ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีวิธีธรรมชาติมากมายที่ช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ไม่ว่าคุณจะแค่อยากรู้สึกเย็นขึ้นสักหน่อยหรืออยากจะลดไข้ก็ตาม เริ่มจากการรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำและรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก และอาจจะลองรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน เช่น แช่เท้าหรือแช่ตัวในน้ำอุ่น แต่ถ้าเป็นลมแดดหรือมีไข้สูง ในบางกรณีก็อาจจะต้องรีบเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ทันที ถ้าคุณสังเกตได้ถึงอาการร้ายแรงต่างๆ ให้ติดต่อแผนกฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ลดความร้อนในร่างกายแบบรวดเร็ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นไปได้ให้ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออกสักชั้น ผ้าน้ำหนักเบาเช่น ผ้าไหม ผ้าชีฟอง ผ้าฝ้ายบางๆ และผ้าลินินเป็นผ้าที่เหมาะใส่ในช่วงที่อากาศร้อนจัด นอกจากนี้พยายามใส่เสื้อผ้าสีขาวและสีอ่อนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยต่อสู้กับความร้อนได้ด้วยการสะท้อนแสงแดดออกไป [1]
  2. ถ้าเป็นไปได้ให้นั่งตรงที่แอร์ลง ถ้าที่บ้านไม่มีแอร์ ให้ไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงหนัง หรือบ้านเพื่อนแทน หรืออย่างน้อยที่สุดการนั่งหน้าพัดลมก็ช่วยให้คุณรู้สึกเย็นขึ้นได้ [2]
    • ถ้าคุณมีแต่พัดลมอย่างเดียว ลองใช้น้ำเย็นลูบตัวให้หมาดตอนนั่งหน้าพัดลม น้ำบนผิวจะช่วยให้คุณรู้สึกเย็นสบายขณะที่มันระเหย
  3. 3
    ใชัพัดพัดเบาๆ ยาวๆ. ถ้าคุณไม่มีทั้งแอร์และพัดลม การใช้พัดก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายของคุณได้ แต่ประเด็นคือต้องใช้พัด (หรือของใกล้มือ) ที่มีพื้นที่หน้ากว้างและอย่าพัดแบบเร็วๆ [3]
    • ถ้าคุณพัดเร็วๆ เลือดก็จะสูบฉีดเร็วและทำให้คุณยิ่งร้อน แต่การพัดเบาๆ จะทำให้เหงื่อบนผิวระเหย ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้
    • การทำให้ผิวหมาดด้วยน้ำเย็นขณะพัดก็ช่วยได้เหมือนกัน
  4. ใช้ เทคนิคการผ่อนคลาย . นั่งในท่าสบายๆ และหายใจช้าๆ ลึกๆ ขณะหายใจเข้าให้นับถึง 4 จากนั้นค้างไว้จนนับถึง 7 และหายใจออกเมื่อนับถึง 8 ฝึกควบคุมการหายใจอย่างน้อย 10-15 นาทีเพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจและลดอุณหภูมิแกน
    • ลองเปิดเพลงสบายๆ หรือเสียงธรรมชาติที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจอย่างเสียงคลื่นซัดหรือเสียงวาฬหลังค่อมถ้ามันช่วยได้
    • คุณจะลองนั่งสมาธิก็ได้ คุณอาจจะหาคลิปฝึกทำสมาธิด้วยมโนภาพเพื่อผ่อนคลายจาก YouTube หรือช่องทางอื่นๆ
    • เทคนิคการผ่อนคลายช่วยทำให้คุณรู้สึกเย็นขึ้นถ้าคุณมีอาการร้อนวูบวาบ [4]
  5. เติมน้ำเย็นและน้ำแข็งลงในกะละมังเล็กๆ และเอาเท้าลงไปแช่ แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 60 นาทีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
    • ถ้าคุณแค่อยากรู้สึกเย็นๆ สักหน่อย คุณจะแช่นานเท่าไหร่ก็ได้ แต่ถ้าคุณอยากลดอุณหภูมิในร่างกาย (เช่น ถ้าเป็นไข้) ให้แช่นานกว่า 60 นาที เพราะการแช่เท้าน้อยกว่า 60 นาทีไม่สามารถลดอุณหภูมิในร่างกายได้ [5]
    • เติมน้ำแข็งหรือน้ำเย็นลงไปในกะละมังเมื่อน้ำเริ่มอุ่น
  6. ถ้าคุณต้องการ ลดไข้ การแช่น้ำอุ่นนั้นดีกว่าการแช่น้ำเย็น เพราะการแช่ตัวในน้ำเย็นอาจทำให้ตัวสั่น ซึ่งจะยิ่งเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้อาหารและเครื่องดื่มดับร้อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การดื่มน้ำช่วย ลดอุณหภูมิที่สูงในร่างกาย และทดแทนของเหลวที่เสียไปทางเหงื่อ การดื่มน้ำ 170-240 มล. ทุกๆ 15 นาทีนั้นได้ผลดีกว่าการดื่มน้ำมากๆ ในคราวเดียว [8]
  2. ถ้าคุณทำงานหรือออกกำลังกายท่ามกลางอากาศร้อน ให้ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อเติมน้ำในร่างกาย การดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่จะช่วยรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำและทดแทนเกลือและแร่ธาตุสำคัญที่เสียไปกับเหงื่อ [10]
  3. นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกสดชื่นและเย็นสบายแล้ว การเคี้ยวน้ำแข็งยังช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายด้วย ดังนั้นมันจึงป้องกันโรคเพลียแดดและโรคลมแดดได้ [16]
    • แต่จำไว้ว้าคุณยังต้องรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำเหมือนเดิม การเคี้ยวน้ำแข็งนิดหน่อยไม่สามารถเติมน้ำในร่างกายได้มากเท่าการดื่มน้ำ 1 แก้วเต็มๆ
  4. รับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก. โดยทั่วไปยิ่งอาหารมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้มากเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแตงโม แตงกวา และผักใบเขียว ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวเลือกที่ดี [17]
    • อาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณมากจะย่อยง่าย การย่อยง่ายจะเผาผลาญพลังงานน้อยกว่าและสร้างความร้อนน้อยกว่า
  5. เวลาที่คุณอยากลดอุณหภูมิในร่างกาย คุณจะอยากดื่มเบียร์เย็นๆ กาแฟเย็น ชาหวานๆ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ (เครื่องดื่มเกลือแร่อาจมีคาเฟอีนและน้ำตาลสูง) แต่การบริโภคของเหล่านี้จะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ทำให้ผิวหนังร้อน และขัดขวางความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย [18]
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตสูง. มันอาจจะดูตรงข้ามกับความเข้าใจทั่วไป แต่ไอศกรีมทำให้คุณยิ่งร้อนกว่าเดิมในภายหลังแม้ว่ามันจะทำให้คุณรู้สึกเย็นในระยะเวลาสั้นๆ ก็ตาม ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตต้องใช้พลังงานในการย่อยมาก ซึ่งการต้องใช้พลังงานมากก็หมายความว่าความร้อนจะมากขึ้นตามด้วย [19]
    • อาหารอื่นๆ ที่ควรเลี่ยงเวลารู้สึกร้อนได้แก่เนื้อแดง ถั่วเปลือกแข็ง และข้าวกล้อง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาอาการฉุกเฉิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โทรศัพท์หาแพทย์ถ้าคุณมีไข้สูงหรือมีอาการร้ายแรง. ไข้สูงเกิน 40 องศาเซลเซียสเป็นอาการที่น่าวิตกทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก [20] สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 3 เดือน ให้โทรศัพท์หาแพทย์เมื่อมีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส [21]
    • อาการร้ายแรงอื่นๆ ได้แก่ลมชัก หมดสติ งุนงง คอแข็ง หายใจลำบาก และอาการปวดรุนแรง
  2. โทรศัพท์เรียกบริการฉุกเฉินหากมีใครแสดงอาการของโรคลมแดด. โรคลมแดดร้ายแรงกว่าแค่รู้สึกร้อนหรือความเครียดที่เกิดจากความร้อนสะสม และต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที สัญญาณของโรคลมแดดได้แก่อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส งุนงงหรือกระสับกระส่าย คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว หัวใจเต้นรัว และมีการขับเหงื่อที่เปลี่ยนไป [22]
  3. ขณะที่โทรศัพท์หาบริการฉุกเฉิน ให้พาผู้ป่วยหลบแดด ถ้าเป็นไปได้ก็ให้นำผู้ป่วยมาไว้ในที่ร่มที่มีแอร์หรือหน้าพัดลม [23]
  4. ระหว่างรอสายโอเปอร์เรเตอร์ของบริการฉุกเฉิน พยายามทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเย็นขึ้นขณะรอรถพยาบาล วางเจลเย็นหรือผ้าขนหนูเย็นๆ ลงบริเวณที่จะช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ การแช่น้ำเย็นก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่ต้องอย่าให้ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกหนาวสั่น [24]
    • ถ้าคุณอยู่กลางแจ้ง สายยางหรือแหล่งน้ำธรรมชาติอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,248 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา