ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอก (chest pain) ไม่ได้แปลว่าคุณเป็นโรคหัวใจเสมอไป มีข้อมูลว่าคนอเมริกัน 5.8 ล้านคนที่ถูกส่งตัวไปห้องฉุกเฉินเพราะอาการเจ็บหน้าอกในแต่ละปี มีมากถึง 85% ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ [1] และเพราะอาการเจ็บหน้าอกเป็นได้ด้วยหลายสาเหตุ ตั้งแต่หัวใจวายไปจนถึงกรดไหลย้อน คุณจึงควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง แต่ก่อนหน้านั้นให้ลองบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกตามวิธีที่เราแนะนำในบทความวิกิฮาวนี้ดู

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะหัวใจวาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [2] ภาวะหัวใจวาย (heart attack) เกิดเมื่อหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดไปยังหัวใจนั้นอุดตัน จนเลือดไหลเวียนไปไม่ถึง ทำให้หัวใจเสียหาย เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกเพราะหัวใจวาย โดยมีอาการปวดทึบๆ ปวดเสียด แน่นหน้าอก เหมือนมีคนมาบีบหัวใจ หรือมีอะไรกดทับ มักเกิดเฉพาะกลางอก ถ้าอยากเช็คให้ชัวร์ว่าคุณกำลังหัวใจวาย ให้สังเกตอาการต่อไปนี้
    • หายใจติดขัด
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม
    • เหงื่อแตกตัวเย็น
    • เจ็บแขนซ้าย ขากรรไกร และคอ
  2. [3] จะโทรเรียกรถพยาบาลหรือให้ใครช่วยพาไปส่งโรงพยาบาลก็ได้ ยิ่งคุณหมอช่วยเคลียร์เส้นเลือดที่อุดตันได้เร็วเท่าไหร่ หัวใจก็ยิ่งเสียหายน้อยลงเท่านั้น
  3. [4] ที่เส้นเลือดอุดตันจนหัวใจวายก็เพราะเกล็ดเลือด (เซลล์เม็ดเลือด) ไปกระจุกกันกับคอเลสเตอรอลที่เกาะผนังเส้นเลือด แค่กินนิดเดียวยาแอสไพรินก็ช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดได้ ช่วยเจือจางให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น
    • มีงานวิจัยชี้ว่าถ้าเคี้ยวยาแอสไพรินตอนหัวใจวาย จะช่วยลดการเกิดลิ่มเลือด บรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก และป้องกันไม่ให้หัวใจเสียหายเพิ่มขึ้นได้มากกว่าการกลืนเม็ดยาลงไป
    • ระหว่างรอความช่วยเหลือ ให้เคี้ยวยาแอสไพรินปริมาณ 325 มก. ไปช้าๆ
    • ต้องรีบกินยาทันที ตัวยาจะได้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วที่สุด
  4. [5] อย่าขยับเขยื้อนหรืออะไรที่ทำให้เลือดยิ่งสูบฉีด เพราะจะเป็นผลเสียต่อหัวใจมากกว่าเดิม ให้นั่งในท่าที่สบาย แล้วพยายามสงบใจ ปลดเสื้อผ้าที่คับแน่นออก ผ่อนคลายให้มากที่สุด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้จักอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ. [6] ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) เกิดเมื่อเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) บวมหรือระคายเคือง ส่วนใหญ่เพราะเกิดติดเชื้อไวรัส ทำให้เจ็บแปลบที่หน้าอก เหมือนถูกแทงที่กลางหรือทางซ้ายของหน้าอก แต่บางคนก็ปวดทึบๆ แต่ลามไปถึงขากรรไกรและ/หรือแขนซ้ายด้วย จะเจ็บมากขึ้นเมื่อหายใจหรือขยับตัว บางอาการของภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบก็คล้ายกับอาการที่เกิดตอนหัวใจวายมาก เช่น
    • หายใจติดขัด
    • ใจสั่น
    • มีไข้ต่ำๆ
    • เหนื่อยล้าหรือคลื่นไส้
    • ไอ
    • ขาหรือท้องบวม
  2. ปกติอาการของภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะไม่รุนแรงมาก เดี๋ยวก็หายเอง แต่มักอาการคล้ายกันมากกับหัวใจวาย [7] ที่สำคัญคือถ้าอาการรุนแรงจะถึงขั้นต้องผ่าตัด เพราะฉะนั้นควรไปให้คุณหมอตรวจวินิจโดยด่วน จะได้รู้สาเหตุของอาการเจ็บแน่นหน้าอกชัดเจน
    • โทรเรียกรถพยาบาลหรือให้ใครช่วยพาไปส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
    • ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเหมือนหัวใจวายตรงที่ควรป้องกันไม่ให้อาการทรุด โดยดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ
  3. บรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอกโดยนั่งหลังตรง ค้อมตัวไปด้านหน้า. [8] เยื่อหุ้มหัวใจจะมีเนื้อเยื่อ 2 ชั้นที่เกิดเสียดสีกันเมื่ออักเสบ จนเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ถ้านั่งท่าที่ว่า จะช่วยลดการเสียดสีของเนื้อเยื่อได้ ทำให้ปวดน้อยลงระหว่างรอความช่วยเหลือ
  4. ให้กินยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs (ไม่ใช่สเตียรอยด์) เช่น ยาแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน เพื่อลดอาการอักเสบของเนื้อเยื่อ ทำให้เยื่อหุ้มหัวใจ 2 ชั้นเสียดสีกันน้อยลง ลดอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้
    • ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยา
    • ถ้าคุณหมออนุญาตแล้ว ให้กิน 3 ครั้งต่อวันหลังอาหาร ถ้าเป็นยาแอสไพรินต้องไม่เกิน 2 - 4 กรัมต่อวัน ส่วนไอบูโพรเฟนไม่เกิน 1,200 - 1,800 มก. ต่อวัน [9]
  5. ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ถ้าดูแลตัวเองเหมือนตอนเป็นหวัด ก็จะช่วยให้หายเจ็บและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้การนอนหลับพักผ่อนเยอะๆ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย เลยทำให้หายเร็ว [10]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากความผิดปกติที่ปอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าขาบวมหรือมีเหตุให้ต้องนั่งนานๆ เช่น นั่งเครื่องบินข้ามประเทศ อาจเกิดลิ่มเลือดลามไปที่หลอดเลือดแดงสู่ปอดจนอุดตันได้ อาการผิดปกติที่ปอดเลยทำให้เจ็บแน่นหน้าอก และจะยิ่งแย่เวลาหายใจ ขยับตัว หรือไอ
    • ให้รีบไปแผนกฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด
    • ความผิดปกติที่ปอดนี้ถ้าเคสที่รุนแรงอาจต้องผ่าตัดด่วนเพื่อบรรเทาอาการ
  2. [11] ปอดบวม (Pneumonia) คือการติดเชื้อในถุงลมของปอด ทำให้เกิดการอักเสบ มีน้ำในปอด พอไอก็เลยมีเสลดหรือเสมหะตามมา อาการอื่นๆ นอกจากเจ็บแน่นหน้าอกก็คือ
    • มีไข้
    • ไอมีเสมหะ
    • เหนื่อยอ่อน
    • คลื่นไส้ และอาเจียน
  3. ถ้าเป็นไม่มากนักก็แค่พักผ่อนอยู่ที่บ้าน จนกว่าระบบภูมิคุ้มกันจะกำจัดเชื้อออกไปหมด แต่ถ้าอาการติดเชื้อลุกลามอาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะถ้าเกิดในเด็กและผู้สูงอายุ ให้รีบไปหาหมอทันทีถ้ามีอาการต่อไปนี้
    • หายใจลำบาก
    • เจ็บแน่นหน้าอกรุนแรงขึ้น
    • มีไข้ 39 องศาขึ้นไป ไม่ยอมลด
    • ไอไม่หยุด โดยเฉพาะไอแล้วมีหนอง
    • จะยิ่งอันตรายถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้สูงวัยเกิน 65 ปี และใครก็ตามที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  4. [12] ถ้าคุณเป็นปอดบวมเพราะติดเชื้อแบคทีเรีย คุณหมอจะจ่ายยาปฏิชีวนะ (antibiotics) เช่น azithromycin, clarithromycin หรือ erythromycin ให้กินฆ่าเชื้อ จะได้หายเร็วๆ แต่ถึงยาปฏิชีวนะจะไม่เหมาะกับอาการของคุณ คุณหมอก็จะจ่ายยาอื่นที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือลดอาการไอให้เจ็บหน้าอกน้อยลงให้เอง
  5. ระวังโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism) และภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax). [13] [14] โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเกิดเพราะเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงไปสู่ปอด ส่วนภาวะภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (ปอดแตก) เกิดเมื่ออาการรั่วเข้าไปในช่องว่างระหว่างปอดกับผนังทรวงอก ทั้ง 2 อาการนี้จะทำให้ขาดอากาศหายใจรุนแรง นิ้วและปากดำคล้ำได้
    • ถ้ามีปัจจัยอื่นแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ หรือเป็นโรคหอบหืดเรื้อรัง พอเป็นปอดบวมแล้วไอแรงๆ ก็ทำให้ปอดอุดตันหรือฉีกขาดได้
  6. ถ้าสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดหรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ ให้รีบหาหมอด่วน นอกจากทำให้เจ็บแน่นหน้าอกแล้ว ทั้ง 2 โรคนี้ยังทำให้ขาดอากาศหายใจ หรือนิ้วและปากดำคล้ำด้วย
    • ถ้าเป็น 1 ใน 2 โรคนี้ ให้พบแพทย์ด่วน เพราะเลือดหรืออากาศที่รั่วเข้าไปในช่องอก จะเพิ่มปริมาณจนอุดตันหรือกดทับปอดได้ เป็นอาการที่หายเองไม่ได้แน่นอน ต้องรักษาทางการแพทย์เท่านั้น ควรเรียกรถพยาบาลหรือขอความช่วยเหลือทันที
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากกรดไหลย้อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [15] [16] กรดไหลย้อน (acid reflux) เกิดเมื่อกรดในกระเพาะทำให้รอยต่อระหว่างกระเพาะกับหลอดอาหารระคายเคืองจนคลายตัว ทำให้กรดไหลย้อนจากกระเพาะขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ จะเกิดอาการแสบร้อนกลางอก นอกจากนี้ยังทำให้คลื่นไส้ หรือรู้สึกเหมือนมีอาหารติดคอหรือแน่นอยู่ในหน้าอกได้ สุดท้ายคืออาจมีรสแสบๆ ซ่าๆ ในปาก
    • อาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน หรือทำให้อาการหนักขึ้นก็เช่น อาหารมันๆ เผ็ดๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นคนกินแล้วนอน
    • แอลกอฮอล์ ช็อคโกแลต ไวน์แดง มะเขือเทศ ผลไม้รสเปรี้ยว เปปเปอร์มินต์ กาแฟ และอื่นๆ ที่มีคาเฟอีนก็ทำให้เกิดกรดสะสมจนไหลย้อนได้
  2. [17] พอแสบร้อนกลางอกเมื่อไหร่ ระวังอย่านอนราบ กรดไหลย้อนจะเกิดแถวหลอดอาหาร เพราะฉะนั้นถ้านอนลง กรดในกระเพาะจะยิ่งไหลย้อนออกมา ให้นั่งตัวตรงแทน กรดจะได้ไม่ย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารง่ายๆ
    • หรือลองขยับตัวช้าๆ เช่น โยกตัวไปมาเบาๆ ในเก้าอี้หรือเดินไปมา เผื่อจะช่วยเรื่องการย่อย
  3. [18] เช่น Tums, Maalox, Pepto-Bismol และ Mylanta หรือยี่ห้ออื่นๆ เป็นยาลดกรดที่หาซื้อมาบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกได้สะดวก ให้กินหลังอาหารหรือเมื่อเกิดอาการ นอกจากนี้ยังมียาลดกรดที่กินก่อนอาหารได้ เรียกว่ากันไว้ก่อน ไม่ว่าจะใช้ยาตัวไหนขอให้อ่านคำแนะนำที่ฉลากดีๆ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  4. [19] ยาลดกรดนั้นจะป้องกันกรดไหลย้อน แต่ Prilosec กับ Zantac จะไปหยุดการสร้างกรดในกระเพาะแต่แรกเลย
    • Prilosec เป็นยากลุ่ม proton pump inhibitor ที่หาซื้อได้ทั่วไป ช่วยหยุดการสร้างกรดในกระเพาะได้ โดยกิน 1 เม็ด ก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จะช่วยลดกรดไหลย้อนได้ ให้อ่านคำแนะนำที่ฉลากหรือในกล่องก่อน จะได้รู้ว่ายามีผลยังไงต่อการย่อยอาหารของคุณ
    • Zantac ก็ออกฤทธิ์แบบเดียวกัน โดยไปยับยั้งตัวรับฮิสตามีน ให้รินน้ำใส่แก้ว จากนั้นใส่ยาในน้ำแล้วรอจนละลายหมด ใช้ดื่ม 30 - 60 นาทีก่อนอาหาร เพื่อลดการผลิตกรดในกระเพาะ
  5. เบคกิ้งโซดาผสมน้ำเรียกว่า "sodium bicarbonate" ใช้ลดอาการแสบร้อนจากกรดไหลย้อนได้อย่างเห็นผล [20] แค่ผสมเบคกิ้งโซดา 1 - 2 ช้อนโต๊ะลงในแก้วที่มีน้ำ แล้วใช้ดื่มตอนเจ็บแน่นหน้าอกจากกรดไหลย้อน ไบคาร์บอเนตในเบคกิ้งโซดาจะช่วยปรับกรดให้เป็นกลาง
  6. ชงชาคาโมไมล์หรือน้ำขิงดื่ม ไม่ก็ผสมรากขิงในอาหาร สมุนไพร 2 อย่างนี้ช่วยเรื่องการย่อย แถมทำให้สบายท้องขึ้นด้วย
    • สารสกัดจากรากชะเอม DGL-licorice (Glycyrrhiza glabra) ช่วยเคลือบเยื่อเมือกของหลอดอาหาร ป้องกันความเสียหายและความเจ็บปวดจากกรดไหลย้อน [21]
    • ให้กินแบบแคปซูล ปริมาณ 250 - 500 มก. 3 ครั้งต่อวัน 1 ชั่วโมงก่อนอาหาร หรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร [22] แต่ถ้าใช้ต่อเนื่องนานๆ ควรหาหมอตรวจวัดระดับโพแทสเซียม เพราะชะเอมจะทำให้โพแทสเซียมในร่างกายลดลง จนอาจเกิดอาการใจสั่นและผลการค้นหาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias) ได้
    • แคปซูลสารสกัดจากรากชะเอมช่วยป้องกันอาการข้างเคียงได้ เช่น อาการบวม
  7. มีหลายงานวิจัยชี้ว่าการฝังเข็มช่วยบรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal disorders) ได้อย่างเห็นผล ในระยะเวลาการวิจัย 6 อาทิตย์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนได้รับการฝังเข็มดั้งเดิมแบบจีน ตามจุดสำคัญของร่างกาย 4 จุดด้วยกัน ซึ่งได้ผลออกมาใกล้เคียงกันกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ถ้าจะลองฝังเข็ม ต้องเน้นตามจุดต่อไปนี้ วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 1 อาทิตย์ [23]
    • Zhongwan (CV 12)
    • Bilateral Zusanli (ST36)
    • Sanyinjiao (SP6)
    • Neiguan (PC6)
  8. [24] ถ้าซื้อยากินเองหรือดูแลตัวเองด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่เห็นผล ก็ต้องใช้ยาที่แรงกว่าโดยคุณหมอเป็นผู้สั่งจ่าย ยา Prilosec ที่หาซื้อได้เองก็แรงพอๆ กับยาที่แพทย์สั่ง น่าจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
    • ต้องศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาอย่างเคร่งครัด จะได้รู้ผลที่มีต่อระบบการย่อยอาหารของคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากอาการแพนิคหรือวิตกกังวลกำเริบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 2 อย่างนี้มักเกิดเมื่อคุณวิตกกังวล กระวนกระวาย หวาดกลัว หรือเครียด ถ้าอยากหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว ก็ควรเข้ารับความคิดและพฤติกรรมบำบัด หรือกินยาบรรเทาอาการทางจิต เวลาอาการกำเริบรุนแรงจะทำให้หายใจหอบถี่ขึ้นและกล้ามเนื้อหน้าอกตึงเกร็งจนเจ็บ บางครั้งหลอดอาหารหรือหลอดเลือดหัวใจก็หดเกร็ง จนเจ็บปวดแน่นหน้าอก [25] ส่วนอาการอื่นๆ ก็เช่น
    • หายใจหอบถี่
    • หัวใจเต้นแรงเร็ว
    • ตัวสั่น
    • ใจสั่น (เหมือนหัวใจจะหลุดจากอก)
  2. หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ . พอหายใจหอบถี่ (Hyperventilation) อาจทำกล้ามเนื้อหน้าอก หลอดเลือดแดง และหลอดอาหารกระตุกเกร็งได้ ให้หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ เพื่อลดอัตราการหายใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดการหดเกร็งจนเจ็บปวด
    • ให้นับ 1 - 3 ในใจทุกครั้งที่หายใจเข้าหรือออก
    • ควบคุมการหายใจเข้าให้ได้ อย่าปล่อยให้ตัวเองหายใจหอบ พอกำหนดลมหายใจได้แล้ว อาการวิตกกังวลหรือแพนิคก็จะคลายลง [26]
    • ถ้าจำเป็น ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยจำกัดอากาศที่หายใจเข้าไป เช่น ถุงกระดาษ โดยคลุมปากและจมูก จะทำให้ไม่หายใจเอาลมเข้าไปมากเกินไป หายใจไม่หอบถี่
  3. งานวิจัยไม่นานมานี้ชี้ว่า การนวดผ่อนคลาย อุณหภูมิบำบัด และการบำบัดในห้องที่มีบรรยากาศผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder หรือ GAD) ได้อย่างเห็นผล [27] ถ้าทำต่อเนื่อง 12 อาทิตย์ครบคอร์ส จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้าน้อยลง
    • นวด 35 นาที โดยเน้นนวด indirect myofascial release (บำบัดจุดกดเจ็บ) และเน้นคลายกล้ามเนื้อแถวไหล่ กระดูกสันหลังส่วนคอ กระดูกสันหลังส่วนอก และกระดูกบั้นเอว ไปจนถึงคอ ท้ายทอย และกระดูกแถวก้นกบ
    • นอนนวดในท่าที่สบาย อาจเสริมหรือหนุนด้วยผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวตามถนัด
    • ฟังเพลงที่ช่วยผ่อนคลายระหว่างนวด จากนั้นหายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ [28]
    • ลองนวดแบบสวีดิชช่วงระหว่างกลุ่มกล้ามเนื้อ ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
    • ขอให้พนักงานหรือหมอนวดช่วยประคบร้อนที่กล้ามเนื้อด้วยผ้าร้อนหรือถุงน้ำร้อน (บางที่ก็เป็นหินร้อน) ตอนจะเปลี่ยนไปนวดกล้ามเนื้อกลุ่มอื่น ให้เลิกประคบ จะได้พักก่อนเปลี่ยนกลุ่มกล้ามเนื้อ
    • ระหว่างนอนนวดให้หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ ไปเรื่อยๆ
  4. [29] ถ้าอาการ panic attack เริ่มขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวัน แถมเทคนิคผ่อนคลายไม่ค่อยได้ผล คงถึงเวลาต้องพบผู้เชี่ยวชาญแล้ว ให้นัดพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาหาวิธีคลายความวิตกกังวลต่อไป ถ้าบำบัดแบบตัวต่อตัวอย่างต่อเนื่อง จะเห็นผลที่สุด
    • บางทีคุณหมอก็จ่ายยา benzodiazepines หรือยาต้านเศร้า (antidepressants) ให้คนที่เป็น panic attack โดยยาจะไปบรรเทาอาการที่กำเริบ และป้องกันไม่ให้เกิดกำเริบอีกบ่อยๆ
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกเพราะกระดูกอ่อนของซี่โครงอักเสบหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แยกให้ออกระหว่างอาการกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ (costochondritis) กับปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal pain). [30] [31] ปกติกระดูกอ่อนใน "ข้อบริเวณซี่โครง" จะเป็นตัวยึดซี่โครงกับกระดูกสันอกเข้าด้วยกัน แต่ถ้ากระดูกอ่อนอักเสบขึ้นมาเมื่อไหร่ (ที่พบบ่อยคือออกแรงมากเกินไป) จะเจ็บแน่นหน้าอกได้ หรือก็คืออาการ costochondritis (กระดูกอ่อนอักเสบ) นั่นเอง การออกกำลังกายก็ทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกตึงเกร็งได้ จนปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก รู้สึกคล้ายๆ ตอนกระดูกอ่อนอักเสบ จะมีอาการปวดแปลบ ปวดเมื่อย หรือเหมือนมีอะไรกดทับหน้าอก ส่วนมากจะรู้สึกเฉพาะตอนขยับตัวหรือหายใจ และเป็นแค่ 2 สาเหตุที่พอเอามือกดหน้าอกแล้วจะเจ็บแน่นขึ้นมา
    • ถ้าอยากรู้ความแตกต่างระหว่างอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกกับกระดูกอ่อนอักเสบ ให้ลองกดที่ซี่โครงแถวกระดูกสันอก (กระดูกตรงกลางหน้าอก)
    • ถ้าเจ็บแถวๆ กระดูกสันอก เป็นไปได้มากว่าคุณมีอาการกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ
  2. [32] ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) อย่างยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซนช่วยบรรเทาอาการปวดทั้ง 2 แบบได้ โดยจะไปยับยั้งกระบวนการที่ทำให้เกิดการอักเสบ ทั้งจากกระดูกอ่อนอักเสบหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้เจ็บแน่นหน้าอกน้อยลง
    • ให้กินยา 2 เม็ดพร้อมน้ำและอาหาร จะได้ไม่ระคายเคืองกระเพาะ
  3. อาการเจ็บแน่นหน้าอกจาก 2 สาเหตุนี้เป็นแบบ self-limiting คือจะหายไปเองตามเวลา ไม่เป็นเรื้อรัง [33] แต่ต้องพักกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อยหรือกระดูกอ่อนที่อักเสบเยอะๆ เนื้อเยื่อที่เสียหายจะได้ฟื้นตัวเร็วๆ แต่ถ้าไม่อยากหยุดออกกำลังกายไปเลย อย่างน้อยก็ขอให้ออกกำลังกายแค่เบาๆ อย่าไปออกจนเกิดแรงกดทับแถวหน้าอก
  4. [34] ถ้ายืดเหยียดกล้ามเนื้อไม่เพียงพอก่อนออกกำลังกายหนักๆ จะทำให้กล้ามเนื้อตึงเกร็งจนปวดหลังเลิกออกกำลังกาย โดยเฉพาะถ้ามี 2 อาการที่ว่า เพราะฉะนั้นก่อนออกกำลังกายทุกครั้งต้องยืดเหยียดกลุ่มกล้ามเนื้อต่างๆ บริเวณอก
    • ชูแขนเหนือหัว จากนั้นยืดเหยียดไปข้างหลังและด้านข้างให้ตึงที่สุด ให้กล้ามเนื้อหน้าอกได้ยืดขยาย จากนั้นผ่อนคลายสลับกัน
    • หันเข้ามุม จากนั้นเหยียดแขนออกไปตรงๆ แล้วเอามือยันกำแพง พยายามเอามือห่างออกจากกันให้มากที่สุด ให้หน้าอกยื่นเข้าไปใกล้กำแพงเท่าที่จะทำได้
    • ยืนให้มั่นคง เอามือยันกำแพงคร่อมประตูที่เปิดไว้ จากนั้นแอ่นอกไปข้างหน้า สองมือเหนี่ยวกรอบประตูไว้ให้แน่น หรือใช้วิธีก้าวไปข้างหน้า (ผ่านประตูไป) โดยที่มือยังยึดกรอบประตูไว้
  5. [35] ประคบร้อนช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้ออักเสบได้อย่างเห็นผล ทำให้เจ็บแน่นหน้าอกน้อยลง [36] ให้ใช้ heat pad โดยอุ่นในไมโครเวฟตามคำแนะนำ หรือใช้ถุงน้ำร้อน แล้วเอามาประคบบริเวณที่เจ็บแน่น สลับกับเอาออกเป็นระยะ จะได้ไม่ร้อนจนลวกผิว ความร้อนจะทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งผ่อนคลาย ฟื้นตัวเร็ว หรือนวดบริเวณที่ปวดหลังประคบร้อนร่วมด้วย จะคลายกล้ามเนื้อได้มากกว่าเดิม [37]
    • แช่น้ำร้อนผสมดีเกลือ (Epsom's salts) 1 ถ้วยตวง ก็ช่วยบรรเทาปวดเพราะ 2 สาเหตุนี้ได้
  6. อย่าใจร้อนถ้าดูแลตัวเองไปไม่นานแล้วยังปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไม่หาย แต่ถ้าพักผ่อนและดูแลตัวเองไปสักพักแล้วยังอาการไม่ดีขึ้นหรือรุนแรงกว่าเดิม ต้องพบแพทย์ด่วน
    • หาหมอทันทีถ้าเกิดอุบัติเหตุกระแทกหรือกระทบกระเทือนที่หน้าอก เพราะถ้ามีกระดูกซี่โครงหักจะทิ่มปอดหรือหัวใจได้ อันตรายมากถ้าปล่อยไว้ ถ้าไปหาหมอ คุณหมอจะเอกซเรย์หากระดูกที่หักจะได้รู้สาเหตุชัดเจน
    โฆษณา

คำเตือน

  • อาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็นได้ด้วยหลายสาเหตุ บางอย่างก็ไม่ร้ายแรง แต่บางอย่างก็อันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นให้รีบไปหาหมอทันทีที่มีอาการ โดยเฉพาะถ้าไม่แน่ใจว่าเจ็บหรือปวดด้วยสาเหตุอะไร
  • ถ้าเจ็บปวดรุนแรงจนทนไม่ไหว ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที โดยเฉพาะถ้าหายใจไม่สะดวกหรือเจ็บปวดนานเป็นวันๆ ไม่ยอมหาย
  • ถ้าครอบครัวหรือคุณเองมีประวัติเป็นโรคหัวใจ ยิ่งต้องรีบไปหาหมอตรวจร่างกายเมื่อเกิดอาการ
  • ถ้าบาดเจ็บหรือถูกกระแทกรุนแรงที่หน้าอก (เช่น อุบัติเหตุรถยนต์) ต้องรีบไปโรงพยาบาลด่วนเพราะอาจมีกระดูกหักได้
  • อย่าคิดว่าเจ็บแน่นหน้าอกด้านขวาแล้วจะไม่อันตราย เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกโรคร้ายแรงได้เช่นกัน
  • ถ้าสงสัยว่าตัวเอง (หรือคนอื่น) จะหัวใจวาย ให้รีบเรียกรถพยาบาล ขอความช่วยเหลือจากคนโดยรอบ หรือโทร 191 ทันที ท่องไว้ว่าไปหาหมอเสียเปล่าเพราะไม่ได้เป็นอะไรมาก ดีกว่าเป็นอะไรมากแล้วถึงมือหมอสายเกินไป
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/expert-answers/lack-of-sleep/faq-20057757
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pneumonia/basics/symptoms/con-20020032
  3. http://www.lung.org/lung-disease/pneumonia/symptoms-diagnosis-and.html?referrer=https://www.google.com/
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pulmonary-embolism/basics/symptoms/con-20022849
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pneumothorax/basics/definition/con-20030025
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/basics/definition/con-20025201
  7. McCONAGHY J, Oza R. Outpatient Diagnosis of Acute Chest Pain in Adults. Am Fam Physician. 2013 Feb 1;87(3):177-182.
  8. http://www.uphs.upenn.edu/surgery/clinical/Gastro/GERD.html
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/basics/treatment/con-20025201
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/basics/treatment/con-20025201
  11. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/sodium-bicarbonate-oral-route-intravenous-route-subcutaneous-route/description/drg-20065950
  12. http://www.patienteducationcenter.org/articles/a-10-minute-consult-controlling-gerd-and-chronic-heartburn/
  13. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/gastroesophageal-reflux-disease
  14. Zhang CX, Qin YM, Guo BR. Clinical study on the treatment of gastroesophageal reflux by acupuncture. Chinese Journal of Integrative Medicine. 2010 Aug;16(4):298-303
  15. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a693050.html
  16. Huffman J, Pollack M, Stern T. Panic Disorder and Chest Pain: Mechanisms, Morbidity, and Management. Primary Care companion Journal Clinical Psychiatry. 2002; 4(2): 54–62.
  17. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/panic-attacks-and-panic-disorders.htm
  18. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2922919/
  19. Sherman K. et al. Effectiveness of Therapeutic Massage for Generalized Anxiety Disorder: A Randomized Controlled Trial. Depression & Anxiety Journal. 2010. May; 27(5): 441-450.
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/basics/treatment/con-20020825
  21. http://www.aafp.org/afp/2009/0915/p617.html
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1346531/
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/costochondritis/basics/treatment/con-20024454
  24. http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/self-limiting
  25. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3273886/
  26. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/costochondritis/basics/lifestyle-home-remedies/con-20024454
  27. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  28. Proulx A, Zryd T. Costochondritis: Diagnosis and Treatment. Am Fam Physician. 2009 Sep 15;80(6):617-620.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 44,143 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา