ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผักนึ่งเป็นเมนูมื้อเย็นที่ทำง่ายแถมมีคุณค่าทางอาหาร คุณนึ่งผักได้หลายวิธีการด้วยกัน โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์แพงๆ แต่อย่างใด ถ้าเย็นนี้อยากกินผักนึ่งสีสวย แสนอร่อย แถมมีประโยชน์ ที่ต้องใช้ก็คือซึ้งนึ่งอาหาร กระทะที่มีฝาปิด หรือไมโครเวฟกับชามทนความร้อนเท่านั้นเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

เลือกและเตรียมผักก่อนนึ่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จริงๆ แล้วคุณนึ่งผักได้ทุกชนิด แต่ผักบางชนิดก็นึ่งออกมาแล้วอร่อยน่ากินกว่าผักอื่นๆ ซึ่งผักแต่ละชนิด ก็จะนึ่งเร็วนึ่งช้าแตกต่างกันไป ผักที่คนนิยมนำมานึ่งกัน แถมออกมาดูดี ก็เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก แครอท แอสพารากัส อาร์ติโชค และถั่วแขก แต่ถ้าเบื่ออะไรเดิมๆ จะลองนึ่งมันฝรั่งหรือ radish (หัวไชเท้าแดง) ดูก็ดี! ต่อไปนี้คือระยะเวลาการนึ่งที่แนะนำ [1]
    • แอสพารากัส (หน่อไม้ฝรั่ง): 7 - 13 นาที หรือ 4 - 7 นาที ถ้าหั่นเป็นท่อนสั้นๆ แล้ว
    • บร็อคโคลี่: 8 - 12 นาที (เป็นหัว) 5 - 7 นาที (แยกเป็นก้านๆ)
    • แครอท: 7 - 12 นาที แล้วแต่ขนาด และแล้วแต่ว่าหั่นเป็นชิ้นๆ ก่อนหรือเปล่า
    • กะหล่ำดอก: 5 - 10 นาที ต่อหัว
    • ข้าวโพดเป็นฝัก: 7 - 10 นาที
    • ถั่วแขก: 5 - 7 นาที [2]
    • มันฝรั่งหั่นชิ้น: 8 - 12 นาที
    • ผักโขม/ปวยเล้ง: 3 - 5 นาที
  2. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    ก่อนจะเริ่มนึ่งผัก สำคัญว่าต้องล้างผักให้สะอาด ปราศจากฝุ่นผง ดินทราย แบคทีเรีย และโดยเฉพาะไม่ให้เหลือยาฆ่าแมลงตกค้าง ให้ล้างผักในน้ำสะอาดเย็นๆ จากนั้นใช้ทิชชู่ซับให้แห้ง [3]
    • จะใช้แปรงขัดผักด้วยก็ได้เวลาล้าง แต่ต้องเป็นผักที่เปลือกหนา เช่น มันฝรั่ง และแครอท
    • ผักบางชนิด เช่น กะหล่ำดอก และกะหล่ำ จะมีซอกมุมต่างๆ ที่แบคทีเรียและสิ่งสกปรกตกค้างได้เยอะ แบบนี้ให้แช่ผักในน้ำเย็น 1 - 2 นาทีก่อนล้างผัก
    • จะใช้น้ำยาล้างผักสำเร็จรูปก็ได้ แต่มีงานวิจัยที่ชี้ว่าก็เห็นผลพอๆ กับล้างผักด้วยน้ำเปล่าตามปกตินั่นแหละ
  3. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    ผักบางชนิดแค่เอาออกจากตู้เย็นมาล้างไม่ต้องมาก ก็พร้อมต้มผัดแกงทอดแล้ว แต่ผักบางชนิดก็ต้องมีขั้นตอนเตรียมการมากกว่านั้น ถ้าเป็นผักที่มีขนาดใหญ่ ให้หั่นเป็นชิ้นเล็กลงก่อน จะนึ่งได้สุกเร็วขึ้น ส่วนผักที่เป็นก้านเป็นต้น มีเมล็ด ใบ หรือเปลือกแข็งด้านนอก ก็ต้องเด็ดออกก่อน ถึงจะนำไปปรุงอาหารได้ [4]
    • แครอทจะนึ่งสุกไวมาก ถ้าหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อน กะหล่ำดอกและมันฝรั่งก็เช่นเดียวกัน
    • ผักบางชนิด อย่างแอสพารากัสหรือหน่อไม้ฝรั่ง ต้องมีขั้นตอนเตรียมการเพิ่มเติม เช่น ต้องเด็ดส่วนแข็งๆ ที่ปลายก้านออกก่อน และถ้าก้านไหนหนาแข็งเป็นพิเศษ แนะนำให้ปอกเปลือกก่อนเล็กน้อย พอนึ่งแล้วจะนิ่มขึ้นเยอะเลย [5]
    • ปกติคุณไม่ต้องปอกผักส่วนใหญ่ก่อนนำไปปรุงอาหาร ถ้าว่ากันตามจริงแล้ว เปลือกของผักหลายชนิดก็ช่วยเพิ่มกากใย (ไฟเบอร์) รสชาติ และคุณค่าทางอาหารได้ แนะนำให้ปอกเฉพาะผักที่เปลือกแข็งหรือสกปรกง่ายจะดีกว่า [6]
  4. อย่างที่บอกว่าผักบางชนิดต้องใช้เวลานึ่งนานกว่าผักชนิดอื่น เพราะงั้นต้องแยกกันนึ่ง จะได้ไม่เกิดเหตุนึ่งผักชนิดหนึ่งนานเกินควรจนแฉะเละ ในขณะที่ผักอื่นยังกรอบหรือดิบตรงกลาง คือใส่ผักเข้าไปนึ่งพร้อมกันได้ แต่แยกส่วนกันไว้ในซึ้งหรือภาชนะ ผักไหนสุกเร็วกว่าจะได้หยิบออกก่อนหลังนึ่งไปสักพัก [7]
    • เช่น มันฝรั่งต้องนึ่งนานกว่าถั่วแขก เพราะฉะนั้นไม่แนะนำให้นึ่งคละกันในคราวเดียว
    • ถ้าอยากให้ผักแข็งๆ สุกเร็วขึ้น แนะนำให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

นึ่งผักในซึ้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    เริ่มจากต้มน้ำ 2 ถ้วยตวง (0.5 ลิตร) โดยใช้ไฟแรง พอน้ำเริ่มเดือด ให้ปิดซึ้งเพื่อกักความร้อนด้านในให้สูงขึ้น [8]
    • ปิดซึ้ง ก็คือปิดฝาหม้อด้านบน ที่ซ่อนอยู่บนหม้อน้ำด้านล่างอีกที คล้ายๆ กับการใช้งานหม้อตุ๋น (double boiler) หรือหม้อนึ่งไอน้ำ 2 ชั้น (bain-marie)
    • ซึ้งหรือหม้อนึ่งแต่ละแบบ ก็จะใช้น้ำมากน้อยต่างกันไป ต้องสังเกตขนาดของหม้อหรือถาดที่ใช้ แต่ปกติจะต้องใส่น้ำในหม้อด้านล่างให้สูงประมาณ 1 - 2 นิ้ว (2.5 - 5 ซม.) และอย่าให้น้ำปริ่มโดนผักในเข่ง
  2. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    พอน้ำเริ่มเดือด มีไอร้อน ก็ใส่ผักที่เตรียมไว้แล้วเริ่มนึ่งได้เลย ให้ปิดฝาซึ้งแล้วหรี่ไฟให้ร้อนปานกลาง [9]
    • ถ้าจะนึ่งผักทีเดียวหลายชนิด ให้แบ่งออกเป็นกลุ่ม แล้วแต่ว่าสุกเร็วหรือช้า เวลานึ่งไปสักพัก จะได้เอาผักที่สุกเร็วออกก่อนได้ แล้วนึ่งผักที่เหลือต่อไป
    • แนะนำให้เทผักจากชามใส่ไปในเข่งหรือถาดในซึ้งเลย อย่าใช้มือวางเรียง เพราะจะร้อนลวกมือได้ อาจจะใส่ถุงมือจับของร้อน หรือใช้ผ้าเช็ดจานแทนก็ได้
    • นอกจากซึ้งแล้วยังมีหม้อนึ่งให้เลือกใช้สารพัดแบบ บางแบบก็มีหลายชั้น แยกนึ่งผักหลายๆ แบบได้เลย ทั้งผักที่ต้องนึ่งนานๆ กับผักที่สุกเร็ว
  3. พอใส่ผักในซึ้งแล้ว ก็นึ่งไปประมาณ 2 - 3 นาที อย่าไปเปิดดู ให้รอจนครบตามเวลาที่แนะนำ แล้วค่อยเช็คว่าได้ที่หรือยัง [10]
    • ถ้ากลัวนึ่งนานเกินไป ให้ตั้งเตือนไว้ ถ้าเป็นผักที่สุกเร็วหน่อย พอเข้านาทีที่ 3 ก็แง้มดูได้เลย
  4. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    พอคิดว่าผักน่าจะใกล้สุกแล้ว ให้เปิดซึ้ง แล้วใช้มีดหรือส้อมจิ้มส่วนที่หนาที่สุดของผัก ถ้าจิ้มง่าย แสดงว่าได้ที่แล้ว ถ้ายังแข็งอยู่ ให้นึ่งต่ออีก 1 - 2 นาที แล้วค่อยกลับมาเช็ค [11]
    • ถ้าหั่นผักเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อน จะนึ่งสุกเร็วกว่าใส่ไปทั้งหัว แถมผักบางชนิดยังสุกเร็วกว่าผักชนิดอื่น เช่น ถั่วแขก กะหล่ำดอกที่ดึงแยกเป็นชิ้นๆ แล้ว และแท่งแอสพารากัส จะนึ่งแล้วสุกเร็วกว่ามันฝรั่งเป็นหัว และเบบี้แครอททั้งชิ้น
  5. ถ้าผักที่นึ่งมีหลายชนิดและหลายขนาด ให้เอาออกจากซึ้งเฉพาะผักที่สุกและนิ่มได้ที่แล้ว ส่วนผักที่เหลือก็นึ่งต่อไป ให้ใช้ที่คีบหรือทัพพีโปร่งตักผักออกจากซึ้ง ระวังอย่าให้ลวกมือ พอผักที่เหลือนึ่งเสร็จแล้ว ก็เอาใส่จาน แล้วหาอะไรปิดไว้ จะได้ยังอุ่นๆ อยู่
    • ถ้าผักทั้งหมดนึ่งแล้วสุกพร้อมกัน ให้ยกเข่งนึ่งออกจากหม้อหรือถาด แล้วเทผักใส่ชามหรือจานเสิร์ฟได้เลย เวลายกให้ใช้ถุงมือจับของร้อนหรือผ้าเช็ดจานด้วย จะได้ไม่ลวกมือ
    • ผักหลายชนิดพอสุกแล้วจะสีสันสดใสขึ้นเยอะเลย [12]
    • วิธีเช็คได้ดีที่สุด ว่าผักได้ที่หรือยัง ก็คือชิมรส ผักที่นึ่งแล้วควรจะแน่นแต่นุ่ม ไม่แฉะเละ
  6. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    จัดเรียงผักที่นึ่งแล้วใส่จานที่จะใช้ คุณปรุงรสผักนึ่งได้ด้วยน้ำมันมะกอก เกลือ และพริกไทย หรือจะบีบมะนาวให้รสยิ่งจัดจ้านก็ได้ [13] เท่านี้ผักนึ่งของคุณก็พร้อมเสิร์ฟ
    • ผักนึ่งเป็นเมนูข้างเคียงที่เหมาะกับเนื้อสัตว์ทุกชนิด หรือจะเสิร์ฟพร้อมชีสหรือซอสสมุนไพรก็ได้ จะกินผักนึ่งเปล่าๆ ก็ยังอร่อย ที่สำคัญคือการนึ่งเป็นวิธีปรุงสุกที่ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว อย่าพยายามแต่งรสหรือเสริมเติมแต่งมากไป รสธรรมชาตินี่ละทั้งอร่อยและมีประโยชน์!
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

นึ่งผักในกระทะแบบปิดฝา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกใช้หม้อก้นลึกที่ใส่ผักที่จะนึ่งได้ทั้งหมด. หม้อที่ใช้ต้องใหญ่พอจะใส่ผักทั้งหมดในคราวเดียว รวมถึงต้องมีฝาปิดในตัว หรือใช้ฝาที่กักไอร้อนไว้ภายในได้ ขนาดหม้อที่แนะนำคือใหญ่พอจะใส่ผักแล้วยังเหลือเนื้อที่ในหม้ออีก 1/4 ซึ่งพื้นที่ว่างนี้ให้ไอน้ำได้ควบแน่นอยู่ภายในหม้อหลังปิดฝา
    • ถ้าผักที่จะนึ่งเป็นชิ้นหรือหัวใหญ่ๆ ให้เลือกหม้อหรือกระทะก้นลึกจะดีที่สุด แต่ถ้าจะนึ่งผักขนาดเล็ก เช่น แอสพารากัส หรือบร็อคโคลี่ชิ้นๆ ก็ใช้กระทะทอดใบใหญ่แบบมีฝาปิดได้เลย [14]
  2. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    เทน้ำใส่กระทะ ให้สูงประมาณ 1/2 นิ้ว (1 เซนติเมตรกว่าๆ). เพื่ออบไอน้ำผักในหม้อ แต่ไม่มากพอจะต้มจนผักเสียคุณค่าทางอาหารไป แถมน้ำแค่พอปริ่มผักแบบนี้ยังช่วยให้ผักไม่ไหม้ติดหม้อหรือกระทะด้วย
    • ถ้าฝาหม้อปิดไม่สนิทพอจะกักไอน้ำไว้ข้างใน อาจจะต้องเติมน้ำเพิ่มอีกหน่อย ให้ลองปรับปริมาณน้ำดู จนเจอปริมาณที่เหมาะกับหม้อที่ใช้นึ่งผัก
  3. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    จัดเรียงผักในหม้อเป็นชั้นๆ ตามระยะเวลาที่ใช้นึ่ง. ถ้าจะนึ่งผักหลายๆ ชนิด ให้ใส่ผักที่สุกยากกว่าไว้ด้านล่างสุด ส่วนผักที่สุกเร็วหน่อยให้ใส่ไว้ด้านบน แบบนี้จะได้เอาผักที่สุกเร็วกว่าออกก่อนได้สะดวก
    • เช่น เรียงมันฝรั่งไว้ล่างสุด ตามด้วยกะหล่ำดอกตรงกลาง และแอสพารากัสที่ด้านบน
  4. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    พอจัดเรียงผักเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดฝาหม้อให้สนิท จากนั้นเปิดไฟได้เลย โดยใช้ไฟแรงปานกลาง อย่าใช้ไฟแรงสุด คอยแตะฝาหม้อเป็นระยะเพื่อเช็คความร้อน ถ้าแตะแทบไม่ได้ แสดงว่าน้ำกำลังระเหยเป็นไอน้ำร้อนๆ
    • พยายามอดใจ อย่าเปิดฝาเช็คไอน้ำก่อนเวลาอันควร เพราะความร้อนจะรั่วไหล รบกวนขั้นตอนการนึ่งได้
    • ถ้ากลัวนิ้วพองเพราะจับฝาร้อนๆ ให้เลือกใช้หม้อที่ฝาเป็นแก้วใสๆ จะได้ส่องดูข้างในได้สะดวก ว่าน้ำเดือดไหม เริ่มนึ่งหรือยัง แต่ถ้าจะเช็คจริงๆ ก็อนุโลมให้แง้มฝาออกได้เล็กน้อย แบบวินาทีเดียวจริงๆ แล้วดูว่ามีไอน้ำพุ่งออกมาหรือเปล่า
  5. พอน้ำเริ่มเดือด ระเหยเป็นไอ ให้ลดไฟลงเหลือแค่ไฟอ่อน จากนั้นนึ่งผักต่อไปตามระยะเวลาที่เหมาะสมกับขนาดและชนิดของผัก สุดท้ายเช็คความสุกโดยใช้มีดจิ้มส่วนที่หนาที่สุดของผัก
    • ผักที่นึ่งสุกได้ที่แล้วจะนิ่มลง แต่ยังมีความกรุบกรอบเล็กน้อย ที่สำคัญคือสีจะสดขึ้น ดูน่ากิน
    • ถ้าผักยังไม่ได้ที่ ต้องนึ่งต่อ ให้ปิดฝาตามเดิม แล้วนึ่งต่อไปอีก 1 - 2 นาทีค่อยเช็คใหม่ว่าสุกหรือยัง
  6. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    พอผักสุกแล้ว ให้เอาจากหม้อหรือกระทะที่ใช้ แล้วจัดแต่งให้พร้อมเสิร์ฟตามสะดวก เช่น ราดด้วยซอสครีม หรือใส่น้ำมันมะกอกและเครื่องปรุงเล็กน้อย จะกินผักนึ่งเดี่ยวๆ หรือเสิร์ฟเป็นเมนูข้างเคียงก็ได้
    • ระวังร้อนลวกมือ ให้ใช้ที่คีบหรือทัพพีโปร่งตักผักออกมาจากหม้อหรือกระทะ ถ้าผักสุกพร้อมกันทั้งหมด ก็ยกขึ้นทั้งหม้อได้เลย โดยใช้ถุงมือหรือผ้าจับของร้อน ไม่ก็ผ้าเช็ดจาน แล้วเทผักใส่กระชอนได้เลย
    • ถ้าผักสุกไม่พร้อมกัน ให้ยกผักที่สุกเร็วกว่าขึ้นมาพักไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด จะได้อุ่นต่อจนกว่าผักที่เหลือจะนึ่งเสร็จพร้อมเสิร์ฟ
    • ใช้วิธีนี้แล้วพอนึ่งเสร็จจะเหลือน้ำไม่มาก ถ้าเหลือเยอะ ให้นำไปทำซุปผักหรือจะเอาไปรดไม้กระถางก็ยังได้ เรียกว่าเป็นอาหารพืชชั้นดีเลย!
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

นึ่งผักในไมโครเวฟ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    เอาผักใส่ชามทนความร้อน (เอาเข้าไมโครเวฟได้) และใส่น้ำเล็กน้อย. ไม่ต้องใช้น้ำเยอะเวลานึ่งผักด้วยไมโครเวฟ จริงๆ แล้วถ้าล้างผักมาชุ่มๆ ก็จับใส่ชามแล้วเอาเข้าไมโครเวฟได้เลย ไม่ต้องให้สะเด็ดน้ำ [15]
    • ปกติเวลานึ่งผักส่วนใหญ่ ให้ใช้น้ำ 2 - 3 ช้อนโต๊ะ (30 - 45 มล.) ต่อผัก 0.5 กก. (1 ปอนด์) [16] แต่ถ้าเป็นผักที่แข็งหน่อย อาจจะต้องเติมน้ำเพิ่ม
    • บางคนที่นึ่งผักด้วยไมโครเวฟบ่อยๆ ก็แนะนำให้เรียงผักบนจานหรือถาด แล้วใช้ทิชชู่หนาๆ ชุบน้ำพอหมาด 3 แผ่นคลุมไว้ เขาว่าช่วยให้ผักชื้น ไม่ไหม้ง่ายเวลานึ่งในไมโครเวฟ [17]
  2. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    ดึงแรปพลาสติกปิดปากชามให้ตึง จากนั้นเผยอพลาสติกด้านหนึ่งไว้ เป็นเหมือนช่องให้ไอน้ำออก แรปที่เราห่อชามไว้นี้จะช่วยกักความร้อนและความชื้นไว้ในชาม แต่ก็ยังมีช่องให้ไอน้ำส่วนเกินไหลออกไปได้ แต่ต้องเช็คก่อนว่าแรปพลาสติกที่ใช้นั้นเป็นแบบ “microwave safe” คือใช้กับไมโครเวฟได้ [18]
    • อีก 3 ด้านที่เหลือต้องห่อแรปพลาสติกไว้ให้ตึง กักความร้อนไม่ให้รั่วไหล มีแค่ด้านเดียวเท่านั้นที่เป็นรูระบายเล็กๆ ไว้
    • หรือใช้จานเซรามิกแทนฝาปิดชามนึ่งผักก็ได้ ไม่ก็ใช้ฝาปิดเฉพาะ แบบมีรูให้ไอน้ำออก
  3. Watermark wikiHow to นึ่งผัก
    ถ้าผักยังไม่สุกดี ให้อุ่นต่ออีก 1 นาที เป็นรอบๆ ไป ผักแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป ไมโครเวฟก็ใช้กำลังไฟและการตั้งค่าแตกต่างกันไปเช่นกัน แต่เริ่มจากนึ่งผัก 2 1/2 นาที จะปลอดภัยที่สุด [19]
    • ต้องนึ่งผักนานแค่ไหนก็แล้วแต่ชนิดของผัก และกำลังไฟไมโครเวฟที่ใช้ บางทีก็แค่ 1 - 2 นาที แต่บางทีก็ต้องนึ่งนานกว่านั้น
    • จะรู้ได้ว่านึ่งผักสุกแล้ว คือใช้มีดจิ้มแล้วยังแน่นอยู่เล็กน้อย
    • ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการนึ่งผักด้วยไมโครเวฟ คือจะทำให้เสียคุณค่าทางอาหารไป แต่จริงๆ แล้วการนึ่งผักด้วยไมโครเวฟเป็นหนึ่งในวิธีรักษาสารอาหารไว้ในผักได้มากที่สุด ไม่เหมือนการต้ม ใช้หม้อแรงดัน การผัด และการทอด! [20]
  4. แกะแรปพลาสติกทิ้งถังขยะ แล้วเอาผักที่เพิ่งนึ่งเสร็จจัดใส่จานได้เลย จะปรุงรสด้วยเกลือพริกไทย หรือใส่ซอสก็ตามชอบ เท่านี้ผักนึ่งแสนอร่อยก็พร้อมเสิร์ฟ!
    • จะใส่เนยหรือซอสถั่วเหลืองเล็กน้อยก่อนเอาผักไปนึ่งก็ได้ถ้าชอบ พอนึ่งเสร็จค่อยโรยเกลือและพริกไทย หรือใส่เครื่องปรุงอื่นๆ ตามสะดวก [21]
    • เวลาเปิดฝาหรือแกะแรปพลาสติกออกต้องระวัง เพราะไอร้อนจะพุ่งออกมาเต็มๆ เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • น้ำมะนาวช่วยปรุงรสผักนึ่งได้ดีมาก
  • หลังนึ่งผักแล้วคุณนำผักกลับมาอุ่นได้หลายวิธีด้วยกัน รวมถึงการผัด (sauté) และอุ่นในไมโครเวฟ ถ้ามีผักเหลือ สามารถแช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้ 3 - 4 วันเลย
  • ถ้าจะนึ่งผักแล้วไม่มีซึ้งหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ ลองหาอ่านวิธีการนึ่งผักแบบไม่ใช้ซึ้งดู
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

นึ่งผักในซึ้ง

  • ซึ้งนึ่งอาหาร (หรือดัดแปลงเอง)
  • มีด

นึ่งผักในกระทะแบบปิดฝา

  • กระทะแบบมีฝาปิด
  • มีดหรือส้อม (เอาไว้จิ้มเช็คความสุก)

นึ่งผักในไมโครเวฟ

  • ชามทนความร้อน
  • แรปพลาสติก
  • ไมโครเวฟ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,410 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา