ้านคุณด้วย
    • คุณสามารถเติมน้ำผึ้งและมะนาวลงในชาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอและอาการไอได้ด้วย
    • อย่าใช้น้ำผึ้งกับเด็กอายุต่ำกว่าหนึ่งปี [29]
  5. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    เอ็กไคนาเซียจะช่วยเสริมภูมิต้านทาน แม้ว่าจะไม่มีผลการศึกษาที่รับรองได้ว่ามันสามารถช่วยรักษาหวัดได้ แต่มันก็เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาได้ทั่วไป [30] ร้านขายยาทั่วไปจะมีเอ็กไคนาเซียขายในรูปแบบอาหารเสริม [31]
    • อย่าใช้เอ็กไคนาเซีย หากคุณแพ้หญ้า Ragweed ดอกเดซี่ หรือดอกดาวเรือง [32]
    • คนที่ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาโรคหัวใจ และยาต้านเชื้อรา ไม่ควรใช้เอ็กไคนาเซีย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้เอ็กไคนาเซีย หรืออาหารเสริมสมุนไพรอื่นๆ
  6. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    กระเทียมจะช่วยเสริมภูมิต้านทานและมีฤทธิ์ต้านไวรัสอ่อนๆ [33] ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันชัดเจนได้ว่ากระเทียมสามารถช่วยรักษาหวัดได้จริงๆ แต่ก็คุ้มที่จะลอง [34]
    • คุณสามารถทานกระเทียมได้ทั้งในรูปแบบของอาหารเสริม หรืออาหารสูตรที่มีกระเทียมเป็นส่วนประกอบ คุณควรทานกระเทียมสองถึงสี่กลีบต่อวันเพื่อให้ได้ผลสูงสุด [35]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

บรรเทาอาการให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    การกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ สามารถช่วยให้คอชุ่มชื้นและบรรเทาอาการเจ็บคอได้ ผสมเกลือ ¼ ถึง ½ ช้อนชากับน้ำอุ่นกลั่นสะอาดหรือต้มเดือด 240 มิลลิลิตร [36]
    • กลั้วคอสักหนึ่งนาที แล้วบ้วนออก ทำซ้ำในทุกๆ สองถึงสามชั่วโมงตามจำเป็น
    • อย่าให้เด็กกลั้วคอเอง เพราะเด็กอาจจะเผลอกลืนน้ำเกลือลงไปได้
  2. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยเสริมภูมิต้านทานได้ วิตามินซีไม่ได้ “รักษา” หวัดโดยตรง แต่มันจะช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น [37] ตามปกติผู้ใหญ่ควรจะทานวิตามินซีประมาณ 65-90 มิลลิกรัม ต่อวัน และไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม ต่อวัน [38]
    • ผลไม้ตระกูลส้ม พริกหยวกแดง พริกหยวกเขียว กีวี่ ผักโขม รวมถึงผลไม้และผักสดอื่นๆ ล้วนเป็นแหล่งรวมวิตามินซีสูง [39]
    • อย่าทานวิตามินซีมากเกินไป แม้ว่าจะทานเกินปริมาณที่กำหนดเพียงเล็กน้อยก็ตาม ร่างกายจะขับวิตามินซีส่วนเกินออกไปทางปัสสาวะทั้งหมด เนื่องจากไม่สามารถเก็บไว้ได้
  3. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    การรักษาน้ำในร่างกายจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ ดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือทั้งสองอย่างให้มากๆ หากคุณอาเจียนออกมา ให้คุณดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับออกกำลังกาย เพื่อฟื้นฟูสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย
    • น้ำอุ่นๆ ผสมมะนาวกับน้ำผึ้งจะช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวก [40] ผสมน้ำมะนาวครึ่งลูกลงในแก้วน้ำอุ่น และเติมน้ำผึ้งตามต้องการ
    • น้ำแอปเปิลอุ่นๆ ก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บคอได้ เทน้ำแอปเปิลลงในแก้วที่สามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้ และอุ่นสักหนึ่งนาที [41]
    • ปกติแล้วผู้หญิงควรดื่มน้ำอย่างน้อยเก้าแก้ว (2.2 ลิตร) ต่อวัน ส่วนผู้ชายควรดื่มอย่างน้อยสิบสามแก้ว (3 ลิตร) ต่อวัน และเมื่อคุณป่วย คุณก็ควรดื่มให้มากกว่าปกติ [42]
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน แอลกอฮอล์จะยิ่งทำให้เกิดอาการอักเสบ นอกจากนี้ทั้งแอลกอฮอล์และคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายของคุณขาดน้ำ
  4. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    ร่างกายของคุณจำเป็นต้องพักผ่อนเพื่อที่จะได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ดังนั้นให้ลางานได้เลย (เพื่อนร่วมงานของคุณก็คงไม่อยากติดหวัดจากคุณเช่นกัน) การฝืนทำงานมากไปจะยิ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งจะทำให้หวัดหายช้ากว่าเดิม
    • พยายามงีบหลับบ่อยๆ ระหว่างวัน หวัดจะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า ดังนั้นคุณควรจะออมแรงเอาไว้
    • หากคุณหายใจลำบากขณะนอนหลับ ให้ซ้อนหมอนเพื่อยกหัวคุณให้สูงขึ้น คุณจะได้หายใจสะดวกขึ้น
  5. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    บางผลการศึกษาบอกว่าการทำจิตให้ผ่อนคลายจะช่วยให้หวัดและไข้หายเร็วขึ้นได้ [43] วิธีการเหล่านี้รวมถึงการควบคุมลมหายใจ โยคะ และไทเก๊ก
    • สำหรับการควบคุมการหายใจ ให้วางมือข้างหนึ่งบนอก และอีกข้างบนหน้าท้อง หายใจเข้าลึกๆ และช้าๆ โดยนับหนึ่งถึงสี่ คุณจะรู้สึกได้ถึงหน้าท้องที่ขยายขึ้นผ่านมือของคุณ หายใจเข้าค้างไว้ นับหนึ่งถึงสี่แล้วค่อยๆ หายใจออกโดยนับหนึ่งถึงสี่อีกเช่นกัน [44]
    • โยคะคือการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างทั้งร่างกายและจิตใจ เพิ่มสมรรถภาพ ลดความดันโลหิต ช่วยผ่อนคลาย เสริมความมั่นใจ และลดความเครียดกับความวิตกกังวล ท่วงท่าทางกายภาพ การควบคุมการหายใจ และสมาธิจะเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม หะฐะโยคะเป็นโยคะที่นิยมเล่นกัน โดยเน้นที่ท่วงท่าและกายบริหารทางกายภาพ เรียกว่า อาสนะ เพื่อสร้างภาวะแห่งความสมดุล การออกแรงจะตามด้วยการคลายกล้ามเนื้อ ท่าดัดหลังจะตามด้วยท่าโค้งหลัง และกายบริหารจะตามด้วยการทำสมาธิ [45]
    • ไทเก๊กเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine หรือ TCM) ท่วงท่าที่ช้า จะเต็มไปด้วยความสุขุม สมาธิ และการควบคุมการหายใจ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้ฝึกหลายคนแนะนำให้ลองฝึกไทเก๊กประมาณ 15-20 นาที สองครั้งต่อวันที่บ้านดู เนื่องจากการฝึกเป็นประจำจะช่วยให้ชำนาญและให้ผลลัพธ์ที่ดี ก่อนที่จะเริ่มฝึกไทเก๊ก คุณควรปรึกษาแพทย์และครูฝึกไทเก๊กก่อน [46]
  6. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    การบำบัดด้วยกลิ่นจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย หยดน้ำมันหอมระเหยสักสองสามหยดลงในเครื่องทำความชื้นหรือในห้องอบไอน้ำ หรือจะใช้เติมในชาสมุนไพรก็ได้
    • สะระแหน่ฝรั่งเป็นพืชในตระกูลสะระแหน่ที่มักใช้เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและคลายความวิตกกังวล คุณสามารถชงชาสะระแหน่ฝรั่งได้ ด้วยการแช่สะระแหน่ฝรั่งตากแห้งสองถึงสี่กรัม หรือใบสะระแหน่สดสักสี่ถึงห้ากรัมในน้ำร้อนประมาณ 10-15 นาที [47]
    • ดอกลาเวนเดอร์ก็สามารถช่วยให้คุณรู้สึกสงบและผ่อนคลายได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าด้วย ใช้น้ำมันหอมระเหยนวดตัว หรือหยดลงในเครื่องทำความชื้น [48] คุณสามารถซื้อชาดอกลาเวนเดอร์ได้ตามร้านอาหารเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่
    • ดอกคาโมมายล์ก็สามารถช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลายได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเย็นหน้าอกได้ด้วย [49] ชงชาดอกคาโมมายล์ด้วยการแช่ดอกคาโมมายล์ตากแห้งสองถึงสี่กรัม หรือถุงชาดอกคาโมมายล์ในแก้วน้ำร้อน การเติมน้ำมันดอกคาโมมายล์ในน้ำร้อนเพื่อใช้อังหน้าสามารถช่วยบรรเทาอาการไอได้ด้วย [50]
  7. Watermark wikiHow to รักษาหวัดให้หายเร็วโดยไม่ใช้ยา
    ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้คุณรักษาหวัดด้วยวิธีการต่างๆ ในบทความนี้ แต่ถ้าอาการหวัดของคุณแรงกว่าปกติ มีไข้สูง หรือเคยได้รับการวินิจฉัยก่อนหน้านี้ว่าเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ คุณก็ควรไปพบแพทย์ทันที หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่านี่เป็นสัญญาณเตือนให้ไปพบแพทย์แล้วล่ะ: [51] [52]
    • มีไข้สูง (อุณหภูมิสูงกว่า 38.9 °C)
    • ติดเชื้อในหูหรือจมูก
    • น้ำมูกมีสีเขียว น้ำตาล หรือมีเลือด
    • เสมหะตอนไอมีสีเขียว
    • มีอาการไอเรื้อรัง
    • มีผื่นคัน
    • หายใจลำบาก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองแช่เท้าในน้ำร้อนดู วิธีนี้จะช่วยผ่อนคลายเส้นประสาทและบรรเทาอาการได้
  • หลังจากสั่งจมูกแล้ว ให้ล้างมือและเช็ดด้วยกระดาษชำระสะอาด ล้างมือเป็นประจำ และใช้สารล้างมือฆ่าเชื้อโรค
  • ดื่มน้ำให้มากๆ แต่อย่าดื่มมากเกินไป และควรทานผักและผลไม้มากๆ ด้วย
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและพักผ่อนให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว
  • อมยาอมแก้ไอเพื่อบรรเทาอาการ แต่อย่าใช้บ่อยจนเกินไป
  • ปรุงซุปจากกระเทียมสี่กลีบ ขิงหนึ่งช้อนโต๊ะ ซุปไก่สองถ้วยตวง มะนาวหนึ่งลูก และพริกป่นประมาณหนึ่งช้อนชา
  • พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ รวมถึงการนอนหลับตลอดช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และการลาพักงานสักสองวัน ดื่มน้ำมากๆ เป็นประจำ (น้ำเปล่าจะดีที่สุด)
  • ทานส้ม เพราะวิตามินซีจะช่วยเสริมภูมิต้านทาน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสูดควันบุหรี่เมื่อเป็นหวัด ควันบุหรี่จะระคายเคืองเยื่อบุผิวในช่องจมูก และทำให้อาการหวัดแย่ลง
  • ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด เพื่อทำให้รู้สึกสดชื่น แต่วิธีนี้จะช่วยให้รู้สึกดีได้แค่ 30 นาที เท่านั้น
  • ออกกำลังกายเพื่อป้องกันหวัด ผลการวิจัยบอกว่าการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยลดโอกาสที่จะเป็นหวัดได้
  • พยายามอย่าทานอาหารที่มีผลิตภัณฑ์ทำจากนม เพราะจะทำให้อาการหวัดแย่ลง [53]
โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์ก่อนจะรักษาด้วยการใช้สมุนไพร สมุนไพรอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิดหรืออาการบางอย่างที่คุณเป็นอยู่
  • อุปกรณ์ล้างจมูกควรใช้กับน้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่ไม่ใช่น้ำจากก๊อกเท่านั้น การใช้น้ำไม่สะอาดกับบริเวณที่บอบบางอาจทำให้มีพยาธิเข้าสู่ร่างกายหรือเกิดแผลติดเชื้อเป็นหนองได้
  • ไปพบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้นในเจ็ดถึงสิบวัน หรือมีอาการไข้ขึ้นสูง (เกิน 38.9 °C) สีของน้ำมูกไม่ใส ไอมีเสมหะ หรือมีผื่นคันขึ้นบนผิวหนัง
  • หากคุณตั้งครรภ์ ยา สมุนไพร และอาหารเสริมบางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อคุณและลูกในท้องได้
  • หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น หอบหืด หรือถุงลมโป่งพอง คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อคุณเป็นหวัด
โฆษณา
  1. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000647.htm
  2. https://www.wwu.edu/chw/student_health/publications/Self%20Care%20Remedies.pdf
  3. http://www.unh.edu/health-services/ohep/complementaryalternative-health-practices/aromatherapy
  4. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/peppermint
  5. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/eucalyptus
  6. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0278691505002899
  7. http://www.webmd.com/oral-health/features/oil-pulling
  8. http://www.webmd.com/oral-health/features/oil-pulling
  9. http://www.webmd.com/oral-health/features/oil-pulling
  10. http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm316375.htm
  11. http://www.med.umich.edu/1info/FHP/practiceguides/Rhino/saline.pdf
  12. http://www.webmd.com/allergies/sinus-pain-pressure-11/neti-pots?page=2
  13. http://www.webmd.com/cold-and-flu/8-tips-to-treat-colds-and-flu-the-natural-way
  14. http://www.extension.umn.edu/garden/yard-garden/houseplants/houseplants-help-clean-indoor-air/
  15. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/elderberry
  16. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/elderberry
  17. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/eucalyptus
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/cold-remedies/art-20046403
  19. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/peppermint
  20. http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2007/12/22/is-honey-more-effective-than-cough-medicine.aspx
  21. http://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/echinacea-common-cold
  22. http://www.webmd.com/cold-and-flu/features/four-natural-cold-remedies-do-they-work?page=2
  23. http://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/echinacea-common-cold?page=2
  24. http://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/lifestyle-guide-11/colds-flu-immune-system?page=3
  25. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22419312
  26. http://www.medicaldaily.com/garlic-good-you-7-surprising-benefits-garlic-optimal-health-324114
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/cold-remedies/art-20046403
  28. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12134712?dopt=Abstract
  29. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/vitamin-c/faq-20058030
  30. http://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminC-Consumer/
  31. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/cold-remedies/art-20046403
  32. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/cold-remedies/art-20046403
  33. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256
  34. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/common-cold
  35. http://umm.edu/health/medical/altmed/treatment/relaxation-techniques
  36. http://umm.edu/health/medical/altmed/treatment/yoga
  37. http://umm.edu/health/medical/altmed/treatment/tai-chi
  38. http://umm.edu/health/medical-reference-guide/complementary-and-alternative-medicine-guide/herb/lemon-balm
  39. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/lavender
  40. http://umm.edu/health/medical-reference-guide/complementary-and-alternative-medicine-guide/herb/german-chamomile
  41. http://umm.edu/health/medical-reference-guide/complementary-and-alternative-medicine-guide/herb/german-chamomile
  42. https://www.rochester.edu/uhs/healthtopics/ColdCare/files/CommonCold.pdf
  43. http://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/when-see-doctor
  44. http://blogs.umass.edu/bodyshop/files/2009/07/exerciseandcommoncold.pdf

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,540 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา